สำนักธรรมนูญสุขภาพชะแล้

สำนักธรรมนูญสุขภาพชะแล้

รีเฟรช
ชื่อเครือข่าย สำนักธรรมนูญสุขภาพชะแล้
ประเภท ความมั่นคงด้านอาหาร
ที่ตั้ง ตำบลชะแล้ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
ผู้ประสานงาน

นายเมธา บุญยประวิตร ผู้อำนวยการสำนักธรรมนูญสุขภาพชะแล้

เบอร์โทรศัพท์ 083- 6538987 , 082 - 4127805
อีเมล์ andamandecor@hotmail.com
บทบาทหน้าที่
  1. เป็นตัวแทนเครือข่ายเกษตรกรโซนคาบสมุทรสทิงพระ ดำเนินกิจกรรมด้านความมั่นคงด้านอาหาร เช่น ธนาคารพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์น้ำในลุ่มทะเลสาบสงขลา เป็นต้น
  2. การขับเคลื่อนงานตามหมวดว่าด้วยอาหารปลอดภัย ซึ่งมีการบรรจุไว้ในธรรมนูญสุขภาพตำบลชะแล้
ข้อจำกัดและเงื่อนไขในการดำเนินงาน

 

กิจกรรมที่ดำเนินการแล้ว

ประสานงานกลุ่มองค์กรในพื้นที่ตำบลชะแล้ปฏิบัติตามธรรมนูญสุขภาพตำบลชะแล้ ฉบับที่ 1 ปี 25552  ประสานภาคเครือข่ายจากภายนอกทั้งผู้เชี่ยวชาญ
บุคลากร กิจกรรม งบประมาณ ร่วมดำเนินการพัฒนาเพื่อร่วมสร้างสุขภาวะให้เกิดแก่คนชะแล้ 

ชุดบทเรียน/ความรู้/กรณีศึกษาที่เป็นผลงานเด่น
  1. สำนักธรรมนูญสุขภาพตำบลชะแล้
    เป็นศูนย์เรียนรู้เรื่อง กระบวนการพัฒนาชุมชนโดยใช้ธรรมนูญสุขภาพตำบลชะแล้
    ฉบับที่ 1 เป้นเครื่องมือในการดำเนินงาน
    ( ที่มา กระบวนการจัดทำ ผลการนำธรรมนูญสู่การปฏิบัติ ) ที่ตั้งศูนย์เรียนรู้  32 หมู่ที่ 4 ตำบลชะแล้ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
  2. ชมรมผู้สูงอายุตำบลชะแล้
    เป็นศูนย์เรียนรู้เรื่องการจัดระบบสวัสดิการ
    การออกแบบกิจกรรมที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุในตำบลชะแล้ ที่ตั้งศูนย์เรียนรู้  32 หมู่ที่ 3 ตำบลชะแล้ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
  3. สภาวัฒนธรรมตำบลชะแล้
    เป็นศูนย์เรียนรู้เรื่องการจัดเก็บข้อมูลมรดกทางวัฒนธรรมของตำบลชะแล้
    การสร้างเสริมคุณค่าแก่ภูมิปัญญาท้องถิ่นและใช้มรดกทางวัฒนธรรม ในการสร้างความสุขแก่คน ที่ตั้งศูนย์เรียนรู้  32 หมู่ที่ 4 ตำบลชะแล้ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
  4. กลุ่มเกษตรอินทรีย์
    เป็นศูนย์เรียนรู้เรื่องการพัฒนาแนวคิดจากการเกษตรที่ใช้ปุ๋ยเคมี เปลี่ยนเป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตจากเศษวัสดุอาหารในครัวเรือน ที่ตั้งศูนย์เรียนรู้  32 หมู่ที่ 3 ตำบลชะแล้ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
  5. เครือข่ายงดเหล้าบุหรี่ตำบลชะแล้
    เป็นศูนย์เรียนรู้เรื่องการจัดตั้งเครือข่ายจากหมวดที่ 2 ข้อที่ 5
    ของธรรมนูญสุขภาพตำบลชะแล้ ฉบับที่ 1 ระบุว่า โดยทั่วไปคนชะแล้ควรรักษาศิลข้อที่ 5 และข้ออื่น ๆ อีก 1 ข้อ
    จึงได้จัดตั้งเป้นเครือข่ายรณรงค์หาสมาชิกลงนามแจ้งความประสงค์ และประพฤติตาม โดยระบุ  ในการ ลด ละ เลิกสิ่งเสพติด ที่ตั้งศูนย์เรียนรู้  3 หมู่ที่ 3 ตำบลชะแล้ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
  6. กลุ่มออกกำลังกายโนราบิคเป็นศูนย์เรียนรู้เรื่อง เป็นศูนย์เรียนรู้เรื่องการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สอดคล้อง กับงานวิจัยในการออกกำลังกายด้วยท่ารำโนราลดภาวะเบาหวานในกลุ่มผู้ป่วย
    ชุมชนชะแล้มีภูมิปัญญามโนราห์อาชีพ 2 คณะ ที่ตั้งศูนย์เรียนรู้  32 หมู่ที่ 1 ตำบลชะแล้ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
  7. ศูนย์พัฒนาคุณธรรมตำบลชะแล้ เป็นศูนย์เรียนรู้เรื่องที่มาของแนวคิด กระบวนการขั้นตอนการก่อเกิด
    และผลการดำเนินกิจกรรม ที่ตั้งศูนย์เรียนรู้  32 หมู่ที่ 1 ตำบลชะแล้ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
เครือข่ายที่ทำงานด้วย
  1. คณะเภสัชกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  2. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสงขลา
  3. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลชะแล้
  4. วิทยาลัยวชิราโปลีเทคนิคสงขลา
  5. เทศบาลตำบลชะแล้
  6. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลชะแล้
  7. รร.วัดชะแล้
  8. รร.ชะแล้นิมิตวิทยา
  9. กลุ่มตำบลเครือข่าย 23 เกลอ ท่าข้าม
  10. เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนตำบล  จังหวัดสงขลา
  11. สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.)ภาคใต้
  12. คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
  13. สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
  14. พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสงขลา
แผนงานในอนาคต
  1. แผนพัฒนาการผลิตวัตถุดิบความมั่นคงทางอาหารในแนวทางอาหารปลอดภัย พัฒนาระบบฐานข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน
    การมีส่วนร่วมใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อความมั่นคงทางอาหาร การบริหารจัดการน้ำระดับตำบล ธนาคารต้นไม้(พืชพรรณไม้พื้นบ้าน)
    ขยายพื้นที่เพื่อวิถีเกษตรอินทรีย์(นาอินทรีย์ พืชผักและสัตว์ปลอดสารพิษ)
    เพาะพันธุ์พืช สัตว์พื้นบ้าน(ห้องเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ รร.ชะแล้นิตรวิทยา)
  2. แผนการแปรรูปวัตถุดิบและช่องจำหน่ายวัตถุดิบอาหาร เพื่อการบริโภคอาหารปลอดภัยพอเพียงระดับชุมชน
    ครัวเรือนเกษตรอินทรีย์ ตลาดสีเขียว ร้านอาหารเพื่อสุขภาพ
    ร้านค้าปลีกเพื่อชุมชนปลอดภัยด้านการบริโภค
  3. แผนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคที่เสี่ยงต่อสุขภาพของกลุ่มคน
    ในทุกช่วงวัย กิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่(เทศบาล-สำนักธรรมนูญ-รพ.สต.ชะแล้) กิจกรรมคุณภาพโภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมคุณภาพโภชนาการเด็กเล็ก
    กิจกรรมคุณภาพอาหารเด็กประถมวัย กิจกรรมลดอาหารขยะในวัยรุ่น อาหารเพื่อสุขภาพคนทำงาน เมนูสุขภาพผู้ป่วยเรื้อรัง ครัวเรือนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
    หมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานกิจกรรมเครือข่าย ภายในชุมชนให้บรรลุตัวชีวัดธรรมนูญสุขภาพ 10 หมวด 60 ข้อ
  4. แผนพัฒนาศักยภาพแกนนำชุมชน คณะทำงาน พัฒนาศักยภาพแกนนำ การจัดการ 14 ระบบสุขภาวะชุมชน พัฒนาศักยภาพแกนนำคณะกรรมการ คุ้มรองผู้บริโภค ต.ชะแล้
  5. แผนสื่อสารประชาสัมพันธ์ สมัชชาสุขภาพความมั่นคงทางอาหารประจำปี รายการวิทยุ โทรทัศน์สาธารณะ จดหมายข่าว ป้ายไวนิล ถอดบทเรียน
    การพัฒนาระบบข้อมูลกลางตำบลชะแล้
  • photo

ไฟล์เอกสารประกอบ