ผลประชาพิจารณ์ เผย คน กทม.ส่วนมาก เห็นด้วยกับ “เมดิคอล ฮับ” ด้านกลุ่มการบริการรักษาพยาบาลย้ำยังกังวลผลกระทบ วอนรัฐทำระบบศึกษาเพิ่ม
วันนี้ (31 ม.ค.) กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) จัดประชุม “การทำประชาพิจารณ์ร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลาง สุขภาพนานาชาติ (เมดิคัล ฮับ) พ.ศ.2553-2557 ” โดยในการประชาพิจารณ์ครั้งนี้เป็นการระดมความคิดเห็นในส่วนของพื้นที่ กรุงเทพมหานครและภาคกลาง มีผู้เข้าร่วมทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน อาทิ สมาคมโรงพยาบาลเอกชน มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ ฯลฯ รวม 300 คน โดย นพ.สมชัย ภิญโญพรพาณิชย์ อธิบดีกรม สบส.กล่าวว่า สบส.ได้จัดทำยุทธศาสตร์ดังกล่าวขึ้น โดยประกอบด้วย 4 ส่วน คือ บริการรักษาพยาบาล บริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพ บริการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และ สมุนไพรและผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยทั้งหมดยังเป็นเรื่องที่มีความคิดหลากหลาย สบส.จึงได้ทำประชาพิจารณ์ทั้งหมด 4 ภาคทั่วประเทศ โดยครั้งนี้เริ่มระดมความคิดเห็นในส่วนของภาคกลาง คือ กรุงเทพมหานคร ก่อนขยายไปยังภาคเหนือ ที่จ.เชียงใหม่ ภาคใต้ จ.ภูเก็ต และภาคอีสาน จ.ขอนแก่น โดยรวมจะมีผู้เข้าร่วมประชาพิจารณ์ทั้งสิ้นราว 2 พันคน ก่อนจะเสนอรัฐมนตรี สธ. และนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป
ศ.กิตติคุณ นพ.จิตร สิทธีอมร ที่ปรึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผอ.โรงพยาบาลเซ็นต์หลุยส์ กล่าวว่า การประชาพิจารณ์ครั้งแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม สำหรับข้อสรุปในส่วนของกลุ่มการบริการรักษาพยาบาล ประกอบด้วย
1.หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการดำเนินการเรื่องนี้อย่างสมดุล โดยเน้นประโยชน์ต่อประเทศชาติเป็นหลัก และควรมีนโยบายให้เกิดความเท่าเทียมทั้งของโรงพยาบาลภาครัฐและเอกชน
2.ต้องมีการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลอย่างรอบด้าน โดยต้องมีการศึกษาผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบ ภายใต้แนวคิดความมั่นคงด้านสุขภาพ อีกทั้ง ต้องศึกษาปัญหาสุขภาพจากผลพวงนโยบายดังกล่าว รวมถึงทรัพยากรสุขภาพ ค่าใช้จ่ายในการลงทุนเกี่ยวกับเรื่องนี้ ต้องมีการศึกษาอย่างรอบด้าน
3.ต้องมีระบบการพัฒนาศักยภาพการบริการสุขภาพของคนไทยอย่างเท่าเทียม ไม่ใช่มุ่งเน้นแค่คนต่างชาติเท่านั้น
4.รัฐต้องคำนึงถึงมาตรฐานและแรงจูงใจให้กับบุคลากรสาธารณสุขในภาครัฐอย่างสม ศักดิ์ศรี เนื่องจากหากมีการสนับสนุนเมดิคัล ฮับ ขึ้นย่อมอาจส่งผลต่อการดึงแพทย์จากภาครัฐไปสู่เอกชนมากขึ้น ดังนั้น ประเด็นค่าตอบแทนก็ควรมีการพิจารณาให้เหมาะสมเช่นกัน
5.ต้องวางรูปแบบนโยบายที่สามารถนำรายได้ หรือผลกำไรจากนโยบายดังกล่าว มาใช้พัฒนาโครงการด้านสุขภาพอื่นๆ เพื่อประโยชน์ต่อคนไทยด้วย และ
6.การดำเนินการใดๆเกี่ยวกับนโยบายเมดิคัล ฮับ ควรคำนึงและสอดคล้องกับธรรมนูญว่าด้วยสุขภาพแห่งชาติที่มุ่งเน้นความเท่า เทียมในระบบสาธารณสุขเป็นสำคัญ
ด้านนางบังอร ดวงรัตน์ ผอ.วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขกาญจนภิเษก กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวว่า ในกลุ่มการพัฒนาสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สุขภาพ เบื้องต้นมีข้อกังวลในเรื่องการสร้างโรงงานกลางเพื่อรับจ้างผลิตยา เครื่องสำอาง อาหารเสริม และผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่นๆ จากผู้ประกอบการที่ไม่สามารถปรับปรุงโรงงานของตนเองให้ผ่านมาตรฐานได้ ซึ่งตรงนี้ที่ประชุมไม่เห็นด้วย แต่ต้องการให้รัฐบาลนำเงินลงทุนไปสนับสนุนสถาบันการศึกษาในการพัฒนาเรื่อง นี้แทน เนื่องจากสถาบันการศึกษามีองค์ความรู้เหล่านี้อยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องทำซ้ำซ้อน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับข้อสรุปในกลุ่มอื่นๆ นั้น ประกอบด้วย กลุ่มบริการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ที่ประชุมเห็นว่า ควรมีการวางแผนการพัฒนาสมุนไพรระดับชาติ ทั้งการผลิตสมุนไพรให้ได้มาตรฐาน ทั้งการพัฒนาบุคลากร ซึ่งนอกจากการพัฒนาด้านความเชี่ยวชาญการผลิตสมุนไพรไทยแล้ว ยังต้องมีการปลูกฝังจริยธรรมการบริการ รวมทั้งความรับผิดชอบต่อสังคม นอกจากนี้ ยังต้องคำนึงถึงอัตราการบริการ และสิทธิประโยชน์การรักษาพยาบาลต้องมีความเท่าเทียม กลุ่มบริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพ ควรมีการส่งเสริมพัฒนา และรับรองคุณภาพบุคลากรให้อยู่ในระดับสากล
Relate topics
- ใบสำคัญรับเงิน
- ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติ จะนะ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย โดย อ.จินตนา เจริญเนตรกุล ได้จัดอบรมการแปรรูปอาหารทะเล เช่น การทำข้าวเกรียบ
- บรรยากาศการแสดงโขนเฉลิมพระเกียรติ สุดยอดความอลังการ หนึ่งในกิจกรรมงานอาหารของแม่ เพื่อเทิดพระเกียรติแม่ของแผ่นดิน ณ ถนนสเน่หานุสรณ์
- บรรยากาศงานตลาดนัดเกษตรกรโอเดียน ประจำเดือนกรกฎาคม เมื่อวันที่ 4 ก.ค.58 โดยภายในตลาดไดมีคุณวรรณา สุวรรณชาตรี ผู้ประสานงานโครงการประชุมและเยี่ยมชมตลาด
- วันนี้ โครงการอาหารเป็นยา ปีที่ 2 อาหารเป็นยาสมุนไพร: กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา (Food as herbal medicine: A case study of Songkhla province)