ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์

สบท.เผย “กฎหมายโทรคมนาคม” ถูกละเมิดเพียบ

by twoseadj @March,10 2011 00.07 ( IP : 202...65 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์ , อบต.ควนรู
photo  , 640x529 pixel , 54,671 bytes.

นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) เปิดเผยว่า ตามประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ.2549 ข้อ 25 ให้ความคุ้มครองผู้บริโภคในการระงับใช้บริการชั่วคราวได้ โดยแจ้งให้บริษัททราบล่วงหน้า 3 วัน โดยบริษัทจะกำหนดระยะเวลาขั้นต่ำสุดหรือสูงสุดที่ยินยอมให้ระงับการใช้ บริการชั่วคราว ที่สำคัญคือ บริษัทไม่มีสิทธิเรียกเก็บค่าใช้จ่าย ในกรณีที่ผู้บริโภคขอระงับบริการชั่วคราว เมื่อครบกำหนดการขอระงับใช้บริการ บริษัทต้องเปิดบริการให้ผู้บริโภคทันทีโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย

นายประวิทย์ กล่าวด้วยว่า สิทธิในการระงับบริการชั่วคราว จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้บริโภค ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องระงับบริการชั่วคราว เช่น เดินทางไปต่างประเทศ หรือมีเหตุจำเป็นที่ทำให้ไม่สามารถใช้บริการได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยทำให้สามารถเก็บเลขหมายของตนเองไว้ได้โดยไม่จำเป็นต้องยกเลิกบริการ

อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบข้อมูลของ สบท. พบว่า ในทางปฏิบัติ มีเพียงผู้ให้บริการรายเดียวที่เปิดให้ผู้บริโภคสามารถระงับบริการชั่วคราว ได้ 2 ปี โดยไม่คิดค่าบริการ 30 วันแรก หลังจากนั้นคิดค่ารักษาเลขหมายเดือนละ 60 บาท ขณะที่ผู้ให้บริการที่เหลือไม่ได้ให้สิทธิผู้บริโภคในการระงับบริการชั่ว คราวตามกฎหมาย หากมีการระงับบริการชั่วคราวต้องจ่ายค่าบริการตามปกติ หรือสมัครใช้โปรโมชั่นที่ราคาต่ำสุด หรือบางรายที่เป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์บ้านและมีบริการเชื่อมต่ออิน เทอร์เน็ตด้วย ให้สิทธิในการระงับบริการชั่วคราวโทรศัพท์บ้านได้ แต่ต้องจ่ายค่ารักษาคู่สายโทรศัพท์ และกรณีสมัครใช้บริการอินเทอร์เน็ตไว้ด้วย ไม่สามารถระงับการใช้บริการชั่วคราวได้ ต้องยกเลิกบริการเท่านั้น อีกทั้งหากระงับบริการชั่วคราวโทรศัพท์บ้านจะไม่สามารถโทรออกหรือรับสายได้ ทำให้สัญญาณอินเทอร์เน็ตถูกตัดไปโดยอัตโนมัติ หากไม่ยกเลิกบริการ ก็จะต้องจ่ายค่าบริการรายเดือนให้กับการใช้บริการอินเทอร์เน็ตต่อไป

ผอ.สบท. กล่าวต่อไปว่า โดยข้อเท็จจริงผู้ให้บริการจะยึดผลกำไรเป็นหลักไม่ใช่กฎหมายเป็นหลัก ดังนั้นในแง่ของการปฏิบัติตามกฎหมายโทรคมนาคมจึงพบว่า มีหลายประเด็นที่ผู้ให้บริการไม่ได้ปฏิบัติตามกฎหมาย เช่น ที่ชัดเจนก็คือ ระบบเติมเงินต้องไม่มีการกำหนดวันหมดอายุ หรือ การต้องส่งอัตราค่าบริการให้ กทช. ดูก่อน 30 วัน แต่ส่วนใหญ่ก็ออกโฆษณาไปก่อนจึงส่งมาให้ตรวจสอบ เป็นต้น หากฝ่ายกำกับดูแลไม่มีศักยภาพในการติดตาม ก็จะเป็นเหมือนเขียนกฎหมายให้เป็นกระดาษ ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาระบบติดตามตรวจสอบว่าผู้ให้บริการปฏิบัติตามกฎหมาย หรือไม่

“ตามกฎหมายผู้ให้บริการจะต้องรายงานเรื่องร้องเรียนทุก 6 เดือน ซึ่งผลจากการรายงานพบว่า เรื่องร้องเรียนทั้งปีจากลูกค้า 10 กว่าล้านราย มีผู้ร้องเรียนแค่ 100 กว่าราย ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาระบบตรวจสอบการรายงานด้วย ตัวช่วยที่จะทำให้กฎหมายเป็นจริงมากขึ้นก็คือ การลงทุนด้านเทคโนโลยีเพื่อติดตามคุณภาพการให้บริการของผู้ประกอบการ เช่น มีการบล็อกสัญญาณปิดกั้นสัญญาณหรือไม่ โทรเข้าโทรออกสำเร็จหรือไม่ ประการที่สองคือ ต้องให้ผู้ใช้บริการมีส่วนร่วมในการติดตามตรวจสอบ โดยเปิดช่องทางให้เขาแจ้งเหตุว่ามีการฝ่าฝืนกฎหมาย เพื่อให้ฝ่ายที่ถือกฎหมายดำเนินการต่อไป” นายประวิทย์กล่าว

ผอ.สบท.กล่าวต่อไปว่า กฎหมายด้านโทรคมนาคม เป็นกฎหมายที่มีโทษทางปกครองเท่านั้น ต่างจากกฎหมายของ สคบ. เช่น ถ้า สคบ. แจ้งให้เข้าร่วมประชุม หรือมีหนังสือเชิญ หรือแจ้งให้ต้องส่งเอกสาร ถ้าฝ่าฝืนถือเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานมีความผิดตามประมวลกฎหมาย อาญา มีโทษทางอาญา บริษัทก็จะถือปฏิบัติ แต่ตามกฎหมายโทรคมนาคมมีความผิดแค่ทางปกครอง บริษัทก็จะให้ความเคารพน้อยกว่า

“ทางออกจึงต้องมีการสร้างความร่วมมือกับผู้ประกอบการด้วย คือ ให้ผู้ประกอบการตรวจสอบกันเอง และสร้างศักยภาพให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมในการตรวจสอบได้ ผู้บริโภคมีข้อมูลเพียงพอในการเลิกใช้หรือยกเลิกบริการได้ โดยให้มีการเผยแพร่ข้อมูลเพื่อให้เกิดพลังกดดัน และผู้บังคับใช้กฎหมายต้องเอาจริงเอาจังมากกว่านี้ จึงถือว่าถ้าไม่มีการแจ้งเหตุแสดงว่าไม่มีการทำผิดกฎหมายคงไม่ถูก เพราะบางครั้งการทำผิดกฎหมายเกิดขึ้นต่อหน้าต่อตา เป็นความผิดซึ่งหน้า ไม่ต้องรอหมายจับก็จับได้เลย” ผอ.สบท. กล่าว

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง