ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์

ชงแก้ 4 ประเด็นเน้นปรับ ม.41-NGO เผยวิปรัฐเรียกแต่ละฝ่ายชี้แจงวันนี้

by twoseadj @November,11 2010 10.51 ( IP : 202...248 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์
photo  , 400x399 pixel , 27,848 bytes.

คณะทำงานพิจารณาร่าง กม.ผู้ป่วยฯ สรุป 4 ประเด็น เน้นปรับปรุง ม.41 คุ้มครองประชาชน รอผลประชาพิจารณ์ สผพท.เร่งจับตาดูท่าทีวิป ด้านวิปรัฐ เรียกหมอ-คนไข้ หารือ กม.ผู้เสียหายฯ
      วันนี้ (10 พ.ย.) ที่แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย อาคารเฉลิมพระบารมี 50 ปี คณะทำงานพิจารณาศึกษา ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ...ของแพทยสภา ได้จัดสัมมนาสรุปปัญหาผลกระทบและหาทางออกในความขัดแย้งของร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว โดยมีแพทย์และบุคลากรในสังกัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม และสภาวิชาชีพด้านสาธารณสุขเข้าร่วม อาทิ สภาการพยาบาล สภาเทคนิคการแพทย์ ฯลฯ
      โดยนาวาอากาศเอก (พิเศษ) นพ.อิทธพร คณะเจริญ รองเลขาธิการแพทยสภา ในฐานะเลขานุการคณะทำงาน กล่าวภายหลังการสัมมนา ว่า จากการที่ร่วมสัมมนาในครั้งนี้ คณะทำงานมีมติร่วมกันใน 4 ประเด็น คือ 1.เห็นด้วยและพร้อมสนับสนุนข้อสรุปจาก 12 ประเด็นของ สธ.ในกรณีที่ระบุว่า หลักการของร่าง พ.ร.บ.นี้ สามารถคุ้มครองทั้งผู้รับและผู้ให้บริการสาธารณสุข อันจะนำมาซึ่งความสุขของทั้งสองฝ่าย 2.ระหว่างรอการประชาพิจารณ์ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ให้รัฐบาลมีการชี้แจงข้อเท็จจริงแก่ประชาชน เกี่ยวกับการบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขในทุกภาคส่วนว่ามีปัญหาในส่วนใดบ้าง แล้วดำเนินการแก้ปัญหานั้นให้ตรงจุด เช่น หากพบว่า รพ.ใดมีปัญหาก็ให้แก้ไข และมีการรายงานด้วยว่าแก้ไขอย่างไรบ้าง ผลจากการแก้ไขเป็นอย่างไร โดยดูทีละส่วนไม่ใช่รือทั้งระบบ 3.เนื่องจาก พ.ร.บ.ฉบับนี้กระทบกับคนส่วนมาก จึงเห็นควรให้มีการทำประชาพิจารณ์ทั่วประเทศ จากประชาชนทุกกลุ่ม และ 4.ระหว่างรอการทำประชาพิจารณ์และแก้ปัญหา พ.ร.บ.ฉบับนี้ อยากให้มีการปรับปรุงเนื้อหาและหลักการในมาตรา 41 ตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพ พ.ศ.2545 ให้ครอบคลุมประชาชน

ด้านศ.นพ.อาวุธ ศรีสุกรี ประธานคณะทำงานพิจารณาศึกษา ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ กล่าวว่า โดยส่วนตัวเห็นว่า หากกฎหมายนี้มีการประกาศใช้ จะมีผลทำให้แพทย์เปลี่ยนทัศนคติจากที่เคยมองประโยชน์ส่วนรวมก็จะกลับกลายมามองประโยชน์ส่วนตัวมากขึ้น และผลกระทบก็จะเกิดกับคนไข้ ตรงที่จะได้รับผลเสียมากขึ้น เนื่องจากแพทย์หวาดระแวงการถูกฟ้อง ระแวงต่อความผิด เช่น กรณีที่คนไข้ต้องรักษาในโรคใดโรคหนึ่งอย่างเร่งด่วน โดยการผ่าตัดแต่แพทย์กลับไม่แน่ใจ ไม่กล้าตัดสินใจเพราะกังวลว่าคนไข้อาจได้รับอันตรายแล้วตนจะมีความผิดถูกฟ้องได้ คนไข้ก็จะมีอาการที่รุนแรงขึ้นซึ่งก็ชัดเจนว่า ผลเสียนั้นไม่คุ้มค่า
      “การที่จะพิจารณาออกกฎหมายได้จะต้องไม่อิงเพียงประชานบางส่วน แต่ควรที่จะให้ทุกภาคส่วนเห็นด้วย และโดยเฉพาะแพทย์ พราะคนที่เคยถูกปลูกฝังในอาชีพว่าต้องทำเพื่อส่วนรวม อยู่ๆ เมื่อการปฏิบัติหน้าที่ถูกจับตามองก็จะมีความเห็นแก่ตัวซึ่งตรงนี้ไม่อยากให้เกิดขึ้น ดังนั้นจึงอยากให้เร่งมือในการทำประชาพิจารณ์เพื่อเปิดรับความคิดเห็นอย่างรอบด้าน” ศ.นพ.อาวุธ กล่าว
      นพ.ฐาปนวงศ์ ตั้งอุไรวรรณ รองประธานสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์ และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย (สผพท.) กล่าวว่า การทำประชาพิจารณ์ของ 9 คณะทำงานจากตัวแทนองค์กรแพทย์สังกัดต่างๆ 80 คน ซึ่งมอบหมายให้ทาง สผพท.เป็นผู้ดำเนินการนั้น เป็นการทำประชาพิจารณ์ในส่วนของบุคลากรสาธารณสุขทุกวิชาชีพ ทั้งแพทย์พยาบาล เภสัชกรรม นักเทคนิค เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) เพื่อแสดงความคิดเห็นต่อร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ซึ่งได้ทำใน 41 จังหวัด จำนวน 1 แสนคน พบว่า ไม่เห็นด้วยในร่างกฎหมายนี้ทั้งหมด แต่การจะมาระบุว่าเป็นการให้ข้อมูลด้านเดียวย่อมไม่เป็นความจริง เนื่องจากฝั่งสนับสนุนก็ดำเนินการให้ข้อมูลด้านเดียวมาโดยตลอดเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ขอยืนยันว่า สิ่งที่ให้ข้อมูลกับทางบุคลากรทางการแพทย์ล้วนเป็นความจริง ซึ่งหากต้องการความเป็นธรรมก็เสนอให้รัฐบาลเป็นเจ้าภาพในการทำประชาพิจารณ์ใหม่ดีกว่า
      “ระหว่างนี้ทาง สผพท.จะมีการเฝ้าจับตาอย่างต่อเนื่อง ว่าในวันที่ 26 พ.ย นี้จะมีการนำเข้าที่ประชุมสภาฯหรือไม่ และท่าทีของรัฐบาลจะเป็นอย่างไรต่อไป เพราะยังไม่แน่ใจเรื่องการเมือง ในเมื่อความเดือดร้อนของประชาชนในวิชาชีพแพทย์ และบุคลากรสาธารณสุขยังมีแล้ววิปยังจะผลักดันต่อไปหรือไม่ แม้วิปจะเคยพูดว่าไม่นำเข้าแต่ก็ยังไม่แน่ใจ” นพ.ฐาปนวงศ์ กล่าว
      ด้านน.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวถึงความคืบหน้าของการดำเนินการร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ.. ว่า ล่าสุด วิปรัฐบาลได้มอบหมายให้คณะกรรมการที่ปรึกษากลั่นกรองร่างกฎหมายของสภาผู้แทนราษฎร เรียกฝ่ายวิชาชีพแพทย์และเครือข่ายผู้ป่วยฝ่ายละ 4 คนเข้าชี้แจงเกี่ยวกับเรื่องนี้อีกครั้งในวันที่ 11 พ.ย.2553 ตั้งแต่เวลา 13.30 น.ที่อาคารรัฐสภา 3 ห้องกรรมาธิการงบประมาน โดยมี นายวิรัตน์ กัลยาศิริ รองประธานวิปรัฐบาล เป็นประธาน อย่างไรก็ตาม ทางเครือข่ายผู้ป่วยพร้อมให้ความร่วมมือ เพราะต้องการให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน ทั้งนี้ ทางที่ดีที่สุดอยากให้รัฐบาลชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องนี้จริงๆ ไม่ใช่ออกมาประกาศชัดเพียงว่าจะเดินหน้า ขณะที่การกระทำกลับไม่มีอะไรยืนยันได้
      น.ส.สารี กล่าวด้วยว่า ขณะนี้มีความพยายามในการทำประชาพิจารณาของฝ่ายแพทย์ ซึ่งทราบมาว่า การประชาพิจารณ์ดังกล่าวเป็นเพียงการให้ข้อมูลด้านเดียว อย่างกรณีคณะกรรมการกองทุนเกรงว่าจะมีแต่พวกเอ็นจีโอ ทั้งๆ ที่ไม่ใช่มีตัวแทนจากสภาวิชาชีพร่วมด้วย และการระบุว่า กฎหมายดังกล่าวจะไปเบียดบังงบประมาณตามสถานพยาบาลทั่วไป โดยเฉพาะสถานพยาบาลสำหรับประชาชน ยิ่งไม่เป็นความจริง เนื่องจากข้อเท็จจริงงบประมาณกองทุนมาจากกองทุนมาตรา 41 ใน พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 และเงินสมทบจากสถานพยาบาลเอกชนเป็นเบี้ยสมทบ ส่วนโรงพยาบาลของรัฐ กองทุนจะขอสมทบปีต่อปีจากรัฐบาล โรงพยาบาลแต่ละแห่งไม่ต้องเสียซ้ำเสียซ้อน ทางที่ดีที่สุดหากต้องการทำประชาพิจารณ์ควรเป็นหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.)

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง