ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์

ประชุม กมธ.วิสามัญร่างประกันสังคมไม่คืบ เตรียมจัดเวทีชำแหละ 12 มี.ค.นี้

by twoseadj @March,09 2011 23.58 ( IP : 202...65 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์
photo  , 277x182 pixel , 12,376 bytes.

วันที่ 7 มีนาคม 54 คณะกรรมการผลักดันนโยบาย ร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ... (ฉบับที่..) ได้มีการประชุมเพื่อรับฟังการสรุปการประชุมของตัวแทนแรงงานในคณะกรรมาธิการ วิสามัญร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. … ซึ่งมีนายชัยสิทธิ์ สุขสมบูรณ์ นางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย และทีมที่ปรึกษา

นางสาววิไลวรรณ แซ่เตียเล่าว่า จากการประชุมคณะกรรมาธิการฯ 2ครั้งพบว่า การประชุมร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม (สปส.)มีการพิจารณาไวมาก และไม่มีการหยิบร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมที่ได้มีการรับหลักการพร้อมๆ กันอีก 3 ร่างมาพิจารณาไปพร้อมๆกันไปด้วยแม้ว่าทางตัวแทนแรงงานและที่ปรึกษาจะพยายาม ยกมือขออภิปราย ประธานที่ประชุมก็จะทำเป็นมองไม่เห็นทำให้รู้สึกว่าเหมือนกับกรรมาธิการฯชุด นี้จะเร่งให้ร่างมีการพิจารณาจบลงอย่างรวดเร็วอาจด้วยเหตุผลว่าใกล้จะมียุบ สภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้นำเสนอข่าวเรื่องกฎหมายประกันสังคมในการให้ความคุ้มครองครอบครัวผู้ ประกันตน สามี หรือภรรยา และบุตร ซึ่งประเด็นนี้ในส่วนของกรรมาธิการฯฝ่ายแรงงานยังขอแขวนไว้ เพราะเห็นว่าระบบประกันสังคมเองยังมีปัญหาทั้งโครงสร้างการบริหาร และการบริการ รวมถึงประเด็นที่มีการเสนอให้นำงบประมาณจากกองทุนสำนักงานหลักประกันสุขภาพ (สปสช.) หากไม่มีความพร้อมการโอนคน 5 ล้านคนมาอยู่ในระบบประกันสังคมก็จะมีปัญหา

นายชัยสิทธิ์ สุขสมบูรณ์ กล่าวว่า การที่จะมีการขยายความคุ้มครองครอบครัวผู้ประกันตนอาจต้องคิดเช่นกัน เพราะชีวิตของคนงานไม่แน่นอนเกิดการเลิกจ้าง หรือเสียชีวิต สิทธิครอบครัวจะเป็นอย่างไร ยังคงอยู่ในระบบประกันสังคมหรือว่าขาดสิทธิ แล้วจะกลับไปใช้สิทธิของสปสช.ได้หรือไม่เพราะทางสำนักประกันสังคมนำเงินมา จากกองทุนสปสช. เรื่องโครงการและการบริหารจึงจำเป็นต้องปรับให้เกิดความสอดคล้อง

ส่วนการบริการหลายประเด็น สปสช.ดีกว่า สปส.ด้วยอันนี้ต้องมีการปรับระบบซึ่ง เป็นงานบริหาร ซึ่งบางประเด็นในร่างพ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับรัฐบาลนี้ ยังมีการเพิ่มอำนาจข้าราชการในการบริหาร เช่นเรื่องของการขยายการคุ้มครองลูกจ้างในระบบข้าราชการ มีการเปิดให้สามารถออกเป็นกฤษฎีกาเพื่อยกเว้นในการที่จะนำลูกจ้างของรัฐเข้า สู่ระบบประกันสังคม ให้หน่วยงานรัฐเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะให้เข้าสู่ระบบหรือไม่ ข้อสังเกตที่ตนเห็นคือ 1. ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์เข้ามาเป็นกรรมาธิการมีบทบาทน้อยมากในการแสดงความคิด เห็นต่อร่างพ.ร.บ. ประกันสังคม 2. ไม่มีการบันทึกข้อเสนอที่ขัดแย้งของฝ่ายกรรมาธิการฯ ฝ่ายแรงงานอันนี้เป็นที่น่าสงสัยว่าทำไมไม่บันทึกข้อความเพื่อให้เกิด ความเห็นต่าง และประเด็นการขอแขวนบางมาตรา ประธานที่ประชุมจะเสนอให้สงวนความคิด ซึ่งบอกว่าไม่ต่างกับการแขวนร่างบางมาตรา ทั้งที่การแขวนไว้เพื่อการนำมาพิจารณาใหม่อีกครั้งกับการสงวนสิทธิการ อภิปรายหมายถึงผู้ที่สงวนต้องเข้าไปอภิปรายชี้แจงในที่ประชุมสภา จึงสร้างความไม่สบายใจให้กับตัวแทนแรงงานที่เข้าไปเป็นกรรมาธิการฯอย่างมาก เพราะที่ปรึกษาที่เข้าไปยกมือเท่าไร ประธานที่ประชุมก็แสดงท่าทีชัดเจนว่ามองไม่เห็นจนบางครั้งเราต้องยกมือบอก ประธานให้ที่ปรึกษาได้เสนอความคิดเห็น เวทีเหมือนให้ตัวแทนแรงงานนำเสนอ และให้ตัวแทนรัฐที่เป็นเลขาสำนักงานประกันสังคมคอยที่จะต้านทางความคิดโดยมี ประธานคอยตัดบทให้ร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมผ่านๆ ไปก่อนเท่านั้น

ทั้งนี้ที่ประชุมเห็นว่าควรมีการจัดแถลงข่าวเพื่อชำแหละกรรมาธิการ วิสามัญ ร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. … ให้สาธารณชนได้รับทราบผลการประชุมร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. … ในฐานะตัวแทนแรงงานที่เข้าไปเป็นก รรมาธิการวิสามัญ ในวันที่ 12 มีนาคม 2554เวลา 10.00น. ณ ห้องประชุมศุภชัย ศรีสติ มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ถนนมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง