ติดตามผลการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคและสถานการณ์สุขภาพระยะยาว (Cohort – Study) ปีที่ 2

แผนงานโภชนาการและอาหารคุณภาพเพื่อให้มีโภชนาการสมวัย

by dezine @September,22 2014 11.07 ( IP : 202...129 )
ระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
1. สังเคราะห์และจัดทำรายงานการสำรวจปัจจัยแวดล้อมในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน »
จันทร์ 9 มิ.ย. 57 - พุธ 20 ส.ค. 57 จันทร์ 9 มิ.ย. 57

วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจปัจจัยแวดล้อมในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนของพื้นที่เป้าหมาย

  1. เข้าข้อมูลแบบสอบถามที่ได้จากการสำรวจสภาพแวดล้อมด้านอาหารและโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนในพื้นที่ต.ควนรู อ.รัตภูมิ ต.ชะแล้ อ.สิงหนคร ต.ท่าหิน อ.สทิงพระ และต.รัตภูมิ อ.ควนเนียง จำนวน 20 ชุด โดยใช้โปรแกรม EpiData

- สร้างไฟล์ .qes โดยการตั้งรหัสของข้อคำถามในแบบสอบถามการสำรวจศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 30 ข้อ มีจำนวนช่องสำหรับป้อนข้อมูล 243 ช่อง
- สร้างไฟล์ .qes ของแบบสอบถามการสำรวจโรงเรียน 30 ข้อ มีจำนวนช่องสำหรับป้อนข้อมูล 973 ช่อง - สร้างไฟล์ .rec เพื่อเข้าข้อมูล โดยการ Make data file จากไฟล์ .qes ของแบบสอบถามทั้ง 2 ชุด
- สร้างไฟล์ .chk ของแบบสอบถามทั้ง 2 ชุด เพื่อกำหนดค่า check สำหรับตัวแปรต่างๆ - Enter Data โดยเข้าข้อมูลจากแบบสอบถามการสำรวจศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำนวน 8 ชุด และแบบสอบถามการสำรวจโรงเรียนจำนวน 12 ชุด ใช้วิธี Double Entry โดยทำการคีย์ข้อมูลแต่ละชุดจำนวน 2 ครั้ง นำข้อมูลทั้ง 2 ครั้งมาเปรียบเทียบกันว่ามีเนื้อหาข้อมูลต่างกันตรงไหนบ้าง ถ้ามีความแตกต่างก็นำมาตรวจสอบความถูกต้องกับต้นฉบับและแก้ไขข้อมูลอีกครั้งเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ตรงกัน
2. วิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามที่ได้จากการเข้าข้อมูล โดยนำข้อมูลแต่ละศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและแต่ละโรงเรียนมาเปรียบเทียบกัน และจัดทำเป็นรายงานจำนวน 60 หน้า

รายงานการสำรวจปัจจัยแวดล้อมด้านโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน

รายงานการสำรวจปัจจัยแวดล้อมด้านโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำนวน 8 ศูนย์และโรงเรียนจำนวน 12 แห่งในตำบลควนรู อำเภอรัตภูมิ ตำบลชะแล้ อำเภอสิงหนคร ตำบลท่าหิน อำเภอสทิงพระ และตำบลรัตภูมิ อำเภอควนเนียง ซึ่งได้ส่งให้นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ท้องถิ่นจังหวัดสงขลา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสงขลา ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลาเขต 1 และเขต 2 ผู้อำนวยการโรงพยาบาลรัตภูมิ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสิงหนคร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสทิงพระ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลควนเนียง ผู้อำนวยการสำนักงานสาธารณสุขอำเภอรัตภูมิ ผู้อำนวยการสำนักงานสาธารณสุขอำเภอสิงหนคร ผู้อำนวยการสำนักงานสาธารณสุขอำเภอสทิงพระ ผู้อำนวยการสำนักงานสาธารณสุขอำเภอควนเนียง หัวหน้าศูนย์สุขภาพชุมชนอำเภอควนเนียง นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ผู้อำนวยการโรงเรียน และหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในตำบลควนรู อำเภอรัตภูมิ ตำบลชะแล้ อำเภอสิงหนคร ตำบลท่าหิน อำเภอสทิงพระ และตำบลรัตภูมิ อำเภอควนเนียง

-

2. ประชุมคณะทำงานโครงการ »
จันทร์ 13 ต.ค. 57 จันทร์ 13 ต.ค. 57

ประชุมร่วมกับผู้รับผิดชอบงานอนามัยแม่และเด็ก กลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา เจ้าหน้าที่จากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลของพื้นที่เป้าหมายจำนวน 14 คน

ประชุมการดำเนินงานร่วมกับผู้รับผิดชอบงานอนามัยแม่และเด็ก กลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา เจ้าหน้าที่จากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอรัตภูมิ อำเภอควนเนียง อำเภอสทิงพระ เจ้าหน้าที่จากรพ.สต.ควนรู รพ.สต.โหล๊ะยาว รพ.สต.ชะแล้ รพ.สต.ท่าหิน รพ.สต.พรวน และศูนย์สุขภาพชุมชนควนเนียง ในตำบลควนรู ตำบลชะแล้ ตำบลท่าหิน และตำบลรัตภูมิ เพื่อติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานหลังได้รับผลภาวะโภชนาการรายบุคคลของเด็กในพื้นที่ความรับผิดชอบ และกำหนดเวลาในการสำรวจข้อมูลครั้งที่ 2 มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 12 คน

  • ข้อมูลความก้าวหน้าในการดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแต่ละพื้นที่หลังจากได้รับข้อมูลภาวะโภชนาการรายบุคคล และได้ประชุมแนวทางการดำเนินงานร่วมกันในวันที่ 12 พฤษภาคม 2557
  • การกำหนดเวลาของการสำรวจข้อมูลครั้งที่ 2
  1. หลังจากได้ประชุมแนวทางการดำเนินงานร่วมกันในวันที่ 12 พฤษภาคม 2557 แต่ละตำบลมีความก้าวหน้าในการดำเนินงานดังนี้ • ตำบลควนรู อำเภอรัตภูมิ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทั้ง 2 แห่ง ได้ประชุมร่วมกับนายกองค์การบริหารส่วนตำบลและผู้อำนวยการโรงเรียน จึงมีโครงการที่จะไปเยี่ยมบ้านเด็กที่มีปัญหาภาวะโภชนาการร่วมกับสาธารณสุขทุกครั้ง ส่วนเด็กที่มีภาวะซีดได้แนะนำให้ผู้ปกครองพาไปพบแพทย์ และทางสำนักงานสาธารณสุขอำเภอรัตภูมิจะทำโครงการเด็กอ้วนในโรงเรียนประถมด้วย
    • ตำบลรัตภูมิ อำเภอควนเนียง ศูนย์สุขภาพชุมชนควนเนียงได้ส่งเด็กที่มีภาวะซีดไปเจาะเลือดซ้ำที่โรงพยาบาลควนเนียง เด็กที่มีภาวะซีดแพทย์ให้ยาประมาณ 1 เดือน ส่วนเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีภาวะโภชนาการน้ำหนักน้อยและอ้วนได้แนะนำอาหารที่ควรรับประทานและควรหลีกเลี่ยงแก่ผู้ปกครอง ส่วนเด็กในความรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากบางภูมีได้ส่งข้อมูลให้กับพยาบาลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากบางภูมี เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านติดตามเด็กที่มีภาวะซีดทุกคนส่งแพทย์
    • ตำบลท่าหิน อำเภอสทิงพระ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทั้ง 2 แห่ง ได้ส่งต่อข้อมูลเด็กที่มีภาวะซีดให้กับโรงพยาบาล และให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครอง ส่วนเด็กที่มีภาวะอ้วน ผอมหรือเตี้ย จะให้สุขศึกษาและเน้นการออกกำลังกาย และแนะนำผู้ปกครองให้ดูแลเรื่องอาหารของเด็ก • ตำบลชะแล้ อำเภอสิงหนคร สำหรับเด็กที่มีปัญหาซีด แนะนำให้ผู้ปกครองพาเด็กไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล แต่ยังไม่ได้ติดตามว่าผู้ปกครองได้พาไปหรือไม่ ส่วนเด็กที่มีภาวะโภชนาการอ้วน ผอม หรือเตี้ยจะให้สุขศึกษา และมีนักศึกษาจากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา ของอาจารย์อมาวสี อัมพันศิริรัตน์ มาช่วยติดตามเยี่ยมบ้านเด็กที่มีปัญหาขาดสารอาหาร
  2. พญ.ลัดดา ได้แนะนำเรื่องการแก้ปัญหาเด็กอ้วนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนคือ ต้องให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนจัดการอาหารกลางวันและอาหารว่างให้เป็นไปตามมาตรฐาน จัดระเบียบร้านค้าในโรงเรียน ร่วมกับประสานผู้ปกครองให้ดำเนินการไปในทางเดียวกัน
  3. คณะทำงานโครงการได้ตกลงให้ดำเนินงานเก็บข้อมูลครั้งที่ 2 ในช่วงเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม 2558

-

3. ประชุมหารือร่วมกับผู้ประสานงานโครงการ »
จันทร์ 24 พ.ย. 57 จันทร์ 24 พ.ย. 57

ประชุมหารือเกี่ยวกับการทำแผนกิจกรรมของตำบลควนรูและตำบลชะแล้ร่วมกับผู้ประสานงานโครงการยุทธศาสตร์การบูรณาการระบบอาหารจังหวัดสงขลาของสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ (สจรส.)

รศ.พญ.ลัดดา เหมาะสุวรรณ และทีมงานของสจรส. ได้ร่วมกันหารือเกี่ยวกับการทำแผนกิจกรรมการดำเนินงานของพื้นที่ตำบลควนรูและตำบลชะแล้

ได้ข้อสรุปและแนวทางในการทำแผนกิจกรรมของตำบลควนรูและตำบลชะแล้ร่วมกัน

จากการหารือร่วมกัน รศ.พญ.ลัดดา เหมาะสุวรรณ ได้เสนอแนะแนวทางในการทำแผนกิจกรรมของตำบลควนรูและตำบลชะแล้ดังนี้

• เสนอแนะให้สร้างรูปแบบการบูรณาการด้านความมั่นคงอาหาร ความปลอดภัย และโภชนาการของพื้นที่เอง ที่คนในพื้นที่สามารถทำได้เองแบบยั่งยืนและพื้นที่อื่นสามารถนำไปเป็นแบบอย่างได้

• ตามแผนงานของพื้นที่ตำบลควนรู กิจกรรมให้เด็กได้รับประทานอาหารมื้อเช้าเป็นแผนกิจกรรมที่เชื่อมโยงกับปัญหาโภชนาการที่พบในพื้นที่ ซึ่งแผนงานที่เหลือควรเขียนแสดงความเชื่อมโยงของแผนกิจกรรมกับการแก้ปัญหาโภชนาการให้ชัดเจนเช่นนี้เช่นกัน (ปัญหาโภชนาการในพื้นที่ที่ได้จากการสำรวจของพญ.ลัดดา และการประเมินตนเองของ อ.อมาวสี ในปี 2556) และควรกำหนดผู้รับผิดชอบและวันที่ดำเนินงานแต่ละแผนกิจกรรม
• สำหรับพื้นที่ตำบลชะแล้ แม่ส่วนใหญ่ทำงานนอกบ้าน จึงต้องอาศัยอาหารที่ปรุงสำเร็จรูปจากตลาดในชุมชน จึงควรทำตลาดให้เป็นตลาดอาหารสุขภาพของชุมชน เช่น การทำอาหารถุงให้มีผักเป็นส่วนประกอบ การใช้น้ำมันที่มีคุณภาพและไม่ทอดซ้ำ การล้างผักที่ถูกต้อง เป็นต้น

• ควรดึงสาธารณสุขจังหวัดมาเป็นวิทยากร เพื่อร่วมดำเนินงานกิจกรรมของพื้นที่

-

4. ประชุมร่วมกับผู้ประสานงานโครงการและผู้แทนของตำบลควนรูและตำบลชะแล้ »
อังคาร 2 ธ.ค. 57 อังคาร 2 ธ.ค. 57

ประชุมเกี่ยวกับการกำหนดแผนกิจกรรมของตำบลควนรูและตำบลชะแล้ร่วมกับผู้ประสานงานโครงการของสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ (สจรส.) และผู้แทนของตำบลควนรูและตำบลชะแล้

ทีมงานของสจรส.ร่วมกับผู้แทนจากตำบลควนรู ได้แก่ คุณอมิตา ประกอบชัยชนะ (รองนายกอบต.ควนรู) คุณอนงค์ นุเคราะห์วัด (หัวหน้าศพด.) และคุณปาริชาติ สุขมาก (เจ้าหน้าที่ รพ.สต.) และผู้แทนจากตำบลชะแล้ ได้แก่ คุณวิชิตร สิทธิพันธ์ (รองนายกทต.ชะแล้) และคุณสินีนาถ ทองคำ (หัวหน้าศพด.) ร่วมกันวางแผนและปรับแผนงานกิจกรรมของตำบลควนรูและตำบลชะแล้ให้สอดคล้องกับปัญหาอาหารและโภชนาการในแต่ละด้าน และผู้แทนของแต่ละตำบลนำเสนอแผนงานที่จะทำ โดยรศ.พญ.ลัดดา เหมาะสุวรรณ ได้ร่วมรับฟังและให้ข้อเสนอแนะในการปรับแผนกิจกรรมของแต่ละพื้นที่

ได้รูปแบบแผนงานกิจกรรมของแต่ละพื้นที่ที่สอดคล้องกับการแก้ปัญหาการบูรณาการด้านความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการ

เกิดรูปแบบกิจกรรมตามแผนงานการบูรณาการด้านความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการ ของตำบลควนรูและตำบลชะแล้ และทางพื้นที่ได้ข้อเสนอแนะแนวทางการทำแผนกิจกรรมเพิ่มเติมจาก รศ.พญ.ลัดดา เหมาะสุวรรณ ดังนี้

• ให้พื้นที่เขียนแสดงความเชื่อมโยงของแผนกิจกรรมกับการแก้ปัญหาอาหารและโภชนาการ และกำหนดผู้รับผิดชอบและวันที่ดำเนินงานแต่ละแผนกิจกรรมให้ชัดเจน

• เสนอแนะให้ทำกิจกรรมการแก้ปัญหาของพื้นที่ให้เป็นงานประจำและยั่งยืน โดยให้คนในพื้นที่สามารถทำกันเอง เพื่อให้สามารถขยายผลไปยังพื้นที่อื่นได้

• ให้พื้นที่ขยายการทำแผนกิจกรรมให้ครอบคลุมทุกกลุ่มอายุ โดยขยายจากศูนย์เด็กเล็กรวมไปถึงเด็ก 2-3 ปีแรกที่อยู่กับครอบครัว เด็กที่ไม่ได้เข้าศูนย์เด็กเล็ก และเด็กในโรงเรียน

• ให้พื้นที่ตำบลชะแล้แก้ปัญหาอาหารถุงในตลาดของชุมชน ซึ่งเป็นแหล่งอาหารเย็นของชุมชน โดยการทำอาหารถุงให้เป็นอาหารสุขภาพมีผักเป็นส่วนประกอบและปลอดภัย

• ให้ใช้เกลือเสริมไอโอดีนในศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียน เพื่อแก้ปัญหาเด็กขาดสารไอโอดีน

• แนะนำให้เพิ่มเรื่องอาหารเสี่ยงอ้วนในเด็กน้ำหนักเกิน

-

5. คำนวณอายุเด็กกลุ่มตัวอย่าง »
พฤหัสบดี 25 ธ.ค. 57 - อังคาร 20 ม.ค. 58 พฤหัสบดี 25 ธ.ค. 57

คำนวณอายุเด็กกลุ่มตัวอย่างที่ใช้เก็บข้อมูลครั้งที่ 2 

นำทะเบียนรายชื่อเด็กกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจากการเก็บข้อมูลครั้งที่ 1 ของตำบลควนรู อำเภอรัตภูมิ ตำบลชะแล้ อำเภอสิงหนคร ตำบลท่าหิน อำเภอสทิงพระ และตำบลรัตภูมิ อำเภอควนเนียง มาคำนวณอายุใหม่ ณ วันที่เก็บข้อมูลครั้งที่ 2 ดังนี้

  1. ทำวันเกิดจากปีพ.ศ. ให้เป็นปี ค.ศ. โดยใช้สูตร =DATE(YEAR(E3)-543,MONTH(E3),DAY(E3))
    ซึ่ง E3 คือ วัน เดือน ปี เกิดที่เป็นปี พ.ศ.ของเด็ก

  2. เมื่อได้วัน เดือน ปีเกิดที่เป็นปี ค.ศ.แล้ว นำมาคำนวณอายุ ณ วันที่เก็บข้อมูลโดยใช้สูตร
    =DATEDIF(J3,K3,"Y")&"ปี"& DATEDIF(J3,K3,"YM")&"เดือน"&DATEDIF(J3,K3,"MD")&"วัน" ซึ่ง J3 คือ วัน เดือน ปีเกิดที่เป็นปี ค.ศ. และ K3 คือ วันที่ใช้คำนวณการเก็บข้อมูล

  3. เมื่อได้อายุ ณ วันที่เก็บข้อมูลแล้ว นำอายุที่ได้จากการคำนวณมาตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้งโดยการนำมาเช็คกับอายุเดิมที่ใช้เก็บข้อมูลครั้งที่ 1

ข้อมูลอายุของเด็กกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ทำทะเบียนในการเก็บข้อมูลครั้งที่ 2

ได้ข้อมูลการคำนวณอายุเด็กกลุ่มตัวอย่างของตำบลควนรู อำเภอรัตภูมิจำนวน 775 คน ตำบลชะแล้ อำเภอสิงหนครจำนวน 423 คน ตำบลท่าหิน อำเภอสทิงพระจำนวน 318 คน และตำบลรัตภูมิ อำเภอควนเนียงจำนวน 931 คน ซึ่งจะนำไปใช้ในการทำทะเบียนรายชื่อเก็บข้อมูลครั้งที่ 2 ต่อไป

-

6. ประชุมระดมความเห็นเรื่องขับเคลื่อนนโยบายของแผนสื่อสารสาธารณะ »
พุธ 4 ก.พ. 58 พุธ 4 ก.พ. 58

ประชุมเพื่อระดมความเห็นในประเด็นขับเคลื่อนนโยบายของแผนสื่อสารสาธารณะ

• คุณชัยวุฒิ เกิดชื่น และคุณสุวรรณี เกิดชื่น แผนงานสื่อสารสาธารณะเล่าปัญหาในการขับเคลื่อนนโยบายที่ได้เจอมาในแต่ละพื้นที่

• รศ.พญ. ลัดดา เหมาะสุวรรณกับทีมแผนงานสื่อฯร่วมกันระดมความคิดเห็นแนวทางในการขับเคลื่อนนโยบาย

ได้แนวคิดในการขับเคลื่อนนโยบายของแผนสื่อสารสาธารณะ

รศ.พญ.ลัดดา เหมาะสุวรรณ ได้ให้แนวคิดในการขับเคลื่อนนโยบายดังนี้

• ควรสร้างความรับรู้และความตระหนักกับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เพื่อให้เป็นแผนยุทธศาสตร์อาหารที่ยอมรับของคนสงขลา

• ควรทำ mapping ทั้ง 16 อำเภอ ในจังหวัดสงขลาว่าด้านความมั่นคงทางอาหาร ด้านอาหารปลอดภัย และด้านโภชนาการ มีใครทำพื้นที่ไหนบ้าง เพื่อหาแนวร่วมมาขับเคลื่อนนโยบาย ซึ่งทางแผนสื่อฯ สนใจจะทำแผนที่นี้กับนักวิชาการเกษตรจังหวัด

• ถ้าจะยกตัวอย่างต้นแบบจากโครงการ ควรเน้นว่าเป็นต้นแบบที่บูรณาการทั้ง 3 ด้านคือ ด้านความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และด้านโภชนาการ เนื่องจากมีต้นแบบของแต่ละด้านอยู่หลายแห่งในจังหวัดสงขลาที่ไม่ได้อยู่ในโครงการ

• สิ่งที่โครงการนี้ยังขาด คือด้านการตลาดและการใช้ IT เพื่อการจัดการระบบอาหารทั้งจังหวัด

-

7. ประชุมคณะทำงานดำเนินงานโครงการ »
จันทร์ 23 มี.ค. 58 จันทร์ 23 มี.ค. 58

ประชุมเตรียมการดำเนินงานเก็บข้อมูลครั้งที่ 2 ร่วมกับผู้รับผิดชอบงานอนามัยแม่และเด็ก กลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา เจ้าหน้าที่จากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลของพื้นที่เป้าหมาย 

ประชุมเตรียมการดำเนินงานเกี่ยวกับการสุ่มตัวอย่างเพิ่มในกลุ่มทารกและเด็กเล็ก กำหนดปฏิทินการเก็บข้อมูล การดำเนินการเก็บข้อมูลในพื้นที่ และกำหนดวันอบรมผู้เจาะเลือดและเก็บปัสสาวะเด็กกลุ่มตัวอย่าง ร่วมกับผู้รับผิดชอบงานอนามัยแม่และเด็ก กลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา เจ้าหน้าที่จากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอควนเนียงและอำเภอสทิงพระ เจ้าหน้าที่จากรพ.สต.ควนรู รพ.สต.โหล๊ะยาว รพ.สต.ท่าหิน รพ.สต.พรวน และศูนย์สุขภาพชุมชนควนเนียง ในตำบลควนรู ตำบลท่าหิน และตำบลรัตภูมิ มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 11 คน

ข้อตกลงในการกำหนดปฏิทินการเก็บข้อมูลครั้งที่ 2 การดำเนินการเก็บข้อมูลในพื้นที่ การสุ่มตัวอย่างเพิ่มในกลุ่มทารกและเด็กเล็ก และการกำหนดวันอบรมผู้เจาะเลือดและเก็บปัสสาวะเด็กกลุ่มตัวอย่าง   

คณะทำงานโครงการได้ร่วมกันวางแผนเตรียมการดำเนินงานเก็บข้อมูลครั้งที่ 2 ดังนี้

• การสุ่มตัวอย่างเพิ่มในกลุ่มทารกและเด็กเล็กอายุนับถึงวันที่ 1 มิถุนายน 2558 ได้ 6 เดือนเต็ม – 2 ปี 4 เดือนเต็ม ที่ประชุมตกลงจะส่งรายชื่อเด็กที่เกิดระหว่างวันที่ 1 ก.พ.2556 – 1 ธ.ค.2557 จาก family folder ของรพ.สต. ให้กับทางโครงการภายในวันที่ 10 เมษายน 2558

• การกำหนดปฏิทินการเก็บข้อมูล ที่ประชุมได้ตกลงช่วงวันในการเก็บข้อมูลครั้งที่ 2 ของแต่ละพื้นที่คือ รพ.สต.ชะแล้ วันที่ 2-7 มิ.ย. รพ.สต.โหล๊ะยาว 8-14 มิ.ย. รพ.สต.ท่าหินและพรวน วันที่ 15-18 มิ.ย. PCU ควนเนียง วันที่ 19-30 มิ.ย. และรพ.สต.ควนรู วันที่ 1-6 ก.ค. โดยแต่ละพื้นที่จะลงวันที่ และคาบเช้าหรือบ่ายส่งให้ทางโครงการภายในวันที่ 10 เมษายน 2558

• ที่ประชุมได้ทบทวนการดำเนินงานการเก็บข้อมูลโครงการ ดังเอกสารประกอบการประชุม โดยมีข้อตกลงเพิ่มเติมคือ ของขวัญที่ใช้แจกเด็กกลุ่มตัวอย่างที่ประชุมเสนอเป็นร่ม กล่องดินสอ หรือกระเป๋าผ้าแบบมีซิป และแบบเก็บข้อมูลจะเพิ่มคำถามเกี่ยวกับไอโอดีน

• ที่ประชุมตกลงนัดประชุมคณะทำงานครั้งต่อไปในวันที่ 8 พฤษภาคม 2558 และจะกำหนดวันอบรมผู้เจาะเลือดและเก็บปัสสาวะเด็กกลุ่มตัวอย่างในการประชุมครั้งถัดไป

-

8. ประชุมคณะทำงานดำเนินงานโครงการ »
ศุกร์ 8 พ.ค. 58 ศุกร์ 8 พ.ค. 58

ประชุมเตรียมความพร้อมในการเก็บข้อมูลครั้งที่ 2 ร่วมกับผู้รับผิดชอบงานอนามัยแม่และเด็ก กลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา เจ้าหน้าที่จากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลของพื้นที่เป้าหมาย

ประชุมเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการติดตามกลุ่มตัวอย่างเดิม และการใช้ทะเบียนรายชื่อเด็กกลุ่มตัวอย่าง การกำหนดสถานที่เก็บข้อมูล การจัดสถานที่เก็บข้อมูล และกำหนดวันอบรมผู้เจาะเลือดและเก็บปัสสาวะเด็กกลุ่มตัวอย่างและผู้ประสานงาน ร่วมกับเจ้าหน้าที่จากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอควนเนียงและอำเภอสทิงพระ เจ้าหน้าที่จากรพ.สต.ชะแล้ รพ.สต.ควนรู รพ.สต.โหล๊ะยาว รพ.สต.ท่าหิน รพ.สต.พรวน และศูนย์สุขภาพชุมชนควนเนียง ในตำบลชะแล้ ตำบลควนรู ตำบลท่าหิน และตำบลรัตภูมิ มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 13 คน

ข้อตกลงในการปฏิบัติเกี่ยวกับการติดตามกลุ่มตัวอย่างเดิมและการใช้ทะเบียนรายชื่อเด็กกลุ่มตัวอย่าง การกำหนดสถานที่เก็บข้อมูลและการจัดสถานที่ การกำหนดวันอบรมผู้เจาะเลือดและเก็บปัสสาวะเด็กกลุ่มตัวอย่างและผู้ประสานงาน

คณะทำงานมีข้อตกลงในการปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินงานเก็บข้อมูลครั้งที่ 2 ดังนี้

• ที่ประชุมรับทราบว่าการเก็บข้อมูลครั้งที่ 2 เป็นการติดตามเด็กกลุ่มเดิมที่เก็บข้อมูลเมื่อเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม 2556 และสุ่มเพิ่มในกลุ่มเด็กเล็กอายุ 6 เดือน จนถึง 2 ปี 4 เดือน เพื่อทดแทนเด็กกลุ่มเดิมที่อายุมากขึ้น โดยทะเบียนรายชื่อกลุ่มติดตามจะมีชุดเดียวเป็นทะเบียนรายชื่อเด็กที่เก็บข้อมูลได้ในครั้งที่ 1 ซึ่งจะต้องเก็บข้อมูลของเด็กคนเดิมและใช้ ID เดิมจากครั้งที่ 1 เท่านั้น ส่วนทะเบียนรายชื่อเด็กกลุ่มใหม่จะมี 2 ชุด คือชุด A เป็นตัวจริง และชุด B เป็นตัวสำรอง
• การกำหนดสถานที่เก็บข้อมูล ที่ประชุมได้กำหนดสถานที่เก็บข้อมูลของแต่ละพื้นที่ โดยจะใช้สถานที่ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และศาลาของหมู่บ้าน
• ที่ประชุมรับทราบว่าการจัดสถานที่เก็บข้อมูลจะต้องจัดเก้าอี้สำหรับเด็กและผู้ปกครอง มีโต๊ะเก้าอี้สำหรับลงทะเบียนและเช็คใบยินยอม มีโต๊ะเก้าอี้สำหรับเจ้าหน้าที่เก็บข้อมูลแบบสอบถาม มีพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับวางที่วัดส่วนสูงและเครื่องชั่ง มีโต๊ะสำหรับวางที่วัดความยาว และมีโต๊ะเก้าอี้สำหรับวางอุปกรณ์การเจาะเลือด

• ที่ประชุมตกลงนัดอบรมผู้เจาะเลือดและเก็บปัสสาวะเด็กกลุ่มตัวอย่างและผู้ประสานงานในวันอังคารที่ 26 พฤษภาคม 2558 เวลา 10.00-12.00 น. ณ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ (ชั้น 4) โรงพยาบาลสงขลานครินทร์

-

9. พบท้องถิ่นตำบลชะแล้ »
ศุกร์ 15 พ.ค. 58 ศุกร์ 15 พ.ค. 58

เข้าพบนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลชะแล้และรองนายก เพื่อขอความอนุเคราะห์จากท้องถิ่นในการสนับสนุนการดำเนินงานโครงการ และแจ้งวันเวลาสถานที่ในการเก็บข้อมูลครั้งที่ 2 ของพื้นที่ตำบลชะแล้

ชี้แจงโครงการและแจ้งวันเวลาสถานที่ของการเก็บข้อมูลครั้งที่ 2 ในพื้นที่ตำบลชะแล้ แก่รองนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลชะแล้ และขอความอนุเคราะห์จากท้องถิ่นในการประชาสัมพันธ์การเก็บข้อมูลของโครงการครั้งที่ 2 ให้หน่วยงานและประชาชนในพื้นที่รับทราบเกี่ยวกับกิจกรรมของโครงการ และขออนุญาตให้เจ้าหน้าที่โครงการเข้าสำรวจภาวะแวดล้อมด้านโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดของเทศบาลตำบลชะแล้

ได้รับความร่วมมือจากท้องถิ่นในการสนับสนุนการดำเนินงานโครงการครั้งที่ 2

ท้องถิ่นยินดีให้ความร่วมมือในการสนับสนุนการดำเนินงานของโครงการ

-

10. พบท้องถิ่นตำบลท่าหิน »
ศุกร์ 15 พ.ค. 58 ศุกร์ 15 พ.ค. 58

เข้าพบนายกและปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลท่าหิน เพื่อขอความอนุเคราะห์จากท้องถิ่นในการสนับสนุนการดำเนินงานโครงการ และแจ้งวันเวลาสถานที่ในการเก็บข้อมูลครั้งที่ 2 ของพื้นที่ตำบลท่าหิน

ชี้แจงโครงการและแจ้งวันเวลาสถานที่ของการเก็บข้อมูลครั้งที่ 2 ในพื้นที่ตำบลท่าหิน แก่ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลท่าหิน และขอความอนุเคราะห์จากท้องถิ่นในการประชาสัมพันธ์การเก็บข้อมูลของโครงการครั้งที่ 2 ให้หน่วยงานและประชาชนในพื้นที่รับทราบเกี่ยวกับกิจกรรมของโครงการ และขออนุญาตให้เจ้าหน้าที่โครงการเข้าสำรวจภาวะแวดล้อมด้านโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าหิน

ได้รับความร่วมมือจากท้องถิ่นในการสนับสนุนการดำเนินงานโครงการครั้งที่ 2

ท้องถิ่นยินดีให้ความร่วมมือในการสนับสนุนการดำเนินงานของโครงการ

-

11. พบท้องถิ่นตำบลควนรู »
พฤหัสบดี 21 พ.ค. 58 พฤหัสบดี 21 พ.ค. 58

เข้าพบนายกองค์การบริหารส่วนตำบลควนรูและรองนายก เพื่อขอความอนุเคราะห์จากท้องถิ่นในการสนับสนุนการดำเนินงานโครงการ และแจ้งวันเวลาสถานที่ในการเก็บข้อมูลครั้งที่ 2 ของพื้นที่ตำบลควนรู

ชี้แจงโครงการและแจ้งวันเวลาสถานที่ของการเก็บข้อมูลครั้งที่ 2 ในพื้นที่ตำบลควนรู แก่รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลควนรู และขอความอนุเคราะห์จากท้องถิ่นในการประชาสัมพันธ์การเก็บข้อมูลของโครงการครั้งที่ 2 ให้หน่วยงานและประชาชนในพื้นที่รับทราบเกี่ยวกับกิจกรรมของโครงการ และขออนุญาตให้เจ้าหน้าที่โครงการสำรวจภาวะแวดล้อมด้านโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดขององค์การบริหารส่วนตำบลควนรู

ได้รับความร่วมมือจากท้องถิ่นในการสนับสนุนการดำเนินงานโครงการครั้งที่ 2

ท้องถิ่นยินดีให้ความร่วมมือในการสนับสนุนการดำเนินงานของโครงการ

-

12. พบท้องถิ่นตำบลรัตภูมิ »
พฤหัสบดี 21 พ.ค. 58 พฤหัสบดี 21 พ.ค. 58

เข้าพบนายกองค์การบริหารส่วนตำบลรัตภูมิ เพื่อขอความอนุเคราะห์จากท้องถิ่นในการสนับสนุนการดำเนินงานโครงการ และแจ้งวันเวลาสถานที่ในการเก็บข้อมูลครั้งที่ 2 ของพื้นที่ตำบลรัตภูมิ

ชี้แจงโครงการและแจ้งวันเวลาสถานที่ของการเก็บข้อมูลครั้งที่ 2 ในพื้นที่ตำบลรัตภูมิ แก่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลรัตภูมิ และขอความอนุเคราะห์จากท้องถิ่นในการประชาสัมพันธ์การเก็บข้อมูลของโครงการครั้งที่ 2 ให้หน่วยงานและประชาชนในพื้นที่รับทราบเกี่ยวกับกิจกรรมของโครงการ และขออนุญาตให้เจ้าหน้าที่โครงการเข้าสำรวจภาวะแวดล้อมด้านโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดขององค์การบริหารส่วนตำบลรัตภูมิ

ได้รับความร่วมมือจากท้องถิ่นในการสนับสนุนการดำเนินงานโครงการครั้งที่ 2

ท้องถิ่นยินดีให้ความร่วมมือในการสนับสนุนการดำเนินงานของโครงการ

-

13. อบรมผู้เก็บข้อมูลแบบสอบถาม »
อังคาร 26 พ.ค. 58 อังคาร 26 พ.ค. 58

อบรมการเก็บข้อมูลแบบสอบถามและการตรวจร่างกายแก่ผู้เก็บข้อมูล

อบรมการเก็บข้อมูลแก่ผู้เก็บข้อมูล โดยอธิบายการใช้แบบสอบถามและทะเบียนรายชื่อเด็กแต่ละกลุ่มอายุ สาธิตการชั่งน้ำหนัก การวัดส่วนสูง การวัดความยาวสำหรับเด็กเล็ก และการวัดรอบศีรษะและรอบเอว และให้ผู้เก็บข้อมูลฝึกปฏิบัติจริง มีผู้เข้าอบรมจำนวน 7 คน

ผู้เก็บข้อมูลเข้าใจวิธีการปฏิบัติในการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง และสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

ผู้เก็บข้อมูลสามารถใช้แบบสอบถาม ชั่งน้ำหนัก และวัดสัดส่วนของร่างกายได้อย่างถูกต้อง 

-

14. อบรมพยาบาลและผู้ประสานงานการเก็บข้อมูล »
อังคาร 26 พ.ค. 58 อังคาร 26 พ.ค. 58

อบรมการเก็บข้อมูลตัวอย่างเลือดและปัสสาวะแก่พยาบาลและผู้ประสานงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแต่ละพื้นที่

อบรมการใช้ทะเบียนรายชื่อเด็กกลุ่มตัวอย่างแต่ละกลุ่มอายุ วิธีการเก็บตัวอย่างเลือดและปัสสาวะเด็กกลุ่มตัวอย่าง และสาธิตวิธีการบรรจุตัวอย่างในกล่องโฟม แก่พยาบาลและผู้ประสานงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลชะแล้ อำเภอสิงหนคร ตำบลควนรู อำเภอรัตภูมิ ตำบลรัตภูมิ อำเภอควนเนียง และตำบลท่าหิน อำเภอสทิงพระ โดยมีผู้เข้าอบรมจำนวน 11 คน

พยาบาลและผู้ประสานงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแต่ละพื้นที่เข้าใจวิธีการปฏิบัติในการเก็บข้อมูลเด็กกลุ่มตัวอย่าง

พยาบาลและผู้ประสานงานเข้าใจวิธีการเก็บตัวอย่างเลือดและปัสสาวะเด็กกลุ่มตัวอย่าง และสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

-

15. วิเคราะห์ค่าฮีโมโกลบินและฮีมาโตคริทในเลือด »
อังคาร 2 มิ.ย. 58 - อาทิตย์ 12 ก.ค. 58 อังคาร 2 มิ.ย. 58

ตรวจวิเคราะห์ค่าฮีโมโกลบินและฮีมาโตคริทในเลือดของเด็กกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ดำเนินการและพื้นที่ควบคุมทั้ง 4 ตำบล 

ส่งตรวจเลือดเพื่อวิเคราะห์ค่าฮีโมโกลบินและฮีมาโตคริทของเด็กกลุ่มตัวอย่างตำบลควนรู ตำบลชะแล้ ตำบลรัตภูมิ และตำบลท่าหิน ที่ห้องปฏิบัติการหน่วยโลหิตวิทยา ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทางห้องปฏิบัติการใช้วิธีทดสอบโดย Automate cell counter Sysmex XT 1800i ในการวิเคราะห์ค่าฮีโมโกลบินและฮีมาโตคริทในเลือด

ผลการวิเคราะห์ค่าฮีโมโกลบินและฮีมาโตคริทของเด็กกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ตำบลควนรู ตำบลชะแล้ ตำบล รัตภูมิ และตำบลท่าหิน

ได้ค่าฮีโมโกลบินและฮีมาโตคริทเพื่อนำไปวิเคราะห์ภาวะโลหิตจางของเด็กกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ตำบลควนรู 147 คน ตำบลชะแล้ 93 คน ตำบลรัตภูมิ 179 คน และตำบลท่าหิน 80 คน

-

16. เก็บข้อมูลของเด็กกลุ่มตัวอย่าง »
อังคาร 2 มิ.ย. 58 - อาทิตย์ 12 ก.ค. 58 อังคาร 2 มิ.ย. 58

เก็บข้อมูลแบบสอบถามและสุ่มเจาะเลือดเก็บปัสสาวะเด็กกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่เป้าหมายทั้ง 4 ตำบล 

เก็บข้อมูลแบบสอบถามเด็กกลุ่มตัวอย่างที่สุ่มเพิ่มเติม และติดตามเด็กกลุ่มตัวอย่างที่เก็บข้อมูลได้ในครั้งที่ 1 ของพื้นที่เป้าหมายทั้ง 4 ตำบล ได้แก่ ต.ชะแล้ อ.สิงหนคร ต.ควนรู อ.รัตภูมิ ต.รัตภูมิ อ.ควนเนียง และต.ท่าหิน อ.สทิงพระ โดยการสัมภาษณ์ผู้ปกครองถึงข้อมูลพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็ก ชั่งน้ำหนัก วัดความยาวหรือส่วนสูง วัดรอบศีรษะและรอบเอวของเด็ก เจาะเลือดและเก็บปัสสาวะเด็กที่มีรายชื่อสุ่มเจาะเลือดประมาณครึ่งหนึ่งของเด็กกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด

  • ได้ข้อมูลพฤติกรรมการบริโภคอาหารและภาวะโภชนาการของเด็กกลุ่มตัวอย่างอายุ 6 เดือน -15 ปี ในพื้นที่ ต.ชะแล้ จำนวน 227 ราย พื้นที่ ต.ควนรู จำนวน 415 ราย พื้นที่ ต.รัตภูมิ จำนวน 449 ราย และพื้นที่ ต.ท่าหิน จำนวน 174 ราย

  • ได้ตัวอย่างเลือดและปัสสาวะเพื่อตรวจ Hemoglobin และ hematocrit และไอโอดีนในปัสสาวะ ในพื้นที่ ต.ชะแล้ จำนวน 119 ราย พื้นที่ ต.ควนรู จำนวน 185 ราย พื้นที่ ต.รัตภูมิ จำนวน 229 ราย และพื้นที่ ต.ท่าหิน จำนวน 87 ราย

  • ได้ข้อมูลพฤติกรรมการบริโภคอาหารและภาวะโภชนาการของเด็กกลุ่มตัวอย่างอายุ 6 เดือน -15 ปี ในพื้นที่ ต.ชะแล้ จำนวน 170 ราย พื้นที่ ต.ควนรู จำนวน 310 ราย พื้นที่ ต.รัตภูมิ จำนวน 348 ราย และพื้นที่ ต.ท่าหิน จำนวน 147 ราย

  • สามารถเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อตรวจ Hemoglobin และ hematocrit ได้ในพื้นที่ ต.ชะแล้ จำนวน 93 ราย พื้นที่ ต.ควนรู จำนวน 152 ราย พื้นที่ ต.รัตภูมิ จำนวน 178 ราย และพื้นที่ ต.ท่าหิน จำนวน 80 ราย

  • สามารถเก็บตัวอย่างปัสสาวะเพื่อตรวจระดับไอโอดีนในปัสสาวะได้ในพื้นที่ ต.ชะแล้ จำนวน 92 ราย พื้นที่ ต.ควนรู จำนวน 149 ราย พื้นที่ ต.รัตภูมิ จำนวน 167 ราย และพื้นที่ ต.ท่าหิน จำนวน 79 ราย

ในแต่ละพื้นที่ไม่สามารถเก็บข้อมูลเด็กกลุ่มตัวอย่างได้ครบตามเป้าหมาย เนื่องจากเด็กกลุ่มติดตามบางส่วนย้ายออกนอกพื้นที่ ทำให้การติดตามยากลำบาก และเด็กบางส่วนเสียชีวิตในระหว่างปี 2557

17. สำรวจปัจจัยแวดล้อมภายในองค์กรเป้าหมาย »
อังคาร 2 มิ.ย. 58 - พุธ 8 ก.ค. 58 อังคาร 2 มิ.ย. 58

สำรวจสภาพแวดล้อมด้านอาหารและโภชนาการภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนในพื้นที่เป้าหมาย และเก็บข้อมูลพื้นฐานด้านภาวะโภชนาการและกิจกรรมทางกายที่จัดให้กับเด็ก

  1. สอบถามข้อมูลพื้นฐานขององค์กรจากครูฝ่ายโภชนาการเกี่ยวกับภาวะโภชนาการของเด็ก กิจกรรมการออกกำลังกาย อาหารกลางวันและอาหารว่างที่จัดให้กับเด็ก มาตรการในการห้ามขายน้ำอัดลมและขนมกรุบกรอบภายในองค์กร
  2. สำรวจปัจจัยแวดล้อมด้านอาหารและโภชนาการภายในองค์กร บริเวณรอบๆ โรงเรียนและโรงอาหาร สอบถามการใช้เครื่องปรุงของแม่ครัวในการประกอบอาหารให้เด็ก ดูพฤติกรรมการบริโภคและปริมาณการบริโภคอาหารของเด็ก และสำรวจการขายอาหารบริเวณหน้าโรงเรียน

ได้ข้อมูลสภาพแวดล้อมด้านอาหารและโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียน ต.ชะแล้ จำนวน 3 แห่ง ต.ควนรู จำนวน 6 แห่ง ต.รัตภูมิ จำนวน 7 แห่ง และ ต.ท่าหิน จำนวน 4 แห่ง

สามารถเก็บข้อมูลได้ครบตามเป้าหมายที่วางไว้ คือ ต.ชะแล้ จำนวน 3 แห่ง ต.ควนรู จำนวน 6 แห่ง ต.รัตภูมิ จำนวน 7 แห่ง และต.ท่าหิน จำนวน 4 แห่ง

-

18. เข้าข้อมูลแบบสอบถาม »
จันทร์ 20 ก.ค. 58 - จันทร์ 14 ก.ย. 58 จันทร์ 20 ก.ค. 58

เข้าข้อมูลจากแบบสอบถามที่ได้จากการสำรวจพฤติกรรมการบริโภค และวัดภาวะโภชนาการของเด็กกลุ่มตัวอย่าง ตำบลควนรู ตำบลชะแล้ ตำบลท่าหิน และตำบลรัตภูมิ

เข้าข้อมูลจากแบบสอบถามซึ่งแบ่งเป็น 3 ชุด คือชุดของเด็กกลุ่มอายุ 6 เดือน – 2 ปี 4 เดือน กลุ่มอายุ 2 ปี 4 เดือน – 5 ปี และกลุ่มอายุ 6 – 15 ปี จำนวน 975 ชุด โดยใช้โปรแกรม EpiData

  • เข้าข้อมูลจากแบบสอบถามตำบลควนรู 310 ชุด ตำบลชะแล้ 170 ชุด ตำบลท่าหิน 147 ชุด และตำบลรัตภูมิ 348 ชุด

  • ใช้วิธี Double Entry โดยทำการคีย์ข้อมูลแต่ละชุดจำนวน 2 ครั้ง นำข้อมูลทั้ง 2 ครั้งมาเปรียบเทียบกันว่ามีข้อมูลต่างกันส่วนไหนบ้าง ถ้ามีความแตกต่างก็นำมาตรวจสอบความถูกต้องกับต้นฉบับและแก้ไขข้อมูลอีกครั้งเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ตรงกัน

ข้อมูลตัวแปรจากแบบสอบถามของเด็กในพื้นที่ตำบลควนรู ตำบลชะแล้ ตำบลท่าหิน และตำบลรัตภูมิ 

ได้ข้อมูลตัวแปรของเด็กทั้ง 4 ตำบลจำนวน 975 ชุด ตำบลควนรู 310 ชุด ตำบลชะแล้ 170 ชุด ตำบลท่าหิน 147 ชุด และตำบลรัตภูมิ 348 ชุด เพื่อนำไปวิเคราะห์ค่าทางสถิติของสุขภาวะเด็กในพื้นที่ต่อไป

-

19. วิเคราะห์ระดับไอโอดีนในปัสสาวะ »
จันทร์ 20 ก.ค. 58 - ศุกร์ 28 ส.ค. 58 จันทร์ 20 ก.ค. 58

วิเคราะห์ระดับไอโอดีนในปัสสาวะของเด็กกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ทั้ง 4 ตำบล

นำปัสสาวะที่ได้จากการสุ่มเก็บเด็กกลุ่มตัวอย่างของพื้นที่ดำเนินการและพื้นที่ควบคุมทั้ง 4 ตำบล ส่งตรวจระดับไอโอดีนในปัสสาวะที่ศูนย์ห้องปฏิบัติการสำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข โดยทางศูนย์ใช้หลักการย่อยสลายตัวอย่างปัสสาวะด้วยสารละลาย Ammonium persulfate ที่อุณหภูมิ 95-100 องศาเซสเซียส เป็นเวลา 60 นาที จะได้สารละลายใส ปิเปตสารละลายที่ได้จากการย่อยสลายลงในไมโครเพลท Iodide ที่ได้จากการย่อยจะเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาระหว่างสารละลาย Ceric ammonium sulfate และ Arsenious ทำให้สีเหลืองของ Ceric เปลี่ยนเป็น Cerous ที่ไม่มีสีหรือมีสีจางลงเรียกว่าปฏิกิริยา Sandell-Kolthoff ทำการตรวจวัดการซีดจางลงของสี Ceric ammonium sulfate ด้วย Microplate reader ที่ความยาวคลื่น 405 นาโนเมตร และอ่านความเข้มข้นของไอโอดีนในปัสสาวะจากกราฟมาตรฐาน

ผลการวิเคราะห์ระดับไอโอดีนในปัสสาวะของเด็กกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ตำบลควนรู ตำบลชะแล้ ตำบลท่าหิน และตำบลรัตภูมิ

ได้ผลการวิเคราะห์ระดับไอโอดีนในปัสสาวะของเด็กจำนวน 488 คน พื้นที่ตำบลควนรูจำนวน 149 คน ตำบลชะแล้จำนวน 93 คน ตำบลรัตภูมิจำนวน 167 คน และตำบลท่าหินจำนวน 79 คน มีผลการวิเคราะห์ระดับไอโอดีนในปัสสาวะดังนี้
- เด็กที่มีระดับไอโอดีนในปัสสาวะอยู่ในระดับต่ำหรือน้อยกว่า 100 ไมโครกรัม/ลิตร มีจำนวน 218 คน
- เด็กที่มีระดับไอโอดีนในปัสสาวะปกติหรือตั้งแต่ 100 - 199 ไมโครกรัม/ลิตร มีจำนวน 193 คน
- เด็กที่มีระดับไอโอดีนในปัสสาวะสูงเกินความต้องการหรือตั้งแต่ 200 - 299 ไมโครกรัม/ลิตร มีจำนวน 51 คน
- เด็กที่มีระดับไอโอดีนในปัสสาวะสูงเกินไปหรือตั้งแต่ 300 ไมโครกรัม/ลิตรขึ้นไป มีจำนวน 26 คน

-

20. วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ »
ศุกร์ 18 ก.ย. 58 - พฤหัสบดี 12 พ.ย. 58 ศุกร์ 18 ก.ย. 58

วิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามเกี่ยวกับสุขภาวะเด็กของพื้นที่ 4 ตำบล

ใช้วิธีการทางสถิติวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการเข้าข้อมูลแบบสอบถามเกี่ยวกับสุขภาวะเด็กของพื้นที่ 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลควนรู ตำบลชะแล้ ตำบลรัตภูมิ และตำบลท่าหิน

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาวะของเด็กในพื้นที่ตำบลควนรู ตำบลชะแล้ ตำบลรัตภูมิ และตำบลท่าหิน 

ได้สถานการณ์สุขภาวะของเด็กตำบลควนรู ตำบลชะแล้ ตำบลรัตภูมิ และตำบลท่าหิน ประกอบด้วยผลการวิเคราะห์หัวข้อต่อไปนี้

  • ข้อมูลส่วนบุคคลของเด็ก : ศาสนา จำนวนพี่น้องของเด็ก ผู้เลี้ยงดูเด็กส่วนใหญ่ การศึกษาของผู้เลี้ยงดูหลัก ลักษณะทำเลบ้านและเพื่อนบ้านที่เด็กอยู่อาศัย ข้อมูลพื้นฐานของพ่อและแม่เด็ก รายได้ของครอบครัว

  • ภาวะโภชนาการ : น้ำหนัก ความยาว/ส่วนสูง ภาวะโลหิตจาง ระดับไอโอดีนในปัสสาวะ

  • พฤติกรรมการบริโภคอาหาร : การได้รับยาบำรุงที่มีไอโอดีน เหล็กและกรดโฟลิก วิตามินและแร่ธาตุรวมทุกชนิดขณะตั้งครรภ์ การได้รับนมแม่ การกินอาหารที่มีธาตุเหล็กและยาน้ำเสริมธาตุเหล็ก ความถี่ในการบริโภคผักและผลไม้ การบริโภคสาหร่ายสำเร็จรูปและบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเสริมไอโอดีน การดื่มน้ำหวาน น้ำอัดลมและการกินขนมกรุบกรอบ

  • กิจกรรมทางกาย : เวลาที่ใช้ในการทำกิจกรรมกลางแจ้ง เช่น วิ่งเล่น ออกกำลังกาย

  • การดูหรือใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ : เวลาที่ใช้ในการดูทีวี เล่นคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต ซีดี ดีวีดี

-

21. ทำรายงานการสำรวจ 4 ตำบล »
พฤหัสบดี 8 ต.ค. 58 - อังคาร 24 พ.ย. 58 พฤหัสบดี 8 ต.ค. 58

นำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์แบบสอบถามมาทำเป็นเล่มรายงาน

นำข้อมูลจากการวิเคราะห์แบบสอบถามที่ได้จากการสำรวจพฤติกรรมการบริโภค ภาวะโภชนาการและพฤติกรรมสุขภาพของเด็กอายุ 6 เดือน – 15 ปี ในตำบลควนรู ตำบลชะแล้ ตำบลท่าหิน และตำบลรัตภูมิ มาเปรียบเทียบข้อมูลจากการสำรวจปีที่ 1 และปีที่ 2 และจัดทำเป็นเล่มรายงานการสำรวจแต่ละตำบล 

รายงานการสำรวจพฤติกรรมการบริโภคและภาวะโภชนาการของเด็กอายุ 6 เดือน – 15 ปีครั้งที่ 2 ในพื้นที่ตำบลควนรู ตำบลชะแล้ ตำบลท่าหิน และตำบลรัตภูมิ

ได้รายงานการสำรวจพฤติกรรมการบริโภคและภาวะโภชนาการของเด็กอายุ 6 เดือน – 15 ปี ครั้งที่ 2 ของพื้นที่ตำบลควนรู ตำบลชะแล้ ตำบลท่าหิน และตำบลรัตภูมิ ที่มีเนื้อหาสมบูรณ์ส่งให้หน่วยงาน ผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะเด็กแต่ละพื้นที่นำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ต่อไป

-

22. ทำรายงานการสำรวจปัจจัยแวดล้อมในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนครั้งที่ 2 »
จันทร์ 2 พ.ย. 58 - อังคาร 24 พ.ย. 58 จันทร์ 2 พ.ย. 58

วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจปัจจัยแวดล้อมในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนของพื้นที่เป้าหมายทั้ง 4 ตำบล

วิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามที่ได้จากการสำรวจปัจจัยแวดล้อมด้านโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน โดยนำข้อมูลแต่ละศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนมาเปรียบเทียบข้อมูลที่ได้จากการสำรวจครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 และจัดทำเป็นเล่มรายงานจำนวน 67 หน้า 

รายงานการสำรวจปัจจัยแวดล้อมด้านโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนครั้งที่ 2 

ได้รายงานการสำรวจปัจจัยแวดล้อมด้านโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำนวน 8 ศูนย์และโรงเรียนจำนวน 12 แห่งในตำบลควนรู อำเภอรัตภูมิ ตำบลชะแล้ อำเภอสิงหนคร ตำบลท่าหิน อำเภอสทิงพระ และตำบลรัตภูมิ อำเภอควนเนียง ส่งให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะเด็กในพื้นที่เป้าหมาย

-

23. เวทีคืนข้อมูลสถานการณ์สุขภาวะเด็กตำบลควนรู ตำบลชะแล้ ตำบลท่าหิน และตำบลรัตภูมิ »
ศุกร์ 13 พ.ย. 58 ศุกร์ 13 พ.ย. 58

ประชุมเสนอข้อมูลจากการสำรวจครั้งที่ 2 ให้กับกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะเด็กในพื้นที่ตำบลควนรู ตำบลชะแล้ ตำบลท่าหิน และตำบลรัตภูมิ

  • ประชุมร่วมกับผู้รับผิดชอบงานอนามัยแม่และเด็ก กลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา เจ้าหน้าที่จากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอสทิงพระ เจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลของพื้นที่เป้าหมาย ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 และเขต 2 ผู้บริหารโรงเรียนและหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในพื้นที่ 4 ตำบล ท้องถิ่นตำบลควนรูและตำบลชะแล้ จำนวน 34 คน

  • รศ.พญ.ลัดดา เหมาะสุวรรณ นำเสนอข้อมูลการสำรวจสถานการณ์สุขภาวะของเด็กครั้งที่ 2 ในตำบลควนรู ตำบลชะแล้ ตำบลท่าหิน และตำบลรัตภูมิ (เอกสารแนบ 1)

  • แบ่งกลุ่มย่อยออกเป็น 3 กลุ่มตามตำบล เพื่อร่วมกันระดมความคิดเห็นในการวางแผนดำเนินการแก้ปัญหาสุขภาวะของเด็ก โดยบูรณาการงานด้านความมั่นคงของอาหาร ความปลอดภัยของอาหาร และด้านโภชนาการสมวัย

ผู้เข้าร่วมประชุมมีความเข้าใจปัญหาสุขภาวะของเด็กในพื้นที่ และสามารถนำไปจัดทำแผนเพื่อแก้ปัญหาในพื้นที่ได้

ผู้เข้าร่วมประชุมซึ่งเป็นบุคคลทุกภาคส่วนของพื้นที่มีความตระหนักถึงความสำคัญของโภชนาการต่อสุขภาวะของเด็กมากขึ้น ร่วมกันอภิปรายการแก้ปัญหาตามพื้นที่ และได้แผนการแก้ปัญหาของพื้นที่แต่ละตำบล (เอกสารแนบ 2)

-