เลือกแบบแป้งดีกว่าแบบเหลว (Choose powder when possible)
เนื่องจากผลิตภัณฑ์ชนิดแป้งสามารถที่จะช่วยดูดซับความมันของผิวหนังได้ และยังมีส่วนประกอบจำพวกสารกันเสียและสารชนิดอื่น ๆ ในปริมาณที่น้อย ทำให้โอกาสที่จะเกิดการแพ้หรือการระคายเคืองน้อยกว่าชนิดที่เป็นน้ำ
หลีกเลี่ยงเครื่องสำอางกันน้ำ (Avoid waterproof cosmetics)
บางคนอาจคิดว่าเครื่องสำอางชนิดกันน้ำ เช่น มาสคาร่า ติดทนนานทั้งวัน แต่อย่าลืมว่าเวลาที่เราต้องการล้างออกก็จะยากเช่นกัน เพราะเครื่องสำอางสำหรับเช็คคราบชนิดที่กันน้ำนั้นต้องมีองค์ประกอบของสารละลายอินทรีย์หลายชนิดผสมกันเพื่อละลายและลอกไขมันออกให้หมดจรด โอกาสที่จะทำให้ผิวหนังเกิดอาการแพ้และระคายเคืองจึงมีมาก ทางที่ดีจึงควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์กันน้ำจะปลอดภัยที่สุด
อย่าใช้เครื่องสำอางเก่าและหมดอายุ (Throw out old cosmetics)
เวลาซื้อเครื่องสำอาง ให้สังเกตวันเดือนปีที่ผลิตและวันเดือนปีที่หมดอายุ ถ้าสินค้าเก่าเก็บหรือตกค้างนาน ๆ จนเลยวันหมดอายุ อย่าซื้อใช้โดยเด็ดขาดไม่ว่าราคาจะถูกเพียงใดก็ตาม เพราะเครื่องสำอางหมดอายุ มักจะเสื่อมคุณภาพและอาจเกิดการสลายตัวของสารเคมีทั้งหลายที่เป็นองค์ประกอบ ตลอดจนอาจก่อให้เกิดการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ได้โดยที่เรามองด้วยตาเปล่าไม่เห็น แต่หากซื้อมาใช้และใช้นานเป็นปีจนเลยวันหมดอายุ ก็ให้ปฏิบัติเช่นกัน ควรโยนทิ้งไม่ต้องเสียดาย เพราะอาจนำผลร้ายมาสู่สุขภาพผิวหนังได้
การเลือกใช้ดินสอเขียนขอบตาและมาสคาร่า (Use black-colored eyeliner and mascara products)
ควรเลือกดินสอเขียนขอบตาและมาสคาร่าเป็นสีดำ จะปลอดภัยกว่าสีอื่นๆ และโอกาสแพ้จะมีน้อยกว่า
ใช้ดินสอเขียนขอบตาและคิ้วดีกว่า eyeliner ชนิดเหลว (Use pencil eyeliner and eyebrow filters)
ผลิตภัณฑ์ชนิดแท่ง เช่นดินสอ จะมีองค์ประกอบหลักจำพวกแวกส์ และองค์ประกอบอื่น ๆ อีกเล็กน้อย ทำให้โอกาสแพ้ลดลง ซึ่งต่างจากผลิตภัณฑ์ประเภทของเหลว (Liquid eyeliners) จะมีส่วนประกอบของยางลาเทกส์ (latex) ทำให้เกิดแพ้ได้ในผู้ที่แพ้สารเคมีชนิดนี้ นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ชนิดแท่งหรือดินสอ จะล้างออกง่ายกว่า
เลือกใช้สีทาเปลือกตาชนิดเอิร์ทโทนจะระคายเคืองน้อยกว่าสีโทนอื่น ๆ (Stick to earth-toned eye shadows)
สีในกลุ่มเอิร์ทโทน เช่น สีแทน สีครีม สีขาวหรือสีเนื้ออ่อน จะทำให้โอกาสในการเกิดการแพ้หรือระคายเคืองน้อยกว่าสีชนิดอื่นๆ เพราะสีเข้มมากๆ มักจะได้จากการผสมเคมีหลายๆชนิดเข้าด้วยกัน โอกาสแพ้จึงมีสูงกว่า
ตรวจสอบสารกันแดดว่าปลอดภัยหรือไม่ (Check sunscreen ingredients)
โดยทั่วไป FDA และแพทย์ผิวหนังมักจะแนะนำให้ใช้ครีมกันแดดที่มีค่าเอสพีเอฟ (SPF) ประมาณเบอร์ 15 และต้องสามารถกรองได้ทั้งรังสียูวีเอและยูวีบี ผู้ที่มีผิวแพ้ง่ายไม่แนะนำให้ใช้ครีมกันแดดชนิดที่เป็นสารเคมี ควรเลือกใช้ครีมกันแดดชนิดที่สะท้อนรังสี หรือที่เรียกกันว่า Physical sunscreen ซึ่งมีผงแป้งไตเตเนี่ยมไดออกไซด์ (TiO2) และ ZnO เป็นองค์ประกอบ เพราะนอกจากจะสามารถสะท้อนรังสีได้ดีแล้วยังไม่มีผลทำให้ผิวหนังเกิดอาการแพ้อีกด้วย อย่างไรก็ตามขอให้ดูที่ฉลาก ว่าครีมกันแดดที่ต้องการซื้อนอกจากมี TiO2 และ ZnO แล้วยังมีสารกันแดดอื่น ๆ ที่อาจทำให้แพ้ได้อีกหรือไม่ เพราะโดยมากครีมกันแดดมักจะมีสารกันแดดหลาย ๆ ชนิดผสมกันเพื่อต้องการให้ป้องกันแดดได้มาก ๆ นั่นเอง
Relate topics
- รณรงค์เลิกใช้โฟม
- รายการสงขลามหาชน ตัวอย่างอาหารของแม่ ตอน " บทบาทของพ่อ " อาหารของแม่ สร้างความอบอุ่นของครอบครัวกับมื้ออร่อยที่แม่บรรจงปรุงเพื่อลูก
- ข่าวดีจะดัง ตอนที่ 265 โรงเรียนสุขภาพดี ของ อบต.ควนรู( http://youtu.be/KsuLA7Fguy8 )
- ข่าวดีจะดัง ตอนที่ 265 โรงเรียนสุขภาพดี ของ อบต.ควนรู(7 เม.ย 5…: http://youtu.be/KsuLA7Fguy8 )
- รายการอาหารของแม่ ตอน " อาหารคือภาคีและพื้นที่ " เปิดอร่อยด้วย ยำบัวบก สูตรสมุนไพรภูมิปัญญาถิ่น อบต.ท่าข้าม ของป้ายุพา ผลชนะ