บทความ

การบริหารจัดการเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคระดับท้องถิ่นในประเทศญี่ปุ่น

by twoseadj @February,16 2011 23.44 ( IP : 202...65 ) | Tags : บทความ
photo  , 800x599 pixel , 90,847 bytes.

โดย คุณอัครพงษ์ เวชยานนท์ คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย

ประเทศญี่ปุ่นมีการบริหาราชการแผ่นดินส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น มี 47 จังหวัด การปกครองรูปแบบนคร 12 แห่ง เทศบาล 682 แห่ง ตำบลหมู่บ้าน 2,558 แห่งThe Consumer Protection Fundamental Act, 1968 ได้วางหลักทั่วไปไว้โดยผู้มีอำนาจหน้าที่ที่จะนำเจตนารมณ์แห่งกฎหมายนี้ไป บังคับใช้ ได้แก่ กระทรวงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและหน่วยงานท้องถิ่น  ทั้ง นี้ เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นมีระบบการบริหารแบบกระจายอำนาจโดยมอบหมายให้ท้องถิ่น ไปจัดการบริหารเองซึ่งการคุ้มครองผู้บริโภค ถือเป็นหน้าที่ของท้องถิ่นตาม The Consumer Protection Fundamental Act, 1968การ บริหารงานภาครัฐของญี่ปุ่นในระดับท้องถิ่นได้แบ่งองค์กรออกเป็นจังหวัดและ องค์กรปกครองตนเองต่าง ๆ ได้แก่ เมืองและหมู่บ้าน ซึ่งจากการบรรยายได้แสดงให้เห็นถึงข้อมูลความก้าวหน้า ณ วันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2000 ดังนี้

1.มีการแบ่งหน้าที่ในการสร้างงานหรือจัดการเกี่ยวกับองค์กรให้เป็นไปตามกฎหมายด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในระดับจังหวัดทุกจังหวัดแล้ว  สำหรับในระดับองค์กรปกครองตนเองในเมืองเล็ก ๆ และหมู่บ้านได้ดำเนินการไปแล้วร้อยละ 97.8 (667 แห่งจาก 682 แห่ง) ร้อยละ 77.8 (1,990 แห่งจาก 2,558 แห่ง) และร้อยละ 82.1 (2,669 แห่งจาก 3,252 แห่ง) ตามลำดับ เป็นต้น

2.มีการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลผู้บริโภคขึ้นตามสัดส่วนของจำนวนพลเมืองในระดับจังหวัดและองค์กรปกครองตนเองต่าง ๆ และมีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี รวมทั้งสิ้นขณะนี้มีจำนวน 431 แห่ง สำหรับหน้าที่ของศูนย์ผู้บริโภค ได้แก่ ให้คำปรึกษา การฝึกอบรมให้ความรู้ และการทดสอบผลิตภัณฑ์

3.บุคลากรมีสามประเภท ได้แก่ เจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานทั่วไป (ข้าราชการท้องถิ่น) รวม 2,676 คน เจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษา (ลูกจ้างที่ผ่านการคัดเลือก มีเวลาการทำงานคราวละ 2 ปี) รวม 2,676 คน และเจ้าหน้าที่ทดสอบผลิตภัณฑ์ (ข้าราชการท้องถิ่น) รวม 202 คน รวมทั้งสิ้น 13,174 คน

4.งบประมาณการดำเนินการจะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล  อย่างไรก็ตาม ในช่วงปี ค.ศ. 1996 จะลดลง เนื่องจากประสบภาวะทางการเงินและเศรษฐกิจอย่างรุนแรง

5.ชมรมสหกรณ์เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค

              - ปัจจุบันมีชมรม 4,821 ชมรม

              - มีสหกรณ์ 7,206 สหกรณ์ (มีสมาชิกราว 20 ล้านคน) ประชาชนทุกครอบครัวจะเป็นสมาชิกสหกรณ์  สมาชิกสหกรณ์อาจมีอยู่หลายอาชีพแต่จะมีวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองผู้บริโภคด้วย  สหกรณ์ที่มีชื่อเสียงมาก คือ สหกรณ์แม่บ้าน มีทั้งสิ้น 450 กลุ่ม รายของสหกรณ์มาจากการเรียกเก็บค่าสมาชิก ขายสินค้า นิตยสาร ค่าโฆษณา และรับบริจาค  สหกรณ์แม่บ้านมีหน้าที่ในการตรวจสอบสินค้าทุกอย่างรวมถึงสินค้าอันตรายด้วย  สมาชิกสหกรณ์แม่บ้านจะมีอายุมาก หนุ่มสาวไม่ได้เป็นสมาชิกอาจเกิดปัญหาในระยะยาวได้

              - การควบคุมดูแลชมรมและสหกรณ์จากภาครัฐ

              รัฐบาลและท้องถิ่นสนับสนุนให้มีการจัดตั้งชมรมและสหกรณ์ เดิมไม่ได้มีงบประมาณสนับสนุนแก่ชมรมหรือสหกรณ์ เพียงแต่เป็นการให้ความรู้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นรวมถึงสนับสนุนให้มีการตรวจสอบสินค้า  ปัจจุบันกำลังเสนอให้รัฐบาลจัดสรรเงินช่วยเหลือแก่ชมรมในท้องถิ่น

ข้อสังเกตของผู้เขียน

          1.หน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องด้านการคุ้มครองผู้บริโภคจากรัฐบาลกลาง ได้แก่ สำนักงานคณะรัฐมนตรีและกระทรวงต่าง ๆ จะดำเนินการเกี่ยวกับด้านนโยบายเท่านั้น  ทั้งนี้ เป็นไปตาม The Consumer Protection Fundamental Act, 1968

          2.ประเทศญี่ปุ่นมีกลไกอื่น ๆ คู่ขนานไปกับการใช้อำนาจบังคับตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคซึ่งปัจจุบันมีนโย บายผ่อนคลายเรื่องการออกกฎหมายบังคับใช้ แต่มุ่งเน้นให้ประชาชนในฐานะผู้บริโภคมีบทบาทในการคุ้มครองตนเอง

          3.การพัฒนาเรื่องการบังคับใช้กฎหมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการคุ้มครองผู้ บริโภคเป็นผลมาจากบริบททางสังคม เศรษฐกิจและการเมือง  และที่สำคัญคือพฤติกรรมของผู้บริโภคญี่ปุ่นโดยรวม

          4.ระบบการปกครองในรูปแบบการกระจายอำนาจของญี่ปุ่นยังไม่สอดคล้องกับปัญหาสังคม เศรษฐกิจและการเมืองของประเทศไทย  โดย เฉพาะอย่างยิ่ง ศักยภาพของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทยและ พฤติกรรมของการประสานความร่วมมือในระดับรัฐบาลส่วนกลางในประเทศ

        5.สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคควรเพิ่มบทบาทในเชิงนโยบายให้มากขึ้น และลดบทบาทในการเป็นผู้ปฏิบัติเอง และมองการคุ้มครองผู้บริโภคในเชิงมหภาค โดยมอบหน้าที่ความรับผิดชอบให้กับท้องถิ่นให้มีหน้าที่ดูแลการคุ้มครองผู้ บริโภคโดยตรงเพราะท้องถิ่นเป็นรูปแบบการกระจายอำนาจการปกครองแก่ประชาชน  ใน ประเทศญี่ปุ่น การคุ้มครองผู้บริโภคเป็นความต้องการของประชาชนที่เรียกร้องให้ภาครัฐออก กฎหมายมาเพื่อการคุ้มครองโดยเริ่มมาจากท้องถิ่นก่อน

          6.การพัฒนาการคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศไทยไม่จำเป็นต้องเลียนหรือลอกแบบ ญี่ปุ่นหรือประเทศใด ๆ ในโลกเสียทั้งหมด ซึ่งหลาย ๆ อย่างของประเทศไทย มีความก้าวหน้ามากกว่า หากแต่อยู่ที่การปฏิบัติและการเอาใจใส่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเท่านั้น  อย่าง ไรก็ตาม หากการปรับตนเองในเรื่องวิธีการและขบวนการให้เหมาะสมกับบริบททางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองของของประเทศไทยแล้ว คาดว่าจะสามารถบริหารจัดการในเรื่องนี้ได้ผลดียิ่งต่อไป

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง