แม้ช่วงนี้กระแสข่าวอันตรายจากการทำ สปาปลา (Fish Spa) ดูเบาลง กระนั้นผู้บริโภคหลายคนก็ไม่วางใจต่อบริการดังกล่าว ล่าสุด ผู้ประกอบการหลายคนออกมายอมรับว่า จากข่าวที่เสนอไป ของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) ส่งผลให้ลูกค้าที่ใช้บริการสปาปลาลดลงไปกว่า 50% ซึ่งกระทบต่อการทำธุรกิจอย่างมาก ด้วยเหตุนี้ สบส.จึงต้องเร่งจัดทำแนวทางการบริการการผ่อนคลายด้วยปลา เพื่อจัดวางมาตรฐานที่จำเป็นอาทิ ชื่อบริการที่ไม่โอ้อวดเกินจริงซึ่งมีแนวโน้มว่าจะเปลี่ยนชื่อจาก สปาปลา (Fish Spa) มาเป็นฟิชทรีทเมนท์ (Fish Treatment) หรือ ฟิชเทอราปี (Fish Therapy) นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของการเฝ้าระวังการติดเชื้อด้วย ซึ่งมาตรฐานทั้งหมดเป็นแค่ภาพร่างที่ยังไม่ปรากฎเป็นหลักเกณฑ์ตายตัว
ระหว่างนี้ ผศ.พญ.สุวิรากร โอภาสวงศ์ ประชาสัมพันธ์สมาคมโรคผิวหนังแห่งประเทศไทย แนะนำว่า วิธีเดียวที่ทำให้เกิดการใช้บริการสปาปลาได้ปลอดภัย คือ ต้องเรียนรู้การประเมินตนเอง ว่าป่วยเป็นโรคที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ หรือตัวเองเป็นพาหะเผยแพร่โรคไปสู่ผู้อื่นที่มาร่วมใช้บริการสปาด้วยหรือไม่
โดยโรคที่แพทย์ผิวหนังกังวล มีทั้งโรคที่เกิดจากน้ำและปลาเป็นสาเหตุ ซึ่งโรคที่เกิดการติดต่อโดยมีน้ำเป็นสาเหตุในส่วนที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ โรครูขุมขนอักเสบโดยมีอาการคัน คล้าย สิว แผลผุพอง มีผื่นลักษณะเป็นตุ่มน้ำใส และกลายเป็นหนอง หรืออตุ่มแตกออกเป็นสะเก็ด มีน้ำเหลือง พบบริเวณใบหน้า ลำตัว แขนและขา ไฟลามทุ่ง อาการเริ่มด้วยไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ มีผื่นบวมแดง ร้อน กดเจ็บ ต่อมน้ำเหลืองโตและกดเจ็บ พบที่หน้า แขนและขา ผิวหนังอักเสบติดเชื้อ ขึ้นได้ในทุกส่วนภายนอกของร่างกาย ส่วนมากจะเป็นผิวหนังภายนอก
ส่วนโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ได้แก่ หูด อาการจะเป็นก้อนที่ผิวหนัง ลักษณะผิวอาจจะเรียบ หรือขรุขระ สีอาจจะสีขาว ชมพู หรือสีน้ำตาล พบบ่อยคือ นิ้วมือ แขน ขา หูดข้าวสุกมีลักษณะเป็นตุ่มนูนบนผิวหนัง ขนาดประมาณ 2-5 มิลลิเมตร มีลักษณะเฉพาะตัวคือมีรอยบุ๋มตรงกลาง มีการอักเสบและการตายของเนื้อเยื่อพบบ่อยในเด็กและติตต่อทางน้ำได้
ผศ.พญ.สุ วิรากร อธิบายเพิ่มว่า โรคทางผิวหนังที่มีปลาเป็นสาเหตุ คือ วัณโรคเทียม และไฟลามทุ่งเทียม ซึ่งส่วนนี้ที่คนยังกังวลมาก โดยวัณโรคเทียมนั้นเป็นโรคที่สหรัฐอเมริกาให้ความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากพบว่าระบาดในช่างเสริมสวย เพราะติดมาจากลูกค้าที่เข้ารับบริการแต่ง เล็บ ส่วนไฟลามทุ่งเทียมนั้นเกิดจากการที่ถูกก้างปลาทิ่ม ตำ แล้วเกิดเป็นแผลอักเสบ
กระนั้น ไม่ได้หมายความว่า คนทั่วไปจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อหมดทุกคน สำหรับผู้มีสุขภาพดี ก็ใช้บริการได้ แต่กลุ่มที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ 1 ผู้ที่มีแผลตามผิวหนัง 2.ผู้ที่ใช้ยาลดภูมิ กลุ่มสเตียรอยด์ เพราะส่งผลให้มีภูมิค้านทานที่ต่ำติดเชื้อได้ง่าย รวมถึงกลุ่มที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องด้วย เช่น ผู้ป่วยที่เพิ่งผ่านการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะ 3.กลุ่มที่ป่วยเป็นเบาหวานและมีแผล ควรหลีกเลี่ยงการแช่เท้าเป็นเวลานาน เพราะเชื้อแบคทีเรียจะเข้าสู่ร่างกายง่ายขึ้น
“หากพบว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยงตามที่ระบุมาก็อย่าใช้บริการ ขอย้ำว่า โรคผิวหนังอย่างสะเก็ดเงินที่หลายคนเชื่อผิดๆ ว่า สปาปลา ช่วยได้ จริงๆ แล้ว โรคนี้หายได้หากลดความเครียดให้น้อยลง ซึ่งเข้าใจว่าสปาปลานั้น เป็นอีกกิจกรรมที่ช่วยให้คนผ่อนคลาย จึงมีส่วนให้อาการสะเก็ดเงินเริ่มบรรเทาไปบ้าง แต่ไม่ได้มีส่วนทำให้หายได้ปกติ” ผศ.พญ.สุวิรากร กล่าวย้ำ
Relate topics
- ใบสำคัญรับเงิน
- ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติ จะนะ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย โดย อ.จินตนา เจริญเนตรกุล ได้จัดอบรมการแปรรูปอาหารทะเล เช่น การทำข้าวเกรียบ
- บรรยากาศการแสดงโขนเฉลิมพระเกียรติ สุดยอดความอลังการ หนึ่งในกิจกรรมงานอาหารของแม่ เพื่อเทิดพระเกียรติแม่ของแผ่นดิน ณ ถนนสเน่หานุสรณ์
- บรรยากาศงานตลาดนัดเกษตรกรโอเดียน ประจำเดือนกรกฎาคม เมื่อวันที่ 4 ก.ค.58 โดยภายในตลาดไดมีคุณวรรณา สุวรรณชาตรี ผู้ประสานงานโครงการประชุมและเยี่ยมชมตลาด
- วันนี้ โครงการอาหารเป็นยา ปีที่ 2 อาหารเป็นยาสมุนไพร: กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา (Food as herbal medicine: A case study of Songkhla province)