บริการสปาและบริการฟิตเนส นับเป็นหนึ่งในบริการด้านสุขภาพและความงามที่มีผู้บริโภคทยอยเข้ามาร้อง เรียนกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง
ข้อร้องเรียนส่วนใหญ่จะมีในลักษณะการหลงเข้าไปสมัครเป็นสมาชิกใช้บริการ เพราะทนคำรบเร้าของสาวพนักงานไม่ได้ แต่เมื่อเข้าไปใช้บริการแล้วพบว่าการบริการไม่เป็นไปตามที่สาวนักขายโฆษณา ไว้ อยากจะบอกเลิกสัญญาขอเงินที่จ่ายผ่านทางบัตรเครดิตคืน ก็ขอคืนไม่ได้เพราะสัญญาที่ไปเซ็นต์ไว้มีข้อผูกมัดที่จะไม่คืนเงินให้กับผู้ บริโภคในทุกๆกรณี
“ดิฉันซื้อคอร์สมา 30,000 บาทเมื่อ 26 สิงหาคม ที่ผ่านมา” ผู้บริโภครายหนึ่งได้เล่าถึงเหตุการณ์ที่ประสบมาจากการใช้บริการสปาแห่งหนึ่ง
“ตอนนั้นจำได้ว่ารีบมากจะต้องไป ธุระต่อ แต่พนักงานขายคะยั้นคะยอบวกกับความเกรงใจและหวังว่าจะเห็นผลเพราะราคาไม่ใช่ ถูกๆคอร์สจริงเซลล์อ้างว่า 70,000 บาท แต่ลดลงมาเหลือ 45,000 บาท แต่ดิฉันจ่ายไม่ไหวเซลเลยลดให้เหลือ 30,000 บาท”
“กลับมาบ้านสมองก็ตึงๆไปเหมือนกัน เพราะราคาสูงมาก ไม่รู้ตกลงไปได้ยังไงดิฉันชำระผ่านบัตรเครดิตค่ะ 3000x10 เดือน ตอนนั้นยังไม่เอะใจกับคำว่า "ไม่คืนเงินทุกกรณี" ถ้าสติดีกว่านี้ ตอนนั้นคงยกเลิกไปทันทีที่พนักงานให้เซ็นต์เอกสาร” พอผู้บริโภครายนี้เข้าไปใช้บริการก็พบว่ามีการให้บริการที่ผิดไปจากเงื่อนไขที่พนักงานเสนอขาย
“จากการที่ไปใช้บริการ 1 ครั้ง การบริการไม่เหมือนคอร์ส 30,000 บาทเลยค่ะ ผิดหวังกับการบริการมาก แถมตอนขายคอร์สบอกจำนวนที่ใช้บริการประมาณ 15ครั้งแต่สอบถามเจ้าหน้าที่อีกครั้ง ตกใจมากที่หดเหลือ 10 ครั้ง แถมอีก 1”
ผู้บริโภคอีกรายร้องเรียนมาว่า สปาไม่มีบริการพอกตัวมีแต่นวดตัว และไม่มีอ่างน้ำวนบริการ ทั้งๆที่ตอนที่พนักงานสาวเสนอขายบอกว่ามีบริการทั้งหมด แต่พอถึงเวลาไปใช้บอกว่ากำลังติดตั้งอ่างน้ำยังไม่เสร็จ
ปัญหาส่วนใหญ่ที่ร้องเรียนเข้ามาก็คือ ใช้บริการไปได้เพียงแค่ครั้ง 2 ครั้งแต่เมื่อเห็นว่าบริการไม่คุ้มค่าเงินที่จ่ายไปจึงอยากจะเลิกบริการขอ เงินคืน แต่บริษัทไม่ยอมให้ โดยอ้างสัญญาว่าจะไม่มีการคืนเงินในทุกกรณี
คำถามสำคัญของคุณผู้หญิงที่หลงเข้าไปสมัครใช้บริการคือ ผู้บริโภคมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและของเงินคืนได้หรือไม่ ขอตอบว่าได้ครับ หากพบว่าทางสปาช่าไม่จัดให้มีบริการอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นข้อสำคัญใน สัญญาหรือโฆษณาก็ให้ใช้เป็นเหตุผลในการบอกเลิกสัญญาได้เลยครับ อย่าไปใช้เหตุผลว่าไม่อยากเล่นแล้วแบบนี้โดนตามทวงหนี้หัวหงอกแน่เพราะกลาย เป็นว่าเราเป็นฝ่ายผิดสัญญาเอง วิธีบอกเลิกสัญญาอย่าไปใช้วิธีโทรศัพท์หรือเดินไปบอกด้วยตัวเองอย่างเดียว ครับ ต้องทำเป็นจดหมายบอกเลิกสัญญาส่งไปที่กรรมการผู้จัดการบริษัท และให้สำเนาจดหมายนี้ส่งไปที่บริษัทบัตรเครดิตที่จ่ายเงินแทนด้วย เพื่อให้ระงับการเรียกเก็บเงิน
จดหมายที่ส่งไปทั้งสองที่ให้ส่งเป็นจดหมายแบบไปรษณีย์ตอบรับเท่านั้น จะได้มีหลักฐานไว้ยันกันในภายหลังครับ หากต้องเป็นคดีความกัน
วิธีการแก้ไขปัญหาสัญญาจำพวกผูกมัดไม่ให้เลิกใช้บริการแบบนี้ใช้ได้กับ บริการพวกฟิตเนสหรือ บริการที่มีการเรียกเก็บเงินล่วงหน้าผ่านบัตรเครดิตได้เช่นกัน
หัวใจสำคัญของการบอก เลิกสัญญา ก็คือต้องไม่ใช้ข้ออ้างที่เป็นข้อบกพร่องของตัวผู้บริโภคเอง เช่นไม่ว่าง หรือหลงเข้าทำสัญญาแบบไม่ตั้งใจ อย่างนี้ฟังไม่ขึ้นและจะเป็นฝ่ายผิดสัญญาได้ จะต้องใช้เหตุผลซึ่งอยู่บนพื้นฐานข้อเท็จจริงว่าบริษัทผู้ให้บริการผิดสัญญา ไม่จัดให้มีบริการที่เป็นเรื่องสำคัญอะไรบ้างให้ว่าไป เอาล่ะครับ รู้วิธีแล้วก็รีบหยิบกระดาษและปากกา ปฏิบัติการคุ้มครองตัวเองกันได้เลย
Relate topics
- ใบสำคัญรับเงิน
- ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติ จะนะ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย โดย อ.จินตนา เจริญเนตรกุล ได้จัดอบรมการแปรรูปอาหารทะเล เช่น การทำข้าวเกรียบ
- บรรยากาศการแสดงโขนเฉลิมพระเกียรติ สุดยอดความอลังการ หนึ่งในกิจกรรมงานอาหารของแม่ เพื่อเทิดพระเกียรติแม่ของแผ่นดิน ณ ถนนสเน่หานุสรณ์
- บรรยากาศงานตลาดนัดเกษตรกรโอเดียน ประจำเดือนกรกฎาคม เมื่อวันที่ 4 ก.ค.58 โดยภายในตลาดไดมีคุณวรรณา สุวรรณชาตรี ผู้ประสานงานโครงการประชุมและเยี่ยมชมตลาด
- วันนี้ โครงการอาหารเป็นยา ปีที่ 2 อาหารเป็นยาสมุนไพร: กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา (Food as herbal medicine: A case study of Songkhla province)