กลุ่มพัฒนาคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสงขลา

กลุ่มพัฒนาคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสงขลา

รีเฟรช
ชื่อเครือข่าย กลุ่มพัฒนาคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสงขลา
ประเภท ความปลอดภัยด้านอาหาร
ที่ตั้ง ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ผู้ประสานงาน
  1. น.ส.พ.มณเฑียร  บุญทวีส่ง  หัวหน้ากลุ่มพัฒนาสินค้าปศุสัตว์
  2. น.ส.พ.จักรพันธ์  มากสุวรรณ  นายสัตวแพทย์ปฏิบัติการ
เบอร์โทรศัพท์ 074-311598
อีเมล์
บทบาทหน้าที่
  1. ดำเนินการพัฒนาฟาร์มเลี้ยงสัตว์ให้ได้มาตรฐานฟาร์ม
  2. ตรวจสอบ  ติดตามรักษามาตรฐานฟาร์มที่ผ่านการรับรอง
  3. ดำเนินการพัฒนาโรงฆ่าสัตว์ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการและข้อกำหนดกฎหมาย
  4. พัฒนา / ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีให้แก่เกษตรกร / หน่วยงาน  / องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงสัตว์ / การฆ่าสัตว์ / การจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เพื่อให้สินค้าปศุสัตว์มีความปลอดภัย  ได้มาตรฐาน
ข้อจำกัดและเงื่อนไขในการดำเนินงาน
  1. ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในระบบสินค้าปศุสัตว์ ได้แก่ ผู้เลี้ยง /จำหน่าย ผลิตภัณฑ์และผลิตผลจากสัตว์ขาดแรงจูงใจในการเข้าสู่ระบบอาหารปลอดภัย  เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายเป็นต้นทุนในการดำเนินการสูงขึ้น แต่ราคาจำหน่ายผลผลิตไม่แตกต่างไปจากผู้ประกอบอาชีพเช่นเดียวกับตนที่ไม่ได้เข้าสู่ระบบอาหารปลอดภัย
  2. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่มีงบประมาณเพียงพอที่จะปรับปรุง / ก่อสร้างโรงฆ่าสัตว์ให้ได้มาตรฐาน
  3. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังไม่ได้บังคับใช้กฎหมายกับผู้จำหน่ายเนื้อสัตว์ให้จำหน่ายเฉพาะเนื้อสัตว์ที่มาจากโรงฆ่าสัตว์ซึ่งมีใบอนุญาตเท่านั้น
กิจกรรมที่ดำเนินการแล้ว

สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสงขลาได้ดำเนินงานด้านอาหารปลอดภัยตลอดห่วงโซ่อาหาร  ดังนี้

ต้นน้ำ

เจ้าหน้าที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสงขลาร่วมกับเจ้าหน้าที่สำนักงานปศุสัตว์อำเภอดำเนินงาน

  1. พัฒนาฟาร์มเลี้ยงสัตว์  เช่น  ฟาร์มสุกร  ฟาร์มไก่เนื้อ  ฟาร์มไก่ไข่  ฯลฯ  ให้เข้าสู่มาตรฐานฟาร์มที่กรมปศุสัตว์กำหนด  โดยการจัดอบรมผู้ประกอบการ  ตรวจเยี่ยมแนะนำ  รวบรวมข้อมูลฟาร์มที่ผ่านการประเมินเบื้องต้นส่งให้สำนักงานปศุสัตว์เขต 9 ตรวจรับรองต่อไป ฟาร์มสัตว์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน  ดังนี้

    • ฟาร์มสุกร        27 ฟาร์ม
    • ฟาร์มไก่เนื้อ      7 ฟาร์ม
    • ฟาร์มไก่ไข่      5 ฟาร์ม
    • ฟาร์มไก่พันธุ์  2 ฟาร์ม
  2. เฝ้าระวังสารเร่งเนื้อแดงในฟาร์มสุกร โดยการเก็บตัวอย่างน้ำ  อาหาร  และปัสสาวะสุกร  ตรวจหาสารเร่งเนื้อแดง จากการ เก็บตัวอย่างปัสสาวะสุกร  584 ตัวอย่าง  ตัวอย่างอาหาร  18  ตัวอย่าง ตัวอย่างน้ำเลี้ยงสุกร  15  ตัวอย่าง    ไม่พบสารเร่งเนื้อแดง

  3. พัฒนาฟาร์มปลอดโรค

    1. พัฒนาฟาร์มเลี้ยงแพะของเกษตรกรรายย่อยและกลุ่มเกษตรกรให้เป็นฟาร์มปลอดโรคแท้งติดต่อด้วยการให้คำแนะนำการสร้างโรงเรือน  ให้การสนับสนุนวัคซีนและเวชภัณฑ์ต่างๆ
    2. ขึ้นทะเบียนแหล่งเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งและให้ความรู้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงให้สามารถดำเนินการเลี้ยงด้วยระบบความปลอดภัยทางชีวภาพเบื้องต้น
  4. ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ เก็บตัวอย่างจากโรงงานผลิตอาหารสัตว์และตัวอย่างวัตถุดิบผสมอาหาร ตรวจหาสารเร่งเนื้อแดงกรณีเป็นอาหารเลี้ยงสุกร  ตรวจยาป้องกันและรักษาโรคบิดในอาหารเลี้ยงไก่ไข่  และตรวจโลหะหนัก  เช่น  ตะกั่ว  แคดเมียม และเชื้อซัลโมเนลล่าในปลาป่น

กลางน้ำ

  • เจ้าหน้าที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสงขลาร่วมกับเจ้าหน้าที่สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ  และเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพัฒนาโรงฆ่าสัตว์ให้มีขบวนการฆ่าสัตว์ถูกต้องตามหลักวิชาการและข้อกำหนดกฎหมาย โรงฆ่าสัตว์ที่ได้รับใบอนุญาตในจังหวัดสงขลามีจำนวน  11  โรง
    นอกจากนี้กรมปศุสัตว์ยังได้สนับสนุนงบประมาณจัดจ้างพนักงานตรวจโรคสัตว์ประจำโรงฆ่าสัตว์ที่ได้รับใบอนุญาตแต่ไม่มีพนักงานตรวจโรคสัตว์  เพื่อปฏิบัติงานตรวจสัตว์ก่อนฆ่าและตรวจซากสัตว์ก่อนนำไปจำหน่าย

ปลายน้ำ

  • เจ้าหน้าที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสงขลาร่วมกับเจ้าหน้าที่สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ  เจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา  เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  และเจ้าของตลาด  ดำเนินงานตามโครงการสถานที่จำหน่ายเนื้อสัตว์สะอาด  (หรือเขียงสะอาด)    ซึ่งเป็นโครงการกระตุ้นให้ผู้จำหน่ายเนื้อสัตว์พัฒนาสถานที่จำหน่ายให้สะอาด  ถูกสุขลักษณะ  และนำเนื้อสัตว์จากโรงฆ่าสัตว์ที่ได้รับใบอนุญาตมาจำหน่าย  โดยการประชุมชี้แจงผู้ประกอบการ  ตรวจประเมิน  ให้คำแนะนำการปรับปรุงสถานที่จำหน่าย เก็บตัวอย่างเนื้อสัตว์  ไข่  ตรวจสารตกค้างที่ห้ามใช้ เช่น ตรวจสารเร่งเนื้อแดงในเนื้อสุกร  ตรวจยารักษาโรคบิดในไก่ไข่  และswab นิ้วมือ  ถุงมือ  น้ำ น้ำแข็ง และเขียงของสถานที่จำหน่ายเพื่อตรวจหาเชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ

แผงจำหน่ายเนื้อสัตว์ที่ผ่านการประเมินตามโครงการประกอบด้วย  แผงจำหน่ายเนื้อสุกร จำนวน 39 แผง

ชุดบทเรียน/ความรู้/กรณีศึกษาที่เป็นผลงานเด่น
  1. สื่อรณรงค์ของกรมปศุสัตว์ให้ความรู้
  2. สร้างความเข้าใจแก่ผู้บริโภค  ผู้ประกอบการ  เช่น สื่อโทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์
เครือข่ายที่ทำงานด้วย

 

แผนงานในอนาคต
  1. ดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง    เช่น สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ  สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ฯลฯ ต่อเนื่องในกิจกรรมต่างๆเช่นเดียวกับกีจกรรมที่ได้ดำเนินการมาแล้ว เพื่อขยายผล

  2. พัฒนาโรงฆ่าสัตว์สู่โรงฆ่าสัตว์ฮาลาล

  • photo

ไฟล์เอกสารประกอบ