กลุ่มผู้บริโภคเพื่อชีวิตจังหวัดสงขลา

กลุ่มผู้บริโภคเพื่อชีวิตจังหวัดสงขลา

รีเฟรช
ชื่อเครือข่าย กลุ่มผู้บริโภคเพื่อชีวิตจังหวัดสงขลา
ประเภท ความปลอดภัยด้านอาหาร
ที่ตั้ง ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ผู้ประสานงาน

นางสาว บารีย๊ะ ยาดำ

เบอร์โทรศัพท์ 074-254542 มือถือ 089-4666695 โทรสาร 074-254542
อีเมล์ http://consumersongkhla.org
บทบาทหน้าที่
  1. จัดเวทีเอาปัญหาผู้บริโภคมาคุยกัน  เรียนรู้พร้อมกัน หาแนวทางแก้ไขปัญหา ทำให้เกิดการช่วยกันคิด
    การจัดการ ทำให้ผู้บริโภคเข้มแข็ง

  2. คอยให้คำปรึกษาแก่ผู้บริโภค เป็นเหมือนเพื่อนผู้บริโภคทำให้ผู้บริโภคเข้มแข็ง
    พิทักษ์สิทธิ์ตนเองได้ ช่วยประสานงานหน่วยงานที่ทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคได้

  3. พัฒนาศักยภาพผู้บริโภค องค์กรผู้บริโภค และเครือข่ายผู้บริโภคจัดอบรมสัมมนา เช่นเรื่อง CL ยา
    เพราะผู้บริโภคได้รับผลกระทบ ร่วมกับการโทรคมนาคม
    เกี่ยวเรื่องปัญหาโทรศัพท์มือถือ

  4. ทำสื่อเผยแพร่จัดรายการวิทยุชุมชน พูดคุย ข่าวสาร เรื่องสุขภาพ เป็นต้น

ข้อจำกัดและเงื่อนไขในการดำเนินงาน

 

กิจกรรมที่ดำเนินการแล้ว

โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งกลไกการคุ้มครองความปลอดภัยด้านอาหารโดยผู้บริโภค

เป็นกิจกรรมที่สมาคมผู้บริโภคสงขลา ดำเนินงานร่วมกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและเครือข่ายผู้บริโภคทั่วประเทศ 10 จังหวัด
คือ เชียงใหม่ พะเยา ขอนแก่น ร้อยเอ็ด สงขลา สุราษฏร์ธานี สตูล กรุงเทพมหานคร
กาญจนบุรี  สมุทรสงคราม เป็นกิจกรรมที่สร้างกลไกการคุ้มครองความปลอดภัย ด้านอาหารโดยผู้บริโภคในระดับจังหวัด ระดับพื้นที่
โดยมีกิจกรรมการเฝ้าระวังสื่อการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่อวดอ้างเกินจริงผ่านสื่อวิทยุชุมชน เคเบิ้ล
พบว่าการโฆษณาผลิตภัณฑ์ยาที่ไม่ได้รับอนุญาตมากกว่า 15 ตัว
เช่น ผลิตภัณฑ์ซันคลาร่า เอนไซม์เจนิฟู้ดส์  เป็นต้น
มีการสำรวจฉลากผลิตภัณฑ์อาหารในห้างค้าปลีกสมัยใหม่
พบผลิตภัณฑ์หมดอายุ ทั้งที่เป็นห้างค้าที่เพิ่งเปิดใหม่แต่นำผลิตภัณฑ์ จำพวกขนมเด็กที่หมดอายุก่อนวันเปิดห้างมาวางขายบนชั้น
จากการสำรวจพบว่ามีทั้งฉลากหมดอายุ แสดงข้อความไม่ชัดเจนของฉลาก
จำนวน 28 รายการ จากการสำรวจ 4 ครั้ง
มีการสุ่มตรวจตัวอย่างผัก ผลไม้ อาหารสด อาหารแห้ง อาหารนำเข้า
เพื่อทำการตรวจสอบผลิตภัณฑ์อาหารหาสารปนเปื้อนในอาหาร
โดยห้องปฏิบัติการอาหารฮาลาล
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมอาการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
มีการขยายผลสู่สาธารณะโดยผ่านทางช่องทางต่าง ๆ เช่น วิทยุ เวปไซต์ การจัดนิทรรศการ เป็นต้น

ชุดบทเรียน/ความรู้/กรณีศึกษาที่เป็นผลงานเด่น

  จากการดำเนินงานโครงการศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมจังหวัดสงขลา
มาตั้งแต่ปี 2552 – 2553
ภายใต้การทำงานของสมาคมผู้บริโภค สงขลา
โดยการสนับสนุนจากสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานเพื่อพัฒนากลไกและระบบการคุ้มครองผู้บริโภค ในจังหวัดสงขลา ให้เกิดการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงเครือข่ายในระดับพื้นที่
การเสริมสร้างความรู้ความเข้าในสิทธิผู้บริโภค
พร้อมทั้งรับเรื่องร้องเรียนและแก้ไขปัญหาผู้บริโภค ในกิจการโทรคมนาคมในจังหวัดสงขลา
และการขับเคลื่อนเชิงนโยบายเพื่อคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค
ทั้งยังเป็นการพัฒนาองค์กรให้มีศักยภาพในการทำงาน คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในจังสงขลา ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    การดำเนินงานที่ผ่านมาสามารถทำให้เกิดการสร้างเครือข่ายคนทำงาน<br />

การพัฒนาการทำงานระดับพื้นที่กับแกนนำอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภค ในจังหวัดสงขลาที่ชัดเจน
เกิดกระบวนการสื่อสารสาธารณะและการใช้สถานีวิทยุกระแสหลัก ในจังหวัดสงขลาเป็นช่องทางการสื่อสาร
การรับเรื่องร้องเรียนและผู้บริโภคสามารถจัดการแก้ไขปัญหาเบื้องต้น ได้เองในพื้นที่นอกจากนั้นยังมีการเชื่อมโยงเครือข่ายนักวิชาการ นักวิชาการด้านกฎหมาย
และสถาบันการศึกษาในจังหวัดสงขลา เป็นการสร้างเครือข่ายให้กับการทำงาน คุ้มครองผู้บริโภคในจังหวัดสงขลา ต่อไปในปี 2554 เช่น

    การพัฒนากลไกและระบบคุ้มครองผู้บริโภคในจังหวัดสงขลา<br />

มีการสนับสนุนการสร้างกลไกอาสาสมัครในพื้นที่
จำนวน 10 อำเภอ  มีการออกแบบกิจกรรม ให้อาสาสมัครได้ลงมือปฏิบัติการในพื้นที่
มีการตั้งคณะทำงานระดับพื้นที่เพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มเป็นทีมทำงาน
สร้างการยอมรับในตัวอาสาสมัครโดยการให้บทบาทการทำงาน
นอกจากนั้นมีการสร้างกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง ตลอดโครงการ  ทั้งระดับจังหวัด
ระดับโซนอำเภอ และระดับพื้นที่
หนุนเสริมการทำงานให้มีทิศทางในการเติบโตเชิงปริมาณ และคุณภาพของอาสาสมัคร

การดำเนินงาน  สร้างความเข้าใจ รณรงค์
และเฝ้าระวังการใช้ยาชื่อสามัญ (Generic name)
เป็นกิจกรรมที่สมาคมผู้บริโภคสงขลาดำเนินงานร่วมกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
ในสร้างความเข้าใจ
รณรงค์และการเฝ้าระวังการใช้ยา และให้ประชาชนรู้จักชื่อสามัญทางยา
(Generic name)
โดยทางสมาคมผู้บริโภคสงขลาได้ร่วมสำรวจข้อมูลการ ใช้ยาของประชาชนในพื้นที่  6 หมู่บ้าน
ของตำบลวัดจันทร์ อ.สทิงพระ  จ.สงขลา จำนวน 100 ตัวอย่าง
เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้ยา
และรวบรวมยาที่เหลือไม่ได้กินในแต่ละบ้านเพื่อหามูลค่ายาที่ทิ้งไม่ได้กิน
สร้างความตระหนักต่อพฤติกรรมการใช้ยาให้กลุ่มอาสาสมัคร
และผู้ป่วยในพื้นที่ตำบลวัดจันทร์ร่วมกับเภสัชกรโรงพยาบาลสทิงพระ และ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดจันทร์ (รพ.สต.)  อ.สทิงพระ
เพื่อรวบรวมสถานการณ์การใช้ยาของประชาชนในพื้นที่ และเป็นพื้นที่นำร่องในการดำเนินงาน ต่อในพื้นที่และทำให้กลุ่มแกนนำอาสาสมัครมีความรู้ความเข้าใจ
มีความระวังในการใช้ยามากขึ้น
มีความตื่นตัวเรื่องการใช้ยามากขึ้นเนื่องจากเป็นเรื่องใกล้ตัว
  มีการให้คำแนะนำการใช้ยาเบื้องต้นแก่คนอื่นๆ
และเป็นกลไกเฝ้าระวังการใช้ยาในพื้นที่ชุมชน
เกิดการเชื่อมประสานทำงานร่วมกับกับหน่วยงานต่างที่เกี่ยวข้อง ในระดับพื้นที่ได้แก่ รพสต., โรงพยาบาลชุมชน , สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ,
คณะเภสัชศาสตร์ มอ. เป็นต้น
สุดท้ายทำให้มีปฏิบัติการร่วมกัน ระหว่างผู้บริโภคและผู้ให้บริการ
ซึ่งเป็นแนวทางในการดำเนินงานต่อเนื่องและสามารถขยายผลในพื้นที่ได้ ดังนั้น หากประชาชนรู้จัก ชื่อสามัญของยา (Generic name)
จะช่วยให้สามารถใช้ยาได้ถูกต้องและปลอดภัยมากขึ้น
จึงควรปรับทิศทางการใช้ยา การจ่ายยา และการสั่งยา
โดยการนำชื่อยาสามัญมาใช้มากขึ้น

เครือข่ายที่ทำงานด้วย
  1. มูลนิธิเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค (มพบ.)
  2. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา
  3. สำนักงานอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัดสงขลา
แผนงานในอนาคต
  1. พัฒนากลไกการเฝ้าระวังอาหารปลอดภัยโดยกการมีส่วนร่วมของผู้บริโภคในจังหวัดสงขลา

    • ฝึกอบรมอาสาสมัครเฝ้าระวังอาหารปลอดภัยในจังหวัดสงขลา
    • ประชุมแลกเปลี่ยนสถานการณ์ปัญหาและผลการเฝ้าระวังอาหารปลอดภัย
    • สนับสนุนปฏิบัติการอาหารปลอดภัยในพื้นที่
  2. เพื่อสร้างความตระหนักต่อปัญหาความปลอดภัยด้านอาหารในพื้นที่จังหวัดสงขลา

    • สำรวจสถานการณ์อาหารหน้าโรงเรียน
    • เผยแพร่ข้อมูลอาหารปลอดภัย
    • จัดประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางในการจัดการปัญหา
  3. เพื่อสร้างพื้นที่นำร่องการจัดการอาหารปลอดภัยสำหรับเด็กและเยาวชน  โดยการเชื่อมโยงบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

    • ประชุมสร้างความร่วมมือปฏิบัติการพื้นที่นำร่อง
    • สนับสนุนกิจกรรมโรงเรียนอาหารปลอดภัย 3 พื้นที่


  • photo

ไฟล์เอกสารประกอบ