สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี

รีเฟรช
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี
กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี ถนนดอนนก อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
โทรศัพท์ 077-273998 077-283703 โทรสาร 077-283703

1.รับเรื่องร้องเรียนปัญหาจากผู้บริโภคด้านผลิตภัณพ์สุขภาพ อันประกอบด้วย อาหาร ยา เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ วัตถุอันตรายภายในบ้านเรือน สถานพยาบาล ร้านขายยา สปา แพทย์แผนไทย

2.ให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการด้านผลิตภัณฑ์สุภาพ  อันประกอบด้วย อาหาร ยา เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ วัตถุอันตรายภายในบ้านเรือน สถานพยาบาล ร้านขายยา สปา แพทย์แผนไทย  เพื่อให้สามารถดำเนินการผลิตได้อย่างถุกต้องตามหลักวิชาการและหลักกฎหมายกำหนด ซึ่งจะมี ศูนย์ให้บริการด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพแบบเบ็ดเสร็จ (one stop service)

3.การพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค เช่น การส่งเสริมการรวมกลุ่ม ชมรม เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้บริโภค ผู้ประกอบการ  การอบรม บรรยายให้กับกลุ่มองค์กรต่างๆ

4.งานด้านนโยบายของรัฐ เช่น โครงการไทยเข้มแข็ง การถ่ายโอนภารกิจงานคุ้มครองผู้บริโภคไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

5.งานด้านวิชาชีพ เช่น การจัดประชุมด้านวิชาชีพเภสัชกรรม การจัดตั้งชมรมกลุ่มของเภสัชกรและเจ้าพนักงานเภสัชกรรม การพัฒนาบทบาทของเภสัชกรในหน่วยบริการปฐมภูมิ

6.การตรวจสอบ เฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพภายหลังออกสู่ท้องตลาด

เภสัชกรหญิง อังคนา ศรีนามวงค์  หัวหน้ากลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สสจ.สุราษฎร์ธานี

1.ร้องเรียนด้วยตนเองตามสถานที่ข้างต้น

2.ทางจดหมาย

3.โทรศัพท์ 077-273998,077-283703

4.เว็บไซต์ http://province.moph.go.th/suratthani

5.อีเมลล์:fdasurat@hotmail.com หรือ fdasuratfood@gmail.com

1.กลไกรับเรื่องร้องเรียน จะมีช่องทางรับเรื่องร้องเรียนจำนวน 4 ช่องทาง ประกอบด้วย ร้องเรียนด้วยตนเอง ทางจดหมาย ทางโทรศัพท์ และผ่านเว็บไซต์

2.กลไกการแก้ปัญหาผู้บริโภค เมื่อรับเรื่องร้องเรียนจะมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงของปัญหา อันประกอบด้วย การลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบข้อมูลข้อเท็จจริง หรือประสานงานผ่านเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอและเภสัชกรในพื้นที่ เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง การเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อตรวจสอบทางห้องปฏิบัติการ  ตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด การเชิญผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมาชี้แจงให้ข้อมูล หากข้อมูลครบถ้วนจะนำเสนอเรื่อง คณะกรรมการพิจารณาอนุญาตและคดี ของจังหวัดซึ่งมี นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเป็นประธานคณะกรรมการ และมีหัวหน้ากลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค ทำหน้าที่เป็นเลขานุการ เพื่อฟ้องร้องดำเนินคดี ปรับ เป็นต้น

3.กลไกการตรวจสอบเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพ  สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจะจัดทำแผนปฏิบัติการตรวจเฝ้าระวังประจำปีของจังหวัด และจะมอบถ่ายทอดแผนการตรวจเฝ้าระวังและเก็บตัวอย่างแก่อำเภอ

4.การพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค จะมีการประสานกับเครือข่ายวิทยุชุมชนและวิทยุกระแสหลักในการแจ้งข่าวสารกิจกรรมและปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพ การอบรมผู้ประกอบการ การจัดตั้งกลุ่มแกนนำนักเรียนด้านคุ้มครองผู้บริโภค(อย.น้อย)

1.ผู้บริโภคยังไม่ตระหนักและทราบถึงสิทธิ์ผู้บริโภค

2.ภาระงานที่มากส่งผลให้การทำงานยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร