ศูนย์เรียนรู้คู่ชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง ต.บ่อดาน อ.สทิงพระ จ.สงขลา

แผนงานโภชนาการและอาหารคุณภาพเพื่อให้มีโภชนาการสมวัย

by ครอบครัวมั่นคง @May,18 2013 11.50 ( IP : 202...1 )

แผนภาพเชิงระบบของโครงการ

สถานการณ์

สถานการณ์สุขภาวะ

เป็นที่ประจักษ์แล้วว่าในปัจจุบันคนไทยจำนวนมากจะตกอยู่ในภาวะทุพโภชนาการ ทั้งด้านขาดอาหารและมีอาหารเกินล้นทำให้ร่างกายเต็มไปด้วยโรคภัยต่าง ๆ
ซึ่งสาเหตุหลักน่าจะมาจากการขาดความรู้ความเข้าใจ รวมตลอดไปถึงความไม่ปลอดภัยของอาหารที่ถูกปนเปื้อนด้วยสารเคมีตั้งแต่ระบบการผลิต การบรรจุหีบห่อ การขนส่ง การจำหน่ายรวมไปถึงสถานที่ที่จำหน่าย เช่นตลาดสดต่าง ๆ ก็อยู่ในสภาพที่ไม่ถูกสุขลักษณะเท่าไหร่นัก จากการสังเกตหรือพบเห็นหรือพูดคุยกับบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องทราบว่าขณะนี้มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
กระทั้งเกินความสามารถของบุคลากรทางการแพทย์ ในโรงบาลต่าง ๆ จะเต็มไปด้วยผู้ป่วยที่เข้าคิวรอตรวจ ที่ตรวจแล้วต้องเข้าพักรักษาในโรงพยาบาล
กระทั้งล้นห้อง ล้นเตียง มีความโกลาหล ไม่เป็นระเบียบอย่างมากในสถานพยาบาลทั่วประเทศ ตัวอย่างเช่น โรงพยาบาลสงขลานครินทร์หาดใหญ่ เป็นต้น
และมีแนวโน้มว่าจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น จากภาวะทุพโภชนาการดังกล่าว ได้ส่งผลให้คนไทยเกิดโรคร้ายที่สำคัญหลายอย่าง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเส้นเลือด โรคมะเร็ง เป็นต้น
ซึ่งโรคภัยต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนแต่มีสาเหตุมาจากการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะทั้งสิ้น จะทุเลาหรือจะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไร ? จึงเป็นคำถามที่น่าสนใจว่าจะทำอย่างไร และใครเป็นผู้ทำ ?
ประการที่  1  อยากให้มองผู้บริโภคในเขตเมืองของจังหวัดสงขลา จะเห็นได้ว่าพืชผักหลักในการนำมาปรุงเพื่อบริโภคเป็นอาหารประจำวัน
ส่วนใหญ่จะเลือกซื้อมาจากตลาดสดในอำเภอหาดใหญ่ ตลาดสดในอำเภอเมืองสงขลา และตลาดสดย่อยอื่น
ซึ่งส่วนมากแล้วพืชผักจะถูกนำเข้ามาจากต่างจังหวัด เช่น จังหวัดราชบุรี จังหวัดนครปฐม ซึ่งผู้บริโภคไม่สามารถที่จะเลือกซื้อได้ในส่วนที่ไม่ปนเปื้อนสารเคมี
คือ ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งผลิตหรือฟาร์มที่ผลิตได้

ประการที่&nbsp; 2&nbsp; ผู้บริโภคนอกเขตเมืองจังหวัดสงขลา อาจจะเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคเอง<br />

แต่คุณภาพการผลิตก็ยังไม่มีมาตรฐานใดที่จะรับรองถึงคุณภาพได้ว่ามีความปลอดภัยแค่ไหน
ด้วยว่าเกษตรกรเองก็ยังไม่มีความรู้ ไม่มีเข้าใจในเรื่องของการใช้ยาเร่งหรือยาเคมีหรือสารเคมีตลอดไปถึงการใช้ปุ๋ยเคมีต่าง ๆ ระบบการผลิตของเกษตรกรจึงยังคงใช้สารต้องห้ามดังกล่าวอยู่ในปริมาณที่มากเกินเกณฑ์ที่กำหนดเข้ามาปนเปื้อนอยู่ในอาหารอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ มีเกษตรกรผู้ผลิตพืชผักอยู่เป็นจำนวนมากที่แยกส่วนการผลิตออกมาเป็น การผลิตเพื่อกินเอง (ไม่ใช้สารเคมี)
กับอีกส่วนเป็นการผลิตเพื่อจำหน่าย (ใช้สารเคมี) เพื่อให้ได้ผลผลิตเป็นจำนวนมากและพืชผักที่สวยงามเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภค
ซึ่งคิดว่าเป็นอันตรายอย่างยิ่ง ประการที่  3  อาหารบรรจุถุงที่กระจายอยู่ตามแผงวางขายอยู่อย่างมากมายทั้งในเขตเมืองและนอกเขตเมือง กำลังเป็นที่นิยมชวนซื้อของแม่บ้าน
โดยเฉพาะแม่บ้านของผู้ใช้แรงงาน นักเรียนนักศึกษา ด้วยว่าเป็นความสะดวกรวดเร็ว มีความหลากหลายง่ายต่อการบริโภค
ซึ่งคิดว่าจะเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อผู้บริโภค เป็นที่หน้าเกตว่าอาหารบรรจุถุงพลาสติก จะเป็นที่นิยมกันน้อยในบรรดาแม่บ้านเกษตรกร ประการที่  4  อาหารสำเร็จรูปหรืออาหารกึ่งสำเร็จรูปที่กำลังได้รับความนิยมบริโภคทั้งเด็กและผู้ใหญ่อยู่ในนี้ จากค่านิยมดังกล่าวบวกด้วยความจำเป็นในการดำรงชีวิตอย่างรีบเร่งจึงนำไปสู่ชีวิตคนไทยที่มีสุขภาพไม่ดี เศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ในองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้ถูกพระราชทานออกมาให้ประชาชนได้น้อมนำไปปฏิบัติ
โดยได้นำเสนอในรูปแบบเกษตรผสมผสาน หรือแบบไร่นาสวนผสมที่ทรงแนะนำไว้เป็นสูตรว่า 30 – 30 – 30 – 10
คือการแบ่งพื้นที่ออกเป็น 30% เป็นแหล่งน้ำ 30% เป็นที่ทำนา 30% เป็นสวนไม้ยืนต้น 10% เป็นที่อาศัยและโรงเรือนเลี้ยงสัตว์
และทรงอธิบายต่อด้วยว่าไร่นาสวนผสม มันจะเอื้อซึ่งกันและกันไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีหรือปุ๋ยเคมีแต่อย่างใด
ซึ่งหลักการของเกษตรทฤษฎีใหม่มี 3 ขั้นตอน ดังนี้ 11.1ๅหลักการพึ่งตนเอง

2.&nbsp; หลักการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

3.&nbsp; หลักการรวมกลุ่มเป็นเครือข่าย

สำหรับหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่<br />

1.&nbsp; ความพอประมาณ

2.&nbsp; ความมีเหตุมีผล

3.&nbsp; ความมีภูมิคุ้มกัน

ประกอบด้วยเงื่อนไข 2 ประการ ได้แก่การมีความรู้ และการมีคุณธรรม (ตามเอกสารแนบ)   

การทำครอบครัวให้เป็นโรงพยาบาล

ครอบครัวเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของชุมชน การสร้างความเข้มแข็งในครอบครัวเท่ากับเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน<br />

เมื่อใดก็ตามที่ครอบครัวอ่อนแอสังคมนั้นจะเข้มแข็งไม่ได้ ความเข้มแข็งของครอบครัวในมิติทางเศรษฐกิจต้องทำให้ครอบครัวห่างไกลจากความยากจน
มิติทางสังคมครอบครัวต้องห่างไกลจากสิ่งเสพติด ห่างไกลจากอบายมุข มิติทางสิ่งแวดล้อม ครอบครัวต้องช่วยกันดูแลรักษา
ร่วมกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้มีความสมบูรณ์อยู่ตลอดเวลา อย่างไรก็แล้วแต่สิ่งดังกล่าวจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าหากว่าคนในครอบครัวมีสุขภาวะที่ไม่ดี
การสร้างความมั่นคงด้านอาหาร ด้วยอาหารปลอดภัยและมีโภชการอย่างสมวัย จึงสมควรดำเนินการดังต่อไปนี้ 1.  การมีส่วนร่วมของสมาชิกในครัวเรือน 1.1  พ่อบ้านแต่ตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ มีหน้าที่จัดหาสิ่งของที่เป็นอาหารประจำวัน โดยการปลูกเองกินเอง
หรือที่เรียกว่ากินทุกอย่างที่ปลูก ปลูกทุกอย่างที่กิน หรือปลูกพืชผักส่วนครัวรั้วกินได้ ให้เพียงพอสำหรับการบริโภคภายในครัวเรือนทุกวัน
รวมไปถึงพืชสมุนไพรที่เป็นทั้งยาป้องกันและเป็นยารักษาโรคของสมาชิกในครัวเรือน เช่น กระชาย สามารถป้องกันและรักษาโรคความดันโลหิตได้
ย่านาง (ย่านนาง) มะรุม ต้นยอ ขิง ข่า สาระแน่ ฯลฯ เป็นต้น 1.2  แม่บ้านแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเภสัชกร หรือนักโภชนาศาสตร์ มีหน้าที่ปรุงอาหารให้สมาชิกในครัวเรือนรับประทานอย่างถูกต้องเหมาะสมในแต่ละมื้อ
ในแต่ละวันต้องมีความเคร่งครัดจัดทำปรุงอาหารให้เป็นยารักษาโรค ตามอาการของโรคของทุกคนในครอบครัว 1.3  ลูกคนที่  1  แต่งตั้งให้เป็นพยาบาล มีหน้าที่ดูแลอาการตรวจเช็คร่างกายของทุกคน
ต้องมีเครื่องตรวจวัดความดันโลหิตประจำวัน มีตู้ยาสามัญประจำบ้าน
ต้องทำการบันทึกประวัติอาการป่วยของทุกคนอย่างละเอียดพร้อมคำแนะนำ ลูกคนที่ 2 หรือ 3 แต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการ ผู้ช่วยเภสัชกร หรือตำแหน่งอื่นที่เห็นว่ามีความเหมาะสม แล้วกำหนดหน้าที่ให้ปฏิบัติอย่างเคร่งครัด 2.  เกิดครอบครัวอบอุ่นสมาชิก จะเกิดความรัก ความสามัคคี การดูแลเอาใจใส่ การเอื้ออาทร ความเข้าใจ
การปรึกษาหารือ รับประทานอาหารด้วยกัน แบ่งอาหารการกินอย่างมีความรู้ อาหารพ่อ อาหารแม่ อาหารลูก
ควรกินอะไรมากน้อย ถูกต้องตามหลักโภชนาการ 3.  มีการกักเก็บอาหารไว้สำรองในยามที่จำเป็น ในจำนวนที่เหมาะสม เช่น ข้าวสาร ยาสมุนไพร พืชผักชนิดต่าง ๆ
พืชสมุนไพร พืชผลนอกฤดูการจะมีบริโภคได้ตลอดทั้งปี
4.  มีการแบ่งปั้นอย่างเอื้ออาทร เกิดภาวะรู้เท่าทันด้านความมั่นคงของอาหาร การมีอาหารที่ปลอดภัย
การรู้เท่าทันโรค รู้เท่าทันสิ่งแวดล้อม มีการเตรียมตัวตั้งรับอย่างเหมาะสม
ในที่สุดบ้านก็จะกลายเป็นโรงพยาบาลขนาดเล็กเต็มพื้นที่ในชุมชน 5.  ขั้นสุดท้ายการยกตู้เย็นออกจากบ้าน (ออกจากครัว)
ด้วยเหตุผลที่ว่าสรรพสิ่งของทั้งหลายที่เป็นอาหารและเครื่องดื่มได้ถูกยกออกจากตู้เย็นไปปลูกอยู่ในบริเวณนอกบ้านทั้งหมด
เพียงแต่เก็บผลผลิตสดจากต้นมาปรุงกินหรือบริโภคสดได้ตลอดเวลา ตู้เย็นก็จะโล่งไม่มีอาหารชนิดไหนหลงเหลืออยู่ในตู้เย็นอีกต่อไป
ตู้เย็นก็หมดความหมาย คลายความสำคัญลง การทำบ้านให้เป็นโรงพยาบาลขนาดเล็กก็จะเกิดขึ้นได้โดยง่าย ด้วยโครงการยกตู้เย็นออกจากบ้านในวิถีปลูกเองกินเอง หรือกินทุกอย่างที่ปลูก
ปลูกทุกอย่างที่กิน ในกรอบความคิดที่ว่าครอบครัวมั่นคงด้วยเศรษฐกิจพอเพียง

ปัจจัยที่เป็นสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับ
  • คน:
  • สภาพแวดล้อม:
  • กลไก:
  • จุดหมาย/วัตถุประสงค์/เป้าหมาย:
  • ปัจจัยสำคัญที่เอื้อต่อความสำเร็จ/ตัวชี้วัด:
  • วิธีการสำคัญ:

ปัจจัยนำเข้า

ทุนของชุมชน
งบประมาณ
บุคลากร
ทรัพยากรอื่น

ขั้นตอนทำงาน

ผลผลิต

ผลลัพท์

ผลกระทบ

กลไกและวิธีการติดตามของชุมชน

กลไกและวิธีการประเมินผลของชุมชน