ขณะที่สังคมไทยยังก้าวไม่ พ้นปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านบริการสาธารณสุข นโยบาย ศูนย์กลางด้านการแพทย์ หรือ เมดิคัลฮับ (Medical Hub) ก็ดูเหมือนจะยังใช่คำตอบในช่วงเวลานี้ โดยเฉพาะเมื่อถูกมองว่า “เมดิคัล ฮับ” เป็นนโยบายที่มุ่งเน้นเชิงพาณิชย์ ยิ่งทำให้เกิดกระแสการต่อต้าน เพราะยิ่งเป็นการสร้างความเหลื่อมล้ำซ้ำเติมสังคมไทยมากยิ่งขึ้นไปอีก
อย่างไรก็ตาม ประเทศในแถบเอเชียนั้น ทั้งสิงคโปร์ มาเลเซีย หรือแม้แต่ญี่ปุ่น กำลังเดินหน้านโยบายนี้อย่างเต็มสูบ และดูเหมือนจะประสบความสำเร็จอย่างงดงามด้วย
นายยุทธศักดิ์ คณาสวัสดิ์ ผู้อำนวยการสำนัก ยุทธศาสตร์และนโยบายการลงทุนบีโอไอ (BOI) กล่าวว่า สิงคโปร์ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2540 และมีชาวต่างชาตินับแสนรายเข้ามาใช้บริการสาธารณสุข ทั้งนี้ การดำเนินงานนั้นเป็นไปได้ด้วยดี เพราะประชากรของประเทศมีจำนวนน้อย รัฐบาลจึงสามารถใช้อำนาจเด็ดขาดในการเปิดเสรีทางการแพทย์ ตั้งแต่ให้บริษัทยาข้ามชาติเข้ามาตั้งโรงงานการผลิตและศึกษาวิจัยจนลายเป็น ศูนย์กลางผลิตยาแห่งใหญ่ของทวีปเอเชีย ตลอดจนมีบริการการแพทย์แบบครบวงจร ด้วยระบบการส่งต่อและเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่รวดเร็ว และจัดซื้อเทคโนโลยีและเครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัยมาใช้ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
“นอกจากนี้ สิงคโปร์ยังมีการนำวิทยากรต่างชาติมาอบรมในภาคเอกชนด้วย โดยอนุญาตให้สถานพยาบาลเอกชนสามารถนำวิทยากรจากต่างชาติที่เป็นประเทศชั้นนำ ทางการแพทย์อย่าง อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา เข้ามาสอนแพทย์ศาสตร์ ชีวเวชศาสตร์ ตลอดจนเปิดโอกาสให้นักวิจัยต่างชาติเข้ามาศึกษาและพัฒนาระบบการแพทย์อย่าง ต่อเนื่อง โดยการเปิดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ขึ้นมาในปี 2550 และแห่งที่ 3 จะเปิดอีกในปี 2555 ซึ่งเป็นหลักสูตรภาษาอังกฤษ” นายยุทธศักดิ์ อธิบายเพิ่มเติม
ขณะที่ประเทศมาเลเซีย ดำเนินนโยบายเมดิคอลฮับ ด้วยการประสานความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยจอห์นส์ฮอปกินส์ (Johns Hopkins University หรือ JHU) ของสหรัฐฯ เข้ามาตั้งคณะแพทย์ศาสตร์วิทยาเขตย่อยในประเทศและพัฒนาตัวเองให้กลายเป็น พื้นที่อุตสาหกรรมการรักษาพยาบาล ด้วยการเปิดบริการโรงพยาบาลในแบรนด์ของ JHU ขนาดประมาณ 300 เตียงรองรับผู้ป่วยชาวต่างชาติ และพัฒนาการศึกษาแพทย์ศาสตร์ภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง แม้ว่ามาเลเซียจะดำเนินการช้ากว่าสิงคโปร์ไปราว 5 ปี แต่ก็ถือว่ามีการแข่งขันในเรื่องศักยภาพการบริการและการศึกษาด้านการแพทย์ และสาธารณสุขสูงเช่นกัน
นอกจากการดำเนินการของทั้งสองประเทศแล้ว ประเทศญี่ปุ่นก็ถือเป็นน้องใหม่ที่กำลังเดินหน้านโยบายเมดิคัล ฮับ แม้ยังไม่สมบูรณ์มากนัก แต่ก็มีแผนการเบื้องต้น สำหรับรองรับชาวต่างชาติที่เข้ามารักษาในประเทศของตน ด้วยกลยุทธ์การออกวีซ่าการรักษาพยาบาลสำหรับชาวต่างชาติ เพื่อใช้บริการสาธารณสุขทุกกรณีในระยะยาว โดยแผนดังกล่าวของรัฐบาลแดนปลาดิบได้เริ่มต้นในปี 2554 และจะพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ
สำหรับประเทศไทย พบว่า ชาวต่างชาติเข้ามาใช้บริการสาธารณสุขในไทยด้วยวีซ่านักท่องเที่ยวนับล้านราย โดยขณะนี้สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง(ตม.)ได้เข้ามามีบทบาทในการอำนวยความสะดวก ต่อวีซ่าท่องเที่ยวครั้งละ 30 วันแก่ชาวต่างชาติที่เข้ามาในเมืองไทย ซึ่งเจ้าหน้าที่ของ ตม.จะเข้าไปต่อให้ในโรงพยาบาลแต่ละแห่ง
“เหตุผลหนึ่งที่ประเทศไทยมีชาวต่างชาติเข้ามาใช้บริการสาธารณสุข จำนวนมาก เนื่องจากสังคมไทยเน้นที่บริการเป็นกันเอง มีความสุภาพและมีน้ำใจ ซึ่งจุดแข็งส่วนนี้สิงคโปร์และมาเลเซียพยายามฝึกบุคลากรให้เป็นแบบคนไทย เพื่อดึงดูดชาวต่างชาติให้มากกว่าเดิม” นายยุทธศักดิ์ กล่าวถึงจุดเด่นการบริการด้านสาธารณสุขของไทย
ทั้งนี้ ผอ.สำนักยุทธศาสตร์และนโยบายการลงทุน บีโอไอ ทิ้งท้ายว่า ทุก ชาติล้วนมีจุดแข็งด้านสาธารณสุขที่แตกต่างกัน ดังนั้นหากถึงเวลาที่ข้อสรุปของไทยลงตัวเมื่อไหร่ ก็ค่อยมาหาทางปรับแผนพัฒนาทีละขั้น ซึ่งโจทย์สำคัญของไทย คือ ต้องหาคำตอบให้ได้ก่อนว่า จะเอาเมดิคัลฮับหรือไม่
Relate topics
- รณรงค์เลิกใช้โฟม
- รายการสงขลามหาชน ตัวอย่างอาหารของแม่ ตอน " บทบาทของพ่อ " อาหารของแม่ สร้างความอบอุ่นของครอบครัวกับมื้ออร่อยที่แม่บรรจงปรุงเพื่อลูก
- ข่าวดีจะดัง ตอนที่ 265 โรงเรียนสุขภาพดี ของ อบต.ควนรู( http://youtu.be/KsuLA7Fguy8 )
- ข่าวดีจะดัง ตอนที่ 265 โรงเรียนสุขภาพดี ของ อบต.ควนรู(7 เม.ย 5…: http://youtu.be/KsuLA7Fguy8 )
- รายการอาหารของแม่ ตอน " อาหารคือภาคีและพื้นที่ " เปิดอร่อยด้วย ยำบัวบก สูตรสมุนไพรภูมิปัญญาถิ่น อบต.ท่าข้าม ของป้ายุพา ผลชนะ