ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์

โปแตสเซียมไอโอไดด์'ป้องกันต่อมไทรอยด์

by twoseadj @March,20 2011 10.18 ( IP : 202...65 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์
photo  , 260x174 pixel , 14,129 bytes.

บริโภคถูกวิธีลดอันตรายจากรังสีฯ

ต่อมไทรอยด์ เป็นต่อมที่มีหน้าที่ในการควบคุมการใช้พลังงานของร่างกาย ถ้าหากเราไม่มีต่อมไทรอยด์หรือต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยลงก็จะส่งผลต่อสุขภาพ ร่างกาย โดยเฉพาะสารกัมมันตรังสีที่แพร่กระจายอยู่ในประเทศญี่ปุ่นขณะนี้ ทั่วโลกต่างพากันวิตกกังวลเกรงว่าจะได้รับผลกระทบจากสารพิษ เพราะหากได้รับเข้าสู่ร่างกายและสะสมเป็นจำนวนมากอาจทำลายต่อมไทรอยด์และ กลายเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ซึ่งเป็นโรคร้ายที่เรากลัวกันในที่สุด...!!!

รศ.นพ.ธวัชชัย ชัยวัฒนรัตน์ หัวหน้าสาขาเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ฝ่ายรังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ให้ความรู้ว่า สารกัมมันตรังสีที่เราพูดถึงกันอยู่ในขณะนี้ บางชนิดมีอยู่ในธรรมชาติทั้งในแบบที่เสถียรคือ ไม่มีการปล่อยรังสี และแบบมีการปล่อยรังสีซึ่งจะเรียกว่า สารกัมมันตรังสี ส่วนรังสีที่ปล่อยออกมาก็มีหลายชนิด เช่น รังสีแกมมา หรือ รังสีเอกซเรย์ที่เรารู้จักกันทั่วไป สารกัมมันตรังสีมีหลากหลายชนิด ทุกชนิดถ้าหากเข้าสู่ร่างกายแล้วอันตรายของมันอยู่ที่ปริมาณที่ได้รับว่าจะ มากน้อยเพียงใด เมื่อเราได้รับสารกัมมันตรังสีเข้าสู่ร่างกายแล้วมันจะไปทำลายสารพันธุกรรม ในร่างกายหรือที่เรารู้จักกันคือ “สารดีเอ็นเอ” (DNA) ซึ่งจะทำให้สารพันธุกรรมมีการเปลี่ยนแปลงหรือเสียหายไป

หากเราได้รับในปริมาณน้อย ๆ ร่างกายสามารถซ่อมแซมส่วนที่เสียหายให้กลับคืนมาได้เป็นปกติก็จะไม่เกิดโรค ใด ๆ แต่ถ้าหากได้รับในปริมาณที่มากขึ้น หรือในระดับปานกลางจนทำให้สารพันธุกรรมถูกทำลายเสียหายมาก ร่างกายไม่สามารถซ่อมแซมกลับคืนมาได้หมดก็จะทำให้การเสียหายนั้นยังคง ค้างอยู่ ซึ่งปกติแล้วสารพันธุกรรมเป็นตัวควบคุมการเจริญเติบโตหรือการแบ่งตัวของ เซลล์ ดังนั้นเมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นจะทำให้การควบคุมการทำงานของเซลล์ การแบ่งตัวหรือการเจริญเติบโตของเซลล์ผิดปกติไป ส่งผลให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา โดยโรคที่เรากลัวกันมากที่สุดคือ “โรคมะเร็ง”

อย่างไรก็ตามสำหรับอาการ ที่เกิดขึ้นหลังจากได้รับสารกัมมันตรังสีนั้นอยู่ที่ว่าอวัยวะใดได้รับความ เสียหายมากมายแค่ไหน เช่น ถ้าเราได้รับปริมาณรังสีมากในระบบทางเดินอาหาร เซลล์ในระบบทางเดินอาหารตายไปจำนวนมาก จะเกิดอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หรือได้รับความเสียหายต่อเซลล์ของผมก็จะเกิดอาการผมร่วง และระดับสุดท้ายถ้าร่างกายเราได้รับสารกัมมันตรังสีในปริมาณที่มากจนกระทั่ง เซลล์ตายไปทั้งหมดทั่วร่างกายก็จะทำให้เราเสียชีวิตได้ ซึ่งทั้งหมดนี้ถือเป็นอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้จากรังสีทุกชนิด

สำหรับชนิดของสารกัมมันตรังสีที่กำลังเป็นกระแสข่าวกันอยู่ในขณะนี้คือ “สารไอโอดีนรังสี-131” สามารถอยู่ในแบบที่เป็นก๊าซ หรือเป็นสารละลายธรรมดา ไม่มีสี ไม่มีรส จะทราบได้ก็ต่อเมื่อมีเครื่องมือวัด สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทางการหายใจและรูปแบบน้ำก็สามารถเข้าสู่ร่างกายโดย การดื่มกินหรือฉีดเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วก็จะไปอยู่ที่ต่อมไทรอยด์ ซึ่งโดยปกติแล้วร่างกายของเราใช้ไอโอดีนในการสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ ฉะนั้นเมื่อได้รับสารนี้เข้าไปจะทำให้ไปสะสมในต่อมไทรอยด์โดยตรง ซึ่งปริมาณจะมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่ที่เราสูดดมเข้าไป เมื่อเซลล์ของต่อมไทรอยด์ได้รับรังสีก็จะเกิดความเสียหาย

ถ้าได้รับปริมาณที่ไม่มากร่างกายจะสามารถซ่อมแซมกลับคืนมาได้ แต่ถ้าได้รับจำนวนมากขึ้นในระดับปานกลางจนร่างกายซ่อมแซมได้ไม่หมดในอนาคต จะทำให้เกิด มะเร็งต่อมไทรอยด์ได้ แต่ถ้าได้รับปริมาณมาก ๆ จนกระทั่งทำลายต่อมไทรอยด์จนหมดก็จะทำให้เราไม่มีต่อมไทรอยด์หรือต่อม ไทรอยด์ทำงานน้อยลง ซึ่งไม่ถึงกับทำให้เราเสียชีวิต แต่หากต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป การใช้พลังงานในร่างกายก็จะไม่สมดุล คนไข้จะมีอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง การเผาผลาญอาหารไม่ดี รับประทานอาหารเข้าไปเล็กน้อยก็ทำให้เราอ้วนได้ เนื่องจากไม่สามารถนำไปใช้เป็นพลังงานได้

ส่วนการป้องกันนั้นหากเรารู้ตัวว่าอยู่ในพื้นที่เสี่ยงหรือกำลังจะเข้าไปใน พื้นที่ที่มีสารไอโอดีนรังสี 131 นี้ ควรรับประทานยา “โปแตสเซียมไอโอไดด์” ซึ่งมีส่วนผสมของสารไอโอดีนก่อน แต่ถ้าได้รับรังสีเข้าไปแล้วการรับประทานยาก็ไม่ได้ผลเท่าที่ควร โดยปกติแล้วต่อมไทรอยด์จะสามารถรับไอโอดีนได้ในจำนวนจำกัด ถ้ารับได้เต็มที่แล้วจะหยุดรับตัวต่อไป ฉะนั้นวิธีป้องกันการจับของไอโอดีนรังสีในต่อมไทรอยด์ คือรับประทานไอโอดีนแบบที่ไม่มีรังสีในปริมาณที่มากพอจนทำให้ต่อมไทรอยด์ อิ่ม โดยผู้ใหญ่แนะนำให้รับประทานจำนวน 1 เม็ด ขนาด 130 มิลลิกรัมต่อวันและในเด็กลดขนาดลงตามน้ำหนักตัว เมื่อต่อมไทรอยด์อิ่มด้วยไอโอดีนแล้ว หากเราสูดดมไอโอดีนรังสีเข้าไปอีกต่อมไทรอยด์ก็จะไม่รับรังสีหรือไม่ดูดซึม เข้ามาอีก ถือเป็นการป้องกันไม่ให้ต่อมไทรอยด์ได้รับรังสีและป้องกันการเกิดอันตรายต่อ ต่อมไทรอยด์ได้

อาการหลังจากได้รับการสูดดมเข้าไปแล้ว ถ้าได้รับในปริมาณน้อย ๆ เราจะไม่รู้สึกหรือมีอาการใด ๆ แต่ถ้าหากสูดดมเข้าไปในปริมาณมาก อาจเกิดการอักเสบของต่อมไทรอยด์จะมีอาการเจ็บที่บริเวณคอ หากได้รับมากขึ้นอีกเซลล์ต่อมไทรอยด์อาจจะตายหมดจนเกิดการขาดไทรอยด์ฮอร์โมน ได้ ถ้าได้รับไอโอดีนรังสีในปริมาณปานกลางจะไม่เกิดอาการใด ๆ แต่สารพันธุกรรมในร่างกายของเราจะเปลี่ยนแปลงไปและในอนาคต 10-30 ปีมีโอกาสที่จะเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ได้ อย่างไรก็ดีในกรณีนี้มิใช่ว่าจะกลายเป็นมะเร็งทุกราย ส่วนใหญ่ร่างกายสามารถทำลายเซลล์ที่ผิดปกติเหล่านั้นได้ก่อนที่จะลุกลามกลาย เป็นมะเร็ง จะมีส่วนน้อยเท่านั้นที่ร่างกายอาจไม่สามารถทำลายเซลล์เหล่านั้นได้หมดก็จะ กลายเป็นมะเร็งในภายหลังได้ ซึ่งจะมีอาการคือคลำพบก้อนที่บริเวณคอ โดยเราสามารถคลำพบได้ด้วยตัวเอง ส่วนการรักษาจะง่ายมากหากพบในผู้ป่วยที่เพิ่งเริ่มเป็นใหม่ ๆ จะทำการผ่าตัดเอาตัวก้อนนั้นออกไป จากนั้นให้ดื่มน้ำแร่รังสีเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็งที่หลงเหลืออยู่หลังการผ่าตัด ให้หมดไป

สำหรับการรับประทานยาโปแตสเซียมไอโอไดด์นั้น ควรใช้ในกรณีที่มีความเสี่ยงจริง ๆ เท่านั้นเนื่องจากยาดังกล่าว อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้โดยเฉพาะถ้าแพ้สารไอโอดีนแล้วอาจถึงชีวิตได้ การที่เราจะทราบว่ามีความเสี่ยงหรือไม่ก็ด้วยวิธีติดตามข่าวสารจากทางราชการ ว่าในเวลานั้นมีปริมาณรังสีในบรรยากาศมากน้อยเพียงใด หากมีปริมาณมากจนมีความเสี่ยงทางราชการจะมีหน้าที่ประกาศให้ประชาชนทราบว่า ประชากรกลุ่มใดควรจะต้องได้รับยาโปแตสเซียมไอโอไดด์ เนื่องจากประชากรแต่ละกลุ่มมีความเสี่ยงไม่เท่ากัน เด็กเล็กมีความเสี่ยงมากกว่าผู้ใหญ่ ส่วนผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีแทบจะไม่มีความเสี่ยงเลย นอกจากนี้วิธีการรับประทานยาก็มีความสำคัญ หากรับประทานมากเกินไปก็อาจเกิดผลข้างเคียง แต่ถ้ารับประทานน้อยเกินไปก็ไม่ได้ผลในการป้องกัน ดังเช่น ข่าวลือเรื่องการใช้ยาทาแผลทาที่บริเวณคอนั้นเป็นวิธีที่ไม่ถูกต้องไม่ สามารถป้องกันได้เลย.

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง