สปสช.เข้าร่วมเป็นแกนนำเครือข่ายการเรียนรู้ระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศ ทั้งธนาคารโลก มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ มูลนิธิบิลล์ เกต และเวียดนาม มองโกเลีย กานา อินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ โดยให้ไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษาเรียนรู้ และเป็นสถานที่ศึกษาดูงานและการฝึกอบรมเพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ชี้ไทยถูกยกย่องเป็นต้นแบบที่ดีของการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า มีระบบการเงินการคลังที่มีประสิทธิภาพ เน้นปกป้องคนจนและผู้ยากไร้
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า การดำเนินเงินระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของไทย 8 ปีที่ผ่านมานั้นว่า ได้รับการยกย่องจากองค์กรระหว่างประเทศหลายหน่วยงาน ทั้ง ธนาคารโลก มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ มูลนิธิบิลล์เกตมาลินา องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (the International Labour Organization :ILO), GTZ, the Providing for Health (P4H) Initiative, the Results for Development (R4D) Institute, the ACCESS Health Initiative, Atlantic Philanthropies) และหลายประเทศที่มีแนวโน้มจะทำระบบหลักประกันสุขภาพให้กับคนในประเทศนั้น เช่น เวียดนาม มองโกเลีย กานา อินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปินส์ ฯลฯ ได้ขอให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของการศึกษาเรียนรู้เพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Universal Health Coverage Join Learning Network Hub) ของประเทศต่างๆ โดยองค์กรระหว่างประเทศจะสนับสนุนงบประมาณให้ประเทศที่ต้องการพัฒนาเข้ามาศึกษาเรียนรู้ และดูงานการดำเนินงานจากประเทศไทย
“นับเป็นตัวอย่างที่ดีของประเทศที่ประสบความสำเร็จในการสร้างหลักประกันสุขภาพให้กับคนในประเทศเพื่อมีหลักประกันสุขภาพและมีระบบการบริหารจัดการด้านการเงินการคลัง ที่มีประสิทธิภาพ โดยที่ประเทศไทยมีระบบบริหารจัดการโดยภาครัฐ เน้นการปกป้องคนจนและผู้ยากไร้ (pro poor) โดยเฉพาะการปกป้องประชาชนไม่ให้ล้มละลายจากภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลโรคร้ายแรง (catastrophic illness) นอกจากนี้ระบบการบริหารการเงินการคลังที่มีความหลากหลาย และเป็นระบบปลายปิด (close end) อันทำให้ระบบการเงินการคลังมีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ ได้รับการยอมรับว่าเป็นทิศทางการบริหารจัดการด้านการเงินที่ถูกต้อง และควรแก่การที่แต่ละประเทศจะเข้ามาศึกษาและนำไปพัฒนาประเทศของตน” นพ.วินัยกล่าว
เลขาธิการ สปสช.กล่าวต่อว่า แผนงานที่ประเทศไทยเตรียมการและดำเนินการ ในการเป็นศูนย์กลางของการศึกษาเรียนรู้เพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ดังนี้ 1.การประชุมเตรียมการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากองค์กรระหว่างประเทศ และภายในประเทศทั้งหมดเพื่อพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของการศึกษาเรียนรู้เพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Universal Health Coverage Join Learning Network Hub) 2.ประเทศไทยได้ถูกเสนอในที่ประชุมองค์การอนามัยโลกให้เป็นศูนย์กลางหรือสถานที่ศึกษาดูงานด้านหลักประกันสุขภาพ และการฝึกอบรมเรื่องการสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้แก่ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการสร้างหลักประกันสุขภาพ ตลอดจนนักศึกษาทั้งภายในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ สำนักพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ สปสช. และองค์กรระหว่างประเทศ ธนาคารโลก,ทั้ง ธนาคารโลก มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ มูลนิธิบิลล์เกตมาลินา องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (the International Labour Organization :ILO), GTZ, the Providing for Health (P4H) Initiative, the Results for Development (R4D) Institute, the ACCESS Health Initiative, Atlantic Philanthropies) ร่วมกันเป็นเจ้าภาพการจัดประชุม Joint learning Network : For Universal Health Coverage, Workshop Provider Payment Models ในวันที่ 6-10 ธันวาคม 2553 ณ ฮอลิเดย์อินน์ สีลม
ขณะเดียวกัน ผลการศึกษาฉบับล่าสุดขององค์การอนามัยโลกชี้ว่า ระบบสวัสดิการสุขภาพที่ครอบคลุมทุกปัญหาสุขภาพประชาชนเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเวลาที่เศรษฐกิจประเทศชะลอตัว และเกิดการระบาดของโรคในระดับนานาชาติ และประชากรสูงอายุของโลกต้องการดูแลรักษาโรคเรื้อรังมากขึ้น และพบว่าทั่วโลกยังไม่สามารถทำได้ตามเป้าหมายตามสัตยาบันที่ได้ให้ไว้ และประเทศที่ขาดสวัสดิการด้านสุขภาพที่พอเพียง ทำให้ประชาชน 100 ล้านคนต่อปีกลายเป็นคนยากจน ขณะที่ยุโรป ญี่ปุ่น ชิลี เม็กซิโก รวันดา และไทย เป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จในด้านระบบสวัสดิการด้านสุขภาพแบบรวมของประชาชนลงได้เป็นอย่างดี
Relate topics
- ใบสำคัญรับเงิน
- ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติ จะนะ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย โดย อ.จินตนา เจริญเนตรกุล ได้จัดอบรมการแปรรูปอาหารทะเล เช่น การทำข้าวเกรียบ
- บรรยากาศการแสดงโขนเฉลิมพระเกียรติ สุดยอดความอลังการ หนึ่งในกิจกรรมงานอาหารของแม่ เพื่อเทิดพระเกียรติแม่ของแผ่นดิน ณ ถนนสเน่หานุสรณ์
- บรรยากาศงานตลาดนัดเกษตรกรโอเดียน ประจำเดือนกรกฎาคม เมื่อวันที่ 4 ก.ค.58 โดยภายในตลาดไดมีคุณวรรณา สุวรรณชาตรี ผู้ประสานงานโครงการประชุมและเยี่ยมชมตลาด
- วันนี้ โครงการอาหารเป็นยา ปีที่ 2 อาหารเป็นยาสมุนไพร: กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา (Food as herbal medicine: A case study of Songkhla province)