สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา

รีเฟรช
ชื่อเครือข่าย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา
ประเภท ความปลอดภัยด้านอาหาร
ที่ตั้ง ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ผู้ประสานงาน
  1. นางวิไลวรรณ สาครินทร์
  2. นางเปรมรัตน์ อุไรรัตน์
  3. นายบรรจง ฉายบุ
  4. นายดุลลิพัตร แจ้งใจ 
เบอร์โทรศัพท์ 074-326091-7 ต่อ 106 โทรศัพท์สายตรง 074-323292 โทรสาร 074-323292
อีเมล์ http://www.skho.moph.go.th
บทบาทหน้าที่
  1. รับเรื่องร้องเรียนปัญหาจากผู้บริโภคด้านผลิตภัณพ์สุขภาพ อันประกอบด้วย อาหาร ยา เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ วัตถุอันตรายภายในบ้านเรือน สถานพยาบาล ร้านขายยา สปา แพทย์แผนไทย
  2. ให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการด้านผลิตภัณฑ์สุภาพ  อันประกอบด้วย อาหาร ยา เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ วัตถุอันตรายภายในบ้านเรือน สถานพยาบาล ร้านขายยา สปา แพทย์แผนไทย  เพื่อให้สามารถดำเนินการผลิตได้อย่างถุกต้องตามหลักวิชาการและหลักกฎหมายกำหนด ซึ่งจะมี ศูนย์ให้บริการด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพแบบเบ็ดเสร็จ (one stop service)
  3. การพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค เช่น การส่งเสริมการรวมกลุ่ม ชมรม เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้บริโภค ผู้ประกอบการ  การอบรม บรรยายให้กับกลุ่มองค์กรต่างๆ
  4. งานด้านนโยบายของรัฐ เช่น โครงการไทยเข้มแข็ง การถ่ายโอนภารกิจงานคุ้มครองผู้บริโภคไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  5. งานด้านวิชาชีพ เช่น การจัดประชุมด้านวิชาชีพเภสัชกรรม การจัดตั้งชมรมกลุ่มของเภสัชกรและเจ้าพนักงานเภสัชกรรม การพัฒนาบทบาทของเภสัชกรในหน่วยบริการปฐมภูมิ
  6. การตรวจสอบเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพภายหลังออกสู่ท้องตลาด
ข้อจำกัดและเงื่อนไขในการดำเนินงาน

 

กิจกรรมที่ดำเนินการแล้ว

งานคุ้มครองผู้บริโภค

1 การควบคุมกำกับสถานผลิตอาหาร( Pre- Marketing  Control )

1.1 ตรวจ/ประเมินเพื่อออกใบอนุญาตสถานที่ผลิตอาหาร 59  แห่ง 79 ครั้ง

1.2 ตรวจติดตามการปรับปรุง/แก้ไขสถานที่ผลิตอาหาร 7 แห่ง 9 ครั้ง

1.3 ตรวจรับรองมาตรฐาน GMP จำนวน 6 แห่ง6 ครั้ง

2 การตรวจสอบเฝ้าระวังสถานที่ผลิต / จำหน่ายอาหาร(Post - Marketing  Control)

2.1 ตรวจติดตาม กำกับดูแลสถานที่ผลิตอาหาร 162 แห่ง ผ่านเกณฑ์ 156 แห่ง

2.2 ตรวจสถานที่จำหน่ายอาหาร  ได้แก่ ซุปเปอร์มาเก็ต ห้างสรรพสินค้า จำนวน16 แห่ง ผ่านเกณฑ์16 แห่ง

2.3 เก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์อาหาร ตรวจวิเคราะห์คุณภาพ จำนวน 71 ตัวอย่าง
ผ่านเกณฑ์ 59 ตัวอย่าง

3 ตรวจสอบเรื่องร้องเรียนและดำเนินการแก้ไขปัญหาตาม พ.ร.บ.อาหาร
พ.ศ. 2522 จำนวน 19 เรื่อง ดำเนินการแล้วเสร็จ  18 เรื่อง
อยู่ในระหว่างดำเนินการ 1 เรื่อง
4 การพัฒนาศักยภาพและขับเคลื่อนเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค

4.1 การประชุมเชิงปฏิบัติการแก่เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

4.2 การจัดอบรมแกนนำเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค

4.3 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคระดับอำเภอ

4.4 การประกวดผลงานเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคดีเด่นระดับจังหวัด

งานอาหารปลอดภัย

1 การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการอาหารและเครือข่าย

1.1 จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายผู้จำหน่ายอาหาร

1.2 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประกวดผลงานภาคีเครือข่ายอาหารปลอดภัย

1.3 ส่งเสริมให้มีตลาดตันแบบ “ ตลาดสดน่าซื้อ ”
โดยการจัดกิจกรรมรณรงค์พัฒนาตลาด การประชุมเชิงปฏิบัติการ แก่ผู้จำหน่ายสินค้าภายในตลาดและการนำไปศึกษาดูงาน

1.4 จัดการอบรมอสม.ให้สามารถมีส่วนร่วมเฝ้าระวังตรวจสอบความปลอดภัยด้านอาหารในชุมชน จำนวน 3 อำเภอ

1.5 จัดกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชนในงานเทศกาลต่างๆ
เช่น งานวันเด็กงานมหกรรมรวมพลังภูมิปัญญาไทย อาหารและสมุนไพรเพื่อสุขภาพ
งานมหกรรมสาธารณสุขรวมพลังสร้างสุขภาพเทิดไท้ 80 พรรษา
มหาราชินีงานเฉลิมฉลอง 120 ปี แห่งวันคล้ายวันพระราชสมภพพระบิดา ฯลฯ

2 ดำเนินงานโครงการรณรงค์อาหารสะอาดราคาถูก ถูกปาก ถูกใจ ถูกอนามัย
จังหวัดสงขลาตามนโยบายจังหวัดสงขลาโดยการประชุมผู้ประกอบการ
รณรงค์สร้างกระแสสร้างความตื่นตัวให้แก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภค
การนิเทศติดตาม ตรวจเยี่ยม ให้การสนับสนุนการดำเนินงาน แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

3 การตรวจสอบเฝ้าระวังสารปนเปื้อนในอาหาร

3.1 เก็บตัวอย่างตรวจวิเคราะห์สารปนเปื้อน  จำนวน 5,541 ตัวอย่าง
ผ่านเกณฑ์  5,190 ตัวอย่าง (ร้อยละ  93.7)

3.2 เก็บตัวอย่างตรวจวิเคราะห์ด้านจุลินทรีย์ จำนวน 555 ตัวอย่าง
ผ่านเกณฑ์ 411 ตัวอย่าง(ร้อยละ 74.1)

4 ดำเนินงานโครงการเฝ้าระวัง  ป้องกัน และควบคุมโรคไทฟอยด์ในอำเภอเมืองสงขลา

4.1 การอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการจำนวน 4 รุ่น  182 คน

4.2 การเข้าพบและชี้แจงแนวทางดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรค ไทฟอยด์แก่ผู้บริหารโรงเรียน

4.3 ตรวจประเมินโรงอาหารในโรงเรียน

4.4 การให้ความรู้แก่นักเรียนหน้าเสาธง จำนวน 5 โรงเรียน

4.5 การตรวจประเมินร้านอาหาร / แผงลอยจำหน่ายอาหารรอบรั้วโรงเรียน

4.6 การตรวจเยี่ยมสถานที่ปรุงอาหาร ณ อาคารที่พักอาศัย ของผุ้จำหน่ายอาหารประเภทกลุ่มเสี่ยง เช่น น้ำแข็งปั่น อาหารยำ  ฯลฯ

4.7 ตรวจสอบเฝ้าระวังสถานที่ผลิตน้ำแข็ง

4.8 อบรมผู้ประกอบการบดน้ำแข็ง / ค้าส่งน้ำแข็ง

4.9 การอบรมให้ความรู้ เรื่อง การดูแลควบคุมคุณภาพน้ำดื่มในโรงเรียน

4.10 การอบรมพัฒนาศักยภาพ อย.น้อย
ส่งเสริมการมีส่วนร่วมเฝ้าระวังอาหารปลอดภัยในโรงเรียนและรอบรั้วโรงเรียน

ชุดบทเรียน/ความรู้/กรณีศึกษาที่เป็นผลงานเด่น

 

เครือข่ายที่ทำงานด้วย

 

แผนงานในอนาคต

 


ไฟล์เอกสารประกอบ