โครงการสนับสนุนการบูรณาการงานอาหารในพื้นที่จังหวัดสงขลา

แผนภาพ แสดงแผนที่สถานการณ์ด้านอาหารใน จ.สงขลา

สถานการณ์ด้านอาหาร จ.สงขลา

1. ความมั่นคงด้านอาหาร

1.1 การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจภาคเกษตรกรรมจังหวัดสงขลามีแนวโน้มหดตัว
1.2 แรงงานภาคการเกษตรมีแนวโน้มลดลง
1.3 ต้องเร่งปรับปรุงการออมและแก้ปัญหาหนี้สินเกษตรกร
1.4 ประชากรภาคเกษตรกรรมต้องรับการอบรมอย่างต่อเนื่อง
1.5 ต้องส่งเสริมการรวมกลุ่มของเกษตรกร
1.6 เยาวชนไม่สนใจการประกอบอาชีพเกษตรกรรม

2. ความปลอดภัยด้านอาหาร

2.1 อาหารสดปนเปื้อนสารเคมี พบว่า ตกมาตรฐาน คิดเป็นร้อยละ 11.45 หากแยกตามประเภทอาหารที่ตกมาตรฐานมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ หัวหอม ใบบัวบก ต้นหอม กะหล่ำดอก ดอกหอม ส่วนอันดับสอง คือ เกลือบริโภคเสริมไอโอดีน ตกมาตรฐาน ร้อยละ 11.11 และอันดับสาม สารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ ตกมาตรฐานร้อยละ 8.44
2.2 ข้อมูลผลการวิเคราะห์ตัวอย่างอาหาร ปี 2555 โดย กลุ่มงานอาหาร ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12 สงขลา พบว่า อันดับหนึ่ง อาหารประเภทเส้นก๋วยเตี๋ยวมีกรดเบนโซอิก(Benzoic acid) ร้อยละ 44.44 อันดับสองคือ น้ำแข็งมีการปนเปื้อนของเชื้อ Coliform และ E.coli ร้อยละ 41.67 และอันดับ สาม คือ-น้ำบริโภคในภาชนะปิดสนิทขนาด 20 ลิตร มีการตกมาตรฐานและปนเปื้อนเชื้อ ColiformและE.coli ร้อยละ 35.29
2.3 การพบเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคในอาหาร พบว่า  มีปัญหาการพบเชื้อ Coliforms ในมือผู้สัมผัสอาหารและภาชนะ ตกมาตรฐาน ร้อยละ 19.13 ส่วนการพบ Coliforms ในอาหาร ตกมาตรฐานร้อยละ 14.18

3. ภาวะโภชนาการและอาหารคุณภาพเพื่อความสมวัย

3.1 ระดับไอคิวของภาคใต้อยู่ในลำดับรองสุดท้ายของประเทศ หากแยกตามรายจังหวัด พบว่า เด็กในจังหวัดสงขลามีระดับไอคิวอยู่ในลำดับที่ 5 ของภาค 3.2 เด็กไทยประสบปัญหาขาดสารอาหาร  น้ำหนักน้อยลดลง ปัญหาเตี้ยกว่าเกณฑ์ การขาดธาตุไอโอดีนเป็นสาเหตุของการพร่องทางสติปัญญา และพบภาวะโรคเด็กอ้วน (รศ.พญ.ลัดดา  เหมาะสุวรรณ)
3.3 ข้อมูลการเฝ้าระวังติดตามภาวะโภชนาการ เด็ก 0-5 ปี ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา ประจำเดือนมีนาคม 2555 พบว่า  จำนวนเด็กทั้งหมด 85,052 คน ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงได้ 81,349 คน ผลภาวะโภชนาการ : น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 2.75 เตี้ย ร้อยละ 6.13เริ่มอ้วน ร้อยละ 3.79  และมีภาวะอ้วน ร้อยละ 3.10

หน้า 1 · หน้า 2 · หน้า 3 · หน้า 4 · หน้า 5 · หน้า 6