ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์

เครือข่ายคนไทยไม่เอาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อุบลฯ จี้รมว.พลังงานล้มโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

by twoseadj @March,22 2011 10.43 ( IP : 202...130 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์
photo  , 392x300 pixel , 28,788 bytes.

อุบลราชธานี - เครือข่ายคนไทยไม่เอาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เมืองดอกบัว บุกโรงแรมจี้ “วรรณรัตน์ ชาญนุกูล” รมว.พลังงานล้มโครงการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ด้าน รมว.พลังงานรับเป็นเพียงการศึกษาความเป็นไปได้ ยังไม่มีโครงการสร้างแต่อย่างใด ระบุขณะนี้ไทยมีทางเลือกใช้พลังงานด้านอื่นอีกมาก โดยเฉพาะพลังงานสะอาดที่มีผู้สนใจลงทุนเกินเป้าที่รัฐตั้งไว้

วันนี้ (21 มี.ค.) ที่โรงแรมลายทอง จ.อุบลราชธานี น.พ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.กระทรวงพลังงาน บรรยายพิเศษเรื่องบทบาทหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สกพ.) ประจำเขต 5 ที่ให้บริการประชาชนในการออกใบอนุญาต การให้คำปรึกษาปัญหาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการด้านพลังงาน ไฟฟ้าในพื้นที่ 8 จังหวัดอีสานใต้ ประกอบด้วย ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ ยโสธร ร้อยเอ็ด มุกดาหาร กาฬสินธุ์ มหาสารคาม และอุบลราชธานี โดยมีหัวหน้าส่วนราชการและผู้ประกอบการด้านกิจการพลังในเขต 8 จังหวัดร่วมรับฟังหลายร้อยคน

ขณะเดียวกันที่บริเวณหน้าโรงแรม กลุ่มเครือข่ายคนไทยไม่เอาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ประมาณ 100 คน นำโดย น.ส.สดใส สร่างโศก จับกลุ่มถือป้ายประท้วงไม่เอาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่กระทรวงพลังงานมีเป้า หมายจะมาสร้างในพื้นที่ อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี ตามแผนพัฒนากำลังไฟฟ้าสำรอง หรือพีดีพี 2010 ของกระทรวงพลังในอีก 5-6 ปีข้างหน้า

ซึ่งเนื้อหาของจดหมายได้ชี้เหตุผลของการความเสี่ยงของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 4 ประการ คือด้านมิติสิ่งแวดล้อม สารกัมมันตภาพรังสีสมารถปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อมได้หลายทาง เช่น ในรูปฝุ่นละอองและก๊าซ นำไปสู่การปนเปื้อนทางการเกษตร น้ำทั้งปนเปื้อนรังสี สะสมในสัตว์น้ำเข้าสู่ห่วงโซ่อาหาร คนกิน ปลา กินผัก ดื่มนม กินเนื้อ เข้าสู่ร่างกายโดยทางผิวหนัง สัมผัสรังสีโดยตรง ฯลฯ มิติ ด้านเศรษฐกิจ ต้นทุนไม่ได้ถูกจริง โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ มีปัญหาต้นทุนบานปลาย การตั้งงบประมาณไว้ 1แสนล้าน สร้างจริงอาจต้องใช้งบไม่ต่ำกว่า 2-3 แสนล้าน ซึ่งประชาชนก็จะตกเป็นผู้แบกรับภาระอย่างแน่นอน เช่นกรณี โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Olkiluoto 3 ประเทศฟินแลนด์ เริ่มก่อสร้างปี 2548 ขณะนี้ล่าช้ากว่ากำหนด 3 ปี งบประมาณบานปลายจาก 3,200 เป็น 5,500 ล้านยูโร หรือ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Framanville 3 ประเทศฝรั่งเศส เริ่มก่อสร้าง ธ.ค. 2550 เกิดปัญหาล่าช้าและต้นทุนบานปลายเช่นกัน ด้านการพึ่งตนเองซึ่งไม่เป็นไปตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง เพราะเป็นโรงงานที่ไม่สามารถพึ่งตนเองได้ ต้องนำเข้าเทคโนโลยี่ และนำเข้าเชื้อเพลิงทั้งหมดตลอดอายุการใช้งาน และมิติทางด้านสังคม นำไปสู่ความขัดแย้งอย่างรุนแรงในสังคม

พร้อมทั้งเสนอทางเลือกในการจัดการด้านพลังงานคือ ต้องยกเลิกแผนการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์และโรงไฟฟ้าถ่านหินในประเทศ ไทย และควรเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพและการประหยัดพลังงาน ซึ่งให้ลดการใช้พลังงานให้ได้ 13 % ภายใน พ.ศ. 2573 ประเทศไทย จะสามารถลดการใช้พลังงาน 45,200 ล้านหน่วยหรือ 7,300 เมกะวัตต์ เท่ากับการหยุดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้ 5 โรง

ต่อมารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้ลงมารับหนังสือคัดค้านจากกลุ่มผู้ ประท้วง พร้อมระบุว่าขณะนี้รัฐบาลยังไม่มีแผนสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทย ที่ผ่านมาเป็นเพียงแผนการศึกษาความเป็นไปได้ แต่เมื่อเกิดเหตุร้ายกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศญี่ปุ่น ทำให้แผนการจัดหาพลังงานด้านนี้ ต้องเลื่อนออกไปไม่มีกำหนด เพราะการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทย ยังต้องมีการศึกษาด้านความปลอดภัยอีกมาก

นพ.วรรณรัตน์ระบุต่อไปว่า สำหรับแผนการพัฒนากำลังไฟฟ้าสำ รองในประเทศไทยขณะนี้ มีทางเลือกหลายทาง โดยเฉพาะพลังงานทดแทนด้านชีวมวล พลังงานน้ำ พลังงานลม และพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งปัจจุบันมีผู้สนใจลงทุนเกินเป้าหมายไปมาก โดยพลังงานแสงอาทิตย์ได้ตั้งเป้าไว้ราว 500 เมกะวัตต์ภายใน 15 ปี แต่ขณะนี้มีผู้เสนอมา 2,900 เมกะวัตต์ ส่วนพลังงานลมตั้งเป้าไว้ 800 เมกะวัตต์ แต่เสนอมาแล้ว 1,400 เมกะวัตต์ ซึ่งพลังงานทางเลือกนี้เป็นพลังงานสะอาด และสามารถสร้างความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้าให้ประเทศได้อย่างดี

อย่างไรก็ตาม รมว.พลังงานยังเรียกร้องให้คนไทยเรียนรู้ในการใช้พลังงานอย่างประหยัด และคุ้มค่าที่สุด เพื่อไม่เป็นปัญหากับประเทศในการจัดหากำลังไฟฟ้าสำรองไว้ใช้ต่อไปในอนาคต

ด้าน น.ส.สดใสกล่าวว่า แม้รัฐบาลชะลอการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในระยะนี้ไปก่อน แต่แผนการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ยังคงอยู่ในแผนพัฒนากำลังไฟฟ้าสำรองใน อนาคตต่อไป กลุ่มก็ยังเดินหน้าให้ความรู้เรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อีกด้านหนึ่งที่หน่วย งานยังไม่เปิดเผยความจริงให้ประชาชนทราบต่อไปด้วย

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง