ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์

ปิ้งย่างเหมือนควันบุหรี่ เสี่ยงมะเร็ง!

by twoseadj @April,04 2011 15.08 ( IP : 202...129 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์
photo  , 260x204 pixel , 17,103 bytes.

ของอร่อยๆ มีไว้ใจไม่ได้ที่ไหน หากกินมาก กินบ่อยเกินไปจะเป็นภัยต่อสุขภาพ อาหารปิ้งๆ ย่างๆ ที่กำลังนิยมกินกันอยู่ก็เช่นกัน เรื่องนี้ นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ เตือนถึงพิษภัยการกินอาหารชนิดดังกล่าว มีความเสี่ยงเกิดโรคมะเร็ง โรคร้ายที่หลายคนหวาดกลัว...

@@@

จะว่าไปวัฒนธรรมการกินของชนชาติต่างๆ ก็ก่อให้เกิด “โรคเฉพาะ” ต่างไปตามกลุ่มชนเช่นกัน  เป็นต้นว่า ฝรั่งอเมริกัน ติดนิสัยกินเนื้อย่างก้อนโตๆ อันเป็นความชอบที่สืบสายกันมาแต่ครั้งบุกเบิกทวีป จนปัจจุบันก็ยังชอบหาเรื่องปิ้งย่างกันในสวนหลังบ้านเป็นงานอดิเรก ทั้งเนื้อวัวชิ้นยักษ์ สันคอหมูปื้นใหญ่ แผ่นซี่โครงทั้งหมูและแกะ หรือแม้กระทั่งไก่ก็ใช้ส่วนอกที่เป็นปั้นหนามาย่างกันในเตาเฉพาะ ทั้งอบทั้งรมควันกันจนเป็นลายไหม้ ไม่เฉพาะเนื้อสัตว์อย่างเดียวแต่ก็เที่ยวเอาผักหญ้าที่ตัวเองอยากกินมาหั่น หยาบเป็นชิ้นหนาแล้วโยนผสมปนเปกันปิ้งคละกันไปในเตากับหมูเนื้อ ได้ควันรมอบร่ำเอื้ออาทรกันไปหมด

ควันจากมันเนื้อที่หยดแล้วระเหยขึ้นมารมนั้นมีส่วนสำคัญที่กลายเป็นเชื้อมะเร็งอยู่ได้มาก เพราะธรรมชาติเนื้อที่ถูกความร้อนจากการเผาไหม้นั้นจะสร้างธาตุมะเร็งคือ “พีเอเอช(PAH)” ขึ้นมาพอหอมปากหอมคอ ถึงไม่น่าแปลกที่จะพบโรคจำพวกเกี่ยวแก่อาหารกับคนอเมริกันมาก โดยเฉพาะโรคหัวใจกับมะเร็ง จนสามารถเรียกได้ว่า เป็นโรคประจำถิ่น

ส่วนคนเอเชียเราก็ใช่ว่าจะไกลจากโรคที่ว่าด้วย ถึงแม้อาหารเราจะไม่หนักเนื้อเน้นๆอย่างฝรั่งตัวใหญ่ แต่เราชอบใช้ยาเส้น,ยาสูบและยังคงหุงหาอาหารด้วยการปิ้งย่างอยู่

โดยเฉพาะในยุคที่วัฒนธรรมไทยหัวใจเกาหลีเข้ามาทำให้เรามีการย่างหมูย่างปลากินกันจนเป็นส่วนสำคัญที่เรียก “ควันมะเร็ง” มาเหมือนกัน เพราะการย่างและอบด้วยควันแต่ละครั้งนั้นก็เทียบได้กับอัดบุหรี่เข้าตัวอยู่นานนับชั่วโมง ที่น่ากลัวคือยังกินบุหรี่นั้นเข้าไปด้วย!!!

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง