โครงการการขยายมาตรการควบคุมการจำหน่ายและบริหารอาหารไม่ปลอดภัยและมาตรการส่งเสริมสุขภาวะในโรงพยาบาลระโนด

แผนงานอาหารปลอดภัย

by dezine @November,10 2014 15.17 ( IP : 202...1 )

แผนภาพเชิงระบบของโครงการ

สถานการณ์

สถานการณ์สุขภาวะ

สถานการณ์เฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพ ได้ดำเนินการตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร 7 ชนิด ประกอบด้วย สารบอแร็กซ์ สารกันรา สารฟอกขาว สารฟอร์มาลีน ยาฆ่าแมลงและสารเคมีกำจัดศัตรูพืช สารโพลาร์ สารอะฟลาทอกซิน ในอาหารสดที่จำหน่ายบนแผงลอยพื้นที่ ตลาดสดเทศบาล ต.ระโนด  ตลาดสดสุขจันทร์ และแผงลอยจำหน่ายอาหารในหมู่บ้านอันเป็นพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล จำนวน 2 ครั้ง โดยใช้ชุดทดสอบสารปนเปื้อนเบื้องผ่านเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหน่วยรถตรวจวิเคราะห์เคลื่อนที่(Mobile Unit) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา
ผลการตรวจวิเคราะห์ ดังนี้
1.ผลการตรวจสารปนเปื้อนจากการดำเนินการทั้ง 2 ครั้ง  พบว่า ตัวอย่างอาหาร จำนวน 366 รายการ ผ่านมาตรฐาน 358 รายการ คิดเป็นร้อยละ 97.8 ของตัวอย่างทั้งหมด หรือตกมาตรฐานคิดเป็น ร้อยละ 2.2 ของตัวอย่างทั้งหมด ผลการดำเนินงานผ่านตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ในแผนยุทธศาสตร์  แยกเป็น
1.1 ครั้งที่ 1 ตรวจวิเคราะห์อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพทางด้านเคมี จำนวน  251 รายการ  ผ่านมาตรฐาน 244 รายการ คิดเป็นร้อยละ 97.21 ของตัวอย่างทั้งหมด
1.2 ครั้งที่ 2 ตรวจวิเคราะห์อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพทางด้านเคมี จำนวน  115 รายการ  ผ่านมาตรฐาน 114 รายการ คิดเป็นร้อยละ 99.13 ของตัวอย่างทั้งหมด
2.สารปนเปื้อนในอาหารสดที่เป็นปัญหาสำคัญของ อ.ระโนด คือ ยาฆ่าแมลง ตกมาตรฐาน 7 ตัวอย่าง จากจำนวน 152 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ  4.61 ของตัวอย่างทั้งหมด ฟอร์มาลิน ตกมาตรฐาน 1 รายการ คิดเป็นร้อยละ 0.87 ของตัวอย่างทั้งหมด
3.ชนิดของอาหารที่ตกมาตรฐานพบยาฆ่าแมลงเกินมาตรฐาน คือ ใบบัวบก 3 รายการ คะน้า 1 รายการ ต้นหอม 1 รายการ ผักชีลาว 1 รายการ สะระแหน่ 1 รายการ

ปัจจัยที่เป็นสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับ
  • คน:

    ผู้บริโภคส่วนใหญ่ไม่มีโอกาสเลือกผลผลิตทางการเกษตรมาบริโภค เนื่องจากต้องอยู่ในภาวะเร่งรีบ และไม่มีทางเลือกจนไม่สามารถเข้าถึงแหล่งผลิตหรือจำหน่ายอาหารปลอดสารพิษ
    เกษตรกรที่ปลูกก็ขาดขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องผลกระทบของสารเคมีทางการเกษตร(ยาฆ่าหญ้า ปุ๋ยเคมี และสารเคมีฆ่าแมลง) ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ ขาดความตระหนักต่อผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของสารเคมี ขาดความพอเพียงต้องการได้ผลผลิตจำนวนมาก จนมาสู่การใช้วิธีการเร่งการผลิต ขาดการรวมกลุ่ม รวมตัวที่เข้มแข็ง

  • สภาพแวดล้อม:

    ขาดนโยบายสาธารณะด้านอาหารปลอดภัยระดับพื้นที่ ขาดแหล่งเรียนรู้ต้นแบบด้านอาหารปลอดภัยระดับพื้นที่ ขาดแหล่งจำหน่ายผลผลิตอหารปลอดภัยในพื้นที่

  • กลไก:

    ขาดกลไก/ระบบการส่งเสริมความรู้ด้านการผลิตอาหารแบบปลอดภัย ขาดกลไกการเฝ้าระวังด้านความปลอดภัยด้านอาหาร

  • จุดหมาย/วัตถุประสงค์/เป้าหมาย:

    จุดหมาย:การพัฒนาพื้นที่ของโรงพยาบาลให้เป็นแหล่งจำหน่ายอาหารปลอดภัย และเชื่อมโยงให้ผู้ผลิตสามารถกระจายผลผลิตอาหารปลอดภัยไปยังมือผู้บริโภค และหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

    วัตถุประสงค์
    1.เพื่อพัฒนากลไกการควบคุมการจำหน่ายอาหารไม่ปลอดภัยในพื้นที่นำร่องโรงพยาบาล
    2.เพื่อสร้างพื้นที่สาธารณะเรียนรู้ด้านอาหารปลอดภัย อ.ระโนด
    3.เพื่อพัฒนากลไกจัดการด้านโภชนาการในศูนย์เด็กเล็กนำร่องของอำเภอระโนด

    เป้าหมาย :
    เป้าหมายหลัก คือ
    1) เกษตรกรในโครงการทำนา 1 ไร่ได้เงิน 1 แสนบาท ในพื้นที่ 2 ตำบล คือ ต.ตะเครียะ และบ้านขาว
    2) บุคลากรโรงพยาบาลระโนด จำนวน 300 คน 3) ประชาชนที่มาใช้บริการที่โรงพยาบาลระโนด จำนวนวันละ 350 คน 4) เด็กเล็กในศูนย์เด็กเล็กนำร่อง จำนวน 5 แห่ง

  • ปัจจัยสำคัญที่เอื้อต่อความสำเร็จ/ตัวชี้วัด:

    การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลระโนด ประชาชนและเครือข่ายจำนวนมากในพื้นที่ การทำงานร่วมกันลักษณะคณะทำงานโครงการ

  • วิธีการสำคัญ:

    1.พัฒนาช่องทางจำหน่ายผลผลิต 2 ส่วน ประกอบด้วย
    1.1.กิจกรรมปรับปรุงพื้นที่แลกเปลี่ยนสินค้า/จำหน่ายผลผลิตอินทรีย์จากโครงการทำนา 1ไร่ ได้เงิน 1 แสน ภายในบริเวณโรงพยาบาล(ตลาดนัดสีเขียว) ทุกอังคารและศุกร์ โดยให้เครือข่ายผู้ผลิตในชุมชน ต.บ้านขาวและตะเครียะร่วมออกบูธพร้อมกิจกรรมอาหารปลอดภัย โภชนาการสมวัย แบบมีชีวิต
    1.2 การพัฒนาช่องทางประชาสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนสินค้าจากโครงการทำนา 1 ไร่ได้เงิน 1 แสนบาท ผ่านเว็บไซต์ www.ranodhospital.go.th
    2.พัฒนารูปแบบโภชนาการอาหารสมวัยในศูนย์เด็กเล็กนำร่องอย่างน้อย 5 แห่ง อันเป็นความร่วมมือกันระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำร่องและนักโภชนาการแม่ครัวศูนย์เด็กเล็ก
    2.1 การนำข้อมูลจาก23 แฟ้มมาวิเคราะห์สถานการณ์ด้านภาวะโภชนาการของเด็กเล็กและสำรวจ
    2.2 กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่าง อปท.จัดการต้นแบบเรื่อง งานโภชนาการเด็กเล็กกับพื้นที่ต้นแบบ คือ เทศบาลต.ชะแล้ และ อบต.ควนรู
    2.2 การสำรวจเยี่ยมชมแหล่งผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์จากโครงการ ทำนา 1 ไร่ได้เงิน1แสนบาท
    3.การพัฒนาพื้นที่ต้นแบบด้านอาหารปลอดภัยผ่านการปลูกผักสวนแนวตั้งและบนอาคารโรงพยาบาลระโนด
    3.1 การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจัดทำแผนภาพแห่งอนาคต(Think tank)และวางแผนเพื่อเตรียมพื้นที่ทำสวนผักบนชั้น 2 อาคารหลังใหม่ โรงพยาบาลระโนด จำนวน 2 ครั้ง
    3.2 การเตรียมวัสดุอุปกรณ์
    3.3 การฝึกปฏิบัติการปลูกผักแนวตั้งและสวนบนพื้นที่อาคารโรงพยาบาลระโนด
    4.การสร้างปฏิบัติการด้านอาหารปลอดภัยเกี่ยวกับการ ทำนาโยนอินทรีย์เรียนรู้ร่วมกันระหว่างท้องถิ่น โรงพยาบาล สถานศึกษา และหน่วยงานรัฐในพื้นที่อำเภอระโนด
    5.กิจกรรมตรวจสอบคุณภาพอาหารที่นำมาวางจำหน่าย ในตลาดนัดสีเขียวผ่านวิธี
    5.1 ลงพื้นที่เยี่ยมแปลงผลิตในโครงการทำนา 1 ไร่ได้เงิน 1 แสนบาท ปีละ 1 ครั้ง
    5.2 การสุ่มตรวจสารเคมีตกค้างทางการเกษตร โดยใช้ชุดตรวจวิเคราะห์เบื้องต้น รถตรวจวิเคราะห์เคลื่อนที่ สำนักงานสาธารณสุข จ.สงขลา

ปัจจัยนำเข้า

ทุนของชุมชน

1.โครงการทำนา 1 ไร่ได้เงิน 1 แสนบาท ของพื้นที่ ต.ตะเครียะและบ้านขาว
2.การมีเจ้าหน้าที่กรมการปกครอง อ.ระโนดที่เข้มแข็งให้การสนับสนุน
3.การมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เข้มแข็ง
4.การบรรจุให้ปัญหาด้านสารตกค้างในอาหารและเลือดเกษตรกร เป็นปัญหาด้านสุขภาพที่ต้องแก้ไข

งบประมาณ

1.โครงการแผนงานยุทธศาสตร์บูรณาการด้านอาหาร จ.สงขลา 200,000 บาท
2.งบสนับสนุนจากโรงพยาบาลระโนด จำนวน 10,000 บาท

บุคลากร

1.เครือข่ายเกษตรกรโครงการทำนา 1ไร่ได้เงิน 1 แสนบาท จำนวน 50 คน
2.ที่ว่าการ อ.ระโนด
3.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่ง 4.นักโภชนากร 5.เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ระดับตำบล

ทรัพยากรอื่น

 

ขั้นตอนทำงาน

1.พัฒนาช่องทางจำหน่ายผลผลิต 2 ส่วน ประกอบด้วย
1.1.กิจกรรมปรับปรุงพื้นที่แลกเปลี่ยนสินค้า/จำหน่ายผลผลิตอินทรีย์จากโครงการทำนา 1ไร่ ได้เงิน 1 แสน ภายในบริเวณโรงพยาบาล(ตลาดนัดสีเขียว) ทุกอังคารและศุกร์ โดยให้เครือข่ายผู้ผลิตในชุมชน ต.บ้านขาวและตะเครียะร่วมออกบูธพร้อมกิจกรรมอาหารปลอดภัย โภชนาการสมวัย แบบมีชีวิต
1.2 การพัฒนาช่องทางประชาสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนสินค้าจากโครงการทำนา 1 ไร่ได้เงิน 1 แสนบาท ผ่านเว็บไซต์ www.ranodhospital.go.th
2.พัฒนารูปแบบโภชนาการอาหารสมวัยในศูนย์เด็กเล็กนำร่องอย่างน้อย 5 แห่ง อันเป็นความร่วมมือกันระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำร่องและนักโภชนาการ แม่ครัวศูนย์เด็กเล็ก
2.1 การนำข้อมูลจาก23 แฟ้มมาวิเคราะห์สถานการณ์ด้านภาวะโภชนาการของเด็กเล็กและสำรวจ
2.2 กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่าง อปท.จัดการต้นแบบเรื่อง งานโภชนาการเด็กเล็กกับพื้นที่ต้นแบบ คือ เทศบาลต.ชะแล้ และ อบต.ควนรู
2.2 การสำรวจเยี่ยมชมแหล่งผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์จากโครงการ ทำนา 1 ไร่ได้เงิน1แสนบาท

3.การพัฒนาพื้นที่ต้นแบบด้านอาหารปลอดภัยผ่านการปลูกผักสวนแนวตั้งและบนอาคารโรงพยาบาลระโนด

3.1 การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจัดทำแผนภาพแห่งอนาคต(Think tank)และวางแผนเพื่อเตรียมพื้นที่ทำสวนผักบนชั้น 2 อาคารหลังใหม่ โรงพยาบาลระโนด จำนวน 2 ครั้ง
3.2 การเตรียมวัสดุอุปกรณ์
3.3 การฝึกปฏิบัติการปลูกผักแนวตั้งและสวนบนพื้นที่อาคารโรงพยาบาลระโนด
4.การสร้างปฏิบัติการด้านอาหารปลอดภัยเกี่ยวกับการ ทำนาโยนอินทรีย์เรียนรู้ร่วมกันระหว่างท้องถิ่น โรงพยาบาล สถานศึกษา และหน่วยงานรัฐในพื้นที่อำเภอระโนด

5.กิจกรรมตรวจสอบคุณภาพอาหารที่นำมาวางจำหน่าย ในตลาดนัดสีเขียวผ่านวิธี

5.1 ลงพื้นที่เยี่ยมแปลงผลิตในโครงการทำนา 1 ไร่ได้เงิน 1 แสนบาท ปีละ 1 ครั้ง
5.2 การสุ่มตรวจสารเคมีตกค้างทางการเกษตร โดยใช้ชุดตรวจวิเคราะห์เบื้องต้น รถตรวจวิเคราะห์เคลื่อนที่ สำนักงานสาธารณสุข จ.สงขลา

ผลผลิต

1.เกิดเครือข่ายเกษตรกรผู้ผลิตอาหารปลอดภัยเพื่อจำหน่ายผลผลิตจากโครงการทำนา 1 ไร่ได้เงิน 1 แสนตลอดจนพื้นที่นำเสนอนิทรรศการแบบมีชีวิตด้านอาหารปลอดภัย โภชนาการสมวัยแก่ประชาชนที่มารับบริการโรงพยาบาลระโนด

ผลลัพท์

2.เกิดรูปแบบงานโภชนาการสมวัยในศูนย์เด็กเล็ก อปท.นำร่อง 5 แห่ง
3.เกิดการเชื่อมโยงระหว่างเครือข่ายเกษตรกรโครงการทำนา 1 ไร่ได้เงิน 1 แสนบาท
4.บุคลากร เยาวชน และหน่วยงานรัฐในพื้นที่ได้ตระหนักถึงคุณค่าของการทำนาแบบอินทรีย์ด้วยวิธีโยนกล้า

ผลกระทบ

1.เกิดช่องทางจำหน่ายผลผลิตแบบตลาดนัดสีเขียวและแบบออนไลน์ 2.เกิดพื้นที่ต้นแบบด้านอาหารปลอดภัยแบบสวนผักแนวตั้งบนอาคารโรงพยาบาลระโนด ใช้เป็นสถานที่เรียนรู้ด้านอาหารปลอดภัยแก่บุคลากรและประชาชนทั่วไป

กลไกและวิธีการติดตามของชุมชน

กลไกและวิธีการประเมินผลของชุมชน