รศ.ดร.ภก.วิทยา กุลสมบูรณ์ ผู้จัดการแผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย กล่าวในการเสวนาเรื่อง สถานการณ์การขับเคลื่อนงานคุ้มครองผู้บริโภค ในเวทีแถลงข่าวการจัดประชุมวิชาการคุ้มครองผู้บริโภคครั้งที่ 2 ณ ห้องประชุมศูนย์สาระนิเทศ หอประชุมใหญ่ จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย ว่าเหตุการณ์ที่สภาฯตีกลับ ร่าง พ.ร.บ.องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคว่า ในวันที่ 2 มี.ค.น่าจะเป็นวันประวัติศาสตร์และน่าจะเป็นจุดเปลี่ยนด้านการคุ้มครองผู้ บริโภค แต่ถูกตีกลับให้มีการพิจาณากฎหมายในชั้นกรรมาธิการอีกครั้ง ซึ่งวิปรัฐบาลไม่เห็นด้วยกับการมีกองทุนหัวละ 5 บาท ซึ่งวันที่ 23 มี.ค.ก็ต้องต้องติดตามกันต่อไป
“หากดูภาพรวมการคุ้มครองและตระหนักถึงสิทธิของผู้บริโภคนั้น เมื่อดูจากสถิติการร้องเรียนในบ้านเรายังถือว่าน้อย ยกตัวอย่างกรณีส่วนตัวที่ซื้อเฉาก๋วยมาแล้ว มันหมดอายุ ก็ต้องขับรถเอาไปเปลี่ยนใหม่กับทางร้าน นี่ก็ถือว่าเป็นต้นทุนที่สูงในการเรียกร้องสิทธิ ผู้ประกอบการน่าจะประกาศออกมาเลยว่าผู้บริโภคคนไหนพบสินค้าไม่ได้มาตรฐาน หรือหมดอายุจะให้รางวัล ด้วยต้นทุนการร้องเรียนที่สูงของผู้บริโภคในการเรียกร้องและมีความเสียหายใน ชีวิตอีกด้วย การร้องเรียนบ้านเราจึงน้อย
แต่เมื่อมองนโยบายสาธารณะบ้านเราถือพัฒนาไปเยอะอย่างมีการผลักดันเรื่อง น้ำมันทอดซ้ำออกเป็นนโยบายสาธารณะได้สำเร็จ รวมถึงกระบวนการใช้ข้อมูลที่เข้มข้นขึ้นในการผลักดันประเด็นต่างๆไปสู่ นโยบายสาธารณะมากขึ้น อีกทั้งมีการสร้างภาคี เครือข่ายผู้บริโภคและนำไปขยายผลได้มากขึ้น” รศ.ดร.ภก.วิทยากล่าว
นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคกล่าวเสริมถึงการถูกถอดร่าง พ.ร.บ.องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ภาคประชาชนขับเคลื่อนและหวังให้มีกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคถึง 14 ปี ว่า
“จากการเคลื่อนไหวให้เกิดองค์การอิสระผู้บริโภค 14 ปี เราพบเข้าพบรัฐมนตรีถึง 8 คน และจากรัฐธรรมนูญตั้งแต่ปี 2540 ถึง 2550 มีการกำหนดไว้ชัดเจนว่าให้มีองค์การอิสระคุ้มครองผู้บริโภคก็คือให้เป็น อิสระด้านงบประมาณ แรกทีเดียวเราก็คิดว่าจะนำกองทุนมาจากไหน เลยคิด 0.01 ของภาษีมูลค่าเพิ่ม เพราะเราคิดว่าเราไม่ได้เอาเงินใครมาทำแต่เป็นเงินภาษี แต่จากการประชุมกันแล้วก็ไม่ควรจะเข้าไปยุ่งกับภาษีของประชาชน น่าจะคิด 0.01 จากภาษีโฆษณา คล้ายๆการคิดภาษีสรรพพามิต ที่นำมาสนับสนุน สสส. เมื่อคณะคิดดูแล้วก็ดูไม่เหมาะสมอีก ไหนๆก็จะมี องค์การอิสระคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระจากรัฐ ก็ควรจะมีกองทุนที่เป็นอิสระด้วยเช่นกัน จึงคิดค่าหัวประชากรคนละ 5 บาท จะมีทุนดำเนินงานจำนวน 330 ล้านบาท ซึ่งถือว่าไม่มากเมื่อเทียบกับงบประมาณแผ่นดิน 2 ล้านล้านบาท และเมื่อดูถึงบทบาทหน้าที่ขององค์กรก็ถือว่าเหมาะสมแล้วอย่างเรื่องงานด้าน การทำให้ผู้บริโภคได้รับข้อมูลที่เป็นจริงซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะปัจจุบันผู้บริโภคได้รับข้อมูลกึ่งเท็จ กึ่งจริง จากการโฆษณา หรืองานด้านการทำให้ประชาชนได้รับการชดเชย และการทำหน้าที่สำคัญก็คือการทำหน้าที่ให้ความเห็นและตรวจสอบการทำงานหน่วย งานคุ้มครองผู้บริโภค เมื่อดูถึงบทบาทและภารกิจกับงบประมาณ 300 ล้านบาท ถือว่าเหมาะสมแล้ว”
พร้อมกล่าวเพิ่มเติมว่ารู้สึกผิดหวังกับรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์ ที่วิปรัฐบาลให้มีการถอนร่างออกจากการพิจารณากฎหมาย และไม่แน่ใจว่าการไม่นำร่าง กฎหมายเข้าพิจารณาอาจจะเป็นเพราะที่ปรึกษาของพรรคประชาธิปัตย์หลายคนอยู่ใน ส่วนภาคธุรกิจหรือไม่ เพราะหากกฎหมายตัวนี้ผ่าน องค์การอิสระผู้บริโภคก็มีอำนาจในการประกาศรายชื่อผลิตภัณฑ์หรือสินค้าไม่ ได้มาตรฐาน เหมือนกับ อย.เปิดเผยรายชื่ออยู่ในขณะนี้
“อยากให้องค์การอิสระผู้บริโภคที่จะเกิดขึ้นมีอำนาจหน้าที่ ไม่อยากให้มีเพียงชื่อที่ไม่สามารถทำอะไรได้เลย หรือขาดงบประมาณในการดำเนินงานอย่าง สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ สคบ. หากจะมีเพียงแค่ชื่อออกมา นำเงินการดำเนินการเพิ่มให้ สคบ.ยังดีกว่า แต่ถึงอย่างไรก็จะไม่ท้อในการก้าวต่อไป” เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคกล่าว
ด้านเภสัชกรวรวิทย์ กิตติวงศ์สุนทร ผู้ช่วยอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมประเด็นปัญหาผู้บริโภคที่ถูกผลักให้เป็นนโยบายสาธารณะแล้วคือ น้ำมันทอดซ้ำว่า จากปัญหาสถานการณ์น้ำมันพืชมีราคาแพงทำให้ผู้บริโภคประสบปัญหาเรื่องค่าครอง ชีพสูง และต้องประสบปัญหาน้ำมันทอดซ้ำที่มีสารโพล่าที่ก่อมะเร็งและความดันโลหิต สูง หลังการสำรวจน้ำมันทอดซ้ำในเดือนสิงหาคม 2553 จำนวน 8,473 ตัวอย่าง ในกรุงเทพฯ และ 8 จังหวัด คือ ลำปาง พิษณุโลก นครราชสีมา อุดรธานี ชลบุรี พระนครศรีอยุธยา สงขลา และภูเก็ต พบปัญหาน้ำมันทอดซ้ำเฉลี่ยร้อยละ 34 โดยพบได้ในกลุ่มการทอดเนื้อสัตว์ ปาท่องโก๋ กล้วยแขก
เภสัชกรวรวิทย์ กล่าวว่า ปัจจุบันมีผู้ค้าหัวใสนิยมใช้น้ำมันทอดซ้ำแต่นำน้ำมันไปกรองหรือฟอกสีให้มี สีใส แต่ยังมีอันตรายจากสารโพล่าที่ไม่ควรเกินร้อยละ 25 โดยขณะนี้พบในหลายพื้นที่ก็ยังมีค่าดังกล่าวเกิน และการอาศัยเติมน้ำมันใหม่ลงไปผสมยิ่งเป็นการเร่งการเผาไหม้ ทำให้น้ำมันเสื่อมเร็วและเกิดสารโพล่าเร็วขึ้น โดยไม่สามารถสังเกตน้ำมันทอดซ้ำได้จากสีของน้ำมัน แต่ต้องสังเกตจากความหนืดของตัวน้ำมันที่มีมากกว่าปกติ นอกจากนี้ ยังพบว่าในเว็บไซต์มีประกาศรับซื้อน้ำมันทอดซ้ำเพื่อนำไปเติมสารบางชนิดทั้ง ดินฟอกสีและกรด ที่มีผลทำให้น้ำมันใสมากขึ้น ดังนั้น ผู้บริโภคและผู้ประกอบการไม่ควรซื้อน้ำมันที่บรรจุในถุงพลาสติก เพราะอาจเป็นน้ำมันทอดซ้ำที่ฟอกสีใหม่ ไม่มีคุณค่าทางอาหาร และมีสารโพล่า เสี่ยงก่อมะเร็ง เบาหวานและความดันโลหิตสูง
สำหรับในวันที่ 14-15 มีนาคม 2554 ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ จะมีการจัดงานสานพลัง สามพลังเพื่อผู้บริโภค มีการประชุมคุ้มครองผู้บริโภคในภาวะสังคมที่มีความหลากหลาย ห่างไกลจากอันตรายที่เกิดจากอุปโภคบริโภคและสิ่งแวดล้อม โดยมี ศ.นพ.ประเวศ วะสี ร่วมบรรยาย และ นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี จะปาฐกถาพิเศษเรื่อง องค์กรอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค : ก้าวใหม่สังคมไทย
Relate topics
- ใบสำคัญรับเงิน
- ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติ จะนะ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย โดย อ.จินตนา เจริญเนตรกุล ได้จัดอบรมการแปรรูปอาหารทะเล เช่น การทำข้าวเกรียบ
- บรรยากาศการแสดงโขนเฉลิมพระเกียรติ สุดยอดความอลังการ หนึ่งในกิจกรรมงานอาหารของแม่ เพื่อเทิดพระเกียรติแม่ของแผ่นดิน ณ ถนนสเน่หานุสรณ์
- บรรยากาศงานตลาดนัดเกษตรกรโอเดียน ประจำเดือนกรกฎาคม เมื่อวันที่ 4 ก.ค.58 โดยภายในตลาดไดมีคุณวรรณา สุวรรณชาตรี ผู้ประสานงานโครงการประชุมและเยี่ยมชมตลาด
- วันนี้ โครงการอาหารเป็นยา ปีที่ 2 อาหารเป็นยาสมุนไพร: กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา (Food as herbal medicine: A case study of Songkhla province)