บทความ

Buy Nothing Day ..... วันไม่ซื้อ

by คุณนาย @March,14 2008 14.58 ( IP : 222...250 ) | Tags : บทความ
photo  , 160x105 pixel , 3,255 bytes.

วันนี้จะกินอะไรดี ...?  ซื้ออะไรดี...?  ชอปปิ้งที่ไหนดี...?  อยากได้อะไรไหม..?....เป็นคำถามที่คุ้นเคยของผู้บริโภคในยุคบริโภคนิยมที่ตั้งคำถามกับตัวเองและคนรอบข้าง  ซึ่งร้อยแปดคำถามที่ยกตัวอย่างมานี้ล้วนแต่ต้องใช้เงินในการจับจ่าย ซื้อหามาทั้งนั้น  และก็เป็นกันทุกวันและทุกคนก็ว่าได้  โดยเฉพาะกลุ่มคนเมืองที่พอก้าวขาออกจากบ้านก็เป็นอันให้ต้องควักกระเป๋า
      เคยได้ยินคำนี้กันบ้างไหมคะ  Buy Nothing Day  หรือ วันไม่ซื้อ  บังเอิญเข้าไปอ่านเวปไซด์ we change.seubsan.net  เค้าชวนรณรงค์สัปดาห์ไม่ซื้อ ในวันที่  28 มกราคม – 3 กุมภาพันธ์ 2551  น่าสนใจมากเลยทีเดียวค่ะ    สงสัยกันใช่มั๊ยคะว่าเราจะไม่ซื้อได้จริงหรือในยุคบริโภคนิยม !!!
Buy Nothing Day    เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 1992  ที่ประเทศแคนนาดาซึ่งเป็นประเทศตะวันตกที่ประชาชนคือผู้บริโภค      "วันไม่ซื้อไม่ได้บอกว่าไม่ควรซื้อสิ่งที่จำเป็นต้องซื้อแต่ต้องการสื่อเพียงว่า ให้รู้จักคิดก่อนซื้อว่าเราซื้ออะไรและมีผลกระทบอะไรบ้าง ทั้งต่อตัวเอง สังคม และสภาพแวดล้อม"  ลองคิดดูสิค่ะในทุก ๆ วันที่เราจับจ่ายซื้อของไป วันๆหนึ่งไม่รู้เท่าไหร่ต่อเท่าไหร่    มูลค่ามหาศาลมากขนาดไหน    และใช้ทรัพยากรอะไรไปบ้าง  เพราะเมื่อเราซื้อของชิ้นหนึ่งใช้ของชิ้นหนึ่ง  ย่อมทำให้โลกร้อนขึ้นจากทั้งจากกระบวนการผลิตและกระบวนการย่อยสลาย      แล้วถ้าเราจะมีสักวันที่เป็นวันไม่ซื้อ ( ใครจะทำทั้งสัปดาห์หรือทั้งปีก็ไม่ว่ากันค่ะ ) คงเป็นการสร้างความสุขที่ได้มาโดยไม่ต้องซื้อหา วันที่ไม่ต้องควักเงินในกระเป๋า วันที่ช่วยประหยัดทรัพยากร วันที่ช่วยลดปัญหาโลกร้อน
      หลายคนอาจบอกว่าจะเป็นไปได้ไงก็ในเมื่อต้องกิน ต้องใช้ทุกวัน  เป็นไปได้สิค่ะ...! ถ้าคุณลองทำมัน  อันดับแรก ก็ต้องกำหนดวันก่อนว่าเราอยากให้วันไหนของเราเป็นวันไม่ซื้อ  ต่อไปก็กำหนดกิจกรรมที่จะทำในวันนั้น ว่ามีสิ่งใดที่เราจะทำในวันนั้นโดยไม่ต้องควักเงินในกระเป๋าซื้อหามา หรืออาจจะซื้อได้เฉพาะของที่จำเป็นจริง ๆ เท่านั้นในวันนั้น  นั่นก็คือก่อนตัดสินใจซื้อก็ต้องดูว่าของนั่นมีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหน  หรืออาจคิดต่อไป มีสิ่งอื่นที่ไม่ต้องซื้อทดแทนได้ไหม ?  ทำลายสิ่งแวดล้อมรึเปล่า?  ถ้าเกิดเป็นไปได้ก็อาจจะกำหนดกิจกรรมในวันไม่ซื้อ  เช่น    ทำกับข้าวกินเองที่บ้าน ,  เดินไปที่ใกล้ ๆ แทนการนั่งรถ  , ปลูกต้นไม้/ ปลูกผักสวนครัวกินได้  หรือจะปลูกทุกอย่างที่กินได้และอยากกินเนรมิตให้เป็นที่ชอปปิ้งส่วนตัวแทนซุปเปอร์มาเกต  ก็น่าสนใจ และยังช่วยให้สุขภาพดีจากการกินผัก  ผลไม้  ปลอดสารพิษที่คุณปลูกเองอีกด้วย  ,เอาเสื้อผ้าที่ใช้แล้วมาดัดแปลงใหม่ ,นำถุงพลาสติกที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ ทำให้คุณไม่ต้องไปซื้อถุงใหม่มาใส่ของ แค่นี้คุณก็มีกิจกรรมที่จะทำในวันไม่ซื้อและก็จะกลายเป็นวันไม่ซื้อจริง ๆ ของคุณไปในที่สุด
      จูดิท เลอไวน์  เขียนหนังสือเล่มหนึ่งขึ้นจากโครงการส่วนตัว  ชื่อหนังสือ Not Buying It-My Year Without Shopping  ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ 3 ปีก่อน หนังสือที่แปลความได้ว่า  ไม่ซื้อมันหรอก  หลังจากที่เธอและแฟนตัดสินใจหยุดช๊อปเป็นเวลา1 ปีเต็ม เธอนึกย้อนให้เห็นว่า  หลังเหตุการณ์ 9-11  (ตึกเวิลล์เทรดถล่ม) เพียงวันเดียว  อดีตนายกเทศมนตรีนครนิวยอร์ก  บอกกับชาวนิวยอร์กที่ยังตกใจไม่หายว่าให้ “แสดงความมั่นใจ แสดงว่าพวกคุณไม่กลัว โดยการไปร้านอาหาร ไปชอปปิง” และสำหรับคนอื่นที่อยากช่วย  “มาที่นิวยอร์กแล้วชอปซะ” ท่านนายกเทศมนตรีประกาศแบบอเมริกันแท้ๆ การชอปกระหน่ำหลังเกิดวินาศกรรมครั้งใหญ่จึงกลายเป็นภารกิจแสดงความรักชาติของคนอเมริกัน และการ “อยู่ข้างนอกห้างร้าน” ก็ดูเหมือนเป็น “ความไม่รับผิดชอบ” ที่ผ่านมาคนอเมริกันถูกบอกให้เชื่อว่า  “ตลาดหมายถึงเสรีภาพ” และ“ทางเลือกของผู้บริโภคหมายถึงประชาธิปไตย”
แต่หลังจากเกิดเหตุ ผู้หญิงคนหนึ่งถูกฝูงชนเหยียบเพราะยื้อแย่งกันซื้อเครื่องเล่นดีวีดีลดราคาเหลือเครื่องละ 29 เหรียญ (986 บาท) ในห้างวอลมาร์ต บวกกับความสมเพชตัวเองของ  จูดิท  เมื่อชอปของในเทศกาล (น่าจะคริสต์มาส) อย่างบ้าคลั่งจนทะลุวงเงิน ขณะหอบข้างของพะรุงพะรัง และพลั้งทำมันหล่นในแอ่งน้ำเข็ง เธอจึงถามตัวเองว่า นี่คือเสรีภาพละหรือ ? นี่เป็นประชาธิปไตยใช่ไหม ? “มันต้องมีอะไรมากกว่านี้ให้ชีวิตสิ”ถ้าอย่างนั้น... “ I’m not buying it.” ชั้นไม่ซื้อมันแล้วครั้นเมื่อเธอตัดสินใจ เธอก็ไม่ได้ทำมันอย่างเล่น ๆ แค่อาทิตย์เดียวหรือแค่ 3 เดือน แต่ยิงนาวไปเลยทั้งปี 2004             คงไม่แปลกหากใครจะหยุดซื้อและย้ายตัวเองไปอยู่ในชนบทแต่  จูดิท  เลอไวท์  มีอาชีพเป็นนักเขียน นักหนังสือพิมพ์ แอ๊กทิวิสต์ด้านเสรีภาพและสันติภาพ เป็นผู้ก่อตั้งสหภาพนักเขียนแห่งชาติและกลุ่มต่างๆอีกหลายกลุ่ม เธอตัดผมสั้นเกรียน และมีชีวิตแสนเก๋แบบสาวนิวยอร์กผู้มีการงานดี มีความรู้ ชอบดูหนัง ชมงานศิลปะและมีรสนิยมทางการทำและชิมอาหาร    แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่ซื้อเลย  แต่ซื้อเท่าที่จำเป็น  เธอจึงมีรายการ  “ซื้อได้” และ “งดซื้อ” จูดิท บอกว่าเมื่อเสร็จสิ้นโครงการว่า    แม้จะไม่ได้มีเป้าหมายเรื่องการอดออม แต่เธอก็มีเงินจ่ายค่าหนี้บัตรเครดิตจำนวน 8,000 เหรียญ (272,000 บาท คิดที่เหรียญละ 34 บาท ) ซึ่งแม้จะไม่ได้มากมายอะไร แต่ต้องนับว่าเป็นความสำเร็จสำหรับคนที่อาศัยอยู่ในเมืองละลายทรัพย์อย่างนิวยอร์ก    “พื้นที่ทางอารมณ์” ของเธอว่างเหลือเฟือ      เธอทำอาหารเอง    ทำคุกกกี้แจกตอนคริสมาสต์ และพบว่าความสัมพันธ์กับเพื่อนๆ และครอบครัวของเธอเป็นไปในทางที่สร้างสรรค์ขึ้นกว่าเดิม เพราะ “ มันเกี่ยวกับการให้” กับตัวเรามากขึ้นกว่าเดิม แทนที่จะซื้อของให้  การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของเธอคือการได้ “เปลี่ยนจากผู้บริโภค...เป็นพลเมือง”       นี่อาจเป็นเพียงส่วนหนึ่งของกิจกรรมของวันไม่ซื้อ    ที่จะพิสูจน์ตัวเองคุณอาจจะมีกิจกรรมที่ดีกว่านี้  ลองดูนะค่ะกับกิจกรรมที่คุณถนัดและอยากทำให้วันนึงใน1สัปดาห์ของคุณเป็นวันไม่ซื้อ      เพราะนอกจากจะประหยัดเงินในกระเป๋าของคุณได้เป็นอย่างดีแล้ว    ยังช่วยแก้ปัญหาสุขภาพ  สิ่งแวดล้อม ช่วยลดภาวะโลกร้อนอีกด้วย    ร่วมรณรงค์วันไม่ซื้อโดยเริ่มจากตัวคุณเองนะค่ะ และเมื่อคุณทำได้อย่าลืมชวนคนที่คุณรัก คนข้าง ๆ คุณทำวันวันนึงให้เขามีวันไม่ซื้อเช่นคุณ คงไม่สุดโต่งจนเกินไป  แค่อยากให้คุณได้ท้าทายตนเอง  มาพิสูจน์กันว่าเราเป็นได้มากกว่าผู้บริโภค  ไม่ใช่แค่กลุ่มเป้าหมายที่ผู้ประกอบการอยากได้เงินจากกระเป๋าของเรา    แต่เราเป็นประชาชนเป็นพลเมืองของประเทศนี้และของโลกใบนี้ด้วย  เรามีสิทธิมีเสียงสามารถเลือกชีวิตและกำหนดอนาคตตัวเองได้

อัญชิษฐา  พรหมอินทร์ โครงการบริโภคเพื่อชีวิต สงขลา

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง