กลุ่มงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครหาดใหญ่
กลุ่มงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครหาดใหญ่
รีเฟรช
ชื่อเครือข่าย |
กลุ่มงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครหาดใหญ่ |
ประเภท |
ความปลอดภัยด้านอาหาร |
ที่ตั้ง |
445 ถนนเพชรเกษม ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา |
ผู้ประสานงาน |
น.ส.พรรณี บัวจีน นักวิชาการสุขาภิบาล7ว.
|
เบอร์โทรศัพท์ |
089-6580973 |
อีเมล์ |
baibua47@hotmail.com |
บทบาทหน้าที่ |
- กำกับดูแลสถานที่จำหน่ายอาหาร/สถานที่สะสมอาหาร/ตลาด ตามเทศบัญญัติ
- พัฒนายกระดับสถานที่จำหน่ายอาหาร/สถานที่สะสมอาหาร/ตลาด/สถานที่บริการอาหารให้ถูกสุขลักษณะ ได้มาตรฐานตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข
- เฝ้าระวังโรคที่เกิดจากอาหารและน้ำเป็นสื่อ
- เฝ้าระวังสารปนเปื้อนในอาหาร
- สร้างเครือข่ายดำเนินงานอาหารปลอดภัย
- เผยแพร่ความรู้แก่ประชาชนเยาวชน
|
ข้อจำกัดและเงื่อนไขในการดำเนินงาน |
- ปัญหาการปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในพืชผักที่จำหน่ายในเขตเทศบาล
- ยังไม่ได้รับความร่วมมือจากสถานที่จำหน่ายอาหารเท่าที่ควร
- ขาดข้อมูลวงจรการนำน้ำมันทอดซ้ำไปใช้ประโยชน์หลังจากมีผู้รับซื้อน้ำมันจากผู้ประกอบการ
|
กิจกรรมที่ดำเนินการแล้ว |
- การตรวจแนะนำสถานจำหน่ายอาหาร/สถานที่สะสมอาหาร/ตลาด
- การอบรมผู้ประกอบการ จำนวน 1 ครั้ง 50 คน
- การตรวจยกระดับสถานที่จำหน่ายอาหาร/สถานที่สะสมอาหาร/สถานที่บริการอาหารเพื่อให้ถูกสุขลักษณะ ได้มาตรฐาน โดยการตรวจลักษณะทางกายภาพของสถานที่ การจัดเก็บ ปรุง ประกอบอาหารและตรวจวิเคราะห์ความเสี่ยงจากโรคระบบทางเดินอาหารด้วยชุดทดสอบแบคทีเรียเบื้องต้น(SI -2)
- การเก็บตัวอย่างอาหารสดตรวจวิเคราะห์สารปนเปื้อน ได้แก่ สารบอแรกซ์ สารกันรา สารฟอกขาว ฟอร์มาลิน ยาฆ่าแมลง จำนวนตัวอย่างที่เก็บ 1,011 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนของสารเคมีที่ห้ามใช้ในอาหาร จำนวน 75 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ7.42
- การตรวจสอบคุณภาพน้ำมันทอดซ้ำ จำนวน 104 ตัวอย่าง พบปริมาณสารโพลาร์เกินค่ามาตรฐานที่กำหนด 9 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ8.65
- การอบรมอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภค จำนวน 30 คน
- การอบรม อย.น้อยในโรงเรียน จำนวน 5 โรงเรียน 150 คน
- การตรวจฉลากผลิตภัณฑ์อาหาร จำนวน 2,037 ตัวอย่าง พบว่ามีการแสดงฉลากไม่ถูกต้อง จำนวน 181 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 8.89 ปํญหาที่พบส่วนใหญ่ คือ ไม่แสดงวัน เดือน ปี ที่ผลิต / วันหมดอายุ จำนวน 181 ตัวอย่าง ไม่ระบุสถานที่ผลิต จำนวน 57 ตัวอย่าง พบมากในอาหารประเภทขนมที่ผลิตจากผู้ประกอบการรายย่อยในครัวเรือน เช่น ผลิตภัณพ์จากขนมปังสด ฯลฯ
- การศึกษาสภาพปัญหาตู้น้ำหยอดเหรียญ โดยการสำรวจตูน้ำหยอดเหรียญ จำนวน 81 ตุ้
ผลการตรวจทางกายภาพ
-จำนวนตู้น้ำหยอดเหรียญที่มีสภาพดี ไม่ผุกร่อน /รั่วซึม 79 ตู้ (ร้อยละ 97.5 )
-มีการติดตั้งในสถานที่เหมาะสม 61 ตู้ (ร้อยละ 75.3)
-มีระบบป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้ารั่วหรือลัดวงจร 36 ตู้ (ร้อยละ 44.4 )
-มีการทำความสะอาด บำรุงรักษาอุปกรณ์ โดยสม่ำเสมอ จำนวน 35 ตู้ (ร้อยละ 43.2 )
- มีการเก็บตัวอย่างน้ำส่งวิเคราะห์คุณภาพทางห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง จำนวน 6 ตู้ (ร้อยละ 7.4 )
- การเผยแพร่ความรู้แก่ประชาชนโดยการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ ได้แก่ แผ่นพับ การให้ความรู้โดยผ่านสื่อวิทยุ ทางสถานี FM 96.0 (ขณะนี้อยู่ในการปรับปรุงระยะเวลาออกอากาศ คาดว่ารายการด้านสาธารณสุข จะออกอากาศทุกวันจันทร์ –ศุกร์ ในช่วงเวลา 11.30 -12.30 น.) การจัดนิทรรศการ
|
ชุดบทเรียน/ความรู้/กรณีศึกษาที่เป็นผลงานเด่น |
- ชุมชนอาหารปลอดภัย มีชุมชนนำร่อง 1-2 ชุมชน รณรงค์ให้สถานประกอบการ ร้านค้า ร้านชำ ร้านอาหาร ไม่ใช้สารปนเปื้อนในอาหาร รณรงค์การใช้ชุดทดสอบเพื่อทดสอบสารปนเปื้อนในอาหาร เกิดเครือข่าย อสม. ในแต่ชุมชน มีกิจกรรมการเฝ้าระวัง ติดตามเฝ้าระวังและให้ความรู้แก่ชุมชในการบริโภค
- เครือข่าย อสม. สร้างความเข้มแข็งในงานคุ้มครองผู้บริโภค อสม.สอนอย.น้อย อสม.สอนเพื่อน
|
เครือข่ายที่ทำงานด้วย |
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา
- ให้การสนับสนุนสื่อเผยแพร่ ได้แก่สื่อแผ่นพับ
- การสนับสนุนป้ายรับรองอาหารปลอดภัย
- การให้คำแนะนำ/ความรู้ทางวิชาการ
- การสนับสนุน mobile unit ร่วมตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร
ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์สงขลา
- ให้คำปรึกษา/ความรู้เกี่ยวกับชุดทดสอบสารปนเปื้อนในอาหาร
กลุ่มอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภค
- เผยแพร่ความรู้แก่ประชาชน เรื่องฉลากอาหาร การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารที่ปลอดภัย การใช้น้ำมันปรุงอาหารที่ถูกต้อง โดยการให้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่ของตน และออกบูธในการออกหน่วยเคลื่อนที่โครงการเทศบาลพบประชาชน
- อสม.สอนน้อง โดยการอบรมให้ความรู้เรื่องการตรวจสารปนเปื้อนแก่นักเรียน
- การร่วมกับเจ้าหน้าที่ตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร
- การร่วมกับเจ้าหน้าที่ตรวจฉลากผลิตภัณฑ์อาหาร
- การร่วมกับเจ้าหน้าที่ตรวจตลาด
- การตรวจร้านขายของชำ
- การตรวจแนะนำสถานที่จำหน่ายอาหารในชุมชน
อย.น้อย
- การให้ความรู้เรื่องการเลือกซื้ออาหารปลอดภัยแก่เพื่อนนักเรียนในโรงเรียน
- การตรวจสารปนเปื้อนและน้ำมันทอดซ้ำจากแผงลอยรอบรั้วโรงเรียน
|
แผนงานในอนาคต |
1.โครงการสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังอาหารปลอดภัย
กลุ่มเป้าหมาย
- ประธานชุมชน
- ขยายกลุ่มอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภค โดยกิจกรรม อสม.สอนเพื่อน อสม.
2.โครงการชุมชนอาหารปลอดภัย
กลุ่มเป้าหมาย
กิจกรรม
- สำรวจปัญหาความปลอดภัยด้านอาหารในพื้นที่เป้าหมาย
- รวบรวมข้อมูล/วิเคราะห์ปัญหา/จัดลำดับความสำคัญของปัญหา
- วิเคราะห์ทางเลือกในการแก้ไขปัญหา/จัดทำแผนงาน
- จัดกิจกรรมตามแผนงาน/ติดตามประเมินผล
- ถอดบทเรียน
|