ภาคีเครือข่าย 11 องค์กร หนุนรัฐบาลให้คลอด พ.ร.บ.องค์การอิสระ ตามรัฐธรรมนูญ “สารี” ย้ำองค์กร คกก.ในองค์การอิสระไม่ใช่เอ็นจีโอ แต่เป็นภาคประชาชน ทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ด้าน ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ชี้เวทีประชุม กมธ.ย้ำชัดต้องนำเข้าสภาฯภายใน 23 มี.ค.นี้
วันนี้ (14 มี.ค.) นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมวิชาการคุ้มครองผู้บริโภคครั้งที่ 2 ซึ่งมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเครือข่ายรวม 11 องค์กร เข้าร่วมประชุม ณ รร.มิราเคิลแกรนด์ กทม.ว่า เนื่องในโอกาสเป็นวันสิทธิผู้บริโภคสากล (World Consumer Right Day) 15 มี.ค.ของทุกปี ในการจัดประชุมครั้งนี้ ทาง เครือข่ายเห็นตรงกันว่า ควรมีการผลักดันให้เกิดการก่อตั้งองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคโดย เร็ว ซึ่งภาคส่วนต่างๆมีการผลักดันในด้านการขับเคลื่อน ร่าง พ.ร.บ.องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อเป็นการพัฒนาวิชาการด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและพัฒนาไปสู่การทำงาน คุ้มครองผู้บริโภคร่วมกันของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน โดยไม่เกี่ยวข้องกับภาครัฐ ซึ่งการก่อตั้งองค์กรดังกล่าวนี้จะเป็นการก่อตั้งอย่างถูกต้องตามหลักรัฐ ธรรมนูญ ฉบับ 2550 ซึ่งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ได้พิจารณาเสร็จสิ้นแล้วเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา และได้ส่งเข้าวาระการประชุมของรัฐสภา นอกจากนี้ ทางภาคีเครือข่ายได้มีการออกยุทธศาสตร์ในเรื่องของการคุ้มครองผู้บริโภคด้าน อื่นๆ ร่วมกันในประเด็นอื่นที่สำคัญ ได้แก่ การสร้างเครือข่ายเฝ้าดูและระวังความปลอดภัยของผู้บริโภค การคุ้มครองด้านอาหาร เรื่องการใช้ยาอย่างเหมาะสม ป้องกันการเกิดยาเหลือใช้ และการเกิดขึ้นของเครือข่ายเฝ้าระวัง โดยในส่วนของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้มีการสร้างโครงการคอบครัวฉลาดซื้อขึ้น มาเพื่อช่วยเฝ้าระวังการเอาเปรียบจากผู้ประกอบการ
“ในเรื่องของการอำนาจหน้าที่ กรรมการ และงบประมาณสนับสนุนองค์การอิสระของร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวนั้น เป็นการเพิ่มอำนาจประชาชน สนับสนุนการใช้สิทธิร้องเรียน ให้ดำเนินคดีในชั้นศาลปกครอง สนับสนุนให้การช่วยเหลือด้านต่างๆ ได้ง่ายขึ้น ซึ่งในปีนี้และในอนาคตการทำงานขององค์การอิสระจะเน้นที่การเคลื่อนไหวโดยภาค ประชาชน ซึ่งไม่ใช่เอ็นจีโอเดินหน้าคุ้มครองภาคประชาชนในทุกด้าน เช่น การเน้นป้องกันและสร้างเสริมสุขภาพประชาชน โดยพยายามสนับสนุนรัฐบาลในการยกเลิกการใช้แร่ใยหินในการผลิตสินค้าต่างๆ เนื่องจากเป็นอันตรายต่อสุขภาพ การเดินหน้าโครงการติดฉลากขนมในลักษณะคล้ายไฟจราจร เป็นต้น” นางสาวสารี กล่าว
นางสาวสารี กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ในการเสวนากลุ่มเล็ก ทางภาคียังมีการการสรุปการดำเนินงานเกี่ยวกับ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ....อีกด้วย โดยทุกฝ่ายเห็นว่า ข้อสรุป 12 ประเด็นที่ สธ.ได้นัดหารือร่วมระหว่างกลุ่มแพทย์และภาคประชาชนนั้น เป็นทางออกที่ดีที่สุดแล้ว ดังนั้นขณะนี้ทางภาคประชาชนคงทำหน้าที่ได้แค่ การเร่งรัดรัฐบาลให้ตอบให้ได้ว่าจะเอาหรือไม่เอากฎหมายดังกล่าวก็เป็นพอ ซึ่งเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ก็ได้ดำเนินการทำหนังสือชี้แจงอย่างต่อ เนื่อง ทั้งนี้หากรัฐบาลมีคำตอบว่า จะใช้ร่างกฎหมายดังกล่าว ส่วนของมูลนิธิและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคงจะเคลื่อนไหวอีกครั้งเพื่อร่วม ปรับแก้เนื้อหาเพิ่มเติม แต่ขณะนี้ในเมื่อรัฐบาลยังตอบไม่พิจารณาเราคงต้องรอไปก่อน เนื่องจากทุกอย่างที่ทำนั้นเป็นไปตามขั้นตอนที่เหมาะสมแล้ว คงไม่ต้องการเรียกร้องอะไรเพิ่มเติม
นางรัชฎาภรณ์ แก้วสนิท ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค และกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วิปรัฐบาล) กล่าวว่า ได้มีการย้ำในที่ประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญวิสามัญร่าง พ.ร.บ.องค์การอิสระเพื่อผู้บริโภคว่าร่างกฏหมายฉบับนี้ต้องนำเข้าที่ประชุม สภาผู้แทนราษฎรโดยเร็วไม่ควรเกินวันที่ 23 มี.ค.นี้
Relate topics
- ใบสำคัญรับเงิน
- ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติ จะนะ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย โดย อ.จินตนา เจริญเนตรกุล ได้จัดอบรมการแปรรูปอาหารทะเล เช่น การทำข้าวเกรียบ
- บรรยากาศการแสดงโขนเฉลิมพระเกียรติ สุดยอดความอลังการ หนึ่งในกิจกรรมงานอาหารของแม่ เพื่อเทิดพระเกียรติแม่ของแผ่นดิน ณ ถนนสเน่หานุสรณ์
- บรรยากาศงานตลาดนัดเกษตรกรโอเดียน ประจำเดือนกรกฎาคม เมื่อวันที่ 4 ก.ค.58 โดยภายในตลาดไดมีคุณวรรณา สุวรรณชาตรี ผู้ประสานงานโครงการประชุมและเยี่ยมชมตลาด
- วันนี้ โครงการอาหารเป็นยา ปีที่ 2 อาหารเป็นยาสมุนไพร: กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา (Food as herbal medicine: A case study of Songkhla province)