บทความ

สถานการณ์ปัญหาเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ

by twoseadj @November,23 2010 09.26 ( IP : 202...1 ) | Tags : บทความ

เขียนโดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ ผู้อำนวยสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์

ส่วนหนึ่งของเอกสารประกอบการบรรยายในงานประชุมวิชาการงานคุ้มครองผู้บริโภค ครั้งที่ 1

ผลิตภัณฑ์สุขภาพยังมีปัญหาด้านคุณภาพ และความปลอดภัย  เป็นปัญหาเดิมที่เกิดขึ้นเป็นเวลามากกว่า 10-20 ปี  แต่ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้
1.ด้านเครื่องสำอาง  ปัญหาที่มีอยู่ในขณะนี้เป็นเรื่องของความปลอดภัย ได้แก่การผสมสารต้องห้าม  เช่น Hydroquinone ในผลิตภัณฑ์ป้องกันสิว-ฝ้า การมีเครื่องสำอางที่ไม่มีทะเบียน เครื่องสำอางเถื่อนวางจำหน่าย นอกจากนี้ยัง

 คำอธิบายภาพ : skin-care05

พบเครื่องสำอางที่ไม่มีฉลากภาษาไทย  ซึ่งยังคงเป็นปัญหาที่คั่งค้างอยู่  เนื่องจากความเชื่อถือของผู้ซื้อ และความต้องการของผู้ขายในการที่จะทำให้เกิดความรู้สึกว่า ผลิตภัณฑ์นั้นๆ มาจากต่างประเทศ  ในส่วนอื่นๆ ของเครื่องสำอางค่อนข้างจะพัฒนาดีขึ้นมากกว่าอดีต


2.ด้านอาหาร ตัวอย่างเช่น น้ำดื่มและเครื่องดื่มในภาชนะบรรจุปิดสนิท การศึกษาพบว่า น้ำบริโภคในภาชนะแบบใช้ซ้ำ
651 ตัวอย่าง ไม่ได้มาตรฐานทางจุลชีววิทยา ร้อยละ 38.2 โดยพบ E.coli ร้อยละ 5.8 และ MPN coliforms เกินมาตรฐาน

 คำอธิบายภาพ : pic4ceb26b96ec35

ร้อยละ 38.2  นอกจากนี้ ยังพบปัญหาใน  อาหารประเภทเนื้อสัตว์ใส่สีและมีการตกค้างของยาปฏิชีวนะ  สุขลักษณะของอาหารปรุงสำเร็จ  อาหารพร้อมปรุง เป็นต้น

3. ยา  ยังมีการขายยาผิดประเภท ผิดกฎหมาย การใช้ยาฟุ่มเฟือย การใช้ยาไม่ตรงกับอาการ ไม่ตรงกับโรค  โรงงานผลิตยาไม่ได้มาตรฐาน  วัตถุดิบไม่ได้มาตรฐาน  เช่น เมื่อทบทวนผลการวิจัยและผลการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่าการนำยาแผนปัจจุบันปลอมในยาแผนโบราณ การผสมยาในอาหารเสริมลดความอ้วน และอาหารเสริมเพื่อเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ

4. วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท และ ยาเสพติดให้โทษ มีการแพร่ระบาดในกลุ่มเยาวชน  มีการนำไปใช้ในทางที่ผิด ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ และ เป็นปัญหาต่อสังคม  พบว่ากลุ่มที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี และกลุ่มนักเรียน/นักศึกษาไปซื้อยาแก้ไอ ยาแก้ปวด ยานอนหลับจากร้านขายยาและคลินิคแพทย์

 คำอธิบายภาพ : pic4ceb26d62b1fc 5.การแสดงฉลากในผลิตภัณฑ์สุขภาพ  ยังไม่ครบถ้วน และบางครั้งไม่ถูกต้อง  เช่น วันเดือนปีที่ผลิต  และวันเดือนปีที่หมดอายุ  คำเตือน ทำให้ผู้บริโภคขาดข้อมูลในการตัดสินใจเลือกซื้อ  พฤติกรรมการดูฉลากผลิตภัณฑ์สุขภาพของประชาชนในภาพรวม พบว่า ประชาชนมีพฤติกรรมดูฉลากของผลิตภัณฑ์ยา เครื่องสำอางและยาฉีดฆ่าแมลงอยู่ในช่วงร้อยละ 77.6 ถึง 78.0 โดยดูฉลากทุกครั้ง ร้อยละ 40.1 ถึง 44.4 และดูฉลากทุกครั้งมากกว่าดูบางครั้ง ส่วนผลิตภัณฑ์น้ำบริโภคฯ เกลือบริโภคและน้ำแข็งหลอด มีพฤติกรรมการดูฉลากอยู่ในช่วงร้อยละ 44.5 ถึง 64.6 โดยดูฉลากทุกครั้ง ร้อยละ 15.5 ถึง 28.0 และดูฉลากทุกครั้งน้อยกว่าดูฉลากบางครั้ง

6.การเก็บรักษาผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เช่น  ปัญหาด้านเทคโนโลยีในการผลิต หรือ การเก็บรักษาในสถานที่จำหน่าย รวมทั้งการเก็บรักษาในสถานที่จำหน่ายและระหว่างการขนส่งไม่เหมาะสมหรือเกลือบริโภคหมดอายุ

7.การลักลอบนำสินค้าเข้าประเทศโดยไม่ขออนุญาต ทำให้เกิดผลกระทบเชิงสุขภาพ สังคม และ กฎหมาย  ตัวอย่างเช่น การลักลอบนำเข้ายาแผนโบราณสำเร็จรูปตามชายแดนไทย-มาเลเซีย

8.ปัญหาชื่อยา ทะเบียนยาที่อาจไม่เหมาะสม รวมทั้งภาชนะบรรจุ ซึ่งได้มีการอนุญาตจากส่วนกลาง เช่นมี ชื่อยาแปลก ๆ ยาที่มีประสิทธิภาพการรักษาไม่ได้ผล ไม่มีการใช้แล้ว    ในปัจจุบัน แต่ยังพบวางขายในท้องตลาด เช่น Penicillin G. Potassium 5 แสน Kanamycin เป็นต้น

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง