โครงการยุทธศาสตร์การบูรณาการระบบอาหารจังหวัดสงขลา (2557-2558)

แผนงานบริหารจัดการ

by dezine @September,08 2014 12.35 ( IP : 202...129 )
ระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
1. ประชุมปรับแผนพืชร่วมยาง
อังคาร 2 ก.ย. 57

 

 

 

 

 

2. ลงพื้นที่เทศบาลตำบลชะแล้ »
พุธ 3 ก.ย. 57 พุธ 3 ก.ย. 57

-หารือกับทีมคณะทำงานโครงการฯ ในการดำเนินงานตามแผนปี 2

1.หารือกับทีมงานเพื่อติดตามผลในแผนปีที่1 พร้อมทั้งพูดคุยกับเกี่ยวกับผลและปัญหาที่เกิดขึ้นจากปีที่แล้ว

2.เสนอแผนวัตุประสงค์เป้าหมายของโครงการปีที่2

3.เสอนความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆที่จะทำให้แผนปีที่2ขับเคลื่อนไปได้ด้วยดี

โรงเรียนมีการนำโปรแกรมเมนูอาหารประจำวันไปใช้จริงในโรงเรียน มีนมและอาหารเช้าให้ที่โรงเรียน มีการเสริมผักผลไม้ให้เด็ก 3 ครั้งต่อสัปดาห์ แม่ครัวมีการใช้ผักที่ปลอดสารพิษโดยที่ไปซื้อเองโดยตรงจากผู้ผลิตในชุมชนที่วางใจได้ว่าปลูกเองไม่มีสารพิษจากยาฆ่าแมลง

  • โปรแกรมอาหารเช้า/เที่ยง มีการนำไปใช้จริงในโรงเรียนและศูนย์เด็กเล็ก แต่ก็ยังไม่ได้ใช้เป็นประจำทุกวันเช่นในโรงเรียนประถม

  • ภายในโรงอาหารของโรงเรียนประถมมีการขายขนมขบเคี้ยว ลูกอม และน้ำหวานให้เด็ก

  • ในโรงเรียนมัธยมมีการทำน้ำหมักอินทรีย์ เพื่อนำไปใช้เป็นปุ๋ยใส่ต้นไม้

-

3. คุยกรอบประเมินโครงการอาหารกับอาจารย์หมอลัดดา »
พุธ 3 ก.ย. 57 พุธ 3 ก.ย. 57

ประชุมร่วมกับผู้รับผิดชอบโครงการ และผู้ประเมินโครงการ

ประชุมการดำเนินงานร่วมกับผู้รับผิดชอบโครงการตามแผนงานเพื่อขับเคลื่อนการทำโครงการตามแผนงานใน ปี  2557 แ ร่วมกระตุ้นให้ชุมชนมีความเข้มแข็งในการนำเครืองมือและผลการศึกษาครั้งก่อนมาเรียนรู้และนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน

ได้ติดตามผลการดำเนินงานภายใต้แผนงานโภชนาการและอาหารคุณภาพของแต่ละพื้นที่ 

พื้นที่ชุมชนได้ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพของเด็ก โดยมีนโยบายให้แต่ละโรงเรียน และ ศพด.มีการจัดเมนูอาหารเพื่อสุขภาพตามวัย และเน้นความรู้ด้านโภชนาการให้แก่แม่และผู้ดูแล

-

4. ลงพื้นที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา »
พฤหัสบดี 4 ก.ย. 57 พฤหัสบดี 4 ก.ย. 57

หารือการดำเนินงานตามแผนปี 2

  • ลงพื้นที่หารือเรื่องแผนปีที่ 2 ณ ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติเพื่อชุมชน

  • ลงพื้นที่ตำบลสะพานไม้แก่น เพื่อเยี่มชมสวนที่จะพัฒนาเป็นศูนย์ดูแลสุขภาพตามแนววิถีธรรมชาติ

  • ลงพื้นที่หารือเรื่องแผนปีที่ 2 ณ ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติเพื่อชุมชน

  • ลงพื้นที่ตำบลสะพานไม้แก่น เพื่อเยี่มชมสวนที่จะพัฒนาเป็นศูนย์ดูแลสุขภาพตามแนววิถีธรรมชาติ

  • ทางคณะทำงานมีความตั้งใจที่จะดำเนินการสร้างศูนย์ดูแลสุขภาพตามแนววิถีธรรมชาติ โดยให้มีการทำ workshop เพื่อกำหนดทิศทาง ความน่าจะเป็นที่จะเกิดศูนย์สมุนไพร การนำเข้าข้อมูล ต่างๆ โดยเน้นไปที่ การจัดการสุขภาพตนเองตามวิถีธรรมชาติ การจัดการเศรษฐกิจชุมชน และการเผยแพร่ข้อมูล

-

5. ลงพื้นที่ตำบลควนรู้ »
ศุกร์ 5 ก.ย. 57 ศุกร์ 5 ก.ย. 57
  • หารือกับนายกองค์การบริหรส่วนตำบลควนรู เรื่องแผนการดำเนินงานในปีที่ 2
  • หารือแผนการดำเนินงานปีที่ 2 กับนายกและรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลควนรู

  • ติดตามการต่อยอดการดำเนินงานจากปีที่ 1

  • เยี่ยมชมการดำเนินงาน โปรแกรมอาหารกลางวันในโรงเรียน Thai school lunch ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านไสท้อน

  • หารือแผนการดำเนินงานปีที่ 2 กับนายกและรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลควนรู

  • ติดตามการต่อยอดการดำเนินงานจากปีที่ 1

  • เยี่ยมชมการดำเนินงาน โปรแกรมอาหารกลางวันในโรงเรียน Thai school lunch ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านไสท้อน-

  • นายกและรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลควนรู มีความตั้งใจจะดำเนินงานต่อยอดจากแผนปีที่ 1 โดยจะนำงบประมาณจากกองทุนสุขภาพมาร่วมขับเคลื่อนเพื่อทำแผนให้เชื่อมโยงกับงานของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ โดยเน้นการทำงานร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ เป็นต้น

  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในพื้นที่ทั้งสามศูนย์ ได้นำโปรแกรมอาหารกลางวันในโรงเรียน Thai school lunch ไปใช้

  • คนในชุมชนเริ่มตื่นตัวกับเรื่องความมั่นคงทางอาหาร โดยในแต่ละครัวเรือนจะเริ่มทำการปลูกผัก ไว้กินทุกบ้านตามที่จะปลูกได้ และเมื่อบริโภคไม่หมดก็ได้นำไปแจกจ่าย หรือจำหน่ายให้กับเพื่อนบ้าน

-

6. หารือแผนงานปี 2 กับอาจารย์สุกัญญา เดชอดิสัย »
พฤหัสบดี 11 ก.ย. 57 พฤหัสบดี 11 ก.ย. 57

พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันระหว่างทีมงานจาก สจรส. กับทีมงานจากคณะเภสัช ในเรื่องอาหารเป็นยาที่จะทำต่อเนื่องจากปีที่แล้ว

1.ได้มีการปรึกษาหารือกันเกี่ยวกับผลและปัญหาที่เกิดขึ้นจากโครงการปีที่1 เพื่อที่จะนำมาเป็นแนวทางต่อยอดในปีที่2

2.ชี้แจงเกี่ยวกับเป้าหมายของแผนงานในปีที่2 และหารือร่วมกันเพื่อวางแผนกิจกรรมต่างๆตามเป้าหมายของปีที่2

  • ติดตามการต่อยอดจากแผนงานปีที่1

  • ได้เสนอแนวคิดร่วมกันในการแก้ปัญหาและพัฒนาต่อยอดกิจจกรมในปีที่2

  • หลังจากปีที่แล้วได้มีการรวบรวมตำรับอาหารพื้นบ้านจากสมุนไพร และอาหารที่เป็นยา ได้มีการนำผลงานไปใช้ในพื้นที่จริง โดยนักศึกษาจากคณะเภสัช ม.อ. ได้ลงพื้นที่ฝึกงานและได้ทำนำผลงานนี้ไปสอนชาวบ้านปรุงอาหารเป็นยา ที่ ต.ชะแล้ อ.สิงหนคร

-

7. หารือแผนการดำเนินงานปีที่ 2 กับทีม ดร อมาวสี »
อังคาร 16 ก.ย. 57 อังคาร 16 ก.ย. 57

-ได้ร่วมพูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องการดำเนินงานตามแผน

-ผุ้วิจัยและทีมวิจัยได้สร้างแนวปฏิบัติร่วมกันเพื่อนำเครื่องมือที่ได้สำรวจมาแล้ว มาพัฒนาพื้นที่อย่างต่อเนื่อง

-

-

-

8. หารือแผนการดำเนินงานปีที่ 2 กับทีมสื่อสารฯ »
พฤหัสบดี 18 ก.ย. 57 พฤหัสบดี 18 ก.ย. 57
  • 1.หารือกับผู้นำด้านสือเพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและกระตุ้นสื่อเชิงรุกเพื่อเผยแพร่กิจกรรมในโครงการ

    2.ขับเคลื่อนให้โครงการจากแผนงานโภชนาการ และอาหาร ผ่านสื่อวิทยุ Cable TV  เวปไซด์

    3.ขับเคลื่อนสื่อใฟ้สร้างรูปแบบกิจกรรมและรณรงค์ตำรับอาหารของแม่

-ได้ร่วมหารือกับผู้ประสานงาน เพื่อวางแผนการขับเคลื่อนโครงการด้านโภชนาการให้ประชาชนทั่วไปได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม และได้ประชาสัมพันธ์เครือข่าย

-ได้รูปแบนบการขับเคลื่อนและการประชาสัมพันธ์ผ่านสือ และการทำกิจกรรมอาหารของแม่ ในวันแม่  2558 ที่ห้างโอเดี้ยน

-

-

9. หารือแผนการดำเนินงานปีที่ 2 กับทีมตำบลเชิงแส »
พฤหัสบดี 18 ก.ย. 57 พฤหัสบดี 18 ก.ย. 57

-1 ลงพื้นที่สร้างเวทีทำความเข้าใจชุมชนเกี่ยวกับการทำโครงการ ในปีที่2

2.ตัวแทนชุมชน เล่าประสบการณ์และการวางแผนงานโครงการที่จะดำเนินการต่อเนื่อง

3.เยี่ยมชมแปลงเกษตรตัวอย่างในพื้นที่

-ได้ประชุมและหารือกับตัวแทนชุมชนเพื่อวางแผนการทำโครงการ และได้เยียมชมแปลงเกษตรในพื้นที่

-ตัวแทนชุมชนเสนอการวางแผนโครงการที่จะเตรียมดำเนินการในปี 2557 การทำเกษตรแบบพอเพียงเพิ่มพื้นที่ขึ้น

-

-

10. คุยปรับแผนคุ้มครองผู้บริโภคกับสมาคมผู้บริโภค »
เสาร์ 27 ก.ย. 57 เสาร์ 27 ก.ย. 57

หารือร่วมกันเพื่อเพิ่มเติมกิจกรรมต่างๆให้เป็นไปตามแผน

หารือและปรับเปลี่ยนแผนงานร่วมกันเพื่อให้ดำเนินการได้ถูกทาง และบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ปรับเปลี่ยนกิจกรรมบางแผนงานเพื่อให้เกิดความเข้าใจ กระชับ และดำเนินการเป็นรูปธรรมได้

ปรับเปลี่ยน แก้ไข เพิ่มเติม ได้ผลการดำเนินงานตามตัวชีวัด

  • การพัฒนาเครือข่ายหรือศูนย์รับเรื่องการติดตามเฝ้าระวังด้านอาหารปลอดภัยในระดับท้องถิ่น

  • พัฒนาศักยภาพแกนนำ 11 อำเภอ ให้เป็นแกนนำคุ้มครองผู้บริโภค

  • องค์การบริหารส่วนตำบลมีการดำเนินกลไกการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารปลอดภัย

-

11. ปรับแผนตลาดเกษตร ม.อ. »
อังคาร 30 ก.ย. 57 อังคาร 30 ก.ย. 57

-

-

-

-

-

12. ประชุมเตรียมงานการผลักดันสวนสมุนไพรจะนะ »
พุธ 1 ต.ค. 57 พุธ 1 ต.ค. 57

1.ชี้แจงประเด็นที่จะหารือกันในการประชุมร่วมกันกับเครือข่ายเรื่องสวนสมุนไพรจะนะ

2.เตรียมงานประชุมผลักดันแผนงานสวนสมุนไพรจะนะ

  • ชี้แจงให้พื้นที่เตรียมข้อมูลและรูปถ่ายพื้นที่ที่จะทำสวนสมุนไพรเพื่อนำเสนอในที่ประชุม

  • ได้หารือร่วมกันถึงประเด็นที่ต้องพูดในที่ประชุมถึงความเป็นมาและความสำคัญของสวนสมุนไพรจะนะ

  • ทางพื้นที่ได้พูดถึงจุดเริ่มต้นและความจำเป็นที่ควรผลักดันให้มีสวนสมุนไพรในจะนะ เพื่อช่วยชุมชนให้มีที่พึ่งที่ยั่งยืน
  • ทางพื้นที่ ได้มีการให้สนาปนิกวางแปลนในพื้นที่ที่จะจัดทำสวนสมุนไพร ที่ตำบลสะพานไม้แก่น โดยแบ่งเป็น คลอง ศาลา และพื้นที่ปลูกสมุนไพร

-

13. พัฒนาแผนอาหารเชิงแส »
พฤหัสบดี 2 ต.ค. 57 พฤหัสบดี 2 ต.ค. 57
  1. ติดตามผลความคืบหน้ากิจกรรมของพื้นที่

  2. หารือร่วมกันเพื่อเพิ่มเติมกิจกรรมต่างๆให้เป็นไปตามแผน

  • พื้นที่ชี้แจงกิจกรรมต่างๆที่จะจัดให้เกิดขึ้นในชุมชน

  • หารือร่วมกันเพื่อเพิ่มเติมกิจกรรมอื่นๆ ให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ของแผนโครงการ

  • ร่วมกันเสนอความคิดเห็นในการก่อตั้งศูนย์เรียนรู้ในชุมชน

  • มอบหมายให้พื้นที่ไปสำรวจครัวเรือนที่มีการทำไร่นาสวนผสม พร้อมทั้งทำแผนที่และจัดระดับตามความสมบูรณ์แบบของสวน

  • พื้นที่มีการวางแผนกิจกรรมต่างๆที่เป็นรูปธรรม ลำดับขั้นตอนชัดเจน

  • พื้นที่มีการเตรียมความพร้อมในการก่อตั้งศูนย์เรียนรู้ในชุมชน

  • พื้นที่ได้มีการสำรวจวัว ของแต่ละครัวเรือน

  • พื้นที่มีการวางแผนกิจกรรมต่างๆ ซึ่งเชื่อมโยงสอดคล้องกับแผนพัฒนาความมั่นคงทางอาหาร

-

14. ประชุมแผนงานสื่อสารเรื่องอาหารของแม่ »
ศุกร์ 3 ต.ค. 57 ศุกร์ 3 ต.ค. 57

กิจกรรมประชุมทำความเข้าใจแนวทางการทำงานร่วมกันของสื่อสาธารณะเกี่ยวกับงานด้าน  อาหารของแม่ จ.สงขลา

  • ร่วมหารือกับผู้ให้ทุนสนับสนุนการทำกิจกรรมแผนอาหารของแม่ร่วมกับแผนสื่อสาธารณะ เพื่อเตรียมพร้อมในการดำเนินกิจกรรมวันแม่ 12 สิงหาคม 2558
  • ผศ.ดร.ภก.พงศ์เทพ  สุธีรวุฒิ ประธานในที่ประชุมกล่าวนำและอธิบายการทำงานของเครือข่าย และร่วมให้ที่ประชุมนำเสนอกิจกรรมที่ได้ทำในโครงการแล้วและที่จะดำเนินการต่อเนื่อง เพื่อได้หลักการทำงานในทิศทางเดียวกัน คือ ทำอย่างไรให้พ่อแม่ ทำอาหารถูกหลักอนามัย  และทำอย่างไรให้พ่อแม่ ลูกได้รับประทานอาหารร่วมกัน

  • เครือข่ายได้ร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อออกแบบการนำเสนอกิจกรรมสื่อสาธารณะด้านอาหารของแม่ จ.สงขลา

-เครือข่ายท้องถิ่นมีความเข้าใจและได้ร่วมนำเสนอกิจกรรมที่ทางท้องถิ่นได้ดำเนินการด้านอาหารและเกษตรอินทรีย์

  • เครือข่ายสื่อ สาธารณะ นำเสนอรูปแบบแผนงานด้านประชาสัมพันธ์สื่อกิจกรรมอาหารของแม่-

-

15. ประชุมแผนงานอุทยาอาหาร(ห้างโอเดียน) »
อังคาร 7 ต.ค. 57 อังคาร 7 ต.ค. 57
  • ชี้แจงรายละเอียดของแผนงาน ให้กับทีมงานของทางห้างโอเดียนฯ

  • หาแนวทางร่วมกันเรื่องรูปแบบการจัดกิจกรรมให้เป็นไปตามแผนยุทธศาตร์ที่ตั้งไว้

  • ทาง สจรส. ได้ชี้แจงรายละเอียดต่างๆของแผนงานอุทยานอาหาร ที่จะจัดขึ้นในห้างโอเดียนแฟชั่นมอลล์

  • หารือกันเรื่องรูปแบบกิจกรรมต่างๆที่จะจัดขึ้นในห้างโอเดียนฯ เพื่อให้แผนงานขับเคลื่อนไปตามวัตถุประสงค์

  • มีการวางแผนงานคร่าวๆไว้ ถึงช่วงเวลาที่จะจัดกิจกรรมต่างๆ

  • ปรับรูปแบบกิจกรรมเพื่อให้มีความเป็นไปได้ตามบริบทของห้างโอเดียน ซึ่งเป็นชุมชนคนเมือง

  • ได้วางแผนงานร่วมกันเกี่ยวกับ 3 กิจกรรมหลักๆ ทีทางห้างโอเดียนรับผิดชอบ คือ
  1. ตลาดนัดชุมชน จัดที่หน้าห้างเดือนละ 1 ครั้ง
  2. พัฒนาศักยภาพร้านค้าภายในและบริเวณรอบๆห้างโอเดียน จัดอบรมให้กับผู้ประกอบการร้านค้า และทำตารางโภชนาการให้
  3. งานวันแม่ แผนงานอาหารของแม่ มีการจัดกิจกรรมประกวดบนเวทีต่างๆ ประชาสัมพันธ์โครงการผ่านสือวิทยุและเคเบิลทีวี

-

16. ประชุมเครือข่ายแผนงานบูรณาการอาหารสงขลา »
พฤหัสบดี 9 ต.ค. 57 พฤหัสบดี 9 ต.ค. 57

-ประชุมทบทวน ติดตามแผนการดำเนินงานของแต่ละเครือข่ายที่รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

-

-

-

-

17. ประชุมระดมความคิดเห็นการจัดทำศูนย์ดูแลสุขภาพจะนะ »
ศุกร์ 17 ต.ค. 57 ศุกร์ 17 ต.ค. 57
  • ระดมองค์ความรู้ในการทำสวนยางป่ายางสมุนไพร จากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและผู้มีองค์ความรู้เรื่องสมุนไพร
  • คุณกิตติภพ สุทธิสว่าง ผู้รับผิดชอบโครงการได้ทำการเล่าถึงที่มาที่ไปของการดำเนินโครงการหารือรูปแบบสวนสมุนไพรและการดูแลสุขภาพตามแนววิถีธรรมชาติ

  • ผู้เข้าร่วมประชุม

ผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มย่อยประกอบไปด้วย

  1. นาย กิตติภพ สุทธิสว่าง (ประธานการประชุม)
    ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติเพื่อชุมชน อ.จะนะ จ.สงขลา

  2. ดร. สุกัญญา เดชอดิศัย คณะเภสัชศาสตร์ ม.อ.

  3. คุณ ปราณี รัตนสุวรรณ คณะเภสัชศาสตร์ ม.อ.

  4. นาย เสถียรพงษ์ แกล้วชิต คณะเภสัชศาสตร์ ม.อ.

  5. อ.สมพร ชาญวณิชย์สกุล คณะการแพทย์แผนไทย ม.อ.

  6. คุณ รัตน์ชนก ไตรวรรณ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะพานไม้แก่น

  7. นางสาว วรรณิศา จันทร์หอม ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติเพื่อชุมชน อ.จะนะ จ.สงขลา

  8. คุณ ชัยวุฒิ เกิดชื่น เครือข่ายวิทยุชุมชน

  9. คุณ สุวรรณี เกิดชื่น เครือข่ายวิทยุชุมชน

  10. คุณ เศวต คมสัน ต.บ้านนา อ.จะนะ จ.สงขลา

  11. นาย จรัญ สุทธิแป้น ต.บ้านนา อ.จะนะ จ.สงขลา

  12. นาย โสภณ จันทร์ศรีสว่างวงศ์ โรงพยาบาลจะนะ

  13. นาง วรรณดี สุวรรณกิจ โรงพยาบาลจะนะ

  14. นาย ชินาพันธ์ บิลตะหีมพาฏิล โรงพยาบาลจะนะ

  15. นาย ณัฐพร บุญเรือง ต.คลองเปียะ อ.จะนะ จ.สงขลา

  16. คุณ นงนุช ปราบไพลิน ทีมสื่อจาก สช.

  17. คุณ วิภู ล้วนรังสรรค์ ทีมสื่อจาก สช.

  18. คุณ พีรยา จินดามณี สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.อ.

  19. คุณ ชุติมา รอดเนียม สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.อ.

  20. คุณ วิไลลักษณ์ เดชาสิทธิ์ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.อ.

  • คุณกิตติภพ สุทธิสว่าง ได้ทำการเกริ่นนำถึงที่มาที่ไปของการจัดทำสวนป่าสมุนไพร และขอความคิดเห็นจากผู้ร่วมประชุมกลุ่มย่อย
  • อ.สมพร ชาญวณิชย์สกุล ให้ความเห็นว่าแผนงานนี้จะเป็นประโยชน์และสามารถช่วยเหลือชุมชนได้ ทั้งเรื่องการดูแลตนเองด้วยสมุนไพรและวิถีธรรมชาติ โดยเสนอให้ปลูกทั้งพืชสมุนไพรที่ใช้เป็นยาและสมุนไพรที่เป็นพืชเศรษฐกิจ
  • ดร. สุกัญญา เดชอดิศัย ให้ความเห็นว่า เสนอความเห็นว่าควรปลูกพืชสมุนไพรที่สามารถขายได้ราคาสูง และสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ ที่ใช้ในโรงพยาบาล(แพทย์สามารถสั่งจ่ายได้) ซึ่งปัจจุบันนี้มี 74 รายการ แต่ควรปลูกเป็นแบบอินทรีย์ไร้สารพิษ เพื่อนำไปผลิตยาได้อย่างปลอดภัย
  • นาย โสภณ จันทร์ศรีสว่างวงศ์ เสนอความเห็นว่า เสนอว่าให้ปลูกสมุนไพรสำหรับใช้ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และสมุนไพรที่เป็นผักสวนครัว สามารถบริโภคได้ในชีวิตประจำวัน เช่น หญ้าหวาน และมะระขี้นก
  • คุณ รัตน์ชนก ไตรวรรณ์ เสนอความเห็นว่า ให้ชุมชนนำสมุนไพรที่ปลูกได้มาทำลูกประคบสมุนไพร เช่น ไพล มะกรูด เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์ นำร่องในชมรม และชุมชนรอบข้าง
  • นาย ชินาพันธ์ บิลตะหีมพาฏิล เสนอให้มีการจัดอบรมครอสการดูแลสุขภาพตนเองด้วยวิถีธรรมชาติ ตามแนวของ หมอเจคอบ วาทัก-กันเชรีโดยให้มีการนำเอาสมุนไพรที่ปลูกไว้มาใช้ในครอสอบรมด้วย เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง และจัดให้มีการประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึง
  • คุณ วิไลลักษณ์ เดชาสิทธิ์ เสนอว่าอยากให้มีการทำสวนสมุนไพรในรูปแบบสวนที่ใช้พักผ่อนได้ด้วย เพื่อเป็นสถานที่ที่ใช้ในการดูแลสุขภาพตามวิถีธรรมชาติ และมาพักผ่อนคลายได้ อีกทั้งอยากให้เปิดเป็นที่ให้ความรู้ให้นักเรียน นักศึกษา หรือผู้ที่สนใจเข้ามาทัศนศึกษาได้
  • คุณ ปราณี รัตนสุวรรณ เสนอว่าควรปลุกระดมให้ทุกคนหันมาใช้สมุนไพรมากขึ้น มุ่งไปที่ชุมชนและคนในพื้นที่ โดยสังเกตุว่าคนในพื้นที่นี้เป็นโรคอะไรมาก และสามารถนำวิถีธรรมชาติและสมุนไพรมาประยุกต์ใช้อย่างไรได้บ้างในชุมชน
  • คุณ ชุติมา รอดเนียม มีความเห็นด้วยกับแผนงานนี้ว่าจะเป็นประโยชน์กับชุมชนอย่างมาก อยากให้จัดทำสวนสมุนไพรในรูปแบบสวนที่สามารถใช้ดูแลตนเองได้และใช้พักผ่อนได้ด้วย

ได้ คณะทำงานในแผนงาน เพื่อให้ขับเคลื่อนไปได้อย่างสำเร็จตามจุดมุ่งหมาย โดยมีรายชื่อคณะทำงานดังนี้ :

1) คุณ รัตน์ชนก ไตรวรรณ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะพานไม้แก่น

2) นาย โสภณ จันทร์ศรีสว่างวงศ์ โรงพยาบาลจะนะ

3) นาย ชินาพันธ์ บิลตะหีมพาฏิล โรงพยาบาลจะนะ

4) นาง วรรณดี สุวรรณกิจ โรงพยาบาลจะนะ

5) คุณ ชุติมา รอดเนียม สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.อ.

6) คุณ วิไลลักษณ์ เดชาสิทธิ์ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.อ.

โดยมีทีมอาจารย์ที่ปรึกษาดังนี้ : 1. ดร. สุกัญญา เดชอดิศัย คณะเภสัชศาสตร์ ม.อ.

  1. คุณ ปราณี รัตนสุวรรณ คณะเภสัชศาสตร์ ม.อ.

  2. อ.สมพร ชาญวณิชย์สกุล คณะการแพทย์แผนไทย ม.อ.

  และจะมีการจัดประชุมอีกครั้งในวันที่ 3 ธันวาคม 2557 ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลจะนะ

-

18. ประชุมทำแผนอาหารและโภชนาการชะแล้ »
พุธ 22 ต.ค. 57 พุธ 22 ต.ค. 57
  • ประชุมเพื่อปรึกษาหารือกันในประเด็นของการทำแผนอาหารและโภชนาการของตำบลชะแล้
  • ทาง สจรส.ได้นำเสนอข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยด้านภาวะโภชนาการเด็กของ อ.หมอลัดดา ที่พบว่าเด็กที่นี่มีปัญหาทางโภชนาการอยู่มาก เพื่อเป็นแนวทางให้ชุมชนทำแผนที่จะแก้ปัญหานี้
  • ทีมขับเคลื่อนแผนของตำบลชะแล้ และทีมอาจารย์จากวิทยาลัยพยาบาลราชชนนีสงขลา ร่วมกันเสนอความคิดเห็นและทิศทางของการทำแผนอาหารและโภชนาการของชะแล้ เพื่อให้ได้แผนที่เป็นไปได้ตามวัตุประสงค์ และเกิดประโยชน์กับชุมชนตำบลชะแล้
  • ได้แนวทางและแผนอาหารและโภชนาการของตำบลชะแล้ ในภาพรวม

  • มีการเสนอความคิดเห็นต่างๆ จากหลายฝ่าย เกี่ยวกับแผนการขับเคลื่อนโครงการนี้

  • ทุกฝ่ายทั้งจากเทศบาลตำบลชะแล้ คุณครูจากศูนย์เด็กเล็ก และทีมอาจารย์จากวิทยาลัยพยาบาลราชชนนีสงขลา ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ที่จะช่วยกันขับเคลื่อนแผนอาหารและโภชนาการของชะแล้

-

19. นัดประชุมเรื่องแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารกับจังหวัด »
ศุกร์ 24 ต.ค. 57 ศุกร์ 24 ต.ค. 57

หารือแผนการดำเนินงานยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดสงขลา

ประชุมหารือการดำเนินยุทธศาสตร์การบูรณาการระบบอาหารจังหวัดสงขลา ผู้ร่วมหารือจำนวน 5 คน

มีแผนการดำเนินงานและแนวทางที่จะดำเนินการตามแผนที่ตั้งไว้ โดยได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน

  • ทีมสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์พงค์เทพ สุธีรวุฒิ นางสาววรรณา สุวรรณชาตรีและนางสาวพีรยา จินดามณี ได้เข้าหารือและวางแผนการดำเนินงานของยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดสงขลา กับ หัวหน้าสำนักงานจังหวัดสงขลา คือ คุณขจรศักดิ์ เจริญโสภา  คุณศุภรินทร์ เสนาธง หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด และคุณจำเริญ ชนะชัยวงศ์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ

  • ข้อสรุปจากการหารือให้ศึกษา SWOT และวิสัยทัศน์ ที่ทำโดยทีมกลางและแก้ไขเพิ่มเติมโดย ผศ.ดร. พงค์เทพ ให้นำมาศึกษาอีกครั้งเพื่อสังเคราะห์ให้เป็นเนื้อเดียวกัน

  • เมื่อได้ร่างของยุทธศาสตร์ พร้อมด้วย SWOT และวิสัยทัศน์แล้ว ส่งให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องดูอีกครั้งและช่วยกันเติมเต็มในส่วนที่ขาดหายไป

  • เนื่องจากยังขาดแผนงานเพื่อรองรับกลยุทธ์ หัวหน้าสำนักงานจังหวัดจึงเสนอให้มีเขียนแผนงานกว้างๆ และเชิญผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้านระบบอาหารมาหารือ

  • ยังขาดตัวชี้วัดว่าภายใน 4 ปีนี้เราจะเห็นอะไร ดังนั้นต้องทำตัวอย่างเป็นตุ๊กตาไว้

  • ต้องมีการวางวางแผนการดำเนินงาน (time line) ว่าจะต้องทำอะไรในช่วงไหนบ้าง

  • เมื่อได้ร่างยุทธศาสตร์ SWOT และวิสัยทัศน์คร่าวๆ แล้ว ให้มีการนัดวันเพื่อทำเวที โดยให้ทุกภาคส่วนมาคุยและช่วยเติมเต็มยุทธศาสตร์ดังกล่าว

  • กำหนดให้มีการทำเวทียุทธศาสตร์ในวันพฤหัสที่ 27 พฤศจิกายน ณ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ โดยทางสำนักงานจังหวัดจะได้ทำหนังสือเชิญหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องมาเข้าร่วมประชุม โดยเป้าหมายผู้เข้าประชุมคือ หัวหน้าแผนงานฯ ของหน่วยงานนั้นๆ

-

20. ประชุมเรื่องพืช GMOs
จันทร์ 27 ต.ค. 57

 

 

 

 

 

21. ประชุมเรื่องตลาดสีเขียวโรงพยาบาลระโนด »
อังคาร 28 ต.ค. 57 อังคาร 28 ต.ค. 57
  • หารือกันเกี่ยวกับเรื่องการพัฒนาปรับปรุงตลาดสีเขียวของโรงพยาบาลระโนด
  • เดินชมตลาดสีเขียว ซึ่งอยู่ภายในโรงพยาบาลระโนด
  • เข้าพบ ผอ. โรงพยาบาลระโนด ชี้แจงถึงวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการพัฒนาตลาดสีเขียวที่นี่
  • ปรึกษากันกับทีมงานฝ่ายต่างๆที่โรงพยาบาลระโนด เช่น ฝ่ายโภชนาการ เพื่อร่วมเสนอความคิดเห็นในการพัฒนาปรับปรุงตลาดสีเขียว
  • ทีมงานฝ่ายต่างๆในโรงพยาบาลระโนด ให้ความร่วมมือกันอย่างดีที่จะช่วยกัน พัฒนาตลาดสีเขียว ได้แสนอความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับเรื่องกิจกรรมต่างๆที่จะผลักดันตลาดสีเขียวโรงพยาบาลระโนด
  • กลุ่มเกษตรกรที่นำผลผลิตมาขาย ได้แสดงความคิดเห็นถึงปัญหาต่างๆของตลาดนี้ ที่อยากให้ปรับปรุงแก้ไข
  • ทีมงานฝ่ายต่างๆในโรงพยาบาล ช่วยกันเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ที่จะผลักดันตลาดนี้ เช่น จัดซุ้มให้น่าซื้อ เพิ่มเรื่องโภนาการของอาหารให้ผู้บริโภคได้ทราบก่อนซื้อ นิทรรศการความรู้เรื่องปลูกผักแนวตั้ง
  • หาแหล่งจำหน่ายเพิ่มเติมให้เกษตรกร เช่น ขยายผลให้นำผลผลิตปลอดสารพิษในชุมชนไปทำอาหารในศูนย์เด็กเล็ก

-

22. ทำความเข้าใจกับครัวเรือนต้นแบบเชิงแส »
อังคาร 28 ต.ค. 57 อังคาร 28 ต.ค. 57
  • ทำความเข้าใจกับครัวเรือนต้นแบบที่จะเข้าร่วมโครงการนี้ เกี่ยวกับรายละเอียดข้อตกลงต่างๆ และเรื่องเครื่องมือที่จะใช้บันทึกเพื่อประเมินตนเอง
  • ทางพื้นที่ไม่ได้นัดครัวเรือนต้นแบบทั้งหมดมาในวันนี้
  • เยี่ยมบ้านลุงประสิทธิ์ หนึ่งในครัวเรือนต้นแบบที่ทำเกษตรพอเพียง
  • ไม่ได้ชี้แจงเรื่องรายละเอียดต่างๆของโครงการ กับครัวเรือนต้นแบบ
  • นัดวันเพื่อให้ทีมอาจารย์จากวิทยาลัยพยาบาลมาพบกับครัวเรือนต้นแบบ เพื่อสอนการใช้เครื่องมือประเมินตนเอง และเพื่อปรับปรุงแก้ไขเครื่องมือให้ใช้ง่ายและเหมาะกับพื้นที่
  • เนื่องจากพื้นที่ไม่ได้นัดครัวเรือนต้นแบบทั้งหมดมาในวันนี้ จึงไม่ได้ทำการชี้แจงทำความเข้าใจกับครัวเรือนต้นแบบ
  • ทางพื้นที่มีความกังวลเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือประเมินตนเอง เพราะมีความยุ่งยาก ใช้ยากสำหรับเกษตรกรที่อายุมากและไม่ได้เรียนหนังสือ
  • ทำการนัดวันเพื่อให้ครัวเรือนต้นแบบมาอบรมการใช้เครื่องมือกับทีมอาจารย์จากวิทยาลัยพยาบาลสงขลา

-

23. กิจกรรมทำแผนปฏิบัติการด้านความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัยและโภชนาการสมวัยในพื้นที่ ต.ควนรู อ.รัตภูมิ จ.สงขลา »
พุธ 29 ต.ค. 57 พุธ 29 ต.ค. 57

หารือและร่วมวางแผนงานกับตัวแทนชุมชนและผู้นำท้องถิ่นในการจัดรูปแบบกิจกรรมให้เกิดรูปแบบชัดเจน

-ทีมผู้วิจัยและดร.อมาวสี อัมพันศิริรัตน์จากวิทยาลัยพยาบาลสงขลาได้ลงพื้นที่ ต.ควนรู เพื่อศึกษาข้อมุลท้องถิ่น เก็บข้อมุลจากผู้ใจข้อมุลที่เป็นตัวแทนชุมชน ได้แก่ นายก อบต. รองนายก อบต. ผุ้ใหญ่บ้าน  ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดโคกค่ายและครู ศพด.ทั้ง 3 ที่  เจ้าหน้าที่ รพ.สต. และ อสม.

-

-

-

24. ประชุมแผนงานจัดการระบบฐานข้อมุล
เสาร์ 1 พ.ย. 57

นัดประชุมกับผู้ปฏิบติงานฝ่ายการจัดการระบบฐานข้อมุล คุณฐิตาพร  แก้วเอียด คุณวรรณา สุวรรณชาตรี

 

 

 

 

25. ปรับร่างยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดสงขลา »
อังคาร 11 พ.ย. 57 อังคาร 11 พ.ย. 57

ปรับร่างยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดสงขลาหลังจากที่ได้เข้าประชุมหารือกับ คุณขจรศักดิ์ เจริญโสภา หัวหน้าสำนักงานจังหวัดสงขลา

  • ประธานคณะทำงานยกร่างยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดสงขลา คือ ผศ ดร พงค์เทพ สุธีรวุฒิ ได้ปรับแก้ไขยุทธศาสตร์ ตามที่ได้เข้าปรึกษาหารือ กับคุณขจรศักดิ์ เจริญโสภา หัวหน้าสำนักงานจังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 57 ที่ผ่านมา

ได้ร่างยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดสงขลา ที่สมบูรณ์พร้อมส่งให้กับ สำนักงานจังหวัดสงขลา

ได้ร่างยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดสงขลา 4 ยุทธศาสตร์ ประกอบไปด้วย

  • ยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านความมั่นคงทางอาหาร

  • ยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านอาหารปลอดภัย

  • ยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านโภชนาการ

  • ยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการบริหารจัดการ

เพื่อส่งให้สำนักงานจังหวัดสงขลา ออกหนังสือเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชาพิจารณ์แผนร่างยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดสงขลา ในวันที่ 27  พฤศจิกายน 2557

-

26. ประชุมหารือเรื่องการพัฒนากลไกการตลาดกับทางห้างโอเดี้ยนและ ตลาดเกษตร มอ »
อังคาร 11 พ.ย. 57 อังคาร 11 พ.ย. 57

พัฒนากลไกการตลาดกับทางห้างโอเดี้ยนและ ตลาดเกษตร มอ

ประชุมหารือเพื่อพัฒนากลไกการตลาดให้กับห้างโอเดี้ยนฯ  โดยมีคุณวรภัทร ไผ่แก้ว ผู้จัดการตลาดเกษตร มอ เป็นพี่เลี้ยงให้กับห้างฯ

ห้างโอเดี้ยนฯ ได้แผนกลไกการตลาดเพื่อเปิดเป็นอุทยานอาหารในเขตเมือง

ห้างโอเดียนแฟชั่นมอลล์ได้แผนกลไกการตลาด ที่จะนำไปปรับใช้เพื่อ เป็นตลาดอุทยานอาหารในเขตเมือง โดยในเบื้องต้น จะนำผู้ประกอบการที่เป็นเครือข่าย จากตลาดเกษตร มอ ไปเป็น ผู้ประกอบการจำหน่ายสินค้าเกษตร ทั้งด้านปศุสัตว์ ด้านพืชเกษตร และด้านการประมง โดยในครั้งแรก จะทำการเปิดตลาดในวันที่ 6 ธันวาคม 2557 เวลา 14.00 - 16.00 น. บริเวณถนนเสน่หานุสรณ์ หน้าห้างโอเดียนแฟชันมอลล์

-

27. ประชุมแผนสื่อสารสาธารณะ (กิจกรรมสื่อ) »
อังคาร 11 พ.ย. 57 อังคาร 11 พ.ย. 57

ประชุมปรับกิจกรรมในแผนการสื่อสารสาธารณะ

คุณสุวรรณี และคุณชัยวุฒิ เกิดชื่น ผู้รับผิดชอบหลักแผนงานการสื่อสารสาธารณะ อธิบายถึงงกิจกรรมที่จะทำตลอดแผนงาน

ได้แผนการจัดการด้านสื่อสารสาธารณะ ที่จะเข้าไปสร้างกระแส ให้กับแต่ละเครือข่าย

  • ผศ ดร พงค์เทพ สุธีรวุฒิ อธิบายให้ผู้รับผิดชอบแผนงานสื่อสารสาธารณะ เข้าใจถึงแผนงานสื่อสารคือ
  1. สื่อสารให้รู้/เข้าใจ/ประชาสัมพันธ์
  2. ขับเคลื่อน ผลักดัน เคลื่อนไหว

และให้ทำควมเข้าใจแต่ละแผนงานที่จะเข้าไปทำสื่อ คือต้องทำความเข้าใจเป้าหมายของแต่ละแผน และกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญ  หลังจากนั้น นำข้อมูลของแต่ละแผนมาสรา้งกระแส และสร้างเวทีกดดันออกอากาศ

-

28. ลงพื้นที่ชะแล้ »
อังคาร 18 พ.ย. 57 อังคาร 18 พ.ย. 57

หารือและร่วมวางแผนงานกับตัวแทนชุมชนและผู้นำท้องถิ่นในการร่วมกันจัดรูปแบบกิจกรรมอย่างชัดเจน

-คุณสุวรรณา สุวรรณชาตรีและทีมจาก สจรส. ประชุมเพื่อหารือการถอดบทเรียนและการขับเคลื่อนกิจกรรมตามแผนอาหารและโภชนาการ และจากงานวิจัยด้านภาวพโภชนาการเด็กจาก รศ.พญ.ลัดดา  เหมาะสุวรรณ ซึ่งได้ศึกษาวิจัยในพื้นที่พบว่าเด็กในชุมชนมีปัญหาภาวะโภชนาการหลายประการ  เพื่อเป็นแนวทางให้ชุมชนได้ทำแผนกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหา

-แกนนำได้ร่วมเรียนรู้และวางแผนกิจกรรมและสำรวจพื้นที่ในชุมชน

-เกิดรูปแบบกิจกรรม ตามแผนอาหารและโภชนาการของชุมชน

  • ได้แนวทางและแผนอาหารและโภชนาการของตำบลชะแล้
  • แกนนำได้เสนอความมคิดเห็นและแผนงาน และมีการรวมกลุ่มกิจกรรม เช่น กลุ่มตลาดสีเขียว กลุ่มโรงเรียนและ ศพด.และ รพ.สต.

-

29. หารือกับอาจารย์ลัดดา »
จันทร์ 24 พ.ย. 57 จันทร์ 24 พ.ย. 57
  • ประชุมเพื่อปรึกษาหารือในประเด็นการทำกิจกรรมตามแผนอาหารและโภชนาการในพื้นที่ตำบลควนรูและตำบลชะแล้

-คุณวรรณา สุวรรณชาตรีและทีม สจรส. ประชุมหารือกับ รศ.พญ.ลัดดา เหมาะสุวรรณและคุณจันทิมา เพื่อรายงานความก้าวหน้าของกิจกรรมตามแผนอาหารและโภชนาการจากการลงพื้นที่ตำบลควนรู และตำบลชะแล้ที่ได้นำเสนอแก่ทีม อ.อมาสวี เพื่อให้เกิดรูปแบบกิจกรรมที่ชัดเจน

  • รศ.พญ.ลัดดา เสนอแนะให้สร้าง Model ของการบูรณาการด้านอาหารและโภชนาการที่เป็นรูปแบบชุมชนอย่างยั่งยืน และเป็นต้นแบบให้กับชุมชนอื่นทำได้ 
  • ได้แนะนำแนวทางของการทำกิจกรรมอาหารและโภชนาการที่สอดคล้องกับปัญหาปี  2556
  • มีการนำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมทั้ง 3 มิติ คือ ด้านความมั่นคงทางอาหาร ด้านอาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย
  • ได้ข้อเสนอแนะในการดำเนินกิจกรรมเพื่อปรับรูปแบบกิจกรรมให้สอดคล้องกับการแก้ปัญหาภาวะโภชนาการสมวัยและการบูรณาการอาหารทั้ง 3 มิติ
  • ได้ข้อเสนอในการจัดประชุมครั้งต่อไป โดยแนะนำให้พื้นที่ ตำบลควนรูและตำบลชะแล้ พูดนำเสนอแผนกิจกรรม แสดงให้เห็นรูปแบบชัดเจนที่เชื่อมโยงกับการแก้ปัญหาดังกล่าว และให้กำหนดระยะเวลาการดำเนินกิจกรรมนั้นๆ

-

30. พัฒนาเครื่องมือประเมินตนเองเชิงแส »
พุธ 26 พ.ย. 57 พุธ 26 พ.ย. 57
  1. นำเครื่องมือประเมินตนเองด้านความมั่นคงด้านอาหารของวิทยาลัยพยาบาลราชชนนีไปพูดคุยกับครัวเรือน จำนวน 8 ครัวเรือน ที่เข้าร่วมโครงการความมั่นคงด้านอาหารตำบลเชิงแส โดยให้ครัวเรือนใช้เครื่องมือประเมินตนเอง ประเมินการดำรงชีวิตของครัวเรือน เพื่อให้ครัวเรือนได้เกิดการจัดการข้อมูลในระดับครอบครัว
  2. เพื่อต้องการให้ครัวเรือนตัวอย่างได้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มพัฒนาระบบการเกษตรในพื้นที่ตำบลเชิงแส

1.ได้ปรับเครื่องมือประเมินตนเองให้มีเนื้อหาที่สะดวกในการเก็บข้อมูลระดับครัวเรือน

2.เครื่องมือประเมินตนเองที่ปรับ เพื่อให้มีเนื้อหาสอดคล้องกับบัญชีครัวเรือน

1.ได้ปรับเครื่องมือประเมินตนเองให้มีเนื้อหาที่สะดวกในการเก็บข้อมูลระดับครัวเรือน

2.เครื่องมือประเมินตนเองที่ปรับ เพื่อให้มีเนื้อหาสอดคล้องกับบัญชีครัวเรือน

1.ได้เครื่องมือประเมินตนเองระดับครัวเรือน

2.ได้เครื่องมือบันทึกรายรับ / รายจ่ายในระดับครัวเรือน

-

31. โครงการอุทยานอาหารเพื่อสุขภาพ »
พุธ 26 พ.ย. 57 พุธ 26 พ.ย. 57
  • จัดอบรมความรู้ด้านสุขวิทยาให้ผู้ประกอบการ จากนักวิชาการสาธารณสุข
  • กิจกรรมให้ความรู้ด้านสุขภิบาลอาหารและให้คำแนะนำในการประกอบอาหารตามข้อตกลงของ  อย. กิจการมจริง จาก คุณ สุกัญดา เหมืองทอง  และคุณพิชามญช์  โป๊ะบุญชื่น นักวิชาการสาธารสุข
  • ได้จัดอบรมให้ความรู้ด้านสุขภิบาลอาหาร แนะนำเรือ่งการแต่งกายของผู้ประกอบการ และการปฏิบัติตามเกณฑ์ของ อย.
  • วางแผนและทำความเข้าใจในโครงการอุทยานอาหารเพื่อสุขภาพ โดยเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการสอบถามข้อสงสัย

ห้างโอเดี้ยนและผู้ประกอบการทุกร้านได้มีความเข้าใจตรงกันในรูปแบบกิจกรรมโครงการ และได้รับความรู้ด้านสุขาภิบาลจาก คุณ สุกัญดา เหมืองทอง  และคุณพิชามญช์  โป๊ะบุญชื่น นักวิชาการสาธารสุข สำนักสาธารณสุขเทศบาลนครหาดใหญ่

  • ผู้ประกอบการได้รับความรู้และทำความเข้าใจในหลักการอาหารที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะต่อผุ้บริโภค
  • ห้างโอเดี้ยนและผู้ประกอบการทกร้านทำความเข้าใจในกิจกรรมและการเตรียมเปิดงานในวันที่ 6 ธันวาคม 2557  เวลา  14 .00 – 20. 00 น. บริเวณ  หน้าห้างโอเดี้ยน

-

32. เวที การติดตามเฝ้าระวังผลกระทบจากการตัดแต่งพันธุกรรม (GMOs) ภาคเกษตร »
พุธ 26 พ.ย. 57 พุธ 26 พ.ย. 57
  • ๐๘.๓๐-๐๙.๐๐  น. ลงทะเบียน
  • ๐๙.๐๐-๐๙.๓๐  น. วีดีทัศน์ “สถานการณ์พืชดัดแปรพันธุกรรม GMOs” โดย  คุณกำราบ พานทอง
  • ๐๙.๓๐-๐๙.๔๕ น. ชี้แจงวัตถุประสงค์ และกระบวนการเวที
    โดย  ผู้ช่วยศาสตราจารย์พงค์เทพ สุธีรวุฒิ  สจรส.
  • ๐๙.๔๕-๑๐.๐๐ น. กล่าวต้อนรับ และเปิดเวที โดย รองศาสตราจารย์ ดร.เริงชัย ตันสกุล กรรมการองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมสุขภาพ/สมาคมผู้บริโภค สงขลา
  • ๑๐.๐๐-๑๐.๓๐  น. บรรยาย “แนวโน้มทิศทางภาคเกษตร และผลกระทบที่จะเกิดขึ้น”โดย  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทวีศักดิ์ นิยมบัณฑิต คณบดีคณะทรัพยากรธรรมชาติ  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ๑๐.๓๐-๑๑.๐๐ น.ซักถาม แลกเปลี่ยน รับประทานอาหารว่าง (ในห้องประชุม)
  • ๑๑.๐๐-๑๑.๓๐ น. สถานการณ์นโยบายพืชดัดแปรพันธุกรรม (GMOs)  โดย  คุณวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ  มูลนิธิชีววิถี
  • ๑๑.๓๐-๑๒.๐๐ น. ซักถาม แลกเปลี่ยน
  • ๑๒.๐๐-๑๓.๐๐ น. พัก รับประทานอาหารกลางวัน
  • ๑๓.๐๐-๑๕.๐๐ น . ระดมความคิดเห็น
    “กำหนดทิศทางการติดตามนโยบายและการรณรงค์ร่วมกัน
      กรณีพืช GMOs และภาคการเกษตร”   โดย คุณเอกชัย อิสระทะ เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคใต้  รับประทานอาหารว่าง (ในห้องประชุม)
  • ๑๕.๐๐-๑๕.๓๐ น.สรุปการประชุม โดย  ผู้ช่วยศาสตราจารย์พงค์เทพ สุธีรวุฒิ
    สถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้ (สจรส.)
  • ผู้เข้าร่วมประชุมเดินทางมาประชุมจำนวน 80 คน
  • ผศ.ดร. พงค์เทพ สุธีรวุฒิ ชี้แจงวัตถุประสงค์ และกระบวนการเวที
  • กล่าวต้อนรับ และเปิดเวที โดย รองศาสตราจารย์ ดร.เริงชัย ตันสกุล กรรมการองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมสุขภาพ/สมาคมผู้บริโภค สงขลา -  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทวีศักดิ์ นิยมบัณฑิต คณบดีคณะทรัพยากรธรรมชาติ  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ บรรยาย “แนวโน้มทิศทางภาคเกษตร และผลกระทบที่จะเกิดขึ้น”
  • คุณวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ  มูลนิธิชีววิถี บรรยายสถานการณ์นโยบายพืชดัดแปรพันธุกรรม (GMOs)
  • คุณเอกชัย อิสระทะ เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคใต้นำระดมความคิดเห็นเรื่อง “กำหนดทิศทางการติดตามนโยบายและการรณรงค์ร่วมกัน กรณีพืช GMOs และภาคการเกษตร”
  • ผู้เข้ารับฟังเวทีฯ ดังกล่าว ได้รับความรู้จากวิทยากรที่ได้มาบรรยายให้ฟัง
  • หลังจากวิทยากรได้บรรยายในหัวข้อต่างๆ แล้ว ผู้ที่สนใจในเรื่องดังกล่าว ได้โยนคำถามให้วิทยากร เช่น ในกรณีของสัตว์ซึงเป็นสินค้าด้านการเกษตร ได้มีเรื่องของ GMOs เข้ามาเกี่ยวข้องบ้างหรือไม่ อย่างไร และในอาหารที่เราบริโภคอยู่ทุกวัน มีอาหารอะไรบ้างที่ประกอบด้วย GMOs เป็นต้น

-จากเวทีการประชุม ทำให้เครือข่ายต่างๆที่มาเข้าร่วมประชุมได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็น พร้อมทั้งแสดงจุดยืนของเครือข่ายตัวเอง เช่น

  * กลุ่มจงหวัดกระบี่ จะได้มีการขยับในเรื่องของพืช GMOs โดยให้มีการแบ่งกลุ่มกันทำงานเชิงรุก เช่น สู้กับฝ่ายนโยบาย (ฝ่ายนโยบายรับนโยบายของพืช GMOs จากภายนอกมาขยับในพื้นที่ ทำให้พืชเกิดการเปลี่ยนแปลงสายพันธ์ สารอาหารที่ได้จากพืชน้อยลงกว่าเดิม และกรรมวิธีการผลิตพืชก็เปลี่ยนไป) เมื่อสู้กับฝ่ายนโยบายแล้วให้ทำการเผยแพร่เรื่องราว ข้อดี ข้อเสียของพืช GMOs และที่สำคัญที่สุดคือ ให้เกษตรกรในพื้นที่รักษาพันธุกรรมของตัวเอง

  * กลุ่มสมาคมผู้บริโภคจังหวัดสงขลา เสนอให้มีการติดฉลากพืช หรือ สินค้าที่ผลิตจากกรรมวิธี GMOs เพื่อให้ผู้บริโภคมีทางเลือกในการบริโภคอาหารเพิ่มมากขึ้น

  ทั้งนี้คุณเอกชัย อิสระทะ ได้ให้ข้อคิดให้ผู้เข้าร่วมเวทีได้กลับไปทบทวน คือ การทำอย่างไรที่เราจะสามารถปกป้องพันธุกรรมอาหารของเราได้อย่างยั่งยืน  ทำอย่างไรให้เกษตรกรได้มีองค์ความรู้มากกว่านี้ ในเบื้องต้นเพื่อให้มีความก้าวหน้าของงานอย่างต่อเนื่อง ขอให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้มีการประสานข้อมูล เตรียมความพร้อมในระดับพื้นที่ เช่น ต้องมีข้อมูลงานวิจัย ต้องทำฐานข้อมูล ต้องติดตามระบบข้อมูล และต้องสนับสนุนพันธุกรรมพื้นบ้านของตัวเอง

-

33. หารือการเตรียมแผนกิจกรรมบูรณาการระบบอาหาร ของ ต.ควนรูและ ต.ชะแล้ »
อังคาร 2 ธ.ค. 57 อังคาร 2 ธ.ค. 57

เพื่อกำหนดเวลาและทิศทางการดำเนิน กิจกรรมแผนงานอาหารและโภชนาการใน 2 พื้นที่

9.00 - 9:30 น.คุณสุวรรณา สุวรรณชาตรี กล่าวแนะนำการจัดกิจกรรมเพื่อหารือกับชุมชนการทำแกนนำจากชุมชนควนรูและ ชะแล้ ได้ร่วมวางแผนและปรับแผนงานให้สอดคล้องกับปัญหาภาวะโภชนาการในแต่ละชุมชน  โดยให้แต่ละชุมชนรวมกลุ่มและนำเสนอแผนงานที่จะทำในปีนี้

09:30 -13:30 น.หารือกับกลุ่มย่อยและสรุปแผนงาน
ตำบลชะแล้ คุณวิชิต สิทธิพันธ์ และครูจาก ศพด.บ้านชะแล้  ตัวแทนจากตำบลควนรู คุณอมิตา ประกอบชัยชนะ และเจ้าหน้าที่ รพ.สต.

14:00 - 15.00 รศ.พญ.ลัดดา  เหมาะสุวรรณ  ร่วมประชุมและฟังแผนงานจากชุมชนทั้ง 2 ชุมชน และให้ข้อเสนอแนะสำหรับการปรับรูปแบบกิจกรรม

ได้รูปแบบแผนงานอาหารและโภชนาการของแต่ละพื้นที่ ที่ได้กำหนดทิศทางตามปัญหาด้านโภชนาการ อาหารปลอดภัย และความมั่นคงทางอาาหาร

เกิดรูปแบบกิจกรรมตามผนงานอาหารและโภชนาการของแต่ละพื้นที่ และได้ ข้อเสนอแนะจาก  รศพญ.ลัดดา เหมาะสุวรรณ

-

34. ประชุมวางแผนการดำเนินงานสวนป่าสมนไพร »
พุธ 3 ธ.ค. 57 พุธ 3 ธ.ค. 57

ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนการดำเนินงานสวนป่าสมุนไพรในระยะต่อไป

ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนการดำเนินงานสวนป่าสมุนไพรในระยะต่อไป

คณะทำงานและตัวแทนภาคประชุาชนในพื้นที่เข้าร่วมประชุมวางแผนฯ จำนวน 12 คน

  • คณะทำงานได้ร่วมกันประชุมวางแผนการดำเนินงานในระยะต่อไป ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลจะนะ โดยมีนายแพทย์สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ เป็นผู้ให้คำแนะนำการประชุมดังกล่าว
  • จากการประชุมในครั้งที่ผ่านมา คุณรัตน์ชนก ไตรวรรณ์ ได้นำแนวคิดไปขยายผลให้กับ อสม ในพื้นที่ อสม ในพื้นที่จำนวน 89 คน มีความสนใจที่จะมาร่วมการดำเนินงานดังกล่าว
  • คุณโสภณ แพทย์แผนไทย โรงพยาบาล ได้ให้คำแนะนำ คือ ควรส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกพืชที่ใช้ในชุมชนและเป็นพืชเศรษฐกิจ และหากจะนำพืชดังกล่าวมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ควรทำการเรียนรู้เรื่องการตลาด  การปลูกพืชสมุนไพรแทรกลงไปในสวนยางควรปลูกพืชเศรษฐกิจที่สามารถนำไปขายและสร้างรายได้ เช่น พริกไทย ชะพลู แต่หากปลูกเพื่อเศรษฐกิจ สิ่งสำคัญคือต้องหาตลาด
  • ในวันที่ 18 ธันวาคม นำเครือข่ายที่เป็นแกนนำไปศึกษาดูงานที่สวนลุงฑูรย์ที่ตะโหมด จังหวัดพัทลุง เพื่อไปดูแนวทางการดำเนินงานและนำมาปรับใช้กับพื้นที่จะนะ และกลับมาเตรียมพื้นที่ โดยการหารือกับ ดร.สุกัญญา  พร้อมกับสรา้งองค์ความรู้ทั้งเรื่องการตลาดและองค์ความรู้ทางวิชาการ และหลังจากนั้นก็จะทำการเปิดตัวศูนย์เรียนรู้ชุมชนฯ

-

35. ประชุมเครือข่ายคณะทำงานโครงการฯ ครั้งที่ 2/57 »
เสาร์ 6 ธ.ค. 57 เสาร์ 6 ธ.ค. 57

-ประชุมแกนนำเครือข่ายคณะทำงานทุกโครงการเพื่อติดตามความก้าวหน้า -เพื่อให้เกิดการทำงานเชื่อมโยงระหว่างเครือข่ายกับนักวิชาการ

-มีการประชุมแกนนำเครือข่ายคณะทำงานทุกโครงการเพื่อติดตามความก้าวหน้า -มีการให้ข้อเสนอแนะและได้เชื่อมโยงการทำงานระหว่างเครือข่ายกับนักวิชาการ

  • เครือข่ายผู้รับทุนทุกคณะทำงานได้นำเสนอความก้าวหน้าของกิจกรรม

ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ คุณวรรณา สุวรรณชาตรี กล่าวเปิดการประชุมและชี้วัตถุประสงค์ให้คณะทำงานรับทราบและดำเนินการให้แต่ละโครงการนำเสนอโดยผ่าน website consumersouth.org

คุณสุรีย์รัตน์ ชัยเชื้อ - นำเสนอรายงานกิจกรรมโครงการรูปแบบความมั่นคงทางอาหารตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลเชิงแส อำเภอกระแสสินธุ์ ข้อเสนอแนะจาก ผศ.ดร.พงค์เทพ กิจกรรมโครงการของตำบลเชิงแสควรเน้นการพัฒนาระบบอาหารในชุมชน  เพื่อเพิ่มศักยภาพของชุมชน และสร้างตลาดชุมชนเพื่อรองรับผลการผลิตและเป็นแหล่งตลาดเกษตรกรที่พึ่งตนเองได้


ดร. อมาวสี อัมพันศิริรัตน์ นำเสนอกระบวนการประเมินตนเองของตำบลควนรูและตำบลชะแล้จากการได้ทำแผนกิจกรรมกับท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม

คุณอมิตา ประกอบชัยชนะ ครูจากโรงเรียน และเจ้าหน้าที่จาก รพ.สต. นำเสนอกิจกรรมบูรณาการเรื่องอาหารและโภชนาการของตำบลควนรู และแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม รูปแบบกระบวนการประเมินตนเองตำบลควนรู ซึ่งได้ปรับกิจกรรมให้สอดคล้องกับการบูรณาการอาหารทั้ง การบูรณาการอาหารทั้ง  3มิติ

คุณวิชิตร สิทธิพันธ์ นำเสนอกิจกรรมบูรณาการเรื่องอาหารและโภชนาการของตำบลชะแล้ และแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมรูปแบบกระบวนการประเมินตนเองตำบลชะแล้ ซึ่งได้ปรับกิจกรรมให้สอดคล้องกับการบูรณาการอาหารทั้ง การบูรณาการอาหารทั้ง  3มิติ


รศ.พญ.ลัดดา เหมาะสุวรรณ ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ การดำเนินงานกิจกรรมการบูรณาการเรื่องอาหารและโภชนาการของ ตำบลชะแล้ คือ ภาพรวมของกิจกรรมส่วนใหญ่ เทศบาลชะแล้มองด้านความมั่นคงทางอาหารได้ดี และมีความเข้มแข็งของกลุ่มชุมชน เป็นสิ่งที่น่าชื่นชน แต่ควรเพิ่มและให้ความสำคัญในกลุ่มกิจกรรมโภชนาการด้วย เนื่องจากมีกิจกรรมที่ ศพด. และใน โรงเรียน ควรมีการเฝ้าระวังภาวะโภชนการกลุ่มเด็กต่างๆด้วยเช่นเด็กวัยก่อนเข้าศูนย์เด็กเล็ก รวมทั้ง เด็กทุกคนที่ไม่ได้เข้า ศพด.อยากให้เชื่อมโยงเด็กกลุ่มนี้ด้วย  และในส่วนมิติอาหารปลอดภัย แนะนำการปรับตลาดหน้าสี่แยกที่ชะแล้เป็นตลาดปลอดภัย ควรมีแผนกิจกรรมและการปรับเป็นตลาดอาหารเพื่อสุขภาพ และมีสุขาภิบาลที่ปลอดภัย รวมทั้งการให้ความรู้ด้านสุขาภิบาลแกผู้ประกอบการทุกร้านในตลาดสี่แยก

ตำบลควนรู คือ อยากให้เน้นย้ำการทำกิจกรรมร่วมกับท้องถิ่น  รพ.สต . และศพด. ซึ่งค่อนข้างทำมีแนวทางชัดเจนแล้ว แต่ควรทำเป็นแผนที่ชัดเจนโดยการมีผู้รับผิดชอบโครงการนั้นๆเป็นรายกิจกรรมไป เพื่อทำให้มีการทำกิจกรรมต่อเนื่องและปรับรูปแบบมาเป็นแผนชุมชน ที่ อบต.ต้องการ

คุณก้องกิดากร สุวรรณมณี นำเสนอรายงานกิจกรรม โครงการการพัฒนาอุทยานอาหารในห้างสรรพสินค้าโอเดียนแฟชั่นมอลล์ ในตัวเมืองหาดใหญ่  จัดพิธีเปิดงานวัน เสาร์ที่ 6 ธันวาคม  2557 ซึ่งได้เตรียมความพร้อมของกิจกรรม จัดอบรมให้ความรู้กับผู้ประกอบการและได้ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อวิทยุ และสื่ออินเตอร์เน็ท

คุณกิติภพ  สุทธิสว่าง  นำเสนอรายงานกิจกรรมโครงการความมั่นคงทางอาหารกับวิถีสุขภาพ อำเภอจะนะ โดยมีการจัดทำสวนสมุนไพรและเตรียมไปศึกษาดูงานที่สวนคุณฑูร  เพื่อให้ชุมชนไปเรียนรู้ วันที่ 18 ธค. 57

คุณจุฑา สังขชาติ นำเสนอรายงานกิจกรรม โครงการโครงการพัฒนากลไกเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารภาคประชาชน จังหวัดสงขลา ปีที่ 2 และเสนอแนะให้ทาง สถาบันเพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ เพื่อทกให้ส่วนกลางได้ติดตามกิจกรรมและร่วมกิจกรรมต่างๆของยุทธศาสตร์  ทางสถาบันจึงวางแผนจะทำ เครื่อข่ายกลางผ่านเฟซบุค

คุณเอกชัย อิสระทะ นำเสนอรายงานกิจกรรมโครงการ การดำเนินงานโครงการการผลักดันข้อบัญญัติเรื่องความมั่นคงทางอาหารเพื่อสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชน

คุณณัฐพล จันทร์สว่าง อาจารย์ปราโมทย์ แก้ววงค์ศรี นำเสนอรายงานกิจกรรมโครงการการเปลี่ยนแนวคิดจากการทำสวนยางเป็นวนเกษตรซึ่งได้นำเสนอข้อมูลที่อาจารย์ปราโมทย์ค้นคว้าและสำรวจพื้นที่ป่ายางเอง ซึ่งเป็นข้อมูลที่ดีและมีประโยชน์ในการเป็นฐานข้อมูลสำหรับพื้นที่นั้นๆได้ศึกษาและพัฒนาท้องถิ่น

-

36. พัฒนาโจทย์วิจัยเรื่องปุ๋ยพื้นที่จะนะ »
จันทร์ 8 ธ.ค. 57 จันทร์ 8 ธ.ค. 57

1.ประชุมแกนนำชุมชนเพื่อทำความเข้าใจต่อแนวทางการจัดการขยะที่เป็นเศษหอย ปู กุ้ง

2.เกิดการประสานงานระหว่างนักวิชาการของศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับชุมชน

3.ลงสำรวจชุมชนเพื่อตรวจสอบปริมาณของเศษเปลือกหอย กุ้ง ปู

1.ประชุมแกนนำชุมชนเพื่อทำความเข้าใจต่อแนวทางการจัดการขยะที่เป็นเศษหอย ปู กุ้ง

2.เกิดการประสานงานระหว่างนักวิชาการของศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับชุมชน

3.ลงสำรวจชุมชนเพื่อตรวจสอบปริมาณของเศษเปลือกหอย กุ้ง ปู

1.ประชุมกับแกนนำชุมชนจำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ แกนนำชุมชนบ้านสวนกง ที่มีแนวความคิดจะนำปลาตัวเล็กที่ขายไม่ได้ราคา มาแปรรูปเป็นน้ำปลา ลูกชิ้นปลา แต่ยังขาดความรู้ในการแปรรูปวัตถุดิบ ทางศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงประสานสถานีบริการวิชาการชุมชนจะนะ (ศูนย์โภชนาการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์) ในการจัดการอบรมให้ความรู้แก่แกนนำชุมชน

2.สำรวจแพปูบ้านบ่อโชน ซึ่งเป็นพื้นที่แกะเปลือกหอย กุ้ง ปู ซึ่งมีปริมาณสะสมเกิดเป็นขยะในชุมชน

1.ประชุมกับแกนนำชุมชนจำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ แกนนำชุมชนบ้านสวนกง ที่มีแนวความคิดจะนำปลาตัวเล็กที่ขายไม่ได้ราคา มาแปรรูปเป็นน้ำปลา ลูกชิ้นปลา แต่ยังขาดความรู้ในการแปรรูปวัตถุดิบ ทางศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงประสานสถานีบริการวิชาการชุมชนจะนะ (ศูนย์โภชนาการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์) ในการจัดการอบรมให้ความรู้แก่แกนนำชุมชน

2.สำรวจแพปูบ้านบ่อโชน ซึ่งเป็นพื้นที่แกะเปลือกหอย กุ้ง ปู ซึ่งมีปริมาณสะสมเกิดเป็นขยะในชุมชน 3.นัดประชุมนักวิชาการ เช่น บ่มเพาะวิสาหกิจชุมขน ศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อระดมความคิดเห็นในการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนของบ้านกงและบ้านบ่อโชน

-

37. ทีมสื่อ สสส. ลงมาทำข่าวตลาดเกษตร ม.อ.
พุธ 10 ธ.ค. 57

 

 

 

 

 

38. หารือเรื่องตลาดเกษตรกรที่ห้างโอเดี้ยน
พุธ 17 ธ.ค. 57

 

 

 

 

 

39. หารือเรื่อง อาหารของแม่ »
พุธ 17 ธ.ค. 57 พุธ 17 ธ.ค. 57

ประชุมหารือวางแผนการดำเนินงานโครงการอาหารของแม่

ประชุมหารือร่วมกับ

  • ผู้อำนวยการกองส่งเสริมคุณภาพชีวิต คุณอัฐชัย พรหมมณี

  • พันจ่าเอกหญิงคณัสนันท์ สิทธิศักดิ์
    นักวิชาการสาธารณสุข 4

  • คุณ ปิยะพร โยธี นักบริหารงานสาธารณสุข7

  • ผศ.ดร. พงค์เทพ สุธีรวุฒิ ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.อ

  • คุณชัยวุฒิ เกิดชื่น นักวิทยุอิสระ

  • คุณสุวรรณี เกิดชื่น นักวิทยุอิสระ

  • คุณพีรยา จินดามณี สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.อ

เริ่มประชุมเวลา 10.00 น. ทางสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้เกริ่นนำ ถึงการเข้าหารือ อ้างถึงหนังสือ ศธ 0521.13/483 ลงวันที่ 4 สิงหาคม 2557 เรื่อง ของบสนับสนุนการดำเนินโครงการ “อาหารของแม่ เพื่อสุขภาวะของคนสงขลา” โดยของบประมาณสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาในวงเงิน 1,500,000 บาท เพื่อดำเนินกิจกรรมตั้งแต่การประชุมคณะทำงาน  การจัดเสวนาและถ่ายทอดทางวิทยุ การผลิตสื่อวีดีทัศน์เพื่อการรณรงค์ การทำป้ายประชาสัมพันธ์ การจัดนิทรรศการเคลื่อนที่ในโรงเรียน ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล และการจัดงานวันแม่ปี 2558

ทางผู้อำนวยการกองส่งเสริมคุณภาพชีวิต องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ซึ่งได้รับมอบหมายจากนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้อธิบาย และให้เหตุผลในเรื่องงบประมาณที่สามารถสนับสนุนได้คือ

  • สามารถให้งบสนับสนุนได้ในเรื่องของการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ ทุกอำเภอในจังหวัดสงขลา โดยให้ทางสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ เป็นผู้ออกแบบและนำเสนอแก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด เพื่อที่จะได้นำมาจัดซื้อจัดจ้างตามขั้นตอนเป็นลำดับต่อไป

  • สามารถให้งบสนับสนุนได้ในเรื่องของการผลิตสื่อวีดีทัศน์ เพื่อการรณรงค์ โดยให้ทางสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ เป็นผู้ออกแบบและนำเสนอแก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด เพื่อที่จะได้นำมาจัดซื้อจัดจ้างตามขั้นตอนเป็นลำดับต่อไป

  • สามารถให้งบสนับสนุนได้ในเรื่องของการจัดงานวันแม่ ในปี 2558 ในวงเงิน 500,000 บาท โดยให้ทางสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ประมาณการค่าใช้จ่าย รายละเอียดผังงาน ส่งให้กับทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา เพื่อที่จะได้หาผู้รับเหมามาทำการจัดซื้อจัดจ้างในลำดับต่อไป

  • หากมีความต้องการจะจัดกิจกรรมอื่นใด ขอให้เขียนโครงการเสนอมาที่องค์การบริหารส่วนจังหวัด และทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดจะได้นำมาพิจารณาในการให้งบสนับสนุนนำดับต่อไป

-

40. ประชุมพิจารณา (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดสงขลา »
พฤหัสบดี 8 ม.ค. 58 พฤหัสบดี 8 ม.ค. 58
  • 08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียน

  • 09.00 – 09.15 น. กล่าวรายงานการพัฒนาแผน (ร่าง) ยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดสงขลา โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประธานคณะทำงานยกร่างยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดสงขลา

  • 09.15 – 09.30 น. บรรยายทิศทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดสงขลา และเปิดงานประชุม โดย คุณอนุชิต ตระกูลมุทุตา รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา

  • 09.30 - 10.00 น. บรรยายภาพรวมของของการจัดทำ (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดสงขลา โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประธานคณะทำงานยกร่างยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดสงขลา

  • 10.00 – 12.00 น. แบ่งกลุ่มย่อยเพื่อเพิ่มเติมแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดสงขลา

    ** ห้องย่อย 1402 ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงอาหารระดับจังหวัด
    ประธาน      คุณเทพรัตน์ จันทพันธ์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
    เลขานุการ   คุณฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ
    
    ** ห้องย่อย 1401  ยุทธศาสตร์ด้านอาหารปลอดภัย
    ประธาน      คุณดุริพัธ แจ้งใจ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา
    เลขานุการ   คุณซูวารี มอซู สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ
    
    ** ห้องย่อย 1405 ยุทธศาสตร์ด้านโภชนาการสมวัย
    ประธาน      รศ.พญ. ลัดดา เหมาะสุวรรณ คณะแพทยศาสตร์                              มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
    เลขานุการ   คุณนงลักษณ์ รักเล่ง สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ
    
    ** ห้องย่อยชั้น 10  ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการ
    ประธาน      คุณศุภรินทร์ เสนาธง สำนักงานจังหวัดสงขลา
    เลขานุการ   คุณเยาวลักษณ์  ศรีสุกใส สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ
    
  • 12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน

  • 13.00 – 14.00 น. นำเสนอผลการให้ความเห็นต่อ (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดสงขลา จากห้อง ย่อย กลุ่มละ 10 นาที

  • 14.00 – 15.00 น. สรุปผลการพิจารณา (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดสงขลา และปิดการประชุม

ประชุมกลุ่มใหญ่ และกลุ่มย่อย 4 กลุ่มยุทธศาสตร์ คือ

ยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านความมั่นคงทางอาหารระดับจังหวัด

ยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านอาหารปลอดภัย

ยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านโภชนาการสมวัย

ยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการบริหารจัดการ

ในแต่ละห้องย่อยจะมีผู้เขี่ยวชาญทางด้านเรื่องนั้นๆ เป็นประธานนำคุย ผู้เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว ประกอบไปด้วยหน่วยงานราชการ หน่วยงานภาคเอกชน ภาควิชาการ และประชาชนทั่วไป จำนวน 85 คน

ได้ร่างแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดสงขลา เพื่อนำส่งให้กับสำนักงานจังหวัดสงขลา เพื่อดำเนินการต่อไป

ผู้เข้าร่วมประชุมพิจารณา (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์รบบอาหารจังหวัดสงขลา ได้ร่วมกันให้ข้อเสนอแนะ เพิ่มเติม ข้อคิดเห็น ต่อร่างแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดสงขลา ในแต่ละห้องย่อย หลังจากนั้นมาสรุปอีกครั้งในห้องใหญ่ ซึ่งยุทธศาสตร์ที่ได้จากการพิจารณาประกอบไปด้วย 4 ยุทธศาสตร์ คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านความมั่นคงทางอาหาร ยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านอาหารปลอดภัย ยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านโภชนาการสมวัย ยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการบริหารจัดการ ซื่งแต่ละยุทธศาสตร์มีการปรับเปลี่ยน เพิ่มเติม กลยุทธ์ และแนวทางการดำเนินงานเล็กน้อย เพื่อให้สามารถนำไปปฎิบัติได้จริงอย่างเป็นรูปธรรม และฝ่ายเลขานุการจะได้ดำเนินการรวบรวมข้อมูลทั้งหมด นำเสนอต่อสำนักงานจังหวัดสงขลาเป็นลำดับต่อไป

_

41. อบรมการใช้สื่อฯ โดยกลุ่มระบัดใบ »
พฤหัสบดี 15 ม.ค. 58 - ศุกร์ 16 ม.ค. 58 พฤหัสบดี 15 ม.ค. 58

วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม 58

*09.30-10.00 น. ลงทะเบียน

*10.00-12.00 น.   กิจกรรมเตรียมความพร้อม สร้างความรู้จักและกิจกรรม “เด็กปฐมวัย เรียนรู้อย่างไรให้สอดคล้องกับพัฒนาการ (หน้าต่างแห่งโอกาส)

*13.00-16.00 น.กิจกรรม แนวทางการจัดกิจกรรมใช้หนังสือนิทานภาพเป็นฐานการเรียนรู้ และออกแบบกิจกรรมให้สอดคล้องกับการส่งเสริมสุขภาวะทางกาย ของเด็กปฐมวัยและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อวางแผนออกแบบสื่อกิจกรรม


วันศุกร์ที่ 16 มกราคม 2558

*10.00-12.00 น. ปฏิบัติการผลิตสื่อกิจกรรม ประกอบหนังสือนิทานภาพเป็นฐานการเรียนรู้ นำเสนอสื่อกิจกรรมจากผู้เข้าร่วม 6 กลุ่ม

*13.00-15.00 น. นำเสนอสื่อกิจกรรมจากผู้เข้าร่วม 6 กลุ่ม สรุปกิจกรรมและแลกเปลี่ยน เพื่อนำไปปฏิบัติในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก, ครูโรงเรียนประถม, ครูโรงเรียนมัธยม, เจ้าหน้าที่ รพ สต, อสม และนักวิชาการจาก เทศบาลตำบลชะแล้ และองค์การบริหารส่วนตำบลควนรู เข้าร่วมการอบรมสื่อฯ จำนวน 30 คน โดยมีวิทยากรจากกลุ่มระบัดใบมาให้ความรู้ ในกิจกรรมต่างๆ เช่น กิจกรรมละลายพฤติกรรมเพื่อทำความรู้จัก การแลกเปลี่ยนเรียนรู็เพื่อออกแบบสื่อกิจกรรม ปฏิบัติการผลิตสื่อกิจกรรม ประกอบหนังสือนิทานภาพเป็นฐานการเรียนรู้ เป็นต้น

ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก, ครูโรงเรียนประถม, ครูโรงเรียนมัธยม, เจ้าหน้าที่ รพ สต, อสม และนักวิชาการจาก เทศบาลตำบลชะแล้ และองค์การบริหารส่วนตำบลควนรู ที่เข้าร่วมกิจกรรมมีทักษะ มีความคิดสร้างสรรค์ ในการคิดกิจกรรมเป็นสื่อสำหรับเด็ก

ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก, ครูโรงเรียนประถม, ครูโรงเรียนมัธยม, เจ้าหน้าที่ รพ สต, อสม และนักวิชาการจาก เทศบาลตำบลชะแล้ และองค์การบริหารส่วนตำบลควนรู มีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะ และมีความคิดริเร่มสรา้งสรรค์ในการประดิษฐ์สื่อเรื่องอาหารและโภชนาการเพื่อให้เด็กในโรงเรียนหันมาให้ความสนใจ และรับประทานผักผลไม้มากขึ้น โดยเริ่มจากหนังสือนิทาน 1 เล่ม และมาแปลงเป็นสื่ออื่นๆ เช่น เกมส์ การปฏิบัติจริง นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมอบรมยังได้เรียนรู้สื่อสิ่งประดิษฐ์อื่นๆ เกี่ยวกับอาหารและโภชนาการเพื่อนำกลับไปกระตุ้นให้เด็กนักเรียนบริโภคผักและผลไม้มากขึ้น

-

42. ลงพื้นที่จะนะกับ สวทน
พุธ 21 ม.ค. 58

 

 

 

 

 

43. ประชุมคณะทำงานเครือข่ายอาหาร
เสาร์ 31 ม.ค. 58

 

 

 

 

 

44. ดูงานเชียงราย »
ศุกร์ 6 ก.พ. 58 ศุกร์ 6 ก.พ. 58

ศึกษาดูงานด้านการเกษตร และร้านอาหารปลอดภัย ณ จังหวัดเชียงราย

ศึกษาดูงานด้านการเกษตรและร้านอาหารปลอดภัย ณ จังหวัดเชียงราย

ศึกษาดูงานภายใต้การดำเนินงานโครงการบูรณาการอาหารปลอดภัยเชียงรายเป็นสุข

เกิดการแลกเปลี่ยนประเด็นการทำงานได้แก่ การท่องเที่ยวชุมชน เกษตรปลอดสารเคมี และการพัฒนาร้านอาหารให้ปลอดภัย

-

45. ดูงานเชียงราย »
เสาร์ 7 ก.พ. 58 เสาร์ 7 ก.พ. 58

ดูงานการท่องเที่ยวชุมชน

1ดูงานโฮมสเตย์บ้านท่าขันทอง อ.เชียงแสน 2ไหว้พระพุทธนวล้านตื้อ 3แหล่งท่องเที่ยวเชิงเรียนรู้ จินนาลักษณ์กระดาษสา อ.แม่สาย

-

-

-

46. ดูงานเชียงราย »
อาทิตย์ 8 ก.พ. 58 อาทิตย์ 8 ก.พ. 58

 

 

 

 

 

47. ประชุมเตรียมงานวิทยาศาสตร์
พุธ 11 ก.พ. 58

 

 

 

 

 

48. สรุปการดูงานเชียงราย
พฤหัสบดี 12 ก.พ. 58

 

 

 

 

 

49. ลงพื้นที่ควนรู
อังคาร 17 ก.พ. 58

 

 

 

 

 

50. ลงพื้นที่ดูงานการทำธนาคารปู และปะการังเทียมโดยการสนับสนุนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา »
จันทร์ 11 พ.ค. 58 จันทร์ 11 พ.ค. 58

-

-

-

-

-

51. ประชุมคณะทำงานโครงการฯ ครั้งที่ 4/2558 »
พุธ 13 พ.ค. 58 พุธ 13 พ.ค. 58

นัดประชุมแยกแต่ละแผนงาน

  • 09.00-11.00 น.แผนงานความมั่นคงทางอาหาร

  • 11.00-12.00 น.แผนงานอาหารปลอดภัย

  • 13.00-15.00 น.แผนงานโภชนาการ

  • 15.00-16.00 น.แผนงานสื่อสารสาธารณะ

แต่ละโครงการได้เข้าร่วมหารือเพื่อดำเนินการในงวดงานที่ 2 โดยมีผู้ช่วยศษสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ ผู้จัดการโครงการ เป็นผู้ฝห้คำแนะนำ และเสนอแนวทางการดำเนินงานให้แต่ละโครงการ

แต่ละโครงการได้แผนการดำเนินงานที่จะดำเนินการต่อในงวดงานที่ 2

การดำเนินงานของตำบลเชิงแส

  • เดือน พ.ค-มิ.ย 58 * ให้ดำเนินการทำแผนที่ชุมชน โดยคัดเลือกครัวเรือนที่เป็นต้นแบบในแต่ละด้านที่สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ได้ เช่น ครัวเรือที่มีนาข้าวอินทรีย์ ครัวเรือนที่เลี้ยงโคพระราชทาน ครัวเรือนที่ปลูกพืชผักอินทรีย์ ครัวเรือนที่เลี้ยงหมูต้นทุนต่ำ เป็นต้น นอกจากนี้ต้องให้มีกลุ่ม เครือข่ายที่ดำเนินการในเรื่องนั้นๆด้วย
  • วันที่ 15 กรกฎาคม 2558 จัดให้มีเวทีนำเสนอรูปแบบการจัดการระบบอาหารตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง โดยเชิญ อบจ/ท้องถิ่นจังหวัด/พัฒนาชุมชน/นายอำเภอ/ยุทธศาสตร์จังหวัด/สสส
  • วันที่ 1-2 สิงหาคม 2558 ในงานตลาดนัดความรู้ ให้มีนิทรรศการการจัดการระบบอาหารตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงระดับตำบล กรณีเชิงแส

การดำเนินงานของเครือข่ายจะนะ

การจัดการความมั่นคงทางอาหารของทะเลจะนะ

  • 1.การป้องกัน ลดการทำลาย
        - ออกข้อบัญญัติเรื่องเรืออวนรุน/อวนลาก     - อาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อม

    1. การฟื้นฟู
          - ทำความสะอาดปะการังเทียม     - การทำธนาคารปู/ปลา/กุ้ง/หอย
    1. การพัฒนา     - เพิ่มมูลค่าของอาหารทะเล (ศวทน.ดำเนินการ)     - พัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้     - พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชน
    1. กลไกการทำงานและการขยายเครือข่าย

การดำเนินงานของเครือข่ายพืชร่วมยาง

  • เดือนมิถุนายน รูปแบบพืชร่วมยางต่างๆ ในพื้นที่ทั้ง 4 แห่ง มีข้อดี/ข้อเสีย อย่างไร ผลิตสือ ผลิตผลงานวิชาการ และร่างข้อเสนอแนะให้แก่ สกย.

  • เดือนกรกฏาคม จัดประชุม "ข้อเสนอเชิงนโยบาย" สกย./เครือข่ายาเกษตรกร/จังหวัด

  • เดือนสิงหาคม จัดนิทรรศการ "พืชร่วมยาง" ในวันที่ 1-2 สิงหาคม 58

การดำเนินงานของโรงพยาบาลระโนด *

การดำเนินงานของตำบลตวนรูและตำบลชะแล้

*1.ความมั่นคงทางอาหาร (มีอาหารเพียงพอ สามารถเข้าถึงแหล่งอาหารได้ และมีความยั่งยืน) เช่น การปลูกผักคอนโด การทำธนาคารข้าว กลุ่มอาชีพเกษตร/ผักปลอดสารพิษอยู่ที่ไหนบ้าง

*2. อาหารปลอดภัย เมื่อมีความมั่นคงทางอาหารแล้ว จะทำอย่างไรให้มีความปลอดภัย

*3. โภชนาการสมวัย

*4. กลไกกลุ่ม

-

52. ประชุมขอคำแนะนำในการผลักดันการดำเนินการคุ้มครองผู้บริโภคระดับท้องถิ่น »
จันทร์ 18 พ.ค. 58 จันทร์ 18 พ.ค. 58

-

-

-

-

-

53. ผู้จัดการแผนงานเป็นผู้ทรงคุณวุฒิประเมินโครงการวิจัย การจัดการความมั่นคงทางอาหารจังหวัดสงขลา »
อังคาร 19 พ.ค. 58 - พุธ 20 พ.ค. 58 อังคาร 19 พ.ค. 58

ประเมินโครงการและให้คำแนะนำ และให้ข้อคิดเห็นต่อโครงการ

ให้คำแนะนำ ข้อคิดเห็น และประเมินโครงการ การจัดการความมั่นคงทางอาหาร ดังนี้

  1. รูปแบบการจัดการความมั่นคงทางอาหารในพื้นที่ชุมชนชายฝั่งขนาดเล็ก  ซึ่งมี ผศ.ดร.เสาวลักษณ์ รุ่งตะวันเรืองศรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นหัวหน้าโครงการ

  2. โครงการ แนวทางการจัดการความมั่นคงทางอาหารเชิงเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนและชุมชนในพื้นที่อำเภอเมือง (ตำบลทุ่งหวัง) และอำเภอสะเดา (ตำบลปริก) จังหวัดสงขลา ซึ่งมี อาจารย์ชัยรัตน์ จุสปาโล มหาวิทยาลัยหาดใหญ่เป็นหัวหน้าโครงการ

  3. โครงการการพัฒนาตัวชี้วัดและเครื่องมือประเมินความมั่นคงทางอาหารระดับครัวเรือนเกษตรกร กรณีศึกษา อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา โดยมีอาจารย์พิไลวรรณ ประพฤติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นหัวหน้าโครงการ

  4. โครงการแนวทางการเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนเพื่อให้เกิดความมั่นคงทางอาหารของชุมชนภายใต้วิถีโหนด-นา-เล ในคาบสมุทรสทิงพระ โดยมี อ.เจตสฤษฎิ์ สังขพันธ์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เป็นหัวหน้าโครงการ

  5. โครงการแผนที่คุณค่าทรัพยากรและตัวชี้วัดความมั่นคงทางอาหารควน ป่า นา เล กรณีศึกษาอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ซึ่งมี อ.กัลยาภัสร์ อภิโชติเดชาสกุล มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลาเป็นหัวหน้าโครงการ

แต่ละโครงการได้รับคำแนะนำและนำกลับไปทบทวนและศึกษาต่อ

จากการดำเนินโครงการบูรณาการระบบอาหารจังหวัดสงขลา ต่อเนื่องมาจนถึงโครงการยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหารจังหวัดสงขลาที่ทางสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้ขับเคลื่อนภายใต้งบประมาณของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส) ทำให้มหาวิทยาลัยเล็งเห็นความสำคัญและได้ผลักดันให้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว) จัดสรรงบประมาณเพื่อให้บุคลากรทางการศึกษาได้ทำการศึกษาวิจัย การจัดการความมั่นคงทางอาหารจังหวัดสงขลา โดยมีสำนักวิจัยและพัฒนาเป็นผู้ประสานงาน และมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ  สุธีรวุฒิ เป็นผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินโครงการ  ซึงถือเป็นความสำเร็จที่เกิดจากกรขับเคลื่อนในพื้นที่ และมีแหล่งงบประมาณจากหลายแหล่งมาหนุนเสริม เพื่อให้เกิดงานวิจัยเชิงประจักษ์ ด้านความมั่นคงทางอาหรจังหวัดสงขลา

-

54. ลงพื้นที่ควนรู »
อังคาร 9 มิ.ย. 58 อังคาร 9 มิ.ย. 58

1.ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินกิจกรรมการสร้างความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการ 2.ถอดบทเรียนโครงการบูรณาการอาหารของตำบลควนรู 

-

1.การจัดทำแผนที่อาหารในระดับตำบล ทางทีมแผนของ อบต.อยู่ระหว่างการดำเนินงาน

2.ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงฯได้รับการสนับสนุนต่อจาก ธกส.ในการให้เป็นศูนย์เรียนรู้ให้กับลูกค้าธกส. กลุ่มพักชำระหนี้ และแกนนำลูกค้าจากชุมชนต้นแบบ 187 แห่ง โโยจัดการอบรมให้ปีละ 1 ครั้ง นอกจาก อบจ.สนับสนุนสร้างอาคารหอประชุม อาคารเอนกประสงค์ และการพัฒนาข้าวครบวงจร และการสนับสนุนโครงการ Smart Farmer เพื่อพัฒนาศักยภาพเกษตรกร

3.อบต.จะจัดงานวัฒนธรรมและภูมิปัญญาระหว่างวันที่ 27-29 ก.ค.58 โดยจะจัดนิทรรศการเกี่ยวกับด้านอาหารและโภชนาการ เพื่อให้คนในชุมชนเล็งเห็นความสำคัญขอพื้นที่อาหาร

4.วางแผนการทำศูนย์เพาะพันธุ์ปลา

5.ส่งเสริมการปลูกมะม่วงหิมพานต์ในชุมชนเพื่อให้เป็ฯแหล่งสร้างรายได้และแหล่งอาหารของคนในชุมชนต่อไป

6.แกนนำ อสม.ร่วมกับโรงพยาบาลรัตภูมิได้ทำกิจกรรมคุ้มครองผู้บริโภค เช่น การเครื่องสำอางที่อันตรายในร้านเสริมสวย  ร้านขายของชำ

7.การพัฒนาครัวรวมของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ทำให้เกิดการจัดการวัตถุดิบที่มีคุณภาพโดยซื้อในแหล่งชุมชนที่เป็นเครือข่ายผลิตแบบปลอดภัย การจัดซื้อวัตถุดิบจะจัดซื้อทุกวัน มีการใช้ข้าวท้องถิ่น 8.ดำเนินกิจกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคร่วมกับโรงพยาบาลรัตภูมิ เรื่องการเลือกซื้ออาหารให้ปลอดภัย อันตรายของยาฆ่าแมลง สารสเตียรอยด์ ผลิตภัณฑ์สุขภาพ การพัฒนาศูนย์พิทักษ์สิทธิให้เกิดการจัดการเรื่องร้องเรียน รณรงค์ลดการใช้ลังโฟมใส่ข้าว อาหารบุฟเฟต์ อาหารปิ่นโตในการจัดเลี้ยงงานประชุม งานบุญต่างๆ การให้ความรู้แก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรังในการเลือกรับประทานอาหาร การพัฒนาสถานที่ผลิตอาหารให้ได้มาตรฐาน Primary GMP

 

-

55. ลงพื้นที่จะนะ
พฤหัสบดี 11 มิ.ย. 58

 

 

 

 

 

56. ประชุมเรื่องการพัฒนาตลาดปลอดภัยในเทศบาล ร่วมกับ ตลาดเกษตร มอ »
พุธ 17 มิ.ย. 58 พุธ 17 มิ.ย. 58
  • ประชุมหาความร่วมมือกับหน่วยงานราชการในประเด็นการพัฒนาตลาดปลอดภัยภายในเขตเทศบาล ร่วมกับตลาดเกษตร มอ

-

-

-

-

57. ประชุมคณะทำงานและประชุมหารือการจัดงาน อาหารของแม่ วันแม่แห่งชาติ »
จันทร์ 6 ก.ค. 58 จันทร์ 6 ก.ค. 58

-ประชุมคณะทำงานและประชุมหารือการจัดงานอาหารของแม่ วันแม่แห่งชาติ

-

-

  • แต่ละเครือข่ายรับทราบ กติกา และข้อมูลของการเตรียมการจัดงานอาหารของแม่
  • มีหน่วยงานร่วมจัดที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในงานดังกล่าว เช่น สภากาชาดไทย สโฒสาโรตารีโคกเสม็ดชุน สมาคมสมาพันธ์ธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา
  • กำหนดจัดงานในวันที่ 1 สิงหาคม 2558 ณ บริเวณห้างโอเดี้ยนแฟชั่นมอลล์
  • แต่ละเครือข่ายจะได้กลับไปเตรียมงานเพื่อแสดงในวันที่ 1 lิงหาคม 2558

-

58. หารือกับท่านผู้ว่าเรื่องแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหาร »
จันทร์ 6 ก.ค. 58 จันทร์ 6 ก.ค. 58

ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ และคุณนฤมล อมรรัตน์วิทยา กรรมการผู้จัดการห้างโอเดียนแฟชั่นมอลล์ ได้เข้าพบผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา นายธำธงค์ เจริญกุล เพื่อขอคำปรึกษาเกี่ยวกับการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดสงขลา และการจัดงานอาหารของแม่ เพื่อเทิดพระเกียรติแม่ของแผ่นดิน ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 1 สิงหาคม 2558 ณ บริเวณห้างโอเดียนแฟชั่นมอลล์หาดใหญ่

ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ และคุณนฤมล อมรรัตน์วิทยา กรรมการผู้จัดการห้างโอเดียนแฟชั่นมอลล์ ได้เข้าพบผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา นายธำธงค์ เจริญกุล เพื่อขอคำปรึกษาเกี่ยวกับการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดสงขลา และการจัดงานอาหารของแม่ เพื่อเทิดพระเกียรติแม่ของแผ่นดิน ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 1 สิงหาคม 2558 ณ บริเวณห้างโอเดียนแฟชั่นมอลล์หาดใหญ่

ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ได้ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการจัดงานอาหารของแม่ฯ โดยยินดีที่จะเข้าร่วมกิจกรรม สำหรับแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารได้เสนอให้นำเสนอต่อผู้นำเทศบาล อบต.การประชุมผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสงขลา ครั้งที่ 3/2558

ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ได้ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการจัดงานอาหารของแม่ฯ โดยยินดีที่จะเข้าร่วมกิจกรรม สำหรับแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารได้เสนอให้นำเสนอต่อผู้นำเทศบาล อบต.การประชุมผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสงขลา ครั้งที่ 3/2558

-

59. นำเสนอแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดสงขลา »
อังคาร 14 ก.ค. 58 อังคาร 14 ก.ค. 58

เพื่อนำเสนอแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดสงขลา

นำเสนอแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดสงขลากับการประชุมผู้บริหารท้องถิ่นจังหวัดสงขลา ครั้งที่ 3/ 2558

นำเสนอแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดสงขลากับการประชุมผู้บริหารท้องถิ่นจังหวัดสงขลา ครั้งที่ 3/ 2558

มีผู้บริหารท้องถิ่น จำนวน 250 คน รับทราบเกี่ยวกับร่างแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดสงขลา 

-

60. จัดงานแถลงข่าว "อาหารของแม่ เพื่อเทิดพระเกียรติแม่ของแผ่นดิน" »
เสาร์ 18 ก.ค. 58 เสาร์ 18 ก.ค. 58

เวลา  ๑๓.๐๐ น. เปิดเพลง

เวลา  ๑๓.๓๐ น. ลงทะเบียน

เวลา  ๑๔.๓๐ น. เปิดตัวพิธีกร เปิดตัวชุดการแสดงจากโรงเรียนสุวรรณวงศ์ “แม่ของแผ่นดิน”

        พิธีกรเรียนเชิญองค์กรร่วมจัดงาน “อาหารของแม่ เพื่อเทิดพระเกียรติแม่ของแผ่นดิน” ร่วมแถลงข่าว
  • ประธานในพิธี รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา นายอนุชิต ตระกูลมุทุตา กล่าวเปิดแถลงข่าว

  • ผู้เชียวชาญพิเศษด้านการบริหารงานบุคคล องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา
      นายวิโรจน์ ทัฬหะวาสน์ กล่าวสนับสนุนการจัดงาน

  • รองนายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ ดร.พฤกษ์ พัฒโน กล่าวสนับสนุนการจัดงาน

  • นายกสมาคมสมาพันธ์ธุรกิจการท่องเที่ยว นายสุรพล กำพลานนท์วัฒน์ กล่าวสนับสนุนการจัดงาน

  • ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผศ.ดร. พงค์เทพ สุธีรวุฒิ กล่าวรายละเอียดการจัดงาน

  • รองกรรมการผู้จัดการ ห้างฯโอเดียนแฟชั่นมอลล์ หาดใหญ่ นางนฤมล อมรรัตน์วิทยา
    กล่าวรายละเอียดการร่วมจัดงาน

  • ผู้สื่อข่าวซักถามผู้แถลงข่าว

  • ถ่ายรูปร่วมกัน

แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนและผู้สนใจ

คนเข้าร่วมฟังการแถลงข่าวจำนวน 100 คน

กำหนดจัดงานแถลงข่าวที่ลานกิจกรรมชั้น 5 ห้างสรรพสินค้าโอเดี้ยนแฟชั่นมอลล์
โดยมี นายอนุชิต ตระกูลมุทุตา รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานแถลงข่าว

-

61. เข้าพบผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา
จันทร์ 20 ก.ค. 58

 

 

 

 

 

62. เวทีนำเสนอรูปแบบการจัดการอาหารตำบลเชิงแส »
พฤหัสบดี 23 ก.ค. 58 พฤหัสบดี 23 ก.ค. 58

จัดกิจกรรมเสวนา ทิศทางการขับเคลื่อนความมั่นคงทางอาหารตำบลเชิงแส

-

-

เวที ความมั่นคงทางอาหารตำบลเชิงแส เชิงแสมีแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ นาอินทรีย์ ผักปลอดสารพิษ ปลาน้ำจืด มีแม่กุ้งตัวเติบและธรรมชาติต้นโหนด ท้องนาที่อุดมสมบูรณ์ ในน้ำมีตัวปลาในท้องนามีรวงข้าว
วันนี้เชิงแสพร้อมแล้วที่จะเป็นพื้นที่ตัวอย่างให้พื้นที่อื่นๆ มาเรียนรู้
เวทีวันนี้พร้อมหน้าพร้อมตา ตั้งแต่นายอำเภอ เจ้าหน้าที่เกษตร เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้กำกับ ผอ. สจรส ฯลฯ "กระแสสินธ์ ถิ่นท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ก้าวล้ำเกษตรอินทรีย์"

-

63. งานอาหารของแม่ เพื่อเทิดพระเกียรติแม่ของแผ่นดิน »
เสาร์ 1 ส.ค. 58 เสาร์ 1 ส.ค. 58

-

-

-

-

-

64. เวทีสื่อมวลชนสัญจร
พฤหัสบดี 20 ส.ค. 58

 

 

 

 

 

65. อบรมแปรรูปอาหารทะเล
อาทิตย์ 30 ส.ค. 58

 

 

 

 

 

66. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาด้านการทำแผนที่ความมั่นคงทางอาหารตำบลควนรู
พฤหัสบดี 3 ก.ย. 58

 

 

 

 

 

67. เวทีนำเสนอนโยบายพืชร่วมยาง »
อังคาร 15 ก.ย. 58 อังคาร 15 ก.ย. 58

-

วิทยากร 1. ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ 2. ผศ.ดร.ปราโมทย์ แก้ววงศ์ศรี

ผู้เข้าร่วมประชุมจากสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางในจังหวัดสงขลา

-

ผู้แทนจาก สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางในจังหวัดสงขลา ได้ร่วมกันเสนอความคิดเห็นในการให้เกษตรกรส่วนใหญ่หันมาทำสวนยางแบบ 5 กันมากขึ้น โดยมีข้อสรุปดังนี้ คือ
1.ต้องทำให้เกษตรกรเชื่อว่าการทำเกษตรแบบวนเกษตรมีรายได้ดีกว่าการทำเกษตรเชิงเดี่ยวทั้งในด้านรายได้และระบบนิเวศ

2.สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง และรัฐบาลควรปรับวิธีคิดให้มีการจูงใจให้เกษตรกรหันมาปลูกสวนยางแบบวนเกษตรมากกว่าปลูกยางเชิงเดี่ยว

-

68. ประชุมเวทีอวนรุน อวนลาก และเกษตรพันธะสัญญา »
พุธ 16 ก.ย. 58 พุธ 16 ก.ย. 58

-

-

-

สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ และคุณเอกชัย อิสระทะ ได้ร่วมกันจัดประชุมแลกเปลี่ยนสถานการณ์และจัดทำข้อเสนอนโยบายสาธารณะเพื่อความมั่นคงทางอาหาร กรณีเกษตรพันธะสัญญาและการทำประมงผิดกฎหมาย ซึ่งมีผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยหน่วยงานราชการ ท้องถิ่น รวมไปถึงเกษตรกรในจังหวัดสงขลา

-

69. ประชุมนำเสนอรูปแบบการจัดการด้านอาหารของตำบลควนรูและตำบลชะแล้
อังคาร 22 ก.ย. 58