สมาคมเกษตรอินทรีย์วิถีไท

สมาคมเกษตรอินทรีย์วิถีไท

รีเฟรช
ชื่อเครือข่าย สมาคมเกษตรอินทรีย์วิถีไท
ประเภท ความมั่นคงด้านอาหาร
ที่ตั้ง ตำบลบ้านหาร อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา
ผู้ประสานงาน

นายภานุ  พิทักษ์เผ่า 

เบอร์โทรศัพท์ 089-4624912
อีเมล์
บทบาทหน้าที่

เป็นแหล่งให้ความรู้แก่ผู้ผลิต  ผู้บริโภค  เกี่ยวกับการทำการเกษตรแบบไม่ใช้สารเคมี  และการดูแลสุขภาพแบบพึ่งตนเอง

ข้อจำกัดและเงื่อนไขในการดำเนินงาน

ผู้เข้าอบรมบางรายไม่ได้สมัครใจจะเข้าอบรม  แต่เป็นผู้ถูกเกณฑ์จากหน่วยงานที่ส่งเข้าอบรม  จึงมีปัญหาต่อการปฏิบัติตามข้อกำหนดระเบียบของการอบรม

กิจกรรมที่ดำเนินการแล้ว

จัดการอบรมแก่ประชาชน  เยาวชน  เกษตรกร  ในหลักสูตรต่าง ๆ ในปี 2555 ดังนี้ 1. หลักสูตรการส่งเสริมการดำเนินชีวิตพอเพียง  จำนวน 10  รุ่น รวม500 คน 2. หลักสูตรเกษตรทฤษฎีใหม่  โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  จำนวน 4รุ่น รวม 190 คน 3. หลักสูตรการดูแลสุขภาพแบบพึ่งตนเอง  จำนวน 3  รุ่น รวม150 คน 4. การอบรมเชิงปฏิบัติการทำอาหารเพื่อสุขภาพ  จำนวน 1 รุ่น 50 คน ทั้งนี้หน่วยงาน / องค์กรต่าง ๆ เป็นผู้จัดหาผู้เข้าอบรมในแต่ละหลักสูตรตามเป้าหมายการดำเนินงานของแต่ละหน่วยงาน  ได้แก่  ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์  สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสงขลา  สำนักงานจังหวัดสงขลา  มูลนิธิส่งเสริมยุวเกษตรกรไทยในพระราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ  หลังจากการอบรมจะมีการติดตามเยี่ยมเยียนผู้เข้าอบรม  ซึ่งพบว่าผู้เข้ารับการอบรมได้นำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันประมาณร้อยละ  80

ชุดบทเรียน/ความรู้/กรณีศึกษาที่เป็นผลงานเด่น

ศูนย์เรียนรู้คุณธรรมเพื่อเศรษฐกิจพอเพียง หลักสูตรส่งเสริมการดำเนินชีวิตพอเพียง 1000 คน ต่อปี หลักสูตรการอบรมเชิงปฏิบัติการอาหารเพื่อสุขภาพ หลักสูตรการพัฒนาเกษตรตามทฤษฏีใหม่ หลักสูตรการผลิตและการตลาดที่ยั่งยืน ร้านครัวเพื่อนสุขภาพ เป็นตลาดรองรับผลผลิตของสมาคม สภาความร่วมมือด้านอาหารปลอดภัย ผู้ผลิต เกษตรอินทรีย์ ผู้บริโภค โรงพยาบาลรัฐและเอกชน สสจ. เกษตรและสหกรณ์จังหวัด สมาชิก 16 อำเภอ 1,500 คน ที่ผ่านหลักสูตร ผลผลิต ข้าว ผัก ผลไม้ ยาสมุนไพร แชมพู สบู่ เครื่องสำอาง ปุ๋ยอินทรีย์ น้ำหมักชีวภาพ

เครือข่ายที่ทำงานด้วย

หน่วยงาน / องค์กรที่จัดส่งผู้เข้าอบรมจะให้การสนับสนุนงบดำเนินการในแต่ละหลักสูตร  ได้แก่
1. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์
2. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้การสนับสนุนงบผ่านทางสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด
3. จังหวัดสงขลาให้การสนับสนุนงบผ่านทางสำนักงานจังหวัดสงขลา
4. กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ให้การสนับสนุนงบผ่านทางมูลนิธิส่งเสริมยุวเกษตรไทย ฯ

แผนงานในอนาคต

อุทยานอาหารสุขภาพ
1. การบริหารจัดการ การบริหารโดยรูปแบบกองทุนชุมชน
การระดมทุนโดยการขายหุ้นให้กับประชาชนทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค การบริหารจัดการโดยคณะกรรมการกองทุน


2. พื้นที่นำร่อง เทศบาลนครหาดใหญ่ พื้นที่ของเทศบาลศูนย์สาธารณะทงเซียงเซี๋ยงตึ๊ง
พื้นที่ของเอกชน บริจาค เช่า ให้ใช้ฟรี เทศบาลนครสงขลาถนนคนเดิน
ตรงบริเวณสถานีรถไฟ ตลาดเทศบาล


3. รูปแบบอุทยาน การสร้างเครือข่ายผู้ผลิต เครือข่ายพื้นที่ผลิตข้าวพื้นที่ ผลิตผักพื้นบ้านพื้นที่ผลไม้การสร้างเครือข่ายผู้บริโภคคนเมืองแหล่งเรียนรู้
ความพอเพียง เกษตรอินทรีย์ การทำBiogas ผลิตภัณฑ์ต่างๆ สวนผักคนเมือง
ทำปุ๋ยหมัก ทำสมุนไพร กิจกรรมเกษตรอินทรีย์ทัศนาจร การทัวร์แหล่งผลิต
พื้นที่สาธารณะ ลานวัฒนธรรมคนเมือง วาดรูป กิจกรรมทางศิลปะ
ลาน/พื้นที่สาธารณะให้เด็กเยาวชน ลานเสวนาแลกเปลี่ยนระหว่างเครือข่าย
ศูนย์อาหาร ร้านอาหารเพื่อสุขภาพ จุดแลกเปลี่ยนสินค้า-ผลผลิตของเครือข่าย
ข้าวพื้นเมือง พืชผัก พันธุ์สมุนไพร แหล่งท่องเที่ยวของ จ.สงขลา แหล่งท่องเที่ยวทางอาหาร สื่อสารสาธารณะ ประชาสัมพันธ์

  • photo
  • photo

ไฟล์เอกสารประกอบ