โครงการการขยายมาตรการควบคุมการจำหน่ายและบริหารอาหารไม่ปลอดภัยและมาตรการส่งเสริมสุขภาวะในโรงพยาบาลระโนด

แผนงานอาหารปลอดภัย

by dezine @November,10 2014 15.17 ( IP : 202...1 )
ระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
1. การระดมความคิดเห็นเรื่อง แบบของซุ้มจำหน่ายผลิตภัณฑ์อินทรีย์ของตลาดนัดสีเขียว »
พฤหัสบดี 27 พ.ย. 57 พฤหัสบดี 27 พ.ย. 57

การระดมความคิดเห็นของนายช่างของโรงพยาบาลเกี่ยวกับรูปแบบของซุ้มจำหน่ายผลผลิตจากโครงการทำนา 1 ไร่ได้เงิน 1 แสนบาท

การระดมความคิดเห็นของนายช่างของโรงพยาบาลเกี่ยวกับรูปแบบของซุ้มจำหน่ายผลผลิตจากโครงการทำนา 1 ไร่ได้เงิน 1 แสนบาท

ได้รูปแบบของซุ้มสำหรับการจัดจำหน่ายผลผลิตจากโครงการทำนา 1 ไร่ได้เงิน 1 แสนบาท

ได้รูปแบบของซุ้มสำหรับการจัดจำหน่ายผลผลิตจากโครงการทำนา 1 ไร่ได้เงิน 1 แสนบาท จำนวน 4 ซุ้ม

ราคาของซุ้มมากกว่างบประมาณที่กำหนดไว้ในแผนกล่าวคือ ตั้งไว้ที่ราคา 20,000 บาท แต่ราคาจริงเท่ากับ 28000 บาท

แก้ไข:ใช้งบสนับสนุนจากอำเภอระโนดร่วมสนับสนุนในส่วนเกินของค่าใช้จ่าย

2. การประชุมวางแผนการทำกิจกรรมสาธิตนาโยนข้าวอินทรีย์ »
อังคาร 2 ธ.ค. 57 อังคาร 2 ธ.ค. 57

จัดการประชุมแบบสุนทรียสนทนาครั้งที่ 1 นำเสนอกรอบแนวคิดและร่างโครงการนาโยนอินทรีย์ ระหว่างโรงพยาบาลระโนด สำนักงานสาธารณสุขระโนด สำนักงานเกษตรและสหกรณ์อำเภอระโนด บริษัทไทยยูเนี่ยนฟีดมิลล์ และกลุ่มเกษตรกรเพื่อการเปลี่ยนแปลง อ.ระโนด และหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

กล่าวต้อนรับและกล่าวความเป็นมาของการดำเนินโครงการ โดยนายแพทย์วรพจน์  เจียมอมรรัตน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลระโนด โครงการฯมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพที่ชาวระโนดกำลังเผชิญอยู่ 3 ประเด็นสำคัญ ประกอบด้วย

  • การเกิดโรคจากการประกอบอาชีพของประชาชนที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม
  • การได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุใบพัดตีออกซิเจนในนากุ้ง
  • การได้รับสารเคมีตกค้างทางการเกษตรในเกษตรทำนา

นอกจากนี้เป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างโรงพยาบาลในฐานะองค์กรที่ให้บริการสุขภาพ กับประชาชนชาวระโนดที่อยู่ในพื้นที่

ในปี พ.ศ.2555ทางโรงพยาบาลระโนด บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)ได้ร่วมมือกับชาวบ้าน ต.คลองแดน จัดโครงการ ปลูกต้นไม้เฉลิมพระเกียรติ ร่วมสำนึกรักษ์ตลาดน้ำคลองแดน ผลที่เกิดขึ้นถือว่า ประสบความสำเร็จมากเนื่องจาก ชาวบ้านและหน่วยงานมาร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่า 500 คน และต้นไม้ที่ปลูกสามารถได้รับการดูแลจนเจริญเติบโตเป็นอย่างดีจากชาวบ้าน

การนำเสนอร่างแนวคิดโครงการปลูกข้าวฯ โดย เภสัชกรสมชาย  ละอองพันธุ์  รายละเอียดดังนี้

  1. สถานการณ์เกี่ยวกับสารเคมีตกค้างทางการเกษตร อ.ระโนด รอบ 2-3 ปี มีแนวโน้มน่าเป็นห่วง จากข้อมูลการสุ่มตรวจเฝ้าระวังสารปนเปื้อนในอาหารดำเนินการโดยฝ่ายเภสัชกรรมชุมชน โรงพยาบาลระโนด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอระโนด เครือข่ายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล(รพ.สต.) และเครือข่ายชุมนุม อย.น้อย และอาสาสมัครสาธารณาสุขประจำหมู่บ้าน ระหว่างปี 55-57 ปรากฏว่า พบสารเคมีที่ใช้ทางการเกษตรประเภทยาฆ่าแมลงตกค้างมากที่สุด คือ ตกมาตรฐานร้อยละ 6, 5,และ 4 ของตัวอย่างทั้งหมดตามลำดับ และหากแยกตามประเภทของผัก พบว่า อันดับหนึ่ง พริกสด และอันดับสอง คือ ผักกาดปลีและคะน้า โดยผักทั้งหมดมีแหล่งที่มาจากตลาดสดหัวอิฐ จ.นครศรีธรรมราช
  2. มีการนำเสนอกรณีศึกษา กลุ่มผักใจประสานใจ อ.ด่านซ้าย จ.สุพรรณบุรี มุ่งเน้นการทำการเกษตรกรรมแบบสังคมเกื้อหนุนเกษตรกร(CSA:Community Supported Agriculture)โดยการรวมกลุ่มกันและรับผลิตผักอินทรีย์เพื่อนำส่งให้ผู้บริโภคซึ่งอาศัยอยู่ใน จ.กรุงเทพมหานคร ในราคาผัก 3 ก.ก./สัปดาห์ ราคา 250 บาท โดยผู้บริโภคจะต้องชำระเงินค่าผักที่จะซื้อล่วงหน้า เป็นราย 6 เดือน และประเด็นอื่นๆ

การแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงการจากหน่วยงานที่เข้าร่วมประชุม ดังนี้

  1. สำนักงานเกษตร อ.ระโนด มีโครงการโรงเรียนเกษตรกรชาวนาส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาลุ่มน้ำปากพนัง ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จฯพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นการพัฒนาแนวคิดการทำนาแบบใหม่แก่เกษตรกรที่สนใจใน ต.ตะเครียะ และบ้านขาว  ที่สนใจหมู่บ้านละ 20 คน นอกจากนี้มีการพัฒนาการรวมกลุ่มเกษตรกรที่ผลิตผักปลอดสารพิษ/หรือ ผักปลอดภัย ทั้งนี้หลักเกณฑ์ที่ทางสำนักงานเกษตร อ.ระโนด กำหนดทำการเกษตรตามหลักของ GAP
  2. โรงงานไทยยูเนียน ฟีด มิลล์ จำกัด มีการนำเสนอประเด็นการทำกิจกรรมร่วมรับผิดชอบต่อสังคม หรือ CSR มุ่งเน้นการทำกิจกรรมด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หรือ หากทางเกษตรกรสามารถผลิตผลผลิตได้เป็นจำนวนมากก็ยินดีเป็นแหล่งกระจายสินค้า
  3. ชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลระโนด มีการทำกิจกรรมด้านเศรษฐกิจพอเพียง เช่น การผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพ น้ำหมักไล่แมลง การทำผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจาผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ เป็นต้น โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณดำเนินกิจกรรมจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)  มีความสนใจในการดำเนินกิจกรรมร่วมกับโรงพยาบาลระโนด
  4. โรงเรียนระโนดวิทยา มีการทำนาอินทรีย์สาธิต จำนวน 4 ไร่ โดยการปลูกข้าวพื้นบ้านแต่มีประสบการณ์เรื่องของการถูกนกเก็บกินจนไม่สามารถมีผลผลิตเหลือได้

วาระที่ 4 แนวทางการดำเนินโครงการฯ

ที่ประชุมจะมีการประชุมสุนทรียสนทนาโดยจะเชิญประธานชมรมจักรยาน อำเภอระโนด เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมการประชุม บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) โดยมีการพูดคุยเพื่อลงรายละเอียดการทำกิจกรรม ประกอบด้วย

  • รูปแบบกิจกรรม
  • กลุ่มเป้าหมาย
  • รายละเอียดกิจกรรม
  • งบประมาณดำเนินการ
  • การแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงาน
  1. ตัวแทนหน่วยงานที่เข้าร่วมได้นำเสนอข้อมูลและประสบการณ์ด้านการแก้ไขปัญหาความปลอดภัยด้านอาหาร
  2. ผู้แทนหน่วยงานที่เข้าร่วมประชุมได้รับทราบแนวทางการดำเนินโครงการปลูกข้าวฯ
  3. ได้ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา

-เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และแนวคิดในการดำเนินกิจกรรมโครง -เกิดการเสนอแนวคิดที่หลากหลาย

ยังขาดประชุมของหลายหน่วยงาน ส่งผลให้การพูดคุยอาจจะขาดความสมบูรณ์ในเนื้อหา

แนวทางแก้ไข:ผู้รับผิดชอบโครงการและทีมงานควรติดต่อประสานงานมากขึ้น เช่น การส่งหนังสือด้วยตนเอง หรือการติดต่อพูดคุยเป็นการส่วนตัวล่วงหน้า

3. ประชุมคณะทำงานโครงการ ประจำเดือน ธ.ค.57 »
จันทร์ 8 ธ.ค. 57 จันทร์ 8 ธ.ค. 57

มีทีมงานโรงพยาบาลระโนดสนใจเข้าร่วมอย่างน้อย 5 คน
1.การชี้แจงภาพรวมของกิจกรรมในโครงการขยายมาตรการควบคุมการจำหน่ายและบริหารอาหารไม่ปลอดภัย และมาตรการส่งเสริมสุขภาวะในโรงพยาบาลระโนด
2.การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินโครงการ
3.การแบ่งหน้าที่รับผิดชอบตามรายกิจกรรมที่ต้องดำเนินการตามโครงการ

1.นำเสนอร่างแผนงานโครงการฯ โดยเภสัชกรสมชาย ละอองพันธุ์ ประกอบด้วย 6 กิจกรรมสำคัญ ดังนี้
1) การพัฒนาช่องทางจำหน่ายผลผลิตโครงการทำนา 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสนบาท แบ่งเป็น 2 ประเด็นย่อย คือ ตลาดนัดสีเขียว และการพัฒนาช่องทางจำหน่ายผ่านเว็บไซต์ รพ.ระโนด
2)การพัฒนารูปแบบโภชนาการในศูนย์เด้กเล็กนำร่อง 5 แห่ง
3)เป็นการระดมความคิดเห็นรายละเอียดของโครงการฯ ซึ่งได้รับงบสนับสนุนจาก สถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้ ม.สงขลานครินทร์ โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 6 คน ประกอบด้วย
1.คุณพรรณฑิภา ขาวเรือง
2.คุณดรุณี เจริญวิริยะ
3.คุณเกศรินทร์ ลายจันทร์
4.คุณธัญพงษ์ ดำดี
5.คุณงามศิริ สิงห์คำป้อง
6.นายสมชาย ละอองพันธุ์

1.มีทีมงานเข้าร่วมการประชุมวางแผนไม

-

-

4. ประชุมระดมความคิดเห็น เพื่อจัดทำแผนที่ความคิด สวนผักแนวตั้ง โรงพยาบาลระโนด ครั้งที่ 1 »
พุธ 24 ธ.ค. 57 พุธ 24 ธ.ค. 57

ประชุมบุคลากรโรงพยาบาลที่สนใจของโรงพยาบาลระโนดและมีชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลที่สนใจเข้าร่วม โดยกิจกรรมประกอบด้วย การให้วิทยากรประกอบด้วยคุณชาคริต โภชะเรือง และครูไก่ นำเสนอแนวคิดเพื่อให้เห็นปัญหาของสารเคมีตกค้าง และรูปแบบการปลูกผักคนเมืองหรือพื้นที่จำกัดของพื้นที่นำร่อง เช่น ที่หาดใหญ่ หรือที่โรงพยาบาลนาทวี
ระดมความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมเรื่อง สิ่งที่ต้องการดำเนินการเกี่ยวกับการปลูกผักในพื้นที่จำกัด

ประชุมบุคลากรโรงพยาบาลที่สนใจของโรงพยาบาลระโนดและมีชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลที่สนใจเข้าร่วม โดยกิจกรรมประกอบด้วย การให้วิทยากรประกอบด้วยคุณชาคริต โภชะเรือง และครูไก่ นำเสนอแนวคิดเพื่อให้เห็นปัญหาของสารเคมีตกค้าง และรูปแบบการปลูกผักคนเมืองหรือพื้นที่จำกัดของพื้นที่นำร่อง เช่น ที่หาดใหญ่ หรือที่โรงพยาบาลนาทวี
ระดมความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมเรื่อง สิ่งที่ต้องการดำเนินการเกี่ยวกับการปลูกผักในพื้นที่จำกัด
มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย บุคลากร รพ.ระโนด จำนวน 40 คน และชมรมผู้สูงอายุ จำนวน 10 คน

1.ผู้เข้าร่วมประชุมมีความตระหนักถึงความสำคัญของการปลูกผักแนวตั้ง
2.เกิดแนวทางการดำเนินกิจกรรมปลูกผักแนวตั้งของโรงพยาบาลระโนด

1.บุคลากร รพ.มีความเข้าใจแนวคิดการปลูกผักกินเองและเห็นคุณค่าของการทำกิจกรรมปลูกผักแนวตั้ง
2.ผู้เข้าร่วมประชุมร่วมกันระดมความคิดเห็นและเกิดแนวทางการจัดกิจกรรมการปลูกผักแนวตั้งโดยเน้นการปลูกผักที่ขึ้นง่ายจะได้เป็นกำลังใจแก่ผู้ที่ปลูก ซึ่งตกลงว่าจะเริ่มต้นด้วยกันปลูกผักกรีนโอกและเรดโอกโดยการเชิญวิทยากรในพื้นที่มาร่วมด้วย

1.บุคลากร รพ.ระโนด ยังไม่เข้าร่วมมากพอ เนื่องจากติดภารกิจของการรักษาพยาบาล

แนวทางแก้ไข :ควรจัดวันพฤหัสบดี เนื่องจากช่วงบ่ายของวันพฤหัสบดีผู้ป่วยจะน้อย

5. จัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับปลูกสวนผักแนวตั้ง »
ศุกร์ 13 ก.พ. 58 ศุกร์ 13 ก.พ. 58

จัดทำอุปกรณ์สำหรับการปลูกผักแนวตั้ง ประกอบด้วย แผ่นตะแกรงสำหรับแขวนผักที่จะปลูก ฝาผนังสำหรับแขวนสวนผักแนวตั้ง โดยใช้วัสดุเหลือใช้ในโรงพยาบาล ซึ่งประดิษฐ์มาจาก ผนังลวดรั้วของสนามเทนนิสร้างของ รพ.และนำเอาขวดน้ำเกลือที่เหลือในตึกมาใช้เป็นกระถางสำหรับปลูก

จัดทำอุปกรณ์สำหรับการปลูกผักแนวตั้ง ประกอบด้วย แผ่นตะแกรงสำหรับแขวนผักที่จะปลูก ฝาผนังสำหรับแขวนสวนผักแนวตั้ง โดยใช้วัสดุเหลือใช้ในโรงพยาบาล ซึ่งประดิษฐ์มาจาก ผนังลวดรั้วของสนามเทนนิสร้างของ รพ.และนำเอาขวดน้ำเกลือที่เหลือในตึกมาใช้เป็นกระถางสำหรับปลูก

  1. บุคลากรโรงพยาบาลระโนด ตระหนักถึงคุณค่าของการนำเอาวัสดุเหลือใช้มาทำเป็นอุปกรณ์สำหรับปลูกผักแนว
  2. สามารถนำเอาวัสดุเหลือใช้ใน รพ.จัดทำเป็นอุปกรณ์สำหรับมาใช้จัดทำสวนผักแนวตั้ง จำนวน 3 ชุด เพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมปลูกผักแนวตั้ง
  1. บุคลากรโรงพยาบาลระโนด ตระหนักถึงคุณค่าของการนำเอาวัสดุเหลือใช้มาทำเป็นอุปกรณ์สำหรับปลูกผักแนว
  2. สามารถนำเอาวัสดุเหลือใช้ใน รพ.จัดทำเป็นอุปกรณ์สำหรับมาใช้จัดทำสวนผักแนวตั้ง จำนวน 3 ชุด เพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมปลูกผักแนวตั้ง

-

6. การสุ่มตรวจสารปนเปื้อนในอาหารโดยรถตรวจวิเคราะห์เคลื่อนที่ตลาดนัดสีเขียว อ.ระโนด »
พฤหัสบดี 12 มี.ค. 58

 

 

 

 

 

7. การสุ่มตรวจสารปนเปื้อนในอาหารโดยรถตรวจวิเคราะห์เคลื่อนที่ตลาดนัดสีเขียว อ.ระโนด »
พฤหัสบดี 12 มี.ค. 58 พฤหัสบดี 12 มี.ค. 58

การสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารที่จำหน่ายในตลาดนัดสีเขียวมาตรวจวิเคราะห์ด้วยการใช้ชุดทดสอบเบื้องต้น เพื่อวิเคราะห์หาสาเคมีตกค้างทางการเกษตร  โดยเก็บตัวอย่างแล้วตรวจสอบโดยรถตรวจวิเคราะห์สารปนเปื้อนเคลื่อนที่(Mobile Unit) สำนักงานสาธารณสุข จ.สงขลา

การสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารที่จำหน่ายในตลาดนัดสีเขียวมาตรวจวิเคราะห์ด้วยการใช้ชุดทดสอบเบื้องต้น เพื่อวิเคราะห์หาสาเคมีตกค้างทางการเกษตร  โดยเก็บตัวอย่างแล้วตรวจสอบโดยรถตรวจวิเคราะห์สารปนเปื้อนเคลื่อนที่(Mobile Unit) สำนักงานสาธารณสุข จ.สงขลา ซึ่งเป้าหมาย คือ เกษตรกรที่มาจำหน่ายผักปลอดสารพิษและผลิตภัณฑ์ในตลาดนัดสีเขียว โรงพยาบาลระโนด

เกษตรกร จำนวน  6 รายที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ผักปลอดสารในตลาดนัดสีเขียวได้รับการตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร 

เกษตรกร จำนวน  4 รายที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ผักปลอดสารในตลาดนัดสีเขียวได้รับการตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร

ผลการตรวจสอบปรากฏว่า เก็บผักจำนวน  20  ตัวอย่าง ตรวจสารเคมีตกค้่างทางการเกษตร พบว่าปลอดสาร

1.การตรวจสารปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายในตลาดนัดสีเขียว พบว่า ยังขาดเกษตรกรอีก 2 รายที่ยังไม่ได้รับการตรวจ
แนวทางแก้ไข : ต้องตามเก็บเพิ่มเติมภายหลัง
2.การสุ่มตรวจสารปนเปื้อนโดยให้รถตรวจวิเคราะห์เคลื่อนที่เป็นผู้ดำเนินการ ไม่ดี เนื่องจาก เป็นลักษณะไม่สร้างความเข้มแข็งของเครือข่าย
แนวทางแก้ไข: ควรพัฒนาศักยภาพ อสม.หรือ อย.น้อย ในการตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร

8. ประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อเตรียมงานนาโยนอินทรีย์สาธิต »
พฤหัสบดี 23 เม.ย. 58

 

 

 

 

 

9. ประชุมเตรียมปลูกข้าวนาโยน »
อังคาร 2 มิ.ย. 58 อังคาร 2 มิ.ย. 58

ประชุมเตรียมการปลูกข้าวนาโยน

นำเสนอกรอบภาพรวมของกิจกรรมนาโยนอินทรีย์ แก่ผู้เข้าร่วมประชุม
ร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เรื่อง ความเป็นไปได้ในการจัดกิจกรรม พร้อมปรับแก้แนวทางการจัดกิจกรรมร่วมกัน

1.หน่วยงานและองค์กรเป้าหมายมาร่วมประชุมและร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางการจัดกิจกรรม นาโยนอินทรีย์ สร้างสุข
2.เกิดแนวทางร่วมของการจัดกิจกรรมนาโยนอินทรีย์ สร้างสุข

1.หน่วยงานและองค์กรเป้าหมายมาร่วมประชุมและร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางการจัดกิจกรรม นาโยนอินทรีย์ สร้างสุข
2.เกิดแนวทางร่วมของการจัดกิจกรรมนาโยนอินทรีย์ สร้างสุข โดย ภาพรวม เน้นการสร้างกระแส เรื่อง อันตรายจากสารเคมีตกค้างทางการเกษตรผ่านนิทรรศการมีชีวิต และเพื่อการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้อง จะมีกิจกรรมการเสวนา เรื่อง ทิศทางเกษตรกร อ.ระโนด

-

10. จัดกิจกรรม_สอนปลูกต้นพญาวานร(อาหารเป็นยา)..ในขวดน้ำเกลือ »
พฤหัสบดี 11 มิ.ย. 58 พฤหัสบดี 11 มิ.ย. 58
  • ประชุมเตรียมความพร้อม จัดเตรียมอุปกรณ์ ขวดน้ำเกลือ ดิน ต้นพญาวานร จัดสถานที่โต๊ะเก้าอี้ เพื่อใช้ในกิจกรรม
  • การบรรยาย เรื่อง มารู้จักต้นพญาวานร โดยวิทยากรผู้มีประสบการณ์และให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมฝึกการปลูกต้นพญาวานรในขวดนำ้เกลือที่ได้จากการบริจาคมาจากตึกผู้ป่วย ซึ่งเมื่อปลูกเสร็จจะมอบให้ไปบำรุงรักษาที่บ้านพักของตนเองและจะได้นำเอาต้นพญาวานรดังกล่าวมาใช้ประกอบเป็นอาหารเป็นยา

การบรรยาย เรื่อง มารู้จักต้นพญาวานร โดยวิทยากรผู้มีประสบการณ์และให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมฝึกการปลูกต้นพญาวานรในขวดนำ้เกลือที่ได้จากการบริจาคมาจากตึกผู้ป่วย ซึ่งเมื่อปลูกเสร็จจะมอบให้ไปบำรุงรักษาที่บ้านพักของตนเองและจะได้นำเอาต้นพญาวานรดังกล่าวมาใช้ประกอบเป็นอาหารเป็นยา

มีผู้สูงอายุจากชมรมผู้สูงอายุจำนวน 50 คน เข้าร่วมกิจกรรม

  1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้เรื่อง ต้นพญาวานร คือ อะไร มีสรรพคุณอย่างไรบ้าง การนำเอาต้นพญาวานรมาใช้ประโยชน์ในทางยาสามารถใช้ส่วนใดบ้าง
  2. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถปลุกต้นพญาวานรในขวดน้ำเกลือแล้วนำไปบำรุงรักษาจนเจริญเติบโต และนำเอาส่วนต่างๆของต้นพญาวานรมาใช้ในการประกอบเป็นอาหารในลักษณะอาหารเป็นยา
  3. เอาขวดน้ำเกลือเหลือใช้นำมาใช้ Re-used ให้เกิดประโยชน์ด้วยการปลูกต้นไม้
  1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้เรื่อง ต้นพญาวานร คือ อะไร มีสรรพคุณอย่างไรบ้าง การนำเอาต้นพญาวานรมาใช้ประโยชน์ในทางยาสามารถใช้ส่วนใดบ้าง
  2. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถปลุกต้นพญาวานรในขวดน้ำเกลือแล้วนำไปบำรุงรักษาจนเจริญเติบโต และนำเอาส่วนต่างๆของต้นพญาวานรมาใช้ในการประกอบเป็นอาหารในลักษณะอาหารเป็นยา
  3. เอาขวดน้ำเกลือเหลือใช้นำมาใช้ Re-used ให้เกิดประโยชน์ด้วยการปลูกต้นไม้

ผลที่เกิดขึ้น พบว่า ผู้เข้าร่วมจำนวน 50 คน มีความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรมมาก

-

11. จัดเตรียมทำถุงเมล็ดข้าวอินทรีย์..ประคบร้อน_เพื่อนำไปแจกเป็นของที่ระลึก_แก่ผู้เข้างานนาโยนอินทรย์_สร้างสุข »
อังคาร 16 มิ.ย. 58 อังคาร 16 มิ.ย. 58

จัดเตรียมทำถุงเมล็ดข้าวอินทรีย์..ประคบร้อนเพื่อนำไปแจกเป็นของที่ระลึกแก่ผู้เข้างานนาโยนอินทรีย์_สร้างสุข โดยคิดสูตรและส่วนประกอบของถุงประคบร้อน ทำมาจากเม็ดข้าวอินทรีย์อันเป็นผลผลิตในพื้นที่ แล้วนำมาลองทุดสอบ

จัดเตรียมทำถุงเมล็ดข้าวอินทรีย์..ประคบร้อนเพื่อนำไปแจกเป็นของที่ระลึกแก่ผู้เข้างานนาโยนอินทรีย์_สร้างสุข โดยคิดสูตรและส่วนประกอบของถุงประคบร้อน ทำมาจากเม็ดข้าวอินทรีย์อันเป็นผลผลิตในพื้นที่ แล้วนำมาลองทุดสอบความร้อนกับบุคลากร จำนวน 5 คน เพื่อดูประสิทธิภาพของถุง

ได้ถุงประคบร้อน-เย็นที่ผลิตจากข้าวอินทรีย์และมีความเหมาะสมต่อการใช้ในการบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ รอยฟกชำ้

ได้ถุงประคบร้อน แต่ประคบเย็นมิได้ เนื่องจากเมล็ดข้าวไม่เหมาะสำหรับถูกความชื้น เนื่องจากกจะทำให้เกิดการงอก และเดิมตั้งเป้าไว้ว่าจะทำมาจากข้าวสังหยด หรือ ข้าวไรเบอรรี่ แต่เนื่องจากมีราคาแพง จึงใช้เมล็ดข้าวทั่วไปที่มีราคาไม่สูงมาก

-

12. เตรียมงานนาโยนอินทรีย์สร้างสุข (ครั้งที่ 1) »
อาทิตย์ 21 มิ.ย. 58 อาทิตย์ 21 มิ.ย. 58

ลงพื้นที่พบแกนนำชาวบ้านบ้านคูวา และผู้นำชุมชน จำนวน 10 คน เพื่อพูดคุยในประเด็นรูปแบบกิจกรรม เป้าหมายกิจกรรม พร้อมลงสำรวจสถานที่จริง

ลงพื้นที่พบแกนนำชาวบ้านบ้านคูวา และผู้นำชุมชน จำนวน 10 คน เพื่อพูดคุยในประเด็นรูปแบบกิจกรรม เป้าหมายกิจกรรม พร้อมลงสำรวจสถานที่จริง

มีหน่วยงานอื่นร่วมด้วยประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านคูวา และตัวแทนองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขาว

ร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางการจัดกิจกรรมนาโยนอินทรีย์ สร้างสุขภาวะ พร้อมสำรวจพื้นที่จริงว่าจะจัดกิจกรรมนิทรรศการจุดใด การสำรวจทุนของพื้นที่

ร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางการจัดกิจกรรมนาโยนอินทรีย์ สร้างสุขภาวะ พร้อมสำรวจพื้นที่จริงว่าจะจัดกิจกรรมนิทรรศการจุดในศาลาประชาคมกลางหมู่บ้าน เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีความสะดวกกันแดด กันฝนได้  ลงพื้นที่สำรวจเส้นทางจากกจุดจัดนิทรรศการ และเดินทางไปทำนาโยนอินทรีย์ การสำรวจทุนของพื้นที่ ปรากฏว่า  มีขนมลูกตาลพุดดิ้ง นำ้ข้าวกล้องไรเบอรรี่งอก ซึ่งทางคณะทำงานจะนำไปใช้เป็นอาหารว่างแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

-

13. เตรียมงานนาโยนอินทรีย์สร้างสุข (ครั้งที่ 2) »
จันทร์ 22 มิ.ย. 58 จันทร์ 22 มิ.ย. 58

ร่วมพูดคุยและแลกเปลี่ยนแนวทางการจัดกิจกรรมนาโยนอินทรีย์สร้างสุข โดยเน้นการแบ่งงาน หน้าที่ความรับผิดชอบของบุคลากรโรงพยาบาลและชาวบ้านในพื้นที่ บ้านขาวคูวา ต.บ้านขาว

ร่วมพูดคุยและแลกเปลี่ยนแนวทางการจัดกิจกรรมนาโยนอินทรีย์สร้างสุข โดยเน้นการแบ่งงาน หน้าที่ความรับผิดชอบของบุคลากรโรงพยาบาลและชาวบ้านในพื้นที่ บ้านขาวคูวา ต.บ้านขาว มีผู้เข้าร่วมเป็นแกนนนำชุมชน จำนวน 5 คน

  • เกิดแผนงานอย่างละเอียด เกี่ยวกับ กิจกรรมนาโยนอินทรีย์
    -แกนนำชุมชน จำนวน 5 คน ได้ร่วมมือกับบุคลากร โรงพยาบาลระโนด ในการจัดกิจกรรมนาโยนอินทรีย์ สร้างสุข
  • เกิดแผนงานอย่างละเอียด เกี่ยวกับ กิจกรรมนาโยนอินทรีย์
    -แกนนำชุมชน จำนวน 5 คน ได้ร่วมมือกับบุคลากร โรงพยาบาลระโนด ในการจัดกิจกรรมนาโยนอินทรีย์ สร้างสุข

1.หน่วยงานและตัวแทนชาวบ้านที่เข้าร่วมวางแผนกิจกรรมน้อย เนื่องจากติดภารกิจหลายเรื่อง เช่น กิจกรรมกีฬาสี 

14. เตรียมงานนาโยนอินทรีย์สร้างสุข (ครั้งที่ 3) »
อังคาร 23 มิ.ย. 58 อังคาร 23 มิ.ย. 58

เจ้าหน้าที่ รพ. และเครือข่ายเกษตรกรและประชาชนในพื้นที่ ลงพื้นทีเพื่อ จัดเตรียมเวที สถานที่งานนาโยนอินทรีย์สร้างสุข ครั้งที่ 3

เจ้าหน้าที่ รพ. เครือข่ายเกษตรกรในโครงการทำนา 1 ไร่ได้เงิน 1 แสนบาท และประชาชนในพื้นที่ จำนวน 30 คน ร่วมกันจัดเตรียมเวทีเสวนา ซุ้มนิทรรศการ และงานนาโยนอินทรีย์สร้างสุข ครั้งที่ 3 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 30 คน ลงพื้นที่เพื่อจัดเวที

-

-

-

15. จัดกิจกรรมงานนาโยนอินทรย์_สร้างสุข »
ศุกร์ 26 มิ.ย. 58 ศุกร์ 26 มิ.ย. 58

1.จัดกิจกรรมงานนาโยนอินทรย์สร้างสุข ณ ศูนย์เรียนรู้เกษตรพอเพียงไร่แสนรัก บ้านคูวา ต.บ้านขาว อ.ระโนด จ.สงขลา
2.มีกิจกรรมฐานเรียนรู้ด้านการทำนาโยนอินทรีย์ อันตรายจากสารเคมีตกค้างทางการเกษตร การแปรรูปข้าวเพื่อเป็นอาหารสำหรับการบริโภค
3.การเสวนา เรื่อง  ทิศทางเกษตรกรระโนด โดยมีตัวแทนเกษตรกรทจากโครงการ ทำนา 1 ไร่ได้เงิน 1 แสนบาท ผอ.โรงเรียนวัดคูวา  เกษตรอำเภอระโนด  ปลัดองค์การบริหารส่วน ต.บ้านขาว ผู้จัดการ ธกส. ผู้อำนวยการโรงพยาบาลระโนด

1.จัดกิจกรรมงานนาโยนอินทรย์สร้างสุข ณ ศูนย์เรียนรู้เกษตรพอเพียงไร่แสนรัก บ้านคูวา ต.บ้านขาว อ.ระโนด จ.สงขลา
2.มีกิจกรรมฐานเรียนรู้ด้านการทำนาโยนอินทรีย์ อันตรายจากสารเคมีตกค้างทางการเกษตร การแปรรูปข้าวเพื่อเป็นอาหารสำหรับการบริโภค
3.การเสวนา เรื่อง  ทิศทางเกษตรกรระโนด โดยมีตัวแทนเกษตรกรทจากโครงการ ทำนา 1 ไร่ได้เงิน 1 แสนบาท ผอ.โรงเรียนวัดคูวา  เกษตรอำเภอระโนด  ปลัดองค์การบริหารส่วน ต.บ้านขาว ผู้จัดการ ธกส. ผู้อำนวยการโรงพยาบาลระโนด

1.มีประชาชน เกษตรกร หน่วยงานภายใน อ.ระโนด ร่วมกิจกรรมนาโยนอินทรีย์ ไม่ต่ำกว่า 200 คน
2.ผู้เข้าร่วมเกิดความตระหนักเรื่อง พิษภัยจากสารเคมีตกค้างทางการเกษตร แนวทางแก้ไขปัญหา และการปรับเปลี่ยนแนวทางการผลิตจากใช้สารเคมี มาสู่การใช้วิธีการธรรมชาติ ผ่านการทำนาโยนอินทรีย์ การแปรรูปข้าวอินทรีย์มาเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่สามารถก่อนให้เกิดรายได้ที่ดีแก่เกษตร

1.มีประชาชน เกษตรกร หน่วยงานภายใน อ.ระโนด ร่วมกิจกรรมนาโยนอินทรีย์ ไม่ต่ำกว่า 200  คน
2.ผู้เข้าร่วมเกิดความตระหนักเรื่อง พิษภัยจากสารเคมีตกค้างทางการเกษตร แนวทางแก้ไขปัญหา และการปรับเปลี่ยนแนวทางการผลิตจากใช้สารเคมี มาสู่การใช้วิธีการธรรมชาติ ผ่านการทำนาโยนอินทรีย์ การแปรรูปข้าวอินทรีย์มาเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่สามารถก่อนให้เกิดรายได้ที่ดีแก่เกษตร

1.ต้องเลื่อนการจัดกิจกรรมนาโยนจากเดิมจะจัดในวันที่ 16 สิงหาคม แต่เนื่องจากเตรียมกล้าไม่ทัน
แนวทางแก้ไข ต้องเลื่อนมาจัดที่ปลายเดือน
2.ประชาชนในพื้นที่มาร่วมน้อย เนื่องจากมีกิจกรรมกีฬาสีตรงกันในวันที่จัด จึงส่งผลให้ผู้ปกครองต้องไปร่วมงานกีฬาสี
แนวทางแก้ไข ควรจัดกิจกรรมในพื้นที่มากขึ้น เพื่อให้พื้นที่ร่วมออกแบบกิจกรรมตั้งแต่เริ่มต้น

16. เตรียมงานจัดกิจกรรมปลูกผักในขวดน้ำเกลือ_เพื่อทำสวนผักแนวตั้งในรพ.ระโนด(วันที่ 1) »
อังคาร 7 ก.ค. 58 อังคาร 7 ก.ค. 58

เตรียมขวดน้ำเกลือซึ่งได้รับการบริจาคมาจากตึกผู้ป่วยนำมาตัดและทำเป็นกระถางแขวนสำหรับปลุกผักแนวตั้งในรพ.ระโนด

เตรียมขวดน้ำเกลือซึ่งได้รับการบริจาคมาจากตึกผู้ป่วยนำมาตัดและทำเป็นกระถางแขวนสำหรับปลุกผักแนวตั้งในรพ.ระโนด จนสามารรถเตรียมกระถางจากขวดนำ้เกลือ จำนวน 100 ใบ
นอกจากนี้ยังเตรียมแปลงผักจากผ้าใบไวนิล อันเป็นผ้าใบที่เหลือจากการทำกิจกรรมประชาสัมพันธ์ จนสามารถเกิดแปลงผักจำนวน 4 แปลงเพื่อนำมาใช้ทำกิจกรรมปลูกผักในพื้นที่จำกัด

เตรียมขวดน้ำเกลือซึ่งได้รับการบริจาคมาจากตึกผู้ป่วยนำมาตัดและทำเป็นกระถางแขวนสำหรับปลุกผักแนวตั้งในรพ.ระโนด จนสามารรถเตรียมกระถางจากขวดนำ้เกลือ จำนวน 100 ใบ
นอกจากนี้ยังเตรียมแปลงผักจากผ้าใบไวนิล อันเป็นผ้าใบที่เหลือจากการทำกิจกรรมประชาสัมพันธ์ จนสามารถเกิดแปลงผักจำนวน 4 แปลงเพื่อนำมาใช้ทำกิจกรรมปลูกผักในพื้นที่จำกัด

เตรียมขวดน้ำเกลือซึ่งได้รับการบริจาคมาจากตึกผู้ป่วยนำมาตัดและทำเป็นกระถางแขวนสำหรับปลุกผักแนวตั้งในรพ.ระโนด จนสามารรถเตรียมกระถางจากขวดนำ้เกลือ จำนวน 100 ใบ
นอกจากนี้ยังเตรียมแปลงผักจากผ้าใบไวนิล อันเป็นผ้าใบที่เหลือจากการทำกิจกรรมประชาสัมพันธ์ จนสามารถเกิดแปลงผักจำนวน 4 แปลงเพื่อนำมาใช้ทำกิจกรรมปลูกผักในพื้นที่จำกัด

-

17. จัดกิจกรรมปลูกผักในขวดน้ำเกลือ_เพื่อทำสวนผักแนวตั้งในรพ.ระโนด »
พฤหัสบดี 9 ก.ค. 58 พฤหัสบดี 9 ก.ค. 58

กิจกรรมปลูกผักในขวดน้ำเกลือเพื่อทำสวนผักแนวตั้งในรพ.ระโนด

การจัดกิจกรรมปลูกผักสลัดและมะเขือเทศราชินีในพื้นที่จำกัด อันประกอบด้วย  ขวดน้ำเกลือ แปลงปลุกผักแนวตั้ง และแปลงผักจากไวนิล กิจกรรม ประกอบด้วย
- การบรรยายเรื่องวิธีการปลูกผัก เรียนรู้ธรรมชาติของผักที่ควรรู้ และการดูแลรักษา โดย อ.วุฒิศักดิ์ เพชรมีศรี
-ให้บุคลากร รพ. ชมรมผู้สูงอายุ และประชาชนที่สนใจ ฝึกฝนการปลูกผักสลัด และมะเขือเทศราชินี ในแปลง ขวดน้ำที่เตรียมไว้
จำนวนผู้เข้าร่วมประกอบด้วย
1) บุคลากร รพ.ระโนด จำนวน 50 คน
2) ชมรมผู้สูงอายุ จำนวน  30 คน
3) ประชาชนผู้สนใจร่วม จำนวน คน

1.มีผู้สนใจเข้าร่วมทำกิขกรรมอย่างน้อย 80 คน บุคลากร รพ.เข้าร่วมอย่างน้อย 50 คน ชมรมผู้สูงอายุไม่น้อยกว่า 30 คน ประชาชนผู้สนใจไม่น้อยกว่า 20 คน
2.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ในการปลูกผักปลอดสารพิษในพื้นที่จำกัด เช่น ขวดน้ำเกลือ แปลงผักแนวตั้ง เป็นต้น

ผลที่เกิดขึ้นแล้ว คือ
1.มีผู้สนใจเข้าร่วมตำกว่า เป้าหมายที่วางไว้ คือ บุคลากร รพ.เข้าร่วมอย่างน้อย 50 คน ชมรมผู้สูงอายุไม่น้อยกว่า 30 คน ประชาชนผู้สนใจ จำนวน 10 คน
2.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถปลุกผักในขวดน้ำเกลือ แปลงผักแนวตั้ง  และสามารถนำผลผลิตที่ได้มาจัดเป็นสวนในสวนสมุนไพร ร่วมใจ รพ.ระโนด สร้างความสนใจแก่ประชาชนผู้มารับบริการ รพ.
3.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความสุข สนุกและตื่นเต้นต่อการได้ปลูกผัก

1.ช่วงเวลาจัดกิจกรรมไม่เหมาะสม เนื่องจากบุคลากร รพ.ที่สนใจแต่เนื่องจากต้อง ติดปฏิบัติงานรักษาพยาบาลคนไข้
แนวทางแก้ไข ควรจัดกิจกรรมในช่วงบ่าย เพราะเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลมีโอกาสร่วมกิจกรรมมากกว่า
2.พื้นที่ปลูกผักปลอดสารไม่เหมาะสมมีขนาดเล็กมากเกินไป
แนวทางแก้ไข การปรับให้ปลูกผักบนอาคาร ซึ่งมีพื้นที่ว่างจำนวนมาก

18. ปรับปรุงภูมิทศน์ตลาดนัดสีเขียว รพ.ระโนด »
พุธ 22 ก.ค. 58 พุธ 22 ก.ค. 58

1.การปรับให้มีสวนหย่อมขนาดเล็กบริเวณด้านหน้าของตลาด ป้ายตลาดนัดสีเขียว 2.การเพิ่มป้ายคำขวัญเพื่อติดภายในตลาดเพื่อการเรียนรู้เรื่องอาหารแก่ผู้มาจับจ่ายในตลาด

ดำเนินการปรับให้มีสวนหย่อมขนาดเล็กบริเวณด้านหน้าของตลาด ป้ายตลาดนัดสีเขียว

การเพิ่มป้ายคำขวัญเพื่อติดภายในตลาดเพื่อการเรียนรู้เรื่องอาหารแก่ผู้มาจับจ่ายในตลาด

ตลาดนัดสีเขียวโรงพยาบาลระโนดมีภูมิทัศน์น่าจับจ่ายและเข้าร่วมกิจกรรมของตลาดนัด

เกิดป้ายสื่อสารเรื่องข้อคิด คำขวัญ ติดภายในตลาดนัดสีเขียว รพ.ระโนด

ตลาดนัดสีเขียวโรงพยาบาลระโนดมีภูมิทัศน์น่าจับจ่ายและเข้าร่วมกิจกรรมของตลาดนัด

เกิดป้ายสื่อสารเรื่องข้อคิด คำขวัญ ติดภายในตลาดนัดสีเขียว รพ.ระโนด

-

19. สลัดผักสร้างสุข »
พฤหัสบดี 13 ส.ค. 58 พฤหัสบดี 13 ส.ค. 58

ร่วมกันเก็บเกี่ยวผักสลัดที่เกิดขึ้นจากการร่วมมือกันปลูกของบุคลากรและผู้ป่วย นำมาให้ผู้สนใจและรักษ์สุขภาพเรียนรู้การทำสลัดผักเพื่อสุขภาพ แล้วนำไปบริโภคเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ มอบให้กับผู้ป่วยในที่นอนรักษาตัวในโรงพยาบาลระโนด

ร่วมกันเก็บเกี่ยวผักสลัดที่เกิดขึ้นจากการร่วมมือกันปลูกของบุคลากรและผู้ป่วย นำมาให้ผู้สนใจและรักษ์สุขภาพเรียนรู้การทำสลัดผักเพื่อสุขภาพ แล้วนำไปบริโภคเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ มอบให้กับผู้ป่วยในที่นอนรักษาตัวในโรงพยาบาลระโนด

มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 40 คน เก็บผลิตผักสลัด และสามารถนำไปมอบให้ผู้ป่วยและบุคลากรของแต่ละฝ่ายจำนวน 100  ถาด

1.บุคลากรโรงพยาบาลมีความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้อย 50 คน
2.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้และฝึกปฏิบัติผักสลัดสร้างเสริมสุขภาพ
3.สามารถผลิตผักสลัดปลอดสารพิษ เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพผู้ป่วย

ผลที่เกิดขึ้นมากกว่าที่วางแผนไว้ โดยผู้เข้าร่วมมีความสนใจ สนุกสนานกับการเรียนรู้การทำผักสลัดเพื่อสุขภาพ

1.บุคลากรโรงพยาบาลมีความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้อย 50 คน
2.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้และฝึกปฏิบัติผักสลัดสร้างเสริมสุขภาพ
3.สามารถผลิตผักสลัดปลอดสารพิษ เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพผู้ป่วย

-

20. ปลูกผักบุ้งปลอดสารพิษและนำผักบุ้งผัดกุ้งแจกจ่ายเป็นอาหารแก่ผู้ป่วยใน »
พุธ 2 ก.ย. 58 พุธ 2 ก.ย. 58

ร่วมกันปลูกเก็บเกี่ยวผักบุ้งที่เกิดขึ้นจากการร่วมมือกันปลูกของบุคลากรและผู้ป่วย นำมาให้ผู้สนใจและรักษ์สุขภาพเรียนรู้ปรุงเมนูผัดผักบุ้งเพื่อสุขภาพ แล้วนำไปบริโภคเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ มอบให้กับผู้ป่วยในที่นอนรักษาตัวในโรงพยาบาลระโนด

ร่วมกันเก็บเกี่ยวผักบุ้งที่เกิดขึ้นจากการร่วมมือกันปลูกของบุคลากรและผู้ป่วย นำมาให้ผู้สนใจและรักษ์สุขภาพเรียนรู้การปรุงเมนูผัดผักบุ้ง กุ้งเพื่อสุขภาพ แล้วนำไปบริโภคเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ มอบให้กับผู้ป่วยในที่นอนรักษาตัวในโรงพยาบาลระโนด

มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 40 คน เก็บผลิตผักบุ้งปลอดสารพิษ และสามารถนำไปมอบให้ผู้ป่วยและบุคลากรของแต่ละฝ่ายจำนวน 60 คน

1.บุคลากรโรงพยาบาลมีความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้อย 50 คน
2.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้และฝึกปฏิบัติการผัดผักบุ้ง-กุ้งปลอดสารพิษ และผัดผักบุ้งหมูสับสร้างเสริมสุขภาพ
3.สามารถปรุงเมนูผัดผักบุ้ง กุ้งปลอดสารพิษ และผัดผักบุ้งหมูสับ เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพผู้ป่วย

ผลที่เกิดขึ้นมากกว่าที่วางแผนไว้ โดยผู้เข้าร่วมมีความสนใจ สนุกสนานกับการเรียนรู้การทำผักสลัดเพื่อสุขภาพ

1.บุคลากรโรงพยาบาลมีความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้อย 50 คน
2.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้และฝึกปฏิบัติผักสลัดสร้างเสริมสุขภาพ
3.สามารถผลิตผักสลัดปลอดสารพิษ เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพผู้ป่วย

-

21. ร่วมมือปลูกผักกาดขาว ส่งน้ำใจแก่ผู้ป่วย »
อังคาร 29 ก.ย. 58 อังคาร 29 ก.ย. 58

ร่วมกันปลูกเก็บเกี่ยวผักกาดขาวที่เกิดขึ้นจากการร่วมมือกันปลูกของบุคลากรและผู้ป่วย นำมาให้ผู้สนใจและรักษ์สุขภาพเรียนรู้ปรุงเมนูผัดผักกาดขาวเพื่อสุขภาพ แล้วนำไปบริโภคเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ มอบให้กับผู้ป่วยในที่นอนรักษาตัวในโรงพยาบาลระโนด

ร่วมกันปลูกเก็บเกี่ยวผักกาดขาวที่เกิดขึ้นจากการร่วมมือกันปลูกของบุคลากรและผู้ป่วย นำมาให้ผู้สนใจและรักษ์สุขภาพเรียนรู้ปรุงเมนูผัดผักกาดขาวเพื่อสุขภาพ แล้วนำไปบริโภคเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ มอบให้กับผู้ป่วยในที่นอนรักษาตัวในโรงพยาบาลระโนด

ร่วมกันเก็บเกี่ยวผักกาดขาวที่เกิดขึ้นจากการร่วมมือกันปลูกของบุคลากรและผู้ป่วย นำมาให้ผู้สนใจและรักษ์สุขภาพเรียนรู้การปรุงเมนูผัดผักกาดขาวเพื่อสุขภาพ แล้วนำไปบริโภคเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ มอบให้กับผู้ป่วยในที่นอนรักษาตัวในโรงพยาบาลระโนด

มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 20 คน เก็บผลิตผักกาดขาวปลอดสารพิษ และสามารถนำไปมอบให้ผู้ป่วยและบุคลากรของแต่ละฝ่ายจำนวน 60 คน

1.บุคลากรโรงพยาบาลมีความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้อย 50 คน
2.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้และฝึกปฏิบัติการผัดผักปลอดสารสร้างเสริมสุขภาพ
3.สามารถปรุงเมนูผักกาดขาว ปลอดสารพิษ เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพผู้ป่วย

-