เร่งกวาดล้างเครื่องสาอาง ...สวยราคาถูก ระวังอาจเสียใจห่วงภัยสาวฉันทนา
ส่วนหนึ่งของโครงงาน เด็กไทยยุคใหม่ สวยใสไร้สาร ซึ่ง อย.น้อยโรงเรียนระโนดวิทยา ร่วมกับ เครือข่าย อย.น้อย แหลมทอง จังหวัดสงขลา จัดขึ้น ในวันที่ 19 มีนาคม ที่ผ่านมา เพื่อรณรงค์การใช้เครื่องสาอางที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ ตลอดจนรู้จักโทษของสารเคมีห้ามใช้ที่มักผสมอยู่ในเครื่องสาอาง
กิจกรรมดี ๆ แบบนี้มีที่มาจากการพูดคุยแล้วตกผลึกมาเป็นกิจกรรมของนักเรียนชุมนุม อย.น้อยของโรงเรียนระโนดวิทยา พร้อมมีจิตใจเอื้อเฟื้อ..มีการเชิญเพื่อนๆอย.น้อยในเครือข่ายแหลมทอง
เราเริ่มกิจกรรมกันโดยนัดหมายมาพร้อมเพรียงกัน บริเวณหน้าหน่วยดับเพลิงของเทศบาลตาบลระโนด โรงเรียนแจ้งวิทยาเดินทางมาร่วม 100 กม.ด้วยใจมาร่วมกันอย่างเต็มเปี่ยม พร้อมด้วยโรงเรียนระโนดเพื่อนซี้...ที่ไม่เคยทิ้งกัน กิจกรรมจะประกอบด้วยการเดินเก็บตัวอย่างเครื่องสาอางตามรายชื่อประกาศของสานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เมื่อเก็บมาแล้ว ก็นามาตรวจหาด้วยชุดทดสอบสารปรอทแอมโมเนียและไฮโดรควิโนนของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ผลปรากฏว่า เก็บมา 30 ตัวอย่าง ตรวจแล้วพบว่าสารห้ามใช้ 25 ตัวอย่าง คิดเป็น 75 เปอร์เซ็นต์ และได้รับความสนใจจากประชาชนที่มาจับจ่ายใช้สอย ณ ตลาดวันพุธ เป็นอย่างมาก หลังจากนั้นก็ไปต่อกันที่บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหารจากัด (มหาชน) ท่าบอน โดยไปร่วมจัดนิทรรศการในโรงอาหารของบริษัท ผลปรากฏว่า พี่น้องสาวฉันทนาต่างมามุงดูกันอย่างสนใจมากหลายคนก็จะสอบถามว่าจะทาอย่างไรให้ไม่ได้รับอันตรายจากเครื่องสาอาง น้อง ๆ อย.น้อย ก็เลยได้แสดงบทบาทอย่างเต็มที่ ส่วนใหญ่แล้ว ก็จะไม่รู้ว่าเครื่องสาอางประเภทใดบ้างที่ทางราชการประกาศห้ามใช้ พวกเราพันธมิตร อย.น้อย ร่วมกันรับประทานอาหารร่วมกัน ก่อนแยกย้ายกันกลับโรงเรียน
แผนพัฒนาภาคใต้... ทิศทางการจ้างงานและนโยบายรัฐกับการคุ้มครองแรงงาน
ความเป็นมาและความสำคัญ
ฐานคิดหนึ่งบนหลายฐานคิดของการริเริ่มการพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ คือ ฐานคิดเชิงภูมิศาสตร์ เพราะ “ภาคใต้เป็นจุดยุทธศาสตร์ของคาบสมุทรมลายู” ที่สามารถออกสู่ทะเลได้ทั้งสองด้าน (ฝั่งทะเลอันดามันทางด้านตะวันตกและอ่าวไทยทางด้านตะวันออก) ในขณะที่สภาพภูมิประเทศยาวแคบและเป็นเทือกเขาทั้ง สอง ฝั่งทะเล แต่ยังมีพื้นที่ราบเพียงพอสามารถเชื่อมโยงพื้นที่ทั้งสองฝั่งได้สะดวก จึงจำเป็นต้องพัฒนาระบบการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจทั้ง สอง ฝั่งและการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนี้ในพื้นที่ยังมีความหลากหลายทางทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางวัฒนธรรม ซึ่งเป็นทุนทางเศรษฐกิจและทุนทางสังคมที่สำคัญพร้อมนำมาสร้างคุณค่าเพิ่ม (Value Creation) ให้กับสินค้าและบริการในพื้นที่ภาคใต้ได้เป็นอย่างดี
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้เริ่มศึกษาการวางแผนการใช้ทรัพยากรในภาคใต้ตั้งแต่ปี 2518 และเมื่อปี 2532 ได้เริ่มการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้และ คณะรัฐมนตรีสัญจรมีมติเห็นชอบยุทธศาสตร์การพัฒนา “สะพานเศรษฐกิจ” เชื่อมโยงอันดามันและอ่าวไทย
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ใช้แรงงาน/องค์กรที่ทำงานเกี่ยวข้องได้รับทราบข้อมูลและทำความเข้าใจต่อแผนพัฒนาภาคใต้ สถานการณ์/ทิศทางการจ้างงานและนโยบายรัฐกับการคุ้มครองแรงงาน
เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยน เรียนรู้และข้อเสนอแนะของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย