การดำเนินงานโครงการการผลักดันข้อบัญญัติเรื่องความมั่นคงทางอาหารเพื่อสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชน

แผนงานความมั่นคงด้านอาหาร

by dezine @November,10 2014 15.19 ( IP : 202...1 )
ระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
1. รวบรวมเอกสารข้อมูลเบื้องต้น ดูภาพรวมโครงการ »
ศุกร์ 7 พ.ย. 57 - พุธ 12 พ.ย. 57 ศุกร์ 7 พ.ย. 57

แผนที่ ๑ พัฒนาข้อเสนอและมาตรการเรื่องความมั่นคงทางอาหาร

เฉพาะ ๒ กรณี

กรณีแรก เกษตรพันธสัญญา กรณีที่สอง การทำประมง อวนรุน อวนลาก

เพื่อเสนอและกดดันผู้ประกอบการที่สำคัญในจังหวัดสงขลา

ค้นหาทางอินเตอร์เน็ต / เดินทางไปที่สำนักงานสภาเกษตรกร ที่จังหวัดสงขลา เพื่อขอเอกสาร ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

๑.ได้เอกสารข้อเสนอและมาตรการเรื่องความมั่นคงทางอาหาร ๒ กรณี เกษตรพันธสัญญา และ การทำประมงอวนลุน อวนลาก

๒.ได้เสนอและกดดันผู้ประกอบการที่สำคัญในจังหวัด

ได้ข้อมูลเบื้องต้นจากอินเตอร์เน็ต กรณี เกษตรพันธสัญญา

อีกส่วน คือการประสานงานกับสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดสงขลา แนะนำตัวและทำความเข้าใจเบื้องต้นร่วมกันในกรอบงานของโครงการ และของสภาเกษตรกร ในเบื้องต้น ได้ขอรายชื่อคณะกรรมการสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดสงขลาเพื่อการขอรับการสนับสนุนในระดับพื้นที่ต่อไป

-

2. รวบรวมข้อมูลเอกสาร ข้อมูลเกษตรพันธสัญญา »
ศุกร์ 14 พ.ย. 57 - จันทร์ 17 พ.ย. 57 ศุกร์ 14 พ.ย. 57

แผนที่ ๑ พัฒนาข้อเสนอและมาตรการเรื่องความมั่นคงทางอาหาร เฉพาะ ๒ กรณี กรณีเกษตรพันธสัญญา และ การทำประมง อวนรุน อวนลาก เพื่อเสนอและกดดันผู้ประกอบการที่สำคัญในจังหวัดสงขลา

ค้นหาข้อมูล เอกสารเกษตรพันธสัญญา จากอินเตอร์เน็ต เดินทางไปทำความรู้จักและปรึกษาดูข้อมูลเบื้องต้นที่สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสงขลา

๑.ได้เอกสารข้อเสนอและมาตรการเรื่องความมั่นคงทางอาหาร ๒ กรณี เกษตรพันธสัญญา และ การทำประมงอวนลุน อวนลาก

๒.ได้เสนอและกดดันผู้ประกอบการที่สำคัญในจังหวัด

ได้เอกสารเกษตรพันธสัญญา และหนังสือ....เพื่อดูกรอบคิดและทำความเข้าใจเพื่อออกแบบรายละเอียดการทำงาน

-

3. รวบรวมข้อมูลเอกสาร ข้อมูลเกษตรพันธสัญญา »
ศุกร์ 14 พ.ย. 57 - จันทร์ 17 พ.ย. 57 อังคาร 2 ธ.ค. 57

แผนที่ ๑ พัฒนาข้อเสนอและมาตรการเรื่องความมั่นคงทางอาหาร เฉพาะ ๒ กรณี กรณีเกษตรพันธสัญญา และ การทำประมง อวนรุน อวนลาก เพื่อเสนอและกดดันผู้ประกอบการที่สำคัญในจังหวัดสงขลา สารที่ได้รับมา

ค้นหาข้อมูล เอกสารเกษตรพันธสัญญา จากอินเตอร์เน็ต เดินทางไปทำความรู้จักและปรึกษาดูข้อมูลเบื้องต้นที่สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสงขลา อ่านเอกสารที่ได้ ค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มทางอินเตอร์เน็ต

๑.ได้เอกสารข้อเสนอและมาตรการเรื่องความมั่นคงทางอาหาร ๒ กรณี เกษตรพันธสัญญา และ การทำประมงอวนลุน อวนลาก ๒.ได้เสนอและกดดันผู้ประกอบการที่สำคัญในจังหวัด

ได้กรอบคิดและแนวทางการจัดทำมาตรการ

-

4. รวบรวมข้อมูลเอกสาร ข้อมูลเกษตรพันธสัญญา »
พุธ 19 พ.ย. 57 - พฤหัสบดี 20 พ.ย. 57 พุธ 19 พ.ย. 57

แผนที่ ๑ พัฒนาข้อเสนอและมาตรการเรื่องความมั่นคงทางอาหาร
          เฉพาะ ๒ กรณี กรณีเกษตรพันธสัญญา และ การทำประมง อวนรุน           อวนลาก เพื่อเสนอและกดดันผู้ประกอบการที่สำคัญในจังหวัดสงขลา

ค้นหาข้อมูลงานวิจัยเกษตรพันธสัญญาจากห้องสมุด มอ. และค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ตต่อ

-

งานวิจัยเกษตรพันธสัญญาโดยตรง ยังไม่พบ มีคำแนะนำให้ค้นหาที่กรุงเทพ

-

5. เรียนรู้เรื่องการลงข้อมูลเว็บไซด์ »
พฤหัสบดี 20 พ.ย. 57 พฤหัสบดี 20 พ.ย. 57

แผนที่ ๑ พัฒนาข้อเสนอและมาตรการเรื่องความมั่นคงทางอาหาร
      เฉพาะ ๒ กรณี กรณีเกษตรพันธสัญญา และ การทำประมง อวนรุน อวนลาก เพื่อเสนอและกดดันผู้ประกอบการที่สำคัญในจังหวัดสงขลา

ฝึกปฏิบัติการ การจัดทำข้อมูลรายงานลงเว็ปโครงการ

๑.ได้เอกสารข้อเสนอและมาตรการเรื่องความมั่นคงทางอาหาร ๒ กรณี เกษตรพันธสัญญา และ การทำประมงอวนลุน อวนลาก

๒.ได้เสนอและกดดันผู้ประกอบการที่สำคัญในจังหวัด

ได้เรียนรู้และลองทำ

-

6. รวบรวมเอกสารข้อมูลเกษตรพันธสัญญา »
พฤหัสบดี 27 พ.ย. 57 พฤหัสบดี 27 พ.ย. 57

แผนที่ ๑ พัฒนาข้อเสนอและมาตรการเรื่องความมั่นคงทางอาหาร เฉพาะ ๒ กรณี กรณีเกษตรพันธสัญญา และ การทำประมง อวนรุน อวนลาก เพื่อเสนอและกดดันผู้ประกอบการที่สำคัญในจังหวัดสงขลา

ไปทำความรู้จักและขอดูข้อมูลเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟู ว่ามีผลกระทบจากกรณีเกษตรพันธสัญญาหรือไม่อย่างไร

๑.ได้เอกสารข้อเสนอและมาตรการเรื่องความมั่นคงทางอาหาร ๒ กรณี เกษตรพันธสัญญา และ การทำประมงอวนลุน อวนลาก ๒.ได้เสนอและกดดันผู้ประกอบการที่สำคัญในจังหวัด

ได้ข้อมูลเบื้องต้นจากอินเตอร์เน็ตกรณี เกษตรพันธสัญญา และในส่วนสภาเกษตรกร ได้รายชื่อคณะกรรมการสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดสงขลา

-

7. รวบรวมข้อมูลเอกสารเกษตรพันธสัญญา »
อาทิตย์ 30 พ.ย. 57 อาทิตย์ 30 พ.ย. 57

แผนที่ ๑ พัฒนาข้อเสนอและมาตรการเรื่องความมั่นคงทางอาหาร
เฉพาะ ๒ กรณี กรณีเกษตรพันธสัญญา และ การทำประมง อวนรุน อวนลาก เพื่อเสนอและกดดันผู้ประกอบการที่สำคัญในจังหวัดสงขลา สารที่ได้รับมา

อ่านเอกสาร

๑.ได้เอกสารข้อเสนอและมาตรการเรื่องความมั่นคงทางอาหาร ๒ กรณี เกษตรพันธสัญญา และ การทำประมงอวนลุน อวนลาก ๒.ได้เสนอและกดดันผู้ประกอบการที่สำคัญในจังหวัด

ได้ทราบ สรุป กรอบคิดเกษตรพันธสัญญา

-

8. แผนที่ ๑ พัฒนาข้อเสนอและมาตรการเรื่องความมั่นคงทางอาหาร เฉพาะ ๒ กรณี กรณีเกษตรพันธสัญญา และ การทำประมง อวนรุน อวนลาก เพื่อเสนอและกดดันผู้ประกอบการที่สำคัญในจังหวัดสงขลา สารที่ได้รับมา
อังคาร 2 ธ.ค. 57 - อาทิตย์ 7 ธ.ค. 57

อ่านเอกสารที่ได้ ค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มทางอินเตอร์เน็ต

 

 

 

 

9. รวบรวมข้อมูลเอกสารเกษตรพันธสัญญา »
จันทร์ 8 ธ.ค. 57 จันทร์ 8 ธ.ค. 57

แผนที่ ๑ พัฒนาข้อเสนอและมาตรการเรื่องความมั่นคงทางอาหาร เฉพาะ ๒ กรณี กรณีเกษตรพันธสัญญา และ การทำประมง อวนรุน อวนลาก เพื่อเสนอและกดดันผู้ประกอบการที่สำคัญในจังหวัดสงขลา สารที่ได้รับมา

อ่านเอกสาร เกษตรพันธสัญญา ผลตอบแทนความเสี่ยงและความเป็นธรรม ของ โครงการการคุ้มครองการพัฒนารูปแบบสัญญาที่เป็นธรรมและกลไกการจัดการ ศึกษาโดยคณะวิจัย ผู้ประสานงานโดย ชัฏทรวง หลวงพล

๑.ได้เอกสารข้อเสนอและมาตรการเรื่องความมั่นคงทางอาหาร ๒ กรณี เกษตรพันธสัญญา และ การทำประมงอวนลุน อวนลาก ๒.ได้เสนอและกดดันผู้ประกอบการที่สำคัญในจังหวัด

อ่านได้ ๒ บท การเกิดของเกษตรพันธสัญญา และผลสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ

-

10. รวบรวมข้อมูลเอกสารเกษตรพันธสัญญา »
ศุกร์ 19 ธ.ค. 57 - อาทิตย์ 21 ธ.ค. 57 ศุกร์ 19 ธ.ค. 57

แผนที่ ๑ พัฒนาข้อเสนอและมาตรการเรื่องความมั่นคงทางอาหาร เฉพาะ ๒ กรณี กรณีเกษตรพันธสัญญา และ การทำประมง อวนรุน อวนลาก เพื่อเสนอและกดดันผู้ประกอบการที่สำคัญในจังหวัดสงขลา สารที่ได้รับมา

อ่านเอกสารที่ได้ ค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มทางอินเตอร์เน็ต

๑.ได้เอกสารข้อเสนอและมาตรการเรื่องความมั่นคงทางอาหาร ๒ กรณี เกษตรพันธสัญญา และ การทำประมงอวนลุน อวนลาก ๒.ได้เสนอและกดดันผู้ประกอบการที่สำคัญในจังหวัด

ได้กรอบคิดและแนวทางการจัดทำมาตรการ

-

11. รวบรวมเอกสารข้อมูลเกษตรพันธสัญญา »
จันทร์ 22 ธ.ค. 57 - พฤหัสบดี 25 ธ.ค. 57 จันทร์ 22 ธ.ค. 57

แผนที่ ๑ พัฒนาข้อเสนอและมาตรการเรื่องความมั่นคงทางอาหาร เฉพาะ ๒ กรณี กรณีเกษตรพันธสัญญา และ การทำประมง อวนรุน อวนลาก เพื่อเสนอและกดดันผู้ประกอบการที่สำคัญในจังหวัดสงขลา สารที่ได้รับมา

ไปขอข้อมูล และเอกสารที่เกี่ยวข้อง

๑.ได้เอกสารข้อเสนอและมาตรการเรื่องความมั่นคงทางอาหาร ๒ กรณี เกษตรพันธสัญญา และ การทำประมงอวนลุน อวนลาก ๒.ได้เสนอและกดดันผู้ประกอบการที่สำคัญในจังหวัด

ไม่ได้ตามที่คาดหวัง ไม่มีข้อมูลที่ต้องการ

-

12. รวบรวมข้อมูลเอกสารเกษตรพันธสัญญา »
ศุกร์ 26 ธ.ค. 57 - อาทิตย์ 28 ธ.ค. 57 ศุกร์ 26 ธ.ค. 57

แผนที่ ๑ พัฒนาข้อเสนอและมาตรการเรื่องความมั่นคงทางอาหาร เฉพาะ ๒ กรณี กรณีเกษตรพันธสัญญา และ การทำประมง อวนรุน อวนลาก เพื่อเสนอและกดดันผู้ประกอบการที่สำคัญในจังหวัดสงขลา สารที่ได้รับมา

ไปขอข้อมูล เอกสารและความคิดเห็นเบื้องต้น

๑.ได้เอกสารข้อเสนอและมาตรการเรื่องความมั่นคงทางอาหาร ๒ กรณี เกษตรพันธสัญญา และ การทำประมงอวนลุน อวนลาก ๒.ได้เสนอและกดดันผู้ประกอบการที่สำคัญในจังหวัด

ทราบสถานการณ์เบื้องต้น

-

13. ประสานเตรียมการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกษตรพันธสัญญา »
ศุกร์ 2 ม.ค. 58 - จันทร์ 5 ม.ค. 58 ศุกร์ 2 ม.ค. 58

แผนที่ ๒ การแลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์และความเป็นไปได้ของข้อเสนอผ่านเวทีสาธารณะ และผ่านสื่อสาธารณะในจังหวัดสงขลาโดยเครือข่ายภาคประชาชน ภาคเอกชน ภาควิชาการ หน่วยงานรัฐ และท้องถิ่น

โทรศัพท์ คุยกรอบคิดปรึกษาความเป็นไปได้ของข้อเสนอผ่านเวทีสาธารณะ และผ่านสื่อสาธารณะในจังหวัดสงขลาโดยเครือข่ายภาคประชาชน ภาคเอกชน ภาควิชาการ หน่วยงานรัฐ และท้องถิ่น

ได้รู้สถานการณ์ ประเด็น การจัดทำกรอบมาตรการ

มีคนเห็นด้วยและ ยังไม่เข้าใจประเด็นนี้บางส่วน ยังต้องทำงานความคิดต่อประเด็นนี้อีกหน่อย

-

14. ประสานเตรียมการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกษตรพันธสัญญา »
พฤหัสบดี 8 ม.ค. 58 พฤหัสบดี 8 ม.ค. 58

แผนที่ ๒ การแลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์และความเป็นไปได้ของข้อเสนอผ่านเวทีสาธารณะ และผ่านสื่อสาธารณะในจังหวัดสงขลาโดยเครือข่ายภาคประชาชน ภาคเอกชน ภาควิชาการ หน่วยงานรัฐ และท้องถิ่น

โทรศัพท์ คุยกรอบคิดปรึกษาความเป็นไปได้ของข้อเสนอผ่านเวทีสาธารณะ และผ่านสื่อสาธารณะในจังหวัดสงขลาโดยเครือข่ายภาคประชาชน ภาคเอกชน ภาควิชาการ หน่วยงานรัฐ และท้องถิ่น

ได้รู้สถานการณ์ ประเด็น การจัดทำกรอบมาตรการ

เห็นแนวการทำเวทีฯ

-

15. เพื่อเตรียมการจัดเวทีแลกเปลี่ยน ดูกรอบร่างข้อเสนอ »
อาทิตย์ 11 ม.ค. 58 - ศุกร์ 16 ม.ค. 58 อาทิตย์ 11 ม.ค. 58

แผนที่ ๒ การแลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์และความเป็นไปได้ของข้อเสนอผ่านเวทีสาธารณะ และผ่านสื่อสาธารณะในจังหวัดสงขลาโดยเครือข่ายภาคประชาชน ภาคเอกชน ภาควิชาการ หน่วยงานรัฐ และท้องถิ่น

โทรศัพท์ คุยกรอบคิดปรึกษาความเป็นไปได้ของข้อเสนอผ่านเวทีสาธารณะ และผ่านสื่อสาธารณะในจังหวัดสงขลาโดยเครือข่ายภาคประชาชน ภาคเอกชน ภาควิชาการ หน่วยงานรัฐ และท้องถิ่น

ได้รู้สถานการณ์ ประเด็น การจัดทำกรอบมาตรการ

ความเข้าใจร่วมมากขึ้นแต่ยังไม่ออกแบบรายละเอียด

-

16. ประสานเตรียมการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกษตรพันธสัญญา »
จันทร์ 19 ม.ค. 58 - พุธ 21 ม.ค. 58 จันทร์ 19 ม.ค. 58

แผนที่ ๒ การแลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์และความเป็นไปได้ของข้อเสนอผ่านเวทีสาธารณะ และผ่านสื่อสาธารณะในจังหวัดสงขลาโดยเครือข่ายภาคประชาชน ภาคเอกชน ภาควิชาการ หน่วยงานรัฐ และท้องถิ่น

เดินทางไปคุยกรอบคิดปรึกษาความเป็นไปได้ของข้อเสนอผ่านเวทีสาธารณะ และผ่านสื่อสาธารณะในจังหวัดสงขลาโดยเครือข่ายภาคประชาชน ภาคเอกชน ภาควิชาการ หน่วยงานรัฐ และท้องถิ่น

ได้รู้สถานการณ์ ประเด็น การจัดทำกรอบมาตรการ

ทำความเข้าใจได้ดีขึ้น

-

17. ประสานเตรียมการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกษตรพันธสัญญา »
เสาร์ 24 ม.ค. 58 เสาร์ 24 ม.ค. 58

แผนที่ ๒ การแลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์และความเป็นไปได้ของข้อเสนอผ่านเวทีสาธารณะ และผ่านสื่อสาธารณะในจังหวัดสงขลาโดยเครือข่ายภาคประชาชน ภาคเอกชน ภาควิชาการ หน่วยงานรัฐ และท้องถิ่น

คุยเครือข่ายภาคประชาชน

ได้รู้สถานการณ์ ประเด็น การจัดทำกรอบมาตรการ

ได้แค่แจ้งทราบ มีภารกิจอื่นของภาคประชาชนด่วนกว่า อาทิ เรื่องความเดือดร้อนราคาและแนวทางกฏหมายยางพารา

-

18. ประสานเตรียมการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกษตรพันธสัญญา »
พุธ 28 ม.ค. 58 พุธ 28 ม.ค. 58

แผนที่ ๒ การแลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์และความเป็นไปได้ของข้อเสนอผ่านเวทีสาธารณะ และผ่านสื่อสาธารณะในจังหวัดสงขลาโดยเครือข่ายภาคประชาชน ภาคเอกชน ภาควิชาการ หน่วยงานรัฐ และท้องถิ่น

กรอบคิดปรึกษาความเป็นไปได้ของข้อเสนอผ่านเวทีสาธารณะในประเด็นนี้

ได้รู้สถานการณ์ ประเด็น การจัดทำกรอบมาตรการ

รับหลักการด้วยกัน

-

19. สังเคราะห์สถานการณ์ปัญหา จัดทำกรอบข้อเสนอมาตรการ »
จันทร์ 2 ก.พ. 58 - พฤหัสบดี 5 ก.พ. 58 จันทร์ 2 ก.พ. 58

แผนที่ ๑ พัฒนาข้อเสนอและมาตรการเรื่องความมั่นคงทางอาหาร        เฉพาะ ๒ กรณี กรณีเกษตรพันธสัญญา และ การทำประมง อวนรุน อวนลาก เพื่อเสนอและกดดันผู้ประกอบการที่สำคัญในจังหวัดสงขลา

ดูเอกสาร สังเคราะห์

๑.ได้เอกสารข้อเสนอและมาตรการเรื่องความมั่นคงทางอาหาร ๒ กรณี เกษตรพันธสัญญา และ การทำประมงอวนลุน อวนลาก ๒.ได้เสนอและกดดันผู้ประกอบการที่สำคัญในจังหวัด

ได้ความคิดกรอบเขียน

-

20. จัดทำกรอบคิด ประมวลสถานการณ์เตรียมร่างในการจัดทำมาตรการ »
จันทร์ 9 ก.พ. 58 - พฤหัสบดี 12 ก.พ. 58 จันทร์ 9 ก.พ. 58

แผนที่ ๑ พัฒนาข้อเสนอและมาตรการเรื่องความมั่นคงทางอาหาร เฉพาะ ๒ กรณี กรณีเกษตรพันธสัญญา และ การทำประมง อวนรุน อวนลาก เพื่อเสนอและกดดันผู้ประกอบการที่สำคัญในจังหวัดสงขลา สารที่ได้รับมา

ศึกษาเอกสาร สังเคราะห์

๑.ได้เอกสารข้อเสนอและมาตรการเรื่องความมั่นคงทางอาหาร ๒ กรณี เกษตรพันธสัญญา และ การทำประมงอวนลุน อวนลาก ๒.ได้เสนอและกดดันผู้ประกอบการที่สำคัญในจังหวัด

ได้กรอบเขียน

-

21. จัดทำกรอบคิด ประมวลสถานการณืเตรียมร่างในการจัดทำมาตรการ »
จันทร์ 16 ก.พ. 58 - พฤหัสบดี 19 ก.พ. 58 จันทร์ 16 ก.พ. 58

แผนที่ ๑ พัฒนาข้อเสนอและมาตรการเรื่องความมั่นคงทางอาหาร เฉพาะ ๒ กรณี กรณีเกษตรพันธสัญญา และ การทำประมง อวนรุน อวนลาก เพื่อเสนอและกดดันผู้ประกอบการที่สำคัญในจังหวัดสงขลา สารที่ได้รับมา

ศึกษาเอกสารและความคิดเห็นเบื้องต้น

๑.ได้เอกสารข้อเสนอและมาตรการเรื่องความมั่นคงทางอาหาร ๒ กรณี เกษตรพันธสัญญา และ การทำประมงอวนลุน อวนลาก ๒.ได้เสนอและกดดันผู้ประกอบการที่สำคัญในจังหวัด

ได้กรอบร่างแรก

-

22. จัดทำกรอบคิด ประมวลสถานการณืเตรียมร่างในการจัดทำมาตรการ »
ศุกร์ 20 ก.พ. 58 ศุกร์ 20 ก.พ. 58

แผนที่ ๑ พัฒนาข้อเสนอและมาตรการเรื่องความมั่นคงทางอาหาร เฉพาะ ๒ กรณี กรณีเกษตรพันธสัญญา และ การทำประมง อวนรุน อวนลาก เพื่อเสนอและกดดันผู้ประกอบการที่สำคัญในจังหวัดสงขลา สารที่ได้รับมา

เขียนร่างในการจัดทำมาตรการ

๑.ได้เอกสารข้อเสนอและมาตรการเรื่องความมั่นคงทางอาหาร ๒ กรณี เกษตรพันธสัญญา และ การทำประมงอวนลุน อวนลาก ๒.ได้เสนอและกดดันผู้ประกอบการที่สำคัญในจังหวัด

ได้กรอบร่างแรก

-

23. จัดทำกรอบคิด ประมวลสถานการณืเตรียมร่างในการจัดทำมาตรการ »
จันทร์ 23 ก.พ. 58 - อังคาร 24 ก.พ. 58 จันทร์ 23 ก.พ. 58

แผนที่ ๑ พัฒนาข้อเสนอและมาตรการเรื่องความมั่นคงทางอาหาร เฉพาะ ๒ กรณี กรณีเกษตรพันธสัญญา และ การทำประมง อวนรุน อวนลาก เพื่อเสนอและกดดันผู้ประกอบการที่สำคัญในจังหวัดสงขลา สารที่ได้รับมา

เขียนข้อเสนอและมาตรการเรื่องความมั่นคงทางอาหาร กรณี เกษตรพันธสัญญาเบื้องต้น

๑.ได้เอกสารข้อเสนอและมาตรการเรื่องความมั่นคงทางอาหาร ๒ กรณี เกษตรพันธสัญญา และ การทำประมงอวนลุน อวนลาก ๒.ได้เสนอและกดดันผู้ประกอบการที่สำคัญในจังหวัด

ได้ร่างแรก

-

24. จัดทำกรอบคิด ประมวลสถานการณืเตรียมร่างในการจัดทำมาตรการ »
พฤหัสบดี 26 ก.พ. 58 พฤหัสบดี 26 ก.พ. 58

แผนที่ ๑ พัฒนาข้อเสนอและมาตรการเรื่องความมั่นคงทางอาหาร เฉพาะ ๒ กรณี กรณีเกษตรพันธสัญญา และ การทำประมง อวนรุน อวนลาก เพื่อเสนอและกดดันผู้ประกอบการที่สำคัญในจังหวัดสงขลา สารที่ได้รับมา

เขียนเอกสาร

๑.ได้เอกสารข้อเสนอและมาตรการเรื่องความมั่นคงทางอาหาร ๒ กรณี เกษตรพันธสัญญา และ การทำประมงอวนลุน อวนลาก ๒.ได้เสนอและกดดันผู้ประกอบการที่สำคัญในจังหวัด

ได้ร่างแรก

-

25. การแลกเปลี่ยนข้อมูล »
อังคาร 3 มี.ค. 58 - เสาร์ 28 มี.ค. 58 อังคาร 3 มี.ค. 58

แลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์อาหารในจังหวัดสงขลา

แลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์อาหารในจังหวัดสงขลา

เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกลุ่มเกษตรกร  นักวิชาการ องคืกรพันาเอกชน และส่วนราชการ เพื่อนำไปสู่การผลักดันข้อเสนอ

แลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์อาหารในจังหวัดสงขลา

-

26. การแลกเปลี่ยนข้อมูล »
พฤหัสบดี 30 เม.ย. 58 พฤหัสบดี 30 เม.ย. 58

แลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์อาหารในจังหวัดสงขลา

แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเกษตรกร นักวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชน และส่วนราชการ

แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเกษตรกร นักวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชน และส่วนราชการ

แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเกษตรกร นักวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชน และส่วนราชการ

-

27. แลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์กลุ่มเกษตรกรและองค์กรพัฒนาเอกชน »
ศุกร์ 29 พ.ค. 58 ศุกร์ 29 พ.ค. 58

พูดคุยกลุ่มย่อยเกษตรกรและองค์กรพัฒนาเอกชน

พูดคุยกลุ่มย่อยเกษตรกรและองค์กรพัฒนาเอกชน

พูดคุยกลุ่มย่อยเกษตรกรและองค์กรพัฒนาเอกชน

พูดคุยกลุ่มย่อยเกษตรกรและองค์กรพัฒนาเอกชน

-

28. แลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์ร่วมกับนักวิชาการ และส่วนราชการ »
อังคาร 2 มิ.ย. 58 - จันทร์ 29 มิ.ย. 58 อังคาร 2 มิ.ย. 58

ร่วมพูดคุยกับนักวิชาการและส่วนราชการ

แลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์ร่วมกับนักวิชาการ และส่วนราชการ

ร่วมพูดคุยกับนักวิชาการและส่วนราชการ

แลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์ร่วมกับนักวิชาการ และส่วนราชการ

-

29. การสร้างมาตรการกดดันเพื่อทำข้อตกลงร่วมสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารจังหวัดสงขลา »
ศุกร์ 31 ก.ค. 58 ศุกร์ 31 ก.ค. 58

พุดคุยมาตรการข้อตกลงร่วมเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารในพื้นที่จังหวัดสงขลา

-

พุดคุยมาตรการข้อตกลงร่วมเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารในพื้นที่จังหวัดสงขลา

-

-

30. การสร้างมาตรการกดดันเพื่อนำไปสู่การทำข้อตกลงร่วมความมั่นคงทางอาหารจังหวัดสงขลา »
ศุกร์ 28 ส.ค. 58 ศุกร์ 28 ส.ค. 58

พูดคุยเพื่อหามาตรการข้อตกลงความมั่นคงทางอาหารในจังหวัดสงขลา

พูดคุยเพื่อหามาตรการข้อตกลงความมั่นคงทางอาหารในจังหวัดสงขลา

พูดคุยเพื่อหามาตรการข้อตกลงความมั่นคงทางอาหารในจังหวัดสงขลา

พูดคุยเพื่อหามาตรการข้อตกลงความมั่นคงทางอาหารในจังหวัดสงขลา

-

31. การประชุมให้ข้อเสนอแนะ และพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย กรณีระบบเกษตรพันธสัญญา การทำประมง อวนรุน อวนลาก และการทำประมงผิดกฎหมาย »
อังคาร 8 ก.ย. 58 อังคาร 8 ก.ย. 58

เวทีย่อย เฉพาะกลุ่มเกษตรกรผู้ที่ได้รับผลกระทบ ,องค์กรเกษตรกร /องค์กรชุมชน ,องค์พัฒนาเอกชน ภาควิชาการ ,องค์กรภาคเอกชน หน่วยงานรัฐและท้องถิ่น

เปิดประชุมโดย รศ.ดร.พงษ์เทพ สุธีรวุฒิ อธิบายการทำงานร่วมกับ สสส. เรื่องการบูรณาการระบบอาหารจังหวัดสงขลา ในกรณีการทำประมงด้วยเครื่องมือล้างผลาญทรัพยากร อวนรุน อวนลาก และเกษตรพันธะสัญญา ซึ่งทั้งสองกรณีส่งผลกระทบทำให้ความมั่นคงทางอาหารในพท.จังหวัดสงขลา ทำให้เกษตรกรไม่สามารถพึ่งตนเองได้

วาระการพุดคุย 1. เรื่อง เกษตรพันธสัญญา : ในการทำเกษตรพันธสัญญาในพท.สงขลามีข้อมูลน้อย เกษตรกรที่ทำในระบบนี้ยังขาดการเชื่อมกับหน่วยงานรัฐจากข้อมูลที่เราพบเห็นในจังหวัดสงขลา มีบริษัทใหญ่ๆอยู่ 3 บริษัท ที่ดำเนินการอยู่ คือ CP CPF เบทาโกร และยังมีบริษัทที่เล็กลงไป แต่ถือว่าเป็นบริษัทใหญ่เหมือนกัน คือ ลูกปลาฟาร์ม
ผลดี และผลเสียในระบบการทำเกษตรระบบเกษตรพันธสัญญา
ผลดี คือ การประกันราคา และกลไกตลาดที่บริบัทจะมีข้อมูลและความรู้ ขณะที่ผลเสีย คือ การผูกขาดภายใต้สัญญา สัญญาถูกกำหนดจากบริบัทเพียงฝ่ายเดียว ทำให้สัญญาขาดความเป็นธรรมอีกทั้งเกษตรกรขาดความรู้ในเรื่องสัญญา ภาวะความเสี่ยงของเกษตรกรมีทุกขั้นตอน ทั้งการลงทุนปรับปรุงพื้นที่ การสร้างโรงเรือนให้ได้มาตรฐาน ราคาสินค้า  ซึ่งเกษตรกรกู้ยืมมาจากธนาคารทั้งหมด  สิทธิ์ในทรัพยากรสาธารณะ ทั้งทรัพยากรน้ำ อากาศ หลายอย่างเริ่มถูกดูดเข้าไปในกลุ่มทุน และบริบัท และรวมไปถึงทรัพยากรทางชีวภาพ    แนวทางในการทำให้เกษตรสามารถพึ่งตนเองได้ และลดการผูกขาดในระบบเกษตรพันธสัญญา คือ การสร้างสมดุลในการผลิตและการตลาด การลดการผูกขาดของภาคเอกชน การส่งเสริมการรวมตัวของพี่น้องเกษตรกรเพื่อต่อรอง การผลิต การกำหนดราคา การประกันราคา การซื้อผลผลิต และสัญญาที่เป็นธรรม การควบคุมดูแลที่เท่าทันของภาครัฐ  สร้างตลาดให้เกษตรกร สร้างเรื่องการแบ่งปัน ให้ความรู้แก่เกษตรกรทำงานอย่างประณีตและทำให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น  มีการแบ่งที่ดินปลูกพืชเชิงเดี่ยวและเกษตรพอเพียงเกษตรกรผลิตคุณภาพอาหารที่ดี และเป็นธรรมกับผู้บริโภค

2.เรื่อง การทำประมง อวนรุน อวนลาก และประมงผิดกฎหมาย นายสาโรช อุบลสุวรรณ เจ้าหน้าที่ศูนย์อนุรักษ์ที่ 4 และนายจำรัส หวังมณีย์ ได้อธิบายสถานการณ์การทำประมงในพท.จังหวัดสงขลา ด้วยลักษณะของพท.สงขลาที่มีทะเล 2 ฝั่ง  คือฝั่งอ่าวไทย และทะเลสาบสงขลา ในทะเลอ่าวไทยจะมีการทำประมงเรืออวนลาก ส่วนในทะเลสาบสงขลา เครื่องมือที่ทำลายทรัพยากรสัตว์น้ำ เช่น เรืออวนรุนขนาดเล็ก ของชาวบ้านที่มีการดัดแปลง  ใช้เรือหางยาวธรรมดา ใช้เครื่องฮอนดาขนาด 9 แรง 15 แรง แรงงาน 2  คน มีประมาณ 200 ลำ มีการใช้อวนตาเล็กๆ จับลูกปู  ปลาขี้ตังขนาดเล็ก  และลอบไอ้โง่ ลักษณะคล้ายๆไซ สัตว์น้ำเข้าได้ทั้งซ้ายและขวา แต่พับได้และสามารถเคลื่อนย้ายที่ได้ โพงพาง ประมาณ 1,700 และไซนั่งประมาณ 20,000 กว่าลูก เต็มทะเลสาบ ทำให้ปริมาณสัตว์น้ำลดลงอย่างรวดเร็ว วิกฤตทะเลสาบสงขลาคือ ปริมาณสัตว์น้ำตามธรรมชาติ มีสัดส่วนน้อยที่จะขยาย หรือแพร่พันธุุืได้เอง ส่วนใหญ่สัตว์น้ำที่ชาวประมงจับได้ล้วนมาจากพันธุ์สัตว์น้ำ เช่น ลูกกุ้ง ปลา ที่กรมประมงปล่อย ในส่วนของการฟื้นฟูและอนุรักษ์ มีหลายพื้นที่ชุมชนที่อาศัยโดยรอบพื้นที่ทะเลสาบ เช่น พท.บางเหรียง อำเภอควนเนียง  พท.ตำบลป่าขาด อำเภอสิงหนคร  เริ่มทำเขตอนุรักษ์ ทำฟาร์มทะเล และการทำงานร่วมกับภาครัฐในการตรวจการณ์การเฝ้าระวังการทำประมงผิดกฎหมาย ซึ่งปัจจุบันตามคำสั่ง คสช. ฉบับที่ 24/2558 ปัจจุบันมีโทษปรับคนที่กระทำผิดตั้งแต่ 100,000-500,000 บาท และจำคุกไม่เกิน 5 ปี  โทษรุนแรงขึ้นมาก เช่น อวนรุนเป็นเครื่องมือประมงที่ห้ามมีไว้ในครอบครอง ซึ่งเดิมเจ้าหน้าที่ของรัฐจะจับได้ ต้องรอให้ชาวประมงมีการลงมือกระทำก่อน หากกฎหมายฉบับนี้ได้ระบุโทษ มีเครื่องมืออยู่ในครอบครองก็สามารถจับกุมได้    อวนลากขนาดช่องตาอวนก้นถุงเล็กกว่า 5 เซนติเมตร  และการรื้อถอนโพงพาง ไซนั่ง หรือเครื่องมือที่อยู่ในทะเลสาบสงขลา ต้องรื้อถอนออกทั้งหมด ไม่เฉพาะที่อยู่ในแนวร่องน้ำ  การทำงานในระดับพื้นที่การสำรวจเครื่องมือประมง  และแจ้งให้เจ้าของเครื่องมือทราบว่าเป็นเครื่องมือที่ผิดกฎหมาย และออกประกาศให้เจ้าของรื้อถอน หลังจากรื้อถอน ขั้นตอนสุดท้ายเป็นขั้นตอนการเยียวยา  เช่น เรื่องเครื่องมือ การสร้างอาชีพ  ซึ่งหากมาตรการดังกล่าวทำได้ผลทะเลสาบสงขลา จะฟื้นตัว

เวทีพุดคุยกลุ่มย่อย ของกลุ่มนักวิชาการ กลุ่มเกษตรกร หน่วยงานรัฐ และท้องถิ่นในการให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเกษตรพันธสัญญา และการทำประมงผิดกฎหมาย

ได้ข้อเสนอแนะในการประสานบุคคลากรของหน่วยงานรัฐ และอปท.ในการเข้าร่วมแลกเปลี่ยนและจัดทำข้อเสนอทางนโยบายสาธารณะ  ของพื้นที่ที่กี่ยวกับเกษตรพันธสัญญา และประมงผิดกฎหมายในวันที่ 16 กันยายน 2558 เพื่อนำไปสูประเด็นการสร้างความมั่นคงทางอาหารในพื้นที่จังหวัดสงขลา

-

32. การประชุมแลกเปลี่ยนสถานการณ์และจัดทำข้อเสนอนโยบายสาธารระเพื่อความมั่นคงทางอาหาร กรณีเกษตรพันธสัญญา และกาทำประมงผิดกฎหมาย »
พุธ 16 ก.ย. 58 พุธ 16 ก.ย. 58

จัดเวทีประชุมแลกเปลี่ยนสถานการณ์และจัดทำข้อเสนอนโยบายสาธารระเพื่อความมั่นคงทางอาหาร กรณีเกษตรพันธสัญญา และกาทำประมงผิดกฎหมาย

มีการระดมความคิดเห็นจากส่วนราชการ ภาคเอกชน  เกษตรกร  นักวิชาการ  ซึ่งได้แบ่งออกเป็น 2 ช่วง ในภาคเช้า และภาคบ่าย ดำเนินรายการโดยคุณเอกชัย อิสระทะ

-เปิดการประชุมในภาคเช้า โดยรศ.ดร.พงษ์เทพ  สุธีรวุฒิ ได้กล่าวการทำงานระหว่างสถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้ร่วมกับ สสส. หนึ่งในนั้นคือ ทำเรื่องบูรณาการระบบอาหารจังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นพื้นที่นำร่องมีอยู่2ที่ คือ จังหวัดเชียงรายและจังหวัดสงขลา ในส่วนของจังหวัดสงขลาทำอยู่ 3 เรื่อง คือ ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย
-ความมั่นคงทางอาหาร หมายความว่า การทำงานโดยเพิ่มพื้นที่ของอาหาร พูดถึงอาหารของคน -อาหารปลอดภัย คือ บริโภคอาหารที่ไม่ปนเปื้อนสารเคมี -โภชนาการสมวัย คือ กินอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน
ความมั่นคงทางอาหารอยู่ 2 เรื่อง คือ เกษตรพันธะสัญญา กับ เรื่องประมง เรืออวนรุน อวนลาก ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ สถานการณ์ 2 ปี พบว่าจังหวัดสงขลา มีพื้นที่ผลิตอาหารลดน้อยลงไปเรื่อยๆ 60 % ซึ่งเป็นพื้นที่เกษตรเชิงเดี่ยว สวนยางและสวนปาล์ม นาข้าวจะเปลี่ยนเป็นสวนยางสวนปาล์มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แนวโน้มอาหารจะมีไม่เพียงพอ การทำเกษตรปัจจุบันก็เป็นแบบพึ่งพิงนายทุน เช่น เมล็ดพันธุ์ ลูกพันธุ์ ยา ปุ๋ย จนถึงการตลาด เช่น ซีพี ซึ่งระบบการพึ่งพิงของชุมชนจะหายไป ซื้อขายให้บริษัททั้งหมด  เกษตรกรเป็นลูกจ้างบริษัทแต่เป็นในรูปแบบแรงงานนอกระบบ  เกษตรกรมีหน้าที่ทำงานและป้อนผลผลิตให้บริษัท แต่ความเสี่ยงต่างๆอยู่ที่ตัวเกษตรกร ภาคใต้มีบริษัทใหญ่ เช่น เบทาโกร บริษัทซีพี หรือ บริษัทในพื้นที่ ในส่วนของจังหวัดสงขลาพบว่าเกษตรกรจะทำในรูปแบบเกษตรพันธะสัญญาและเลี้ยงแบบอิสระ กรณีการเลี้ยงไก่ และหมู  ในระบบเกษตรพันธะสัญญา 100% คือ ไก่เนื้อ และไก่ไข่รุ่น เนื่องจากว่า บริษัทที่ผลิตไข่เพื่อมาเป็นแม่ไก่ไข่มีอยู่บริษัทเดียวในภาคใต้ คือ ซีพี ทำสัญญากับบริษัทว่าจะเอาลูกไก่มาเลี้ยง เพราะไม่สามารถหาลูกไก่จากที่ไหนไปเลี้ยงได้ ต้องเอาจากฟาร์มที่ทำสัญญา เมื่อไก่โตบริษัทจะจับไปให้บริษัทที่เลี้ยงไก่รุ่นเพื่อให้เป็นแม่ไก่ไข่ต่อไป  ในการนำลูกไก่มาแต่ละครั้งเป็นหมื่นตัว การที่เกษตรกรจะเลี้ยงและไปขนมาเองก็ไม่คุ้ม ก็ต้องทำสัญญากับบริษัท เพราะบริษัทมีศักยภาพขนส่ง เช่น 4-5หมื่นตัว แล้วนำมาส่งให้ลูกค้า บริษัทใหญ่ทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร ส่วนบริษัทรายย่อยสัญญาลักษณะปากเปล่า ในการเลี้ยงจะมีข้อดี และข้อเสียแตกต่างกันไปซึ่งเป็นสิ่งที่เกษตรกรในพื้นที่ต้องแบกรับ กรณีการเลี้ยงไก่ และเลี้ยงหมู เช่น ข้อดีของเกษตรพันธะสัญญาคือ คนเลี้ยงสบาย ทำตามที่บริษัทบอกอย่างเดียว รับรู้แต่เทคนิคของบริษัท แต่ไม่รับรู้ว่าเทคนิคภายนอกเป็นอย่างไร การเลี้ยงมีแบบคิดราคาเป็นตัวหรือเป็นกิโล ซึ่งเป็นแบบจ้างเลี้ยง และเลี้ยงแบบประกันราคาซึ่งเกษตรกรไม่มีความเสี่ยง  การประกันราคาเป็นแบบจ้างเลี้ยง สิ่งหนึ่งที่ตามมาคือ จะถูกบริษัทบีบเข้าสู่มาตรฐานฟาร์ม  ระบบเกษตรพันธะสัญญาที่เข้ามาตรฐานฟาร์มกับไม่เข้ามาตรฐานฟาร์ม ระบบที่เข้ามาตรฐานฟาร์มจะมีสัตวบาล สัตวแพทย์ควบคุมการใช้ยา ซึ่งระบบเกษตรพันธะสัญญาส่วนใหญ่เข้ามาตรฐานฟาร์มเกือบทั้งหมด และการใช้ยาในไก่จะใช้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น และมีระยะหยุดยาตามระบบ ไม่น้อยกว่า 14 วัน เพราะฉะนั้นมั่นใจได้ว่าจะไม่มียาตกค้างถึงผู้บริโภค  การใช้สารเคมี เช่น ฮอร์โมนในไก่และปลา เช่น การใช้ฮอร์โมนเพศผู้ในปลาทับทิมการทำให้ปลาโตเร็ว ส่วนไก่ใช้ฮอร์โมนเพศเมีย การใช้ฮอร์โมนนักวิชาการมองเป็นเรื่องอันตราย เช่น กรณีเด็กที่บริโภคไก่ทอดในปริมาณที่มากเกินไปทำให้ร่างกายมีภาวะที่เติบโตเร็ว เป็นหนุ่ม เป็นสาวเร็วกว่าเด็กปกติทั่วไป ตลอดจนการนำฮอร์โมนมาใช้ก็มีความผิดในทางกฎหมาย  ซึ่งปศุสัตว์ก็รู้ว่าเกษตรกรใช้ฮอร์โมน แต่ไม่สามารถปฎิษัติให้เป็นไปตามกฎหมาย
ข้อเสีย ปัญหาหลักๆ
1.ปัญหาความไม่เท่าเทียมกันระหว่างเกษตรกรและบริษัท ซึ่งตัวเกษตรกรเรามีข้อมูลน้อยมาก เมื่อเทียบกับบริษัท
2.ปัญหาความไม่เท่าเทียมในเรื่องของความเสี่ยง ภาคเอกชนจะผลักความเสี่ยงในขั้นตอนการผลิตให้กับเกษตรกร และความไม่เท่าเทียมกันของผลประโยชน์ที่ได้ 3. ปัญหาความไม่เท่าเทียมกันในด้านของการบังคับใช้กฎหมาย เพราะว่าบริษัทเป็นต่อในเรื่องของสัญญา สัญญามีเพียงชุดเดียว โดยบริษัทเป็นผู้เก็บและใช้ต่อรองกับเกษตรกร เกษตรกรยังขาดศักยภาพความเข้าใจในเรื่องของสัญญา
4. ความสามารถในการบริหารจัดการฟาร์ม ขาดการร่วมกลุ่ม แนวทางในการลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างความในระบบเกษตรพันธะสัญญา

การขับเคลื่อน และแนวทางพัฒนาต่อ -กรณีของตำบลควนรู การเลี้ยงหมูแบบเกษตรพันธะสัญญาที่เกษตรกรทำกับบริษัทซีพี เลิกกิจการเกือบทั้งหมด เนื่องจากพอถึงจุดคุ้มทุน บริษัทก็จะให้เปลี่ยนระบบใหม่ เกษตรกรต้องลงทุนใหม่  ตอนนี้มีการเลี้ยงไก่เนื้อแทน กำลังก่อสร้างโรงเรือน ซึ่งทางท้องถิ่นเป็นแค่ผู้อนุญาตให้ก่อสร้างอาคาร แต่ต้องผ่านทางประชาคมหมู่บ้าน และหากการเลี้ยงมีผลกระทบต่อชุมชนก็จะให้เลิกทันที  และทำเป็นพื้นที่นำร่องในเรื่องของการผลิตผักปลอดสารพิษ สถาบันวิชาการสนับสนุน แต่ละภาคส่วนร่วมมือกัน ก็จะทำให้ชุมชนเข้มแข็งขึ้น ซึ่งจะลดเกษตรกรที่จะเข้าสู่ระบบเกษตรพันธะสัญญา

-มาตการทางกฎหมาย พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธะสัญญาที่เป็นธรรม ซึ่งผ่านสภาปฏิรูปแห่งชาติ และเสนอ ครม. พรบ.ฉบับนี้ไปเกี่ยวกับสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ซึ่งทำเรื่องของเกษตรพันธะสัญญา ร่าง พรบ.ฉบับนี้ ซึ่งมีอยู่ 5 หมวด และหมวดเฉพาะกาล มี 23 มาตรา กล่าวคือ 1.มีการจัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธะสัญญาที่เป็นธรรม มีรัฐมนตรีที่นายกมอบหมายเป็นประธาน มีหน้าที่ในการจัดทำยุทธศาสตร์ จัดทำแผนแม่บท กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขการจดแจ้งธุรกิจทางการเกษตร พัฒนาศักยภาพเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ในภาครัฐ

2.เรื่องของการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธะสัญญาที่เป็นธรรม เพื่อรองรับคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธะสัญญาที่เป็นธรรม ภายใต้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ซึ่งต้องผ่าน ครม. ตามโครงสร้าง มีหน้าที่ดุแลเรื่องระบบข้อมูล รับแจ้ง การตรวจสอบและตัวกลางประสานงาน

3.เรื่องของการจดแจ้งและเปิดเผยข้อมูล ซึ่งสัญญาจะไม่มีปกปิดเป็นความลับ ซึ่งคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธะสัญญาที่เป็นธรรม จะต้องทำหน้าที่ดูแลระบบการจดแจ้งของบริษัท ให้ประชาชนทั่วไปเข้าถึงและตรวจสอบผู้ประกอบการได้

4.สัญญาข้อตกลงมาตรฐานและข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธะสัญญาที่เป็นธรรมจะต้องมีข้อกำหนดเรื่องของมาตรฐานขั้นต่ำ

5.การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทและการคุ้มครองคู่สัญญาในระหว่างการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธะสัญญาที่เป็นธรรม ต้องทำหน้าที่เป็นตัวกลาง นำผู้ที่พิพาทเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย

6.เป็นบทกำหนดโทษ คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธะสัญญาที่เป็นธรรมหรือเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องมาชี้แจง

ภาคบ่าย

จังหวัดสงขลาในอดีตเป็นทะเลสาบที่อุดมสมบูรณ์ มีสัตว์น้ำกว่า 700 ชนิด หากในปัจจุบันสถานการณ์ปัญหาการใช้เครื่องมือประมงผิดกฎหมาย เรือประมงอวนรุน  อวนลาก  เรืออวนลากเดี่ยวขนาดเล็กใช้เรือหางยาว มีคน 2 คน ประมาณ 100 ลำ และมีอวนลากแผ่นตะเข้ พบอวนรุนในพื้นที่ทะเลสาบตอนล่าง ประมาณ 200 ลำ โพงพาง ไซนั่ง และไอ้โง่ (ไซหนอน) และทะเลสาบตอนบนจะมีปัญหาเรื่อง ช๊อตปลา ยาเบื่อ ปัญหาทั้งทะเลนอกและทะเลสาบเป็นปัญหาเรื้อรังมาจนถึงปัจจุบัน การจัดการเพื่อไม่ให้มีเครื่องมือการทำการประมงผิดกฎหมายมีมาตั้งแต่สมัยพลเอกเปรมเป็นนายกรัฐมนตรี เช่น การจัดสรรที่ให้คนที่อยู่รอบทะเลสาบสงขลาหันไปประกอบอาชีพอื่น ก็ไม่ประสบความสำเร็จ และเป็นปัญหาต่อเนื่องมาอย่างยาวนาน งบประมาณในการวิจัยแก้ไขปัญหาในทะเลสาบ มีการทุ้มงบประมาณหมื่นล้านบาท ที่มีงานวิจัยในมหาวิทยาลัย เช่น ม.ทักษิณ มอ. และม.ราชภัฏสงขลา ซึ่งมีแต่ข้อมูล แต่ในทางปฎิบัติยังไม่เกิดผลสัมฤทธิ์    ในรัฐบาลชุดพล.อ.ประยุทธ์  ได้มีคำสั่ง คสช.24/2558 สามารถจับผู้กระทำผิดที่มีเครื่องมือประมงผิดกฎหมายไว้ในครอบครองได้โดยที่ไม่ต้องอยู่ในระหว่างการกระทำผิด ประมงออกกฎหมายมาใหม่ซึ่งมีแต่ตัวแม่บท ยังต้องอ้างกฎหมายลูกซึ่งเป็นกม.เก่า ซึ่งพ.ร.บ.ตัวนี้น่าจะมีปัญหาผลที่ตามมา คือ กฎหมายออกมาดี แต่มีปัญหาตอนบังคับใช้  เนื่องจากหน่วยงานงานที่มีพ.ร.บ.เป็นของตัวเอง แต่ไม่มีหน่วยงานของตัวเองที่มีพนักงานสอบสวน นอกจาก สภ.ในพื้นที่ ที่มีอำนาจสอบสวนจนไปถึงในชั้นศาล เจ้าหน้าที่ประมงจับกุมได้ เมื่อส่งถึงโรงพัก ก็หมดหน้าที่ ไม่มีอำนาจอะไรอีก ก็เป็นอำนาจหน้าที่ของตำรวจ อัยการและศาล การทำงานของสมาพันธ์ประมงก็เช่นกัน การทำงานในทะเลสาบก็จะถูกจำกัดไปด้วยหลายๆข้อ จากการที่ปฏิบัติหน้าที่ของศูนย์บริหารจัดการประมงฯ สามารถจับเครื่องมือประมงผิดกฎหมาย คือ อวนรุน อวนลาก โพงพาง ไอ้โง่หรือลอบพับ เพิ่งแพร่มาสู่สงขลาไม่เกิน 2 ปี รายงานผลการจับกุม เฉพาะอวนรุนในทะเลสาบสงขลา ปี 2555 จับอวนรุนได้ 22 ลำ ผู้ต้องหา 20 ราย ซึ่งเรือที่ได้จากการจับกุมทุกลำ ศาลสั่งยึดเป็นทรัพย์สินของรัฐ ปี 2556 จับอวนรุนได้ 26 คดี ผู้ต้องหา 19 ราย ปี 2557 จับอวนรุนได้ 35 คดี ผู้ต้องหา 36 ราย ปี 2558 จับกุมได้ 11 คดี ผู้ต้องหา 16 ราย ในปี 2557 เริ่มมีเครื่องมือบางชนิดกลับเข้ามาในทะเลสาบ คือ อวนลากข้าง และอาศัยตามคำสั่ง คสช. ที่ 24/2558 เจ้าหน้าที่ได้ยึดไซนั่ง ที่อยู่ในน้ำ 250 กว่าลูก  ลอบไอ้โง่ หรือไซหนอน ลอบพับ ลอบคอนโด ซึ่งเป็นลอบที่มีงาทั้ง 2 ข้าง ความยาวเกือบ 10 เมตร:ลูก สามารถวางต่อกันได้  ส่วนใหญ่ชาวประมงมีไว้ในครอบครองเกิน 20 ลูก:คน เครื่องมือทุกอย่างอยู่ในทะเลสาบตอนนี้รวมทั้งอวนล้อม การทำประมงในที่สาธารณะ ต้องมีอาญาบัตร หรือใบอนุญาต สงขลามีพื้นที่ประกาศให้ทำไซนั่งได้ 300 กว่าไร่ 2 แปลง คือ ทางทิศตะวันตกของเกาะยอ แต่ต้องขออาญาบัตรจากสำนักงานจังหวัด
การแก้ปัญหาให้ปฏิบัติตามกฎหมายเป็นเรื่องที่ยาก เพราะความแตกแยก ตั้งแต่ระดับหมู่บ้านจนถึงระดับชาติ เพราะฉะนั้น ต้องสร้างความเข้าใจของคนในพื้นที่ บทบาทของราชการ และการใช้งานวิจัยควบคู่ในการแก้ปัญหา ในปี 2556 เครือข่ายชุมชนรอบทะเลสาบ มีการทำฟาร์มทะเล เช่น คูเต่า แหลมโพธิ์    บางเหรียง ปากรอ ทำนบ ท่าเสา พื้นที่นำร่องพื้นที่แรก คือ หมู่ 1 ตำบลป่าขาด โดยการขอพื้นที่คืนและรื้อเครื่องมือพวกไซหนอน ออกจากพื้นที่ที่ห่างจากฝั่ง 300 เมตร ยาว 3 กิโลเมตร ซึ่งเราทำครั้งแรก และทำการขยายมาเรื่อยๆ ที่หมู่ 2 ท่าเสา ที่สามารถดำเนินการเรื่องนี้ได้ง่าย เพราะทุกหน่วยงานได้ให้ความสำคัญ โดยเฉพาะองค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีที่ทำให้เกิดการรวมกลุ่ม และช่วยกันดูแลรักษาทรัพยากร
ในการทำเขตอนุรักษ์ สาเหตุจากสัตว์น้ำทะเลสาบหายไป ทะเลสาบเสื่อมโทรม เพราะเครื่องมือประมงผิดกฎหมาย รุนแรง บางคนทำลายป่าโกงกาง รุกล้ำทำนากุ้ง ทำลายแหล่งที่อยู่ของสัตว์น้ำ กระทบกับวิถีชีวิตของคน จึงมีแนวคิดทำเรื่องฟาร์มทะเล ปัญหาหนักของท้องถิ่นในการจัดการทะเลสาบ  คือ ชาวบ้านไม่เข้าใจว่าทำไมต้องมีเขตอนุรักษ์ ชาวบ้านไม่ยอม แต่คิดว่า อีก 2-3 ปีคงจะเลิกเอง เพราะทะเลสาบไม่มีสัตว์น้ำ จากการหารือกับหน่วยงานในท้องถิ่น คือ การเยียวยาจากรัฐ ในการปรับเปลี่ยนเครื่องมือประมง เช่น ไซนั่งหนึ่งลูก ลูกละ 10,000 -3,000 บาท ทะเลสาบสงขลามีค่า มีโฉนดในทางปฏิบัติ และซื้อขายกัน พอขอเขตคืนเพื่อทำเขตอนุรักษ์เกิดกรณีพิพาท ชายฝั่งทะเลสาบมีสภาพน้ำตื้น มีตะกอนมาก อาจจะต้องมีการขุดลอกชายฝั่ง หากจะมีการทำฟาร์มอนุรักษ์เพื่อให้เกิดผลสำเร็จ สมาคมประมงฯสทิงพระ ปัญหาทะเลสาบนอกจากเครื่องมือประมงผิดกฎหมาย ผลกระทบอีกด้านคือ การขุดเจาะน้ำมัน ในกระบวนการขุดเจาะ ตั้งแต่ปี 2551 เกิดตะกอนที่อยู่ในน้ำ พอหน้ามรสุมคลื่นน้ำจะดำผิดปกติ ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นก่อนที่จะมีการขุดเจาะ ของที่ปนอยู่ในน้ำทำให้สัตว์น้ำบางชนิดหายไป เช่น กุ้งเคย ในอดีตคนที่อยู่ชายฝั่งสามารถลากเอากุ้งเคยในช่วงมรสุม ปีละ 2-3 ร้อยกิโล ซึ่งตอนนี้ไม่มี และกุ้งแชบ๊วยที่ลดลง ช่วงหมดมรสุม ปลาทูจะเข้า พอมีฐานขุดเจาะน้ำมัน ปลาทูก็ไม่เข้าตามฤดูกาล ถ้าจะจับปลาให้ได้ ก็ต้องออกเรือให้เลยฐานขุดเจาะ เช่น บริเวณเกาะหนู บ่ออิฐ เทพา ระโนด และหัวไทร การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเรื่องการขุดเจาะที่ใหม่ ซึ่งมีอยู่ก่อนแล้ว 9 จุด และกำลังจะขุดเพิ่มอีก 5 จุด ระยะ 8-12 กิโล แต่พื้นที่สัมปทานถึงฝั่ง แค่ฐานขุดเจาะเท่านั้นที่ห่างฝั่ง 9 กิโลเมตร ในกระบวนการขุดเจาะในลักษณะดิ่งและเอียงแต่ไม่เกินพื้นที่สัมปทาน การใช้สารเคมี ซึ่งยังมีความขัดแจ้งของข้อมูลกับกลุ่มประมงหลายเรื่อง เช่น การตรวจวัดสารเคมีในปลา แต่บริษัทไม่ยอมโดยให้เหตุผลในการขุดเจาะใช้น้ำ 90 % และอีก 10% ใช้สารเคมีหรือไม่ และเรื่องค่าภาคหลวงการสัมปทานยังใช้แบบเก่า ไม่ได้แบ่งตัวทรัพย์สิน ดังนั้นการแบ่งปันคืนกำไรให้กับสังคมอาจจะมีให้อย่างน้อย 5 % เพื่อชดเชยและให้มีการทำเขตอนุรักษ์ให้ชาวบ้าน  ทั้งนี้ในการแก้ปัญหาทะเลสาบการใช้กฎหมายในปัจจุบันมีความชัดเจนมากขึ้นในแง่ของเครื่องมือประมงที่ผิดกฎหมายทุกชนิดต้องมีการจัดการ การบังคับใช้กฎหมายระหว่างผู้มีอำนาจไปจับกุมกับพี่น้องชาวประมงที่กระทำความผิด เพราะกฎหมายมันมีข้อจำกัดอาจจะต้องมีการศึกษาต่อ การประสานความร่วมมือทั้ง ภาครัฐ เอกชน ตลอดจนศูนย์บริหารจัดการประมงฯและศูนย์อนุรักษ์ฯในการสร้างกลไกเชื่อมต่อกับเครือข่ายประมงฯ ร่วมกับชาวบ้าน อาสาสมัคร การฝึกอบรม เพื่อนำไปสู่การอนุรักษ์ และการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน

จัดเวทีระดมความคิดเห็นแลกเปลี่ยนสถานการณ์และจัดทำข้อเสนอนโยบายสาธารระเพื่อความมั่นคงทางอาหาร กรณีเกษตรพันธสัญญา และกาทำประมงผิดกฎหมาย

ได้แนวทางในการขับเคลื่อนการทำงานร่วมกันของภาคส่วนต่างๆ -สถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้ : จัด พท.นำร่องในการผลิตอาหารปลอดภัยระหว่างเกษตรกร และและผู้ประกอบการ ในการจัดเป็นแหล่งจำหน่ายผลผลิตให้กับผู้บริโภค เช่น ห้างสรรพสินค้า

-