บทความ

สังคมไทยอยากได้องค์การอิสระฯไม่ต้องรอกฎหมาย

by twoseadj @March,29 2011 10.20 ( IP : 113...64 ) | Tags : บทความ
photo  , 250x200 pixel , 19,467 bytes.

ผู้เขียนมีโอกาสไปประชุมวิชาการด้านคุ้มครองผู้บริโภค วันที่ 14-15  มีนาคม 2554 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมมิราเคิลล์แกรนด์ กรุงเทพมหานคร เนื่องด้วยวันคุ้มครองผู้บริโภคสากล (ตรงกับวันที่ 15 มีนาคม ของทุกปี) ด้วยแนวคิด "สามพลัง สานพลัง พัฒนางานคุ้มครองผู้บริโภค" มีโต้โผใหญ่คือ แผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (คคส.)  ประเด็นสำคัญที่เป็นตัวชูโรงปีนี้คือ "องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ก้าวใหม่สังคมไทย" ผู้เขียนเลยขอนำแนวคิดบางส่วนผสมผสานกับการลงทำงานอยู่ในพื้นที่

สองครั้งสองครา เจตนาเด่นชัดในรัฐธรรมนูญ

      องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค มิใช่แนวคิดที่เพิ่งเกิดขึ้นครั้งแรกในสังคมไทย เพราะสังคมไทยมีการบัญญัติรับรองสิทธิผู้บริโภคไว้ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 มาตรา 57 ซึ่งขณะนั้นก็ถือว่าเป็น แสงสว่างให้กับการทำงานด้านคุ้มครองผู้บริโภคในเมืองไทย บรรยากาศค่อนข้างคึกคักด้วยการทำวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้และการจัดเวทีเพื่อร่วมกันแลกเปลี่ยน การเข้าพบผู้มีอำนาจทางการเมือง หลายคน และสุดท้าย 10 ปี ความหวังของสังคมไทยก็ต้องสะดุดหยุดลง เมื่อครั้งเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมือง ลงท้ายด้วยการรัฐประหาร 19 กันยา รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวถูกฉีกลง แต่ก็ไม่เป็นไรชีวิตต้องสู้ต่อไป  เมื่อรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาตรา 61 บัญญัติรับรองสิทธิผู้บริโภค เปิดโอกาสให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมและแสดงบทบาทในการคุ้มครองผู้บริโภค โดยให้มีองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคขึ้น เพื่อทำหน้าที่เสนอแนะให้ความเห็นเกี่ยวกับนโยบาย กฎระเบียบ ข้อกำหนดเพื่อให้เกิดการคุ้มครองผู้บริโภค

      ทั้งนี้ต้องได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐอย่างพอเพียง ท้ายบทเฉพาะการมีการสำทับให้รัฐต้องตรากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการจัดตั้งองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี นับตั้งแต่มีการแถลงนโยบายต่อรัฐสภา

      การต่อสู้เรื่อง ร่าง พ.ร.บ.องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค จากหลายภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากภาคประชาชนมีมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) เป็นโต้โผสำคัญในการผลักดันร่วมล่ารายชื่อประชาชน 10,000 รายชื่อ รวมถึงเข้าพบรัฐมนตรีเจ้ากระทรวงผู้รับผิดชอบงานด้านคุ้มครองผู้บริโภคไม่น้อยกว่า 8 ท่าน แต่แล้วแต่รอดช่างคลอดอยากเย็นเสียเหลือเกิน

    ล่าสุดการต่อสู้เรื่อง พ.ร.บ.องค์การอิสระฯมีการพิจารณาร่างกฎหมายจำนวน 7 ฉบับที่เสนอเข้าสภาผู้แทนราษฎร (มีทั้งฉบับของ สส.,รัฐบาล,สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา,ภาคประชาชน) จนนำมาสู่การตั้งกรรมาธิการวิสามัญร่วม ระหว่าง สส.จากซีกรัฐบาล ฝ่ายค้า และ ภาคประชาชน ซึ่งภาคประชาชนเข้าไปเป็นกรรมาธิการวิสามัญจำนวน 1/3 คน ผลสรุปการพิจารณา พบว่า ยังมีความเห็นต่างในบางประเด็น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จำนวเงินอุดหนุนจากรัฐบาลที่จ่ายเป็นรายหัว ซึ่งร่าง พ.ร.บ.ฯของภาคประชาชนเสนอให้รัฐต้องจัดเงินอุดหนุนรายหัวไม่น้อยกว่า 5 บาท แต่ในที่ประชุมของคณะกรรมาธิการโดยเฉพาะซีกของรัฐบาลที่เห็นควรลดจำนวนลงเหลือ 3 บาท ก่อนที่จะพิจารณาให้วุฒิสภาพิจารณาร่างกม.ต่อไป โดยต้องภาวนา"ขออย่าให้มีการแก้ไขในชั้นวุฒิสภาเถิด" เพื่อจะให้ทันบังคับใช้ได้ในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หักลบสาระตะเวลาซึ่ง้หลือไม่เกิน 4 สัปดาห์ หากเกิดยุบสภาก่อนอาจต้องแช่แข็ง กม.ฉบับนี็ไว้อีกสักระยะ

สังคมไทย คงไม่ต้องรอ กม.ผ่านก็ไปต่อได้

    "อย่าไปตีโพยตีพาย" แม้ กม.ฉบับนี้จะไม่ผ่านหรือคลอดออกมา พวกเราก็ควรเตรียมพร้อม สอดคล้องกับงานวิจัยของ ดร.วิทยา กุลสมบูรณ์และคณะ,2547 เสนอว่า แม้สังคมไทยยังไม่มี กม.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย การจัดตั้ง องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค สังคมไทยควรต้องสร้างกระบวนการบางอย่าง เพื่อเรียนรู้เรื่ององค์กรที่เกิดขึ้น  ผู้เขียนเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะนี้ และจากประสบการณ์ร่วมเวทีวิชาการ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ขาดความเข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ขององค์การฯ และที่สำคัญมันจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไรต่อสังคมไทย

  การรอคงมิใช่คำตอบของสังคม มีความพยายามจัดรูปแบบงานคุ้มครองผู้บริโภคเป็นรูปแบบ องค์การอิสระฯ ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำร่องของ 3 จังหวัด คือ สงขลา สตูล และสุราษฎร์ธานี และแต่ละพื้นที่มีการก่อตัวและขึ้นรูปของการทำงานที่แตกต่างกัน ที่น่าสนใจคือ กรณีขององค์การบริหารส่วนตำบลควนรู

โครงสร้างกรรมการ
    อบต.ควนรู มีการจัดตั้งศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคที่มีลักษณะการบริหารงานแบบองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค โดยได้รับมอบหมายภารกิจ อำนาจและหน้าที่จากคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (อนุ สคบ.ประจำ อบต.) อันเป็นหน่วยงานได้รับการถ่ายโอนภารกิจงานคุ้มครองผู้บริโภคจาก สคบ. ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคจะมีคณะกรรมการทำหน้าที่ดำเนินงานของศูนย์ ฯ ประธานศูนย์จะมาจากการคัดเลือกภาคประชาชนที่สนใจทำงานด้านคุ้มครองผู้บริโภค ส่วนกรรมการที่เหลือก็เช่นเดียวกันมาจากภาคประชาชน

อบต.ควนรูยังสนับสนุน สถานที่ตั้งของศูนย์ฯซึ่งจะมีสำนักงานที่ทำการของศูนย์ฯแยกออกมาเป็นการเฉพาะจาก องค์การบริหารส่วนตำบลควนรู มีเจ้าหน้าที่ประสานงานอันเป็นตัวแทนของ อบต.ทำหน้าที่เชื่อมประสานระหว่าง ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

บทบาทหน้าที่

บทบาทขององค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคตามรัฐธรรมนูญ มีหน้าที่ 8 ประการ คือ 1) ทำหน้าที่ให้ความเห็นหรือคำแนะนำการตรา ออก กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคของหน่วยงานรัฐ 2) ตรวจสอบการกระทำหนือละเว้นการกระทำอันเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค 3) การสนับสนุนการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคของกลุ่มหรือเครือข่าย 4) การเปิดเผยข้อมูล ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการตรวจสอบหรือผลการตรวจพิสูจน์เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค 5) สนับสนุนการร้องเรียนของผู้บริโภคและกลุ่มผู้บริโภค 6) การฟ้องร้องคดีต่อศาลปกครองหรือ ศาลยุติธรรมเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค 7)การสนับสนุนการศึกษาวิจัย และ 8 การจัดสมัชชาผู้บริโภค  นับว่าเป็นบทบาทและหน้าที่ที่กว้างมาก แต่สำหรับการจำลององค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคใน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เน้นหลักการคือ "การจัดการตนเองของพื้นที่" :

บทบาทด้านคุ้มครองผู้บริโภคของศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคใน อปท.ยังไม่ครอบคลุมและรอบด้านดั่งเช่น องค์การอิสระฯตามรัฐธรรมนูญ โดยบทบาทการทำงานถูกกำหนดโดยแผนยุทธศาสตร์เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค อันเป็นแม่บทสำคัญที่ถูกกำหนดขึ้นตามความต้องการของพื้นที่ มีภารกิจสำคัญ 5-6 ด้าน คือ

1) การจัดการข้อมูลด้านคุ้มครองผู้บริโภค การทำงานด้านคุ้มครองผู้บริโภคต้องอาศัยหลักสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา คือ จำเป็นต้องมีองค์ความรู้ของพื้นที่เป็นฐานในการแก้ปัญหา เริ่มจากต้องตั้งคำถามว่าพื้นที่ขาดส่วนใด ปัจจัยที่เป็นสาเหตุคืออะไร มีต้นทุนทางสังคมที่สำคัญ สถานการณ์ผู้บริโภคเป็นอย่างไร

2)การพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค และเครือข่าย ต้องยอมรับอย่างหนึ่งคือ ความคุ้นเคยในเรื่องงานคุ้มครองผู้บริโภคของ อปท.มีน้อย จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาทั้งในด้านความรู้ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคแก่แกนนำ ผู้บริโภค กลุ่มเครือข่ายของพื้นที่ ผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ส่งเสริมการรวมกลุ่มเพื่อดำเนินกิจกรรมอันเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคและให้แต่ละกลุ่มมีกิจกรรมของตนเอง
3)การเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์ หรือสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค การสร้างกลไกเฝ้าระวังทั้งในเรื่องผลิตภัณพ์และภัย(หรือ)สถานการณ์ปัญหาผู้บริโภคในพื้นที่ และอาศัยทุนทางสังคมของพื้นที่ในการเตือนภัย เช่น วิทยุเครื่องแดง วิทยุชุมชน เป็นต้น
4)การประสานงานในเรื่องการรับเรื่องร้องเรียน ไกล่เกลี่ย ชดเชยค่าเสียหาย บทบาทการรับเรื่องร้องเรียนจะถูกมอบหมายบทบาทนี้มาจาก คณะอนุกรรมการ สคบ.ประจำ อปท. โดยการเปิดช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนปัญหาผู้บริโภคในพื้นที่ เช่นการเปิดศูนย์ การมีกล่องเขียว การจัดรับเรื่องร้องเรียนผ่านเวทีประชาคมหมู่บ้าน
5)การสื่อสารสาธารณะ เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร และการดำเนินงานของศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคผ่านช่องทางสื่อที่มีในชุมชน เช่น รายการผู้บริโภคผ่านวิทยุชุมชน จัดทำสื่อสิ่งพิมพ์ การประชาสัมพันธ์ผ่านวารสารของ อปท.

กลไกการทำงานด้านคุ้มครองผู้บริโภค

การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานของศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้มีประสิทธิภาพ และมีกลไกที่สอดคล้องในพื้นที่ สรุปได้ดังนี้

1)การดำเนินงานภายใต้กฎหมาย
การดำเนินงานของศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคอยู่ภายใต้คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค สามารถดำเนินงานได้โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายที่ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคและหรือ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ถ่ายโอนภารกิจมาให้

2)ความเป็นองค์การอิสระ

การอาศัยพลังจากผู้บริโภคเพื่อให้การดำเนินงานมีความยืดหยุ่น อาศัยทุนทางสังคม(Social Capital) เป็นต้นทุนในการขับเคลื่อนงาน โดยพลังทางสังคมจะสามารถทำให้การทำงานเป็นไปได้ด้วยความสะดวกและคล่องตัว

แม้บทบาทหน้าที่ของศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคในลักษณะองค์การอิสระ จะไม่ครอบคลุมหรือเทียบเท่ากับองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคในระดับประเทศ อันเป็นองค์การอิสระที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ แต่เป็นกระบวนการเรียนรู้เรียนรู้ของพื้นที่ เน้นให้เกิดการพึ่งตนเอง อันจะนำมาสู่การยั่งยื่นของการทำงานคุ้มครองผู้บริโภค เพราะเราปฏิเสธไม่ได้ว่า

เขียนโดย สมชาย ละอองพันธุ์ ผู้ประสานงานวิชาการศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคสงขลา

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง