แผนงานการสื่อสารสาธารณะ

แผนงานสื่อสารสาธารณะ

by wanna @June,12 2013 13.33 ( IP : 202...129 )

รหัสโครงการ
สัญญาเลขที่ 56-ข-018
งวดที่ 2

แบบรายงานความก้าวหน้าโครงการ (ส.1)

วันที่รายงาน : 27 ตุลาคม 2556

1. ชื่อโครงการ แผนงานการสื่อสารสาธารณะ

2. รหัสโครงการ รหัสสัญญา 56-ข-018 ระยะเวลาโครงการ 1 พฤษภาคม 2556 - 30 เมษายน 2556

3. รายงานงวดที่ : 2 จากเดือน 1 ตุลาคม 2556 ถึงเดือน 30 เมษายน 2557

4. ความก้าวหน้าโครงการ (เมื่อเทียบกับแผนกิจกรรมที่กำหนดไว้ และผลการดำเนินงานจนถึงวันสุดท้ายของงวดที่รายงาน)

กิจกรรมผลงาน
(ระบุวัน เวลา ลักษณะกิจกรรมที่ทำ จำนวนคน และภาคี)
ผลสรุปที่สำคัญประเมินผล คุณภาพกิจกรรม
4321
1. ค่ายนิทานอาหาร"กาลครั้งหนึ่ง... เมื่ออาหารแปลงร่าง"

วันที่ 18 ตุลาคม 2556 เวลา 09:00

วัตถุประสงค์

1.เพื่อบูรณาการงานอาหารในแผนงานความมั่นคงระหว่างพื้นที่ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติเพื่อชุมชน อ.จะนะ และแผนงานการสื่อสารสาธารณะ
2.เพื่ออบรมและพัฒนาศักยภาพให้กับคุณครูและผู้ปกครองที่สนใจในรูปแบบสื่อนิทาน เพื่อจะได้นำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนและเป็นแนวท

ลักษณะกิจกรรม

การอบรมเชิงปฏิบัติการค่ายนิทาน"กาลครั้งหนึ่ง เมื่ออาหารแปลงร่าง" ระหว่างวันที่ 18-20 ตุลาคม 2556 ณ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน และ โรงพยาบาลจะนะ โดยมีคุณครู ผู้ปกครองที่สนใจ เด็กๆและเยาวชน ผู้เข้าร่วม และวิทยากร จำนวนทั้งสิ้น 50 คน และเด็กๆ เยาวชนและผู้ปกครองร่วมกิจกรรมที่โรงพยาบาลจะนะ จำนวนทั้งสิ้น 50 คน
1.ได้ฟังนิทานจากวิทยากรในเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับอาหาร เช่น ยุ้งฉางที่ว่างเปล่า กุ้งกินผัก เป็นต้นและได้อบรมเทคนิคการเล่านิทาน 2.อบรมการแต่งนิทานจากความคิด แรงบันดาลใจมีการแลกเปลี่ยนนิทานที่คุณครูร่วมกันแต่ง โดยนำเสนอนิทานที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับปัญหาอาหารในพื้นที่ เช่นเรื่อง เงินนั้นสำคัญไฉน เป็นเรื่องเกี่ยวกับชาวประมงที่มีรายได้มากมายจากแหล่งอาหารในทะเล แต่ในที่สุดขายแหล่งอาหาร และอุปกรณ์จับปลาแล้วไปเป็นลูกจ้างในโรงงานของนายทุน  หรือเรื่องชาวประมงติดเกาะ ซึ่งเกี่ยวข้องกับปัญหาเรือขุดเจาะน้ามัน ที่มีผลกระทบต่อแหล่งอาหารในทะเล เป็นต้น 3.อบรมการทำสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบแปลงความคิดให้เป็นนิทาน และจากนิทาน เป็นภาพวาด หรือ หุ่นเงา เพื่อนำไปประกอบสำหรับหลักสูตรที่เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ
4.การแสดงconcert นิทานให้กับเด็ก เยาวชน และผู้ปกครองที่โรงพยาบาลจะนะ เพื่อให้เห็นความสำคัญ และช่วยกันดูแลพื้นที่แหล่งอาหารที่มีอยู่
5.พาวิทยากรลงพื้นที่เพื่อเรียนรู้ และเยี่ยมชมพื้นที่แหล่งอาหารรอบทะเลจะนะ ตั้งแต่พื้นที่ หาดสงขลา นาทับ และสวนกง

เป้าหมายที่ตั้งไว้

แผนงานการสื่อสารร่วมกับ แผนงานความมั่นคงทางอาหาร ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติเพื่อชุมชน อ.จะนะ จัดกิจกรรมค่ายนิทานอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของคุณครูในพื้นที่อ.จะนะ ในการประยุกต์ใชนิทานเป็นเครื่องมือเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างหลักสูตรการอนุรักษ์ทรัพยากรและรักษาพื้นที่ทางอาหารให้กับเด็กๆและเยาวชนในพื้นที่ อ.จะนะ และ อ.ใกล้เคียง

ผลที่เกิดขึ้น

1.มีการบูรณาการ และร่วมกันวางแผนระหว่างแผนสื่อและศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติเพื่อชุมชน ตลอดการเตรียมงานตั้งแต่เริ่มต้นคิดที่จะทำค่ายนิทาน การเตรียมวิทยากร การประชุมกับโรงเรียนต่างๆในพื้นที่ การวางรูปแบบค่าย การประสานงานงานพื้นที่  การติดต่อสถานที่ จนถึงวันอบรม และการแสดงconcertนิทาน และวางแผนร่วมกันต่อไปที่จะพัฒนานิทานของคุณครูเพื่อที่จะจัดทำเป็นหนังสือนิทาน และCD นิทานที่จะส่งไปยังโรงเรียนต่างๆในพื้นที่เพื่อให้เด็กๆทุกคนได้ตระหนักถึงความสำคัญของแหล่งอาหารที่มีอยู่ในพื้นที่
2.คุณครูตระหนักและเห็นความสำคัญของพื้นที่ทางอาหารและทรัพยากรที่มีอยู่ และพร้อมที่จะร่วมกันดูแลพื้นที่เพื่อส่งต่อให้กับอนาคตของสังคมต่อไป  รวมทั้งเข้าใจปัญหาของพื้นที่และตั้งใจที่จะหาทางออกร่วมกับชุมชน โดยจะใช้กระบวนการนิทานเป็นเครื่องมือ ซึ่งผลจากการอบรมคุณครูมีแนวคิดที่จะจัดทำหลักสูตรร่วมกันโดยจะเตรียมจัดทำสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบของสื่อนิทานเสียง นิทานภาพ และนิทานหุ่นเงา
3.การแสดงconcertนิทาน เด็กๆในพื้นที่สนใจกันมาก และให้ความร่วมมือในทุกกิจกรรม  และต้องการให้เกิดพื้นที่นิทานใน อ.จะนะเพื่อสร้างจิตสำนึกที่ดีให้กับทั้งเด็ก เยาวชน พ่อแม่ ผู้ปกครอง และผู้ใหญ่ในชุมชน ให้ร่วมกันรักและหวงแหนพื้นที่ของตนเอง
4.จะมีการวางแผนร่วมระหว่าง คนในชุมชน ผู้ปกครอง และโรงเรียนเพื่อสร้างพื้นที่นิทานใน อ.จะนะ
5.การเสนอเพื่อให้มีค่ายอบรมนิทานเพื่อพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ปัญหา
จำนวนคุณครูในพื้นที่ที่สมัครเข้าร่วมอบรมในรอบแรกเกินกว่าจำนวนเป้าหมายที่ตั้งไว้คือ 40 คน จึงได้ขยายจำนวนเพิ่มขึ้นตามจำนวนคุณครูที่สมัคร คือ 55 คน ทำให้คุณครูในพื้นที่อื่นๆ เช่น หาดใหญ่ อ.เมือง หรือผู้ปกครองจากพื้นที่หาดใหญ่ไม่สามารถเข้าร่วมได้ แต่ในวันอบรมจริง คุณครูที่สมัครไว้ทั้งสิ้น 55 คน มาเพียง 35 คน  ทำให้คุณครูและผู้ปกครองที่สนใจในเมืองหรือในพื้นที่อื่น ขาดโอกาสในการเข้าร่วมอบรม
แนวทางแก้ไข
คุณครูที่เข้าร่วมในครั้งนี้เสนอว่า ถ้าหากการอบรมในครั้งต่อไปยินดีที่จะเสียค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมอบรมด้วย เพราะเป็นการอบรมที่มีคุณค่ามาก และเสียดายที่ครูจากที่อื่นไม่มีโอกาส ดังนั้น จึงควรให้มีการเก็บค่าใช้จ่าย หรือควรต้องมีการวางมัดจำ เพื่อจะได้จำนวนตัวเลขที่ชัดเจน

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
2. ลงพื้นที่ขะแล้เพื่อทำข่าวประชาสัมพันธ์การคืนข้อมูลของอาจารย์ลัดดา

วันที่ 29 ตุลาคม 2556 เวลา 09:00

วัตถุประสงค์

เพื่อจัดทำข่าวประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข่าวสาร และนำเสนอประเด็นสุขภาวะอาหาร ในแผนงานโภชนาการและอาหารคุณภาพเพื่อการมีโภชนาการสมวัย ใน รูปแบบของ[VDO] รายการ สงขลามหาชน ตอน mamagoodfood 4  และรายการวิทยุ สื่อสุขภาพสัญจร และ ข่าวอาหารใน  www.banbanradio.com

ลักษณะกิจกรรม

ในพื้นที่มีเฉพาะผู้ปกครองที่เข้ามาร่วมเวที นอกจากนั้นการเตรียมเครื่องเสียงไม่พร้อมที่จะเอื้อต่อการบันทึกเสียง ดังนั้นจึงได้เฉพาะการบันทึกเป็นคลิปวีดีโอเพื่อจัดทำรายการสงขลามหาชน และข่าวอาหาร ในแง่มุมของข้อมูลและความรู้จาก อาจารย์ลัดดา เท่านั้น

เป้าหมายที่ตั้งไว้

ลงพื้นที่เพื่อจะบันทึกเสียงของชุมชน และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่างๆในพื้นที่ รวมถึงข้อมูลของอาจารย์ลัดดาที่จะคืนให้กับพื้นที่ และถ่ายวีดีโอเพื่อนำเสนอและประชาสัมพันธ์งานกิจกรรมคืนข้อมูลของพื้นที่ชะแล้เพื่อจัดทำคลิปวีดีโอในรายการ สงขลามหาชน ตอน mamagoodfood 4 รายการวิทยุ สื่อสุขภาพสัญจร ประเด็นอาหารของแม่ และการเสนอข่าวอาหารใน www.banbanradio.com

ผลที่เกิดขึ้น

การนำเสนอข่าวสารได้เฉพาะในแง่มุมความรู้และข้อมูลจากการสำรวจสถานการณ์ของอาจารย์ลัดดาเท่านั้น ซึ่งทางเทศบาลเสนอให้มีเวทีคืนข้อมูลอีก 1 ครั้งซึ่งจะประสานให้มีเจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วน รวมทั้งชุมชน ผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องรวมทั้งโรงเรียนทุกโรงในพื้นที่ เพื่อจะได้มีทางออกจากการระดมความคิดในครั้งต่อไป ดังนั้นการนำเสนอจากแผนงานสื่อสารสาธารณะ เวทีคืนข้อมูลพื้นที่ชะแล้ ๑ จึงเป็นข้อมูลความรู้จากอาจารย์ลัดดาเท่านั้น แต่เป็นสาระที่มีประโยชน์ที่ควรเผยแพร่ในวงกว้างต่อไป ในรูปแบบดังนี้ คือ
1.รายการสงขลามหาชน ตอน mamagoodfood 4 ซึ่งติดตามได้ที่ www.seewithsound.com หน้า mamagoodfood http://www.seewithsound.com/paper/3847
2.บทความ "จากการสำรวจ สู่ กิจกรรมคืนข้อมูล" คงต้องหาทางออกกันล่ะ ใน www.banbanradio.com นอกจากนั้นทางแผนงานสื่อสารสาธารณะยังได้นำเสนอการบูรณาการระหว่างงานสุขภาวะอาหารพื้นที่ชะแล้และกระบวนการนิทานจากแผนงานสื่อ ซึ่งจะมีการนำเสนอต่อพื้นที่ในเวทีคืนข้อมูล ครั้งที่๒ ต่อไป

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ปัญหา
การประสานงานด้านเครื่องเสียงไม่พร้อมและไม่ชัดเจน จึงไม่สามารถบันทึกเสียงได้
แนวทางแก้ไข
1.จะต้องมีการประสานงานล่วงหน้าก่อนทุกครั้งและชี้แจงถึงความจำเป็นต่อการใช้เครื่องเสียง
2.บันทึกในรูปแบบอื่นๆเช่น วีดีโอ ภาพ การบันทึกข้อมูล

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
3. ประชุมคณะทำงานเครือข่ายโครงการบูรณาการอาหาร

วันที่ 10 พฤศจิกายน 2556 เวลา 09:00

วัตถุประสงค์

1.เพื่อติดตามผลงานของแผนงานต่างๆรวมทั้งกิจกรรมที่ได้ทำและจะทำต่อไปเพื่อจะได้นำไปประชาสัมพันธ์และเขียนข่าวสรุปงาน
2.เพื่อวางแผนปฏิทินของแผนงานสื่อที่จะติดตามงานของเครือข่ายแผนงานอาหารทุกแผนและเตรียมวางแผนติตามเพื่อร่วมลงพื้นที่ 3.เตรียมกระบวนการนิทานเพื

ลักษณะกิจกรรม

การประชุมมาไม่ครบทุกแผนงาน  และหลายแผนงานยังไม่ได้ทำกิจกรรมก่อนหน้านี้ หรือบางแผนงานยังไม่กำหนดกิจกรรมต่อไป มีเฉพาะ พื้นที่เชิงแสซึ่งได้ทำกิจกรรมไปทั้งสิ้น 14 กิจกรรมจากทั้งหมด 23 กิจกรรม รวมทั้งพื้นที่ควนรู ซึ่งได้ทำกิจกรรม ไปหลายกิจกรรมแล้ว และบางกิจกรรมก็ไม่ได้ใช้งบของแผนงานอาหาร ส่วนแผนงานอื่นๆก็ได้มีการทำกิจกรรมไปบ้างแล้วแต่ยังไม่เขียนรายงานผ่านเวบ ส่วนบางกิจกรรมจะทำหลังจากการประชุมในวันนี้ สำหรับแผนงานสื่อได้แจ้งเรื่องการใช้กระบวนการนิทานเพื่องานบูรณาการด้านอาหารกับพื้นที่ควนรู และชะแล้ โดยขอความเห็นเรื่องการกำหนดวันที่จะจัดค่ายนิทานในพื้นที่ควนรู และ ชะแล้

เป้าหมายที่ตั้งไว้

การประชุมเครือข่ายคณะทำงานแผนงานอาหารทั้งหมด ซึ่งแต่ละแผนจะมีการรายงานถึงผลงานที่ได้ทำไปแล้ว และกิจกรรมที่จะทำต่อไป เพื่อทีมงานสื่อจะได้วางแผนลงพื้นที่เพื่อติดตามข่าวสารและวางปฏิทินสื่อเพื่อจัดการประชุม Songkhla Media Food Forum รวมถึงการขอกำหนดวันเพื่อการจัดค่ายอบรมนิทานบูรณาการด้านอาหารกับพื้นที่ควนรู และชะแล้

ผลที่เกิดขึ้น

1.ไม่สามารถกำหนดปฏิทินงานสื่อที่ชัดเจนสำหรับการลงพื้นที่เพื่อติดตามกิจกรรมได้เนื่องจากแผนงานต่างๆยังไม่ได้วางแผนสำหรับกิจกรรมที่จะทำต่อไป
2.มีการเสนอให้จัดทำหน้าเพจของFacebook สำหรับการสื่อสารระหว่างกลุ่ม และสำหรับการโพสต์ข้อมูลเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร วิชาการด้านอาหาร และข้อมูลโภชนาารพื้นที่
3.การกำหนดพื้นที่สำหรับการจัดตั้งอุทยานอาหาร ที่ด้านหน้าของตลาดคณะทรัพย์ และจะมีแผนสำหรับกิจกรรมต่างๆ รวมถึงแผนงานจากทีมสื่อที่ต้องทำการประชาสัมพันธ์ต่อไป 4.การจัดเตรียมแผนงานสำหรับการจัดตลาดนัดความรู้เพื่อนำเสนอกิจกรรมเครือข่าย และ เพื่อการประชาสัมพันธ์โครงการบูรณาการด้านอาหาร โดยมีการกำหนด 2 พื้นที่ที่ควรเลือก คือ การปิดถนนเสน่หานุสรณ์ หรือหอนาฬิกา  และในงานควรมีกิจกรรมตามห้องวิชาการต่างๆด้วย
5.การกำหนดวันสำหรับการจัดค่ายอบรมนิทานระหว่างวันที่ 25-30 พฤศจิกายน 56 โดยทีมวิทยากร คือ กลุ่มละครมะขามป้อมจาก กทม.

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

  • photo
  • photo
  • photo
4. ประชุมกับคุณเมธาผอ.สำนักธรรมนูญชะแล้ และ ประชุมกับนายกถั่น ควนรู

วันที่ 20 พฤศจิกายน 2556 เวลา 11:30

วัตถุประสงค์

เพื่อเตรียมงานจัดกิจกรรมค่ายอบรมนิทานเช่น กลุ่มเป้าหมาย สถานที่ อาหาร และวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ และปรึกษาถึงรูปแบบการจัดค่ายอบรม

ลักษณะกิจกรรม

1.ปรึกษากับคุณเมธาเพื่อการจัดเตรียมสถานที่ในพื้นที่ชะแล้ว่าจะเป็นที่ใด การเตรียมกลุ่มเป้าหมายว่าจะเป็นใครบ้าง และจะบูรณาการร่วมกันในส่วนใด เช่น ด้านเนื้อหา ปัญหาพื้นที่ ทางออกที่อยากจะให้กลุ่มเป้าหมายช่วยกันคิดคืออะไร  และงบประมาณว่าจะร่วมกันในส่วนไหนบ้าง การกำหนดวันที่แน่นอน
2.ปรึกษากับนายกถั่นในการจัดเตรียมพื้นที่ที่ควนรูว่าควรจะอบรมที่ไหน และใครคือกลุ่มเป้าหมาย การร่วมกันในประเด็นเนื้อหาด้านอาหารว่าควรจะเป็นข้อมูลด้านใดบ้าง  และในส่วนของงบประมาณต่างๆ

เป้าหมายที่ตั้งไว้

ปรึกษากับพื้นที่ในการจัดเตรียมงานเพื่อจัดอบรมเชิงปฏิบัติการกระบวนการนิทานเพื่องานบูรณาการสุขภาวะด้านอาหาร "กาลครั้งหนึ่ง..นานมาแล้ว เมื่อเหล่าอาหารแปลงร่าง"

ผลที่เกิดขึ้น

1.แผนการจัดค่ายอบรมนิทานเพื่อการบูรณาการสุขภาวะด้านอาหารสำหรับพื้นที่ชะแล้ ซึ่งจะจัดค่ายสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา ตั้งแต่ ประถม 4 ถึง ประถม 6 จำนวนทั้งสิ้น 40 คน โดยใช้พื้นที่ของโรงเรียนวัดชะแล้ ในวันที่ 29-30 พฤศจิกายน โดยพื้นที่อยากให้ดึงเอาปัญหาจากพื้นที่มาใช้ในกระบวนการนิทาน เช่น ปัญหาเด็กไม่ทานอาหารเช้า หรือ การไม่กินผักผลไม้ เป็นต้น สำหรับงบประมาณพื้นที่จะดูแลในส่วนของอาหารเที่ยง และวัสดุอุปกรณ์บางส่วน  สื่อดูแลงบประมาณในส่วนของวิทยากรทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นที่พัก อาหารมื้ออื่นๆ ค่าตอบแทน และค่าเดินทางทั้งหมด
2.พื้นที่ควนรูกลุ่มเป้าหมายจะเป็นทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับด้านอาหารเช่น ครู พี่เลี้ยง  อสม และนักเรียน จำนวนทั้งสิ้น 40 คน เนื้อหาที่เน้นจะเป็นเรื่องของผัก ผลไม้ และอาหารที่ไม่มีประโยชน์ สำหรับสถานที่ที่จะใช้ในการอบรมคือ ที่ห้องประชุมของ อบต.ควนรู โดยจะดำเนินกิจกรรมการอบรมในวันที่ 27-28 พฤศจิกายน 56  ซึ่งงบประมาณจากพื้นที่ควนรูจะดูแลในส่วนค่าเดินทางของผู้เข้าร่วมอบรม และค่าวัสดุอุปกรณ์บางส่วน  ส่วนสื่อต้องดูแลค่าอาหาร และอาหารว่างตลอดการอบรม และส่วนของวิทยากรทั้งหมด ตั้งแต่ค่าเดินทาง ค่าที่พัก ค่าตอบแทน และค่าอาหารทั้งหมด

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ปัญหา: การชี้แจงและปรึกษาจะทำต่อผู้บริหารเท่านั้นทำให้เกิดปัญหาสำหรับการลงพื้นที่
ทางออก: การประสานควรจะทำทั้งในระดับผู้บริหาร และผู้ประสานงานในพื้นที่ด้วย เนื่องจากในระดับผู้บริหารจะมีงานยุ่งมาก บางครั้งทำให้การลงถึงพื้นที่ไม่สะดวกเท่าที่ควร

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

  • photo
  • photo
5. ค่ายอบรมนิทาน"กาลครั้งหนึ่ง..นานมาแล้วเมื่อเหล่าอาหารแปลงร่าง...

วันที่ 27 พฤศจิกายน 2556 เวลา 09:00

วัตถุประสงค์

1.เพื่อใช้นิทานในการให้ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องสุขภาวะอาหาร 2.เพื่อให้ตระหนักในคุณค่าของนิทานและสามารถโยงการใช้นิทานเพื่อการเปลี่ยนแปลงได้
3.เพื่อเป็นการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างแผนสื่อและแผนต่างๆในโครงการสุขภาวะด้านอาหาร  4.เพื่อเปิดพื้นที่นิท

ลักษณะกิจกรรม

1.การอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้กระบวนการนิทานเพื่อบูรณาการสุขภาวะด้านอาหารและโภชนาการให้กับครู พี่เลี้ยง อสม เจ้าหน้าที่ และนักเรียนจำนวนทั้งสิ้น 64 คนในวันแรก สำหรับในวันที่สองอสม ติดประชุม แต่มีครู และพี่เลี้ยงจากศูนย์เด็กเล็ก(อบต.สั่งปิดศูนย์) ทั้ง 3 แห่ง และยังมีนักเรียนมาเพิ่ม เป็นจำนวนทั้งสิ้น 57 คน
2.กิจกรรมในวันแรกเป็นการเรียนรู้พื้นฐานผ่านจินตนาการ ผ่านการฟัง เล่น คิด และเป็นการสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของนิทานและประโยชน์ของการใช้นิทานเป็นเครื่องมือเพื่อการพัฒนา และเรียนรู้ปัญหาด้านโภชนาการเพื่อหาทางออกผ่านกระบวนการคิด ถาม ตอบและสร้าง โดยปิดท้ายในเรื่องการสร้างกระบวนการนิทานว่าจะทำได้อย่างไร
3.กิจกรรมในวันที่สองเน้นการสร้างเรื่องจากปัญหาโภชนาการ สู่ทางออกด้วยการใช้จินตนาการผ่านนิทาน  สอนวิธีการและขั้นตอนการสร้างเนื้อหาในนิทานและเทคนิคการสร้างนิทานให้สนุกและน่าสนใจ สุดท้ายคือการสร้างนิทานจากโจทย์ปัญหาที่เกิดจากการระดมความคิดของผู้เข้าร่วมอบรมและเพิ่มเติมข้อมูลบางส่วนจากงานวิจัยจากอ.ลัดดาในแผนโภชนาการฯ

เป้าหมายที่ตั้งไว้

1.การอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้กระบวนการนิทานเพื่อบูรณาการสุขภาวะด้านอาหารและโภชนาการให้กับครู พี่เลี้ยง อสม และนักเรียนจำนวนทั้งสิ้น 40 คน 2.กระบวนการอบรมจะเน้นให้เห็นคุณค่าของนิทานและสามารถนำกระบวนการนิทานไปสู่เป้าหมายในประเด็นต่างๆได้ 3.กิจกรรมการอบรมจะเน้นการร่วมคิด ร่วมเล่า ร่วมจินตนาการ ร่วมสร้างสรรค์ และร่วมทำ โดยผ่านความรู้ด้านอาหารทุกขั้นตอนและปฏิบัติการเรียนรู้การทำสื่อหลายประเภทเพื่อนำไปใช้สำหรับทุกพื้นที่ และทุกโรงเรียน

ผลที่เกิดขึ้น

1.ได้แผนเพื่อจัดทำ Storytelling Food Model จากการจัดค่ายอบรมนิทานในพื้นที่
2.กระบวนการนิทานเป็นเครื่องมือที่สามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ ความคิดสร้างสรรค์ และเป็นการเติมเต็มในส่วนของจินตนาการที่มีอยู่ในตัวทุกคน
3.มีการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างแผนงานสื่อและแผนโภชนาการและอาหารคุณภาพของพื้นที่อบต.ควนรู
4.ได้ทราบความคาดหวังจากผู้เข้าร่วมอบรมที่ต้องการเรียนรู้กระบวนการนิทาน และประสบการณ์ใหม่เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาครอบครัว สังคม ชุมชน และนักเรียน และมี อสม.(คุณจิรา)ที่ต้องการเปิดพื้นที่นิทานโดยจะนำไปใช้กับพื้นที่ และจะขอคำเสนอแนะในการสร้างพื้นที่และกระบวนการนิทานต่อไป
5.ได้นิทานจากผู้เข้าร่วมอบรมโดยมาจากโจทย์ปัญหาอาหารในพื้นที่  5 โจทย์  5 เรื่อง  ดังนี้
----อาหารปนเปื้อนสารพิษ ได้นิทานเรื่อง  ยักษ์ราหุล
----เด็กกับขนมหวาน        ได้นิทานเรื่อง ไม้บรรทัดตัวจิ๋ว
----เด็กไม่กินผัก              ได้นิทานเรื่อง จระเข้ไม่กินผัก
----เหงือกจ๋าฟันลาก่อน    ได้นิทานเรื่อง  พายุท็อฟฟี่
----ไม่กินผักที่ปลูกเอง    ได้นิทานเรื่อง  ป็อบอายและผักวิเศษ
โดยติดตามอ่านได้ที่ www.facebook.com/mamagoodfood

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
6. ค่ายอบรมนิทาน"กาลครั้งหนึ่ง...นานมาแล้ว เมื่อเหล่าอาหารแปลงร่าง..."

วันที่ 29 พฤศจิกายน 2556 เวลา 09:00

วัตถุประสงค์

1.เพื่อใช้นิทานในการให้ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องสุขภาวะอาหาร 2.เพื่อให้ตระหนักในคุณค่าของนิทานและสามารถโยงการใช้นิทานเพื่อการเปลี่ยนแปลงได้ 3.เพื่อเป็นการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างแผนสื่อและแผนต่างๆในโครงการสุขภาวะด้านอาหาร 4.เพื่อเปิดพื้นที่นิทานใ

ลักษณะกิจกรรม

1.การอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้กระบวนการนิทานเพื่อบูรณาการสุขภาวะด้านอาหารและโภชนาการให้กับนักเรียนระดับประถม4-6 จำนวนทั้งสิ้น 48 คน 2.กิจกรรมในวันแรกเป็นการเรียนรู้พื้นฐานผ่านจินตนาการ ผ่านการฟัง เล่น คิด และเป็นการสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของนิทานและประโยชน์ของการใช้นิทานเป็นเครื่องมือเพื่อการพัฒนา และเรียนรู้ปัญหาด้านโภชนาการเพื่อหาทางออกผ่านกระบวนการคิด ถาม ตอบและสร้าง โดยปิดท้ายในเรื่องการสร้างกระบวนการนิทานว่าจะทำได้อย่างไร 3.กิจกรรมในวันที่สองเน้นการสร้างเรื่องจากปัญหาโภชนาการ สู่ทางออกด้วยการใช้จินตนาการผ่านนิทาน  สอนวิธีการและขั้นตอนการสร้างเนื้อหาในนิทานและเทคนิคการสร้างนิทานให้สนุกและน่าสนใจ สุดท้ายคือการสร้างนิทานจากโจทย์ปัญหาที่เกิดจากการระดมความคิดของผู้เข้าร่วมอบรมและเพิ่มเติมข้อมูลบางส่วนจากงานวิจัยจากอ.ลัดดาในแผนโภชนาการ

เป้าหมายที่ตั้งไว้

1.การอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้กระบวนการนิทานเพื่อบูรณาการสุขภาวะด้านอาหารและโภชนาการให้กับนักเรียนระดับประถมศึกษา 4-6 จำนวน 40 คน 2.กระบวนการอบรมจะเน้นให้เห็นคุณค่าของนิทานและสามารถนำกระบวนการนิทานไปสู่เป้าหมายในประเด็นต่างๆได้ 3.กิจกรรมการอบรมจะเน้นการร่วมคิด ร่วมเล่า ร่วมจินตนาการ ร่วมสร้างสรรค์ และร่วมทำ โดยผ่านความรู้ด้านอาหารทุกขั้นตอนและปฏิบัติการเรียนรู้การทำสื่อนิทานหลายประเภทเพื่อนำไปใช้สำหรับการเรียนในห้องเรียนและในศูนย์เด็กเล็ก(ตามเป้าหมายของผอ.สำนักธรรมนูญ)

ผลที่เกิดขึ้น

1.ได้แผนเพื่อจัดทำ Storytelling Food Model จากการจัดค่ายอบรมนิทานในพื้นที่
2.กระบวนการนิทานเป็นเครื่องมือที่สามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ ความคิดสร้างสรรค์ และเป็นการเติมเต็มในส่วนของจินตนาการที่มีอยู่ในตัวทุกคน
3.มีการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างแผนงานสื่อและแผนโภชนาการและอาหารคุณภาพของพื้นที่สำนักธรรมนูญชะแล้
4.ผู้เข้าร่วมอบรมได้เขียนแสดงความรู้สึกหลังจากการอบรมทั้ง 2 วันสรุปได้ดังนี้คือ เด็กๆได้เรียนรู้กระบวนการนิทาน และประสบการณ์ใหม่ๆจากแนวคิดการแต่งนิทานหลายรูปแบบ  ได้ใช้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์  มีความกล้าในการแสดงออก ได้รู้จักโลกนิทานที่มีมากมายและหลากหลาย ได้ฝึกความคิดจากการเล่นที่สนุกสนาน ได้ฝึกการคิดเพื่อแต่งนิทาน ได้วาดตามจินตนาการ ได้สร้างสรรค์งานนิทาน  และได้ฝึกการเล่านิทาน  ซึ่งเด็กๆบางคนบอกว่าได้ประโยชน์มากพร้อมที่จะไปสอนน้องๆในศูนย์เด็กเล็กด้วย และเรียนรู้ที่จะสอนน้องๆให้กินผักผ่านนิทานได้
5.ได้นิทานจากผู้เข้าร่วมอบรมโดยมาจากโจทย์ปัญหาอาหารในพื้นที่  5 โจทย์  5 เรื่อง  ดังนี้
----เด็กกับขนมกรุบกรอบ  ได้นิทานเรื่อง ปีศาจในเมือง ฟ ฟัน
----เด็กกับผลไม้              ได้นิทานเรื่อง พายุลูกกวาด
----เด็กไม่กินผัก              ได้นิทานเรื่อง  กบโก๋กี๋
----ไม่กินอาหารเช้า          ได้นิทานเรื่อง  เด็กชายกระเพาะ
----เด็กกับน้ำอัดลม          ได้นิทานเรื่อง  กระป๋องและขวด
โดยติดตามอ่านได้ที่ www.facebook.com/mamagoodfood

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ปัญหา:
ไม่มีครู หรือผู้ที่จะสามารถสนับสนุนกระบวนการความคิดของเด็กๆ และไม่มีใครที่จะต่อยอดความรู้ของเด็กๆในพื้นที่ได้ เป็นที่น่าเสียดายที่เด็กๆเหล่านี้มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ที่ดีมากและสามารถจะช่วยพัฒนาน้องๆในพื้นที่ต่อไปได้
แนวทางแก้ไข:
ในการอบรมครั้งต่อไปต้องมีการประสานกับผู้บริหารฝ่ายการศึกษาในพื้นที่ที่จะขอความร่วมมือจากครูหรือผู้บริหารโรงเรียนให้เข้าใจในคุณค่าและร่วมเรียนรู้ในกระบวนการ

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
7. ร่วมเวทีเก็บข้อมูลภูมิปัญญาขนมพื้นบ้านอาหารพื้นเมืองคาบสมุทรสทิงพระ(เวที ๒)

วันที่ 9 ธันวาคม 2556 เวลา 09:00

วัตถุประสงค์

1.เพื่อการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ชุดแผนงานความั่นคงทางอาหารที่น่าสนใจสู่สังคมในวงกว้าง
2.เพื่อศึกษา เรียนรู้ ทำความเข้าใจและบันทึกข้อมูล ภาพ และเสียงสำหรับกรสื่อสารสาธารณะ
3.เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการเก็บข้อมูลของพื้นที่แผนงานและชาวบ้าน

ลักษณะกิจกรรม

ร่วมเวทีข้อมูลโดยได้ฟังการนำเสนอจากครูฑูรย์เรื่อง
1.เรื่องน่ารู้ของชาวบก และความรู้ของคาบสมุทรสทิงพระ อาชีพของชาวบก ลักษณะภูมิประเทศ และธรรมชาติของคาบสมุทรซึ่งชุมชนเก่าแก่คือปะโอ และชุมชนพะโคะ รวมทั้งลักษณะของปากอ่าวที่ทำให้น้ำในทะเลสาบเป็นแอ่ง สินค้าส่งออกในสมับโบราณ คือข้าว น้ำตาลโตนด หนังกวาง และเครื่องเทศ
2.ความเป็นมาของศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบก
3.ย้อนหลังกิจกรรมจากเวทีแรกที่ปากรอ และจุดประสงค์ที่สำคัญคือให้ผู้ที่มาร่วมประชุมนำปิ่นโตมาด้วย เพื่อจะได้เรียนรู้เรื่องราวและเก็บข้อมูลจากภูมิปัญญาขนมพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง เพื่อให้ทุกคนได้เรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับอาหารเป็นยา เช่นบางคนที่เอาปิ่นโตมาก็จะดูว่าเอาแกงอะไรมาแล้วดูวิธีการทำใช้ส่วนผสมอะไรบ้าง วิธีทำอย่างไร เรียนรู้วิธีการทำมาจากไหน มีอะไรที่เป็นสมุนไพร แต่ละพื้นที่เหมือนกัน หรือต่างกันอย่างไร เพื่อรวบรวมเป็นตำรับอาหาร
4.เรียนรู้วิธีการทำน้ำยาเอนกประสงค์ 5.เปิดปิ่นโตดูอาหารเพื่อเก็บข้อมูล และศึกษาภูมิปัญญา และกินข้าวจากปิ่นโตชาวบ้าน

เป้าหมายที่ตั้งไว้

ร่วมเวทีเก็บข้อมูลและร่วมสนทนาเพื่อเรียนรู้ ทำความเข้าใจ และศึกษาเพื่อนำมาขยายผลและประชาสัมพันธ์ทางสถานีวิทยุคลื่นความคิด F.M.101 และเก็บข้อมูลเป้นคลังเสียง และหน้าข่าวสารที่ www.banbanradio.com รวมทั้งการนำเสนอกิจกรรมผ่านหน้าแฟนเพจอาหารของแม่ที่www.facebook.com/mamagoodfood

ผลที่เกิดขึ้น

1.มีโอกาสเรียนรู้ และเข้าใจเรื่องราวของชาวบก ภูมิประเทศ ลักษณะตามธรรมชาติที่มีผลต่อวิถีชีวิต โดยเฉพาะวิถีการกิน ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของการทำขนมพื้นเมือง อาหารพื้นบ้านของคาบสมุทรสทิงพระ 2.มีการบันทึกเสียง และภาพ รวมทั้งข้อมูลข่าวสารเพื่อทำการสื่อสารเรื่องของพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระ มีความรุ้เกี่ยวกับภูมิปัญญาจากขนมพื้นเมือง อาหารพื้นบ้าน เพื่อจะทำการสื่อสารสู่สาธารณะผ่านคลื่นความคิด F.M.101 และจะใช้วิธีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ศึกษาเรื่องราวของอาหาร ที่หน้าแฟนเพจอาหารของแม่ที่ www.facebook.com/mamagoodfood และติดตามอ่าน/รับฟังประเด็นน่าสนใจของขนมพื้นเมือง อาหารพื้นบ้านได้ที่เวบไซต์ www.banbanradio.com หน้าโครงการบูรณาการแผนสุขภาวะด้านอาหาร http://www.banbanradio.com/tags/25

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ปัญหา:
ไม่มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนกับชาวบ้าน การเก็บข้อมูลเป็นไปในลักษณะการสัมภาษณ์เพื่อตอบแบบสอบถามเท่านั้น
แนวทางแก้ไข:
จะขอให้ทางพื้นที่เปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้นำเสนอเพื่อเป็นการเรียนรู้ร่วมกัน วิธีการทำอาหาร วิธีการทำขนม สูตรอาหารได้มาอย่างไร มีวิธีการปรุงอย่างไร และอาหารเหล่านั้นมีประโยชน์ต่อสุขภาพในแง่ไหนบ้าง จะเป็นประโยชน์ต่อการสื่อสารมาก

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
8. ประชุมและหารือร่วมกันถึงงานเทศกาลนิทานเพื่อความมั่นคงทางอาหารและสิ่งแวดล้อม

วันที่ 9 มกราคม 2557 เวลา 09:00

วัตถุประสงค์

1.เพื่อความชัดเจนในการวางแผนงานและรูปแบบของการจัดเทศกาลนิทาน การตั้งคณะทำงาน และงบประมาณร่วม
2.เพื่อหารือในการที่จะนำประเด็นความมั่นคงทางอาหาร และแหล่งอาหารของจะนะในเนื้อหาใดบ้างที่จะใช้ประชาสัมพันธ์ผ่านการเล่านิทานสู่ชาวสงขลา ชาวไทยและชาวโลกที่มาร่วมง

ลักษณะกิจกรรม

1.ประชุมรูปแบบของการจัดงานและสถานที่ ที่จะจัดงาน
2.จัดตั้งคณะทำงาน
3.หารือเรื่องงบประมาณที่มีอยู่
4.วางแผนหารือเกี่ยวกับประเด็นความมั่นคงทางอาหาร แหล่งอาหารที่จะนำเสนอต่อนักเล่านิทานจากนานาชาติ และจะประชาสัมพันธ์ความสมบูรณ์ของอาหารทะเลจะนะ ความสวยงามของพื้นที่สู่ชาวสงขลา ชาวไทย และชาวโลกในด้านใดบ้าง
5.วางแผนก้าวต่อไปในการใช้หลักสูตรนิทานและกระบวนการนิทานมาบูรณาการให้ชาวจะนะ และชาวสงขลาได้เรียนรู้และตระหนักถึงสุขภาวะด้านอาหาร รวมถึงการเผยแพร่campaign อาหารของแม่สู่โรงเรียนต่างๆ

เป้าหมายที่ตั้งไว้

ประชุมเพื่อวางแนวทางการจัดงานเทศกาลนิทานนานาชาติ แต่งตั้งคณะทำงาน พิจารณางบประมาณ และรูปแบบพื้นที่ของการจัดเสวนา อบรม และพบปะนักเล่านิทาน รวมทั้งประเด็นเนื้อหาของนิทานที่จะนำเสนอ เรื่องความมั่นคงทางอาหารทั้งพื้นที่ สงขลา และ พื้นที่แหล่งอาหาร จะนะ รวมถึงความเป็นไปได้ที่จะก้าวเดินต่อไปในการบูรณาการระหว่างหลักสูตรนิทาน และพื้นที่การจัดการอาหารใน Campaign อาหารของแม่

ผลที่เกิดขึ้น

1.มีรูปแบบของการจัดงานเทศกาลโดยแบ่งเป็น 3 รูปแบบ 4 ช่วงเวลา 4 สถานที่ ดังนี้
    1.คณะมนุษย์ศาสตร์ฯ ม.ทักษิณ - เวทีเสวนา
    2.ประตูเมืองสงขลา ริมหาดสมิหลา - concert นิทาน
    3.สมิหลาแคมปิ้ง เทศบาลนครสงขลา -อบรมเชิงปฏิบัติการ
    4.ริมหาดบ้านสวนกง ทะเลจะนะ  - concert นิทาน
2.คณะทำงาน โดยมีโครงสร้างการทำงาน ดังนี้
    1.มหาวิทยาลัยทักษิณ เจ้าภาพหลัก ดูแลเรื่องสถานที่ในการใช้เสวนา ที่พักวิทยากร(บางส่วน)  อาหารบางมื้อ พิธีเปิด การประชาสัมพันธ์ในเขตเทศบาลนครสงขลา  การลงทะเบียน     2.มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เจ้าภาพหลัก ดูแลเรื่องการเชิญวิทยากร ค่าเดินทาง ค่าที่พักวิทยากร(บางส่วน)  กำหนดการ การประชาสัมพันธ์ไปยังประเทศต่างๆ
    3.สถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้ มอ.โด สสส. (แผนงานการสื่อสารสาธารณะ โครงการบูรณาการอาหารฯ) (ริเริ่มโครงการและประสานงานระหว่างพื้นที่ ดูแลเรื่องวิทยากรทั้งในพื้นที่ และต่างประเทศ เนื้อหาของนิทานที่จะบูรณาการหลักสูตรนิทานในทุกด้าน การจัดทำเอกสาร การออกแบบสื่อ การประชาสัมพันธ์ในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ ที่พักวิทยากร(บางส่วน)  อาหารบางมื้อ  การเดินทางในสงขลา  การประสานงานระหว่างกลุ่มเป้าหมาย การหาแหล่งสนับสนุน  การลงทะเบียน     4.ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติเพื่อชุมชน จะนะ แผนงานความมั่นคงทางอาหาร(ริเริ่มโครงการ) ดูแลพื้นที่จัดงานนิทานที่หาดสวนกง การจัดการเรื่องอาหาร การประสานกลุ่มเป้าหมายในเขต อ.จะนะ และการประชาสัมพันธ์  การลงทะเบียน
    5.SPAFA (ผู้สนับสนุนหลัก) ดูแลเรื่องการเดินทางวิทยากรนักเล่านิทานจากประเทศต่างๆ  ที่พักวิทยากร(บางส่วน)
  6.เทศบาลนครสงขลา (ผู้สนับสนุน) สนับสนุนด้านสถานที่ในการจัดconcert นิทาน และสถานที่ในการอบรม อาหารบางมื้อ
  7.สมาคมสมาพันธ์ธุรกิจการท่องเที่ยวจ.สงขลา สนับสนุนการจัดงานเลี้ยงส่งนักเล่านิทานนานาชาติ
3.งบประมาณจากศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติเพื่อชุมชน จะนะ ประมาณ 70000 บาท และแผนงานสื่อประมาณ 50000 บาท
4.การประชาสัมพันธ์แหล่งความมั่นคงทางอาหารของทะเลจะนะ และความสมบูรณ์ของพื้นที่ ด้วยการจัดให้นักเล่านิทานนานาชาติ ลงพื้นที่จะนะเพื่อเล่านิทานสู่ชุมชน และฟังเรื่องราวจากชุมชน
5.มีแผนการหาสถานที่ที่จะเปิดพื้นที่นิทานให้เด็กๆจะนะได้เรียนรู้ และมีจินตนาการที่ดีๆในพื้นที่ของตนเองเพื่อความรักและดูแลผืนดินของตนเอง

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ปัญหา: การประชุมหรือการวางแผนงานในโครงการบูรณาการอาหารในกิจกรรมต่างๆ ไม่มีทีมประสานงานกลางเข้าร่วมประชุม จึงทำให้ขาดความเข้าใจว่าในแต่ละกิจกรรมมีผล หรือแต่ละแผนงานทำกิจกรรมเพื่ออะไร และมีการบูรณาการงานอย่างไร
แนวทางแก้ไข: อยากให้พี่เลี้ยงในพื้นที่ร่วมสังเกตุการณ์ และร่วมประชุมเพื่อเสนอแนวทางและทำความเข้าใจร่วมกันในการทำกิจกรรมต่างๆด้วย

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

สสส.ควรได้เข้ามาศึกษาและเรียนรู้ร่วมกัน รวมทั้งร่วมสังเกตุการณ์ในทุกกิจกรรมเพื่อจะพิจารณาได้ว่ากิจกรรมเหล่านี้สามารถนำไปบูรณาการเกี่ยวกับแผนงานอาหารด้านใดบ้าง หลักสูตรนิทาน ที่นำเอากระบวนการดึงข้อมูล และ ใช้สื่อง่ายๆเพื่อเผยแพร่งานอาหารได้ผลมากน้อยอย่างไร

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

อยากให้ทางทีมพี่เลี้ยงได้เข้ามาร่วมเรียนรู้ในกิจกรรมใหม่ๆ หรือกิจกรรมที่อาจจะแตกต่างออกไปจากแผนงาน ดังนั้นจึงควรได้เข้ามาร่วมศึกษาและฟังความคิด หรือร่วมปรึกษาในการหาทางออกของการดำเนินกิจกรรมที่ไม่อยู่ในแผนงาน

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

  • photo
  • photo
9. ประชุมและหารือเรื่องของการจัดเทศกาลนิทาน และปรึกษาเพื่อหากลุ่มผู้สนับสนุน

วันที่ 9 มกราคม 2557 เวลา 13:00

วัตถุประสงค์

1.เพื่อประชุมและหารือความชัดเจนของการจัดเทศกาลนิทานนานาชาติ
2.เพื่อเตรียมการเข้าพบหน่วยงานต่างๆในฐานะเจ้าภาพร่วมและจะปรึกษากับกลุ่มผู้สนับสนุนถึงแนวทางการร่วมทุนในการจัดเทศกาลนิทานนานาชาติ

ลักษณะกิจกรรม

1.ร่วมประชุมและหารือกับ
          1.อาจารย์เทพรัตน์ จันท์พันธ์
          2.นางสาวจริยา มาบัว
          3.นางสาวขนิษฐา เฉลิมบุญ
          4.นายชัยวุฒิ เกิดชื่น
          5.นางสุวรรณี เกิดชื่น
          6.อาจารย์ประสงค์ สายหงษ์
          7.นางสาวปาลิตา รัตนบุรี
เพื่อการเตรียมความชัดเจนในเรื่องของสถานที่จัดงานเทศกาลเล่านิทานนานาชาติ การเตรียมงานในห้องประชุม และประเด็นที่จะเตรียมบูรณาการด้านเนื้อหาและหัวข้อในการจัดเวทีสนทนาก่อนเริ่มเปิดเทศกาล การแต่งตั้งคณะทำงาน และพื้นที่ของคณะต่างๆใน ม.ทักษิณ ในฐานะเจ้าภาพหลัก  รวมถึงการเชิญผู้บริหารเพื่อร่วมในพิธีเปิดงาน การกล่าวต้อนรับ การแสดงปาฐกถา  และงบประมาณในการจัดงาน
2.หารือแนวทางชัดเจนของเจ้าภาพร่วม และการเข้าพบนายกเทศมนตรีเทศบาลนครสงขลา ในเรื่องของการสนับสนุน และการอนุญาตการใช้พื้นที่สาธารณะต่างๆ  เช่น ริมหาดสมิหลา หรือ การใช้สถานที่ในการอบรมการเล่านิทานให้กับเด็กๆและครูในเครือข่ายโรงเรียนเทศบาล  นอกจากนั้น ได้หารือเรื่องเจ้าภาพอื่นๆ เช่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย  สมาคมสมาพันธ์ธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา  และอีกหลายหน่วยงาน  ว่าจะมีบทบาทหรือสนับสนุนในด้านใดบ้าง
3.หารือในส่วนของการประชาสัมพันธ์เทศกาลเล่านิทานนานาชาติ พื้นที่ติดไวนิล การประชาสัมพันธ์ในสื่อต่างๆ เช่น วิทยุ เคเบิ้ลทีวี  หนังสือพิมพ์
4.หารือเรื่องการเข้าพบคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ และคณะมนุษย์ฯเพื่อขอกลุ่มเป้าหมายคือนิสิตจากทั้ง 2 คณะเข้าร่วมเสวนาทางวิชาการด้วย และกลุ่มผู้เข้าร่วมงานจากภายนอก คาดการณ์ในจำนวน

เป้าหมายที่ตั้งไว้

การประชุมกับมหาวิทยาลัยทักษิณในฐานะ เจ้าภาพในพื้นที่จังหวัดสงขลา สถานที่ในการจัดงาน และผู้สนับสนุนร่วมจะมีหน่วยงานใดบ้าง รวมถึงการประชาสัมพันธ์งานเทศกาลนิทาน

ผลที่เกิดขึ้น

1.มีการกำหนดการใช้สถานที่ชัดเจนซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงในส่วนของการใช้ห้องย่อยและสถานที่อบรมสำหรับครูนักเรียนคือ
การประชุมเสวนาวิชาการ  ห้องประชุมคณะมนุษย์ฯม.ทักษิณ
การแบ่งกลุ่มย่อย เปลี่ยนไปใช้ที่ คณะศึกษาศาสตร์
การอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับครูและนักเรียนโรงเรียนเทศบาลทั้ง 5 ต้องไปใช้ที่ โรงเรียนเทศบาล 5วัดหัวป้อมนอกและconcert นิทานที่ริมประตูเมืองสงขลาจำลองบริเวณหาดสมิหลา และ ริมหาดสวนกง และมีการหารือในประเด็นสนทนาก่อนเข้าสู่เทศกาลนิทาน ในหัวข้อจากอาหารของแม่สู่เทศกาลนิทานนานาชาติ เพื่อเล่าถึงความเป็นมาจากความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆ การเชิญอธิการบดี มหาวิทยาลัยทักษิณ และคณบดีจากคณะต่างๆเพื่อร่วมพิธีเปิด และร่วมงานเทศกาลนิทานนานาชาติ และงบประมาณที่ทางม.ทักษิณจะร่วมในส่วนของที่พักนักเล่านิทานนานาชาติที่โรงแรมสมิหลาบีช อาหารในส่วนงานเสวนา และงานเลี้ยงต้อนรับ และดูตามสถานการณ์อื่นๆด้วย
2.ได้กำหนดเวลานัดหมายที่จะเข้าพบนายกเทศมนตรี และผู้บริหารของเทศบาลนครสงขลาในวันที่ 15มกราคม2557เวลา15:00น.เพื่อหารือเรื่องของสถานที่จัดงานและการเตรียมพื้นที่ในการจัดงาน เรื่องไฟ เรื่องเครื่องเสียงและเรื่องของอาหารในวันอบรมที่โรงเรียนเทศบาล5 รวมถึงการสนับสนุนในส่วนของการเดินทางภายในจังหวัดสงขลา รวมทั้งได้ให้แผนงานสื่อเป็นผู้ประสานกับ ททท.สำนักงานหาดใหญ่เพื่อหารือเรืองของการท่องเที่ยวเส้นทางวัฒนธรรมของนักเล่านิทานนานาชาติ และการเลี้ยงขอบคุณ  การสนับสนุนงบประมาณจากสมาคมสมาพันธ์ธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา
3.การกำหนดสถานที่สำหรับการประชาสัมพันธ์เช่นในหาดใหญ่จะมีการติดไวนิลประมาณ 5-10จุด ในสงขลาจะติดไวนิลใหญ่ตรงบริเวณสะพานลอยหน้าประตูมหาวิทยาลัยทักษิณ และภายในมหาวิทยาลัย บริเวณริมหาดสมิหลาสงขลา นอกจากนั้นได้คลื่นวิทยุที่จะเผยแพร่ประชาสัมพันธ์คือ วิทยุมอ88และวิทยุอสมท.96.5 หนังสือพิมพ์ เช่น สมาร์ทนิวส์
4.ได้จำนวนกลุ่มเป้าหมายในแต่ละกิจกรรม คือ เวทีเสวนาวิชาการที่ ม.ทักษิณคือนิสิต คณะศึกษาศาสตร์ และคณะมนุษย์ ประมาณ 300 คน และผู้เข้าร่วมจากการประชาสัมพันธ์ประมาณ 100 คน  การอบรมเชิงปฏิบัติการครูนักเรียนโรงเรียนในส่วนเทศบาล ประมาณ 700 คน และผู้เข้าร่วมconcert ทั้ง 2 งานประมาณ200 คน

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ปัญหา : กิจกรรมนิทานอาจเป็นกิจกรรมเก่าที่ต้องมีการเรียนรู้ใหม่ จึงหาแหล่งทุนร่วมยาก แนวทาง: ทำความเข้าใจอย่างต่อเนื่อง และต้องมีกิจกรรมซ้ำ และย้ำบ่อยๆเพื่อให้นิทานเป็นวิถีชีวิตที่จำเป็นต่อความคิด จินจนาการ ความคิดสร้างสรรค์ทั้งสำหรับเด็ก และผู้ใหญ่ในอนาคตอาจง่ายต่อการหาแหล่งทุนได้ง่ายขึ้น

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

สสส.ควรให้ความสนใจกับผลงาน หรือ กิจกรรมที่อาจไม่ตรงกับแผนงาน  ดังนั้นควรร่วมมาศึกษาและทำความเข้าใจว่าเหตุที่มีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากเหตุใด และจะมีผลต่อความสำเร็จของโครงการได้อย่างไร 

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

เช่นเดียวกันอยากให้พี่เลี้ยงร่วมปรึกษาและทำความเข้าใจกับกิจกรรมที่อาจไม่ตรงกับแผนเพื่อช่วยเครือข่ายในการตอบคำถาม หรือชี้แจงให้แหล่งทุนได้ทราบถึงสาเหตุที่ต้องทำกิจกรรมนั้นเพื่ออะไร

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

  • photo
  • photo
10. ร่วมเวทีคืนข้อมูล และการดำเนินกิจกรรมปลูกต้นไม้ของทีมงานกลางแผนบูรณาการฯอาหาร

วันที่ 10 มกราคม 2557 เวลา 09:00

วัตถุประสงค์

1.เพื่อร่วมเวทีคืนข้อมูลในประเด็นปัญหาด้านอาหารที่มีผลต่อสุขภาพของเด็กและเยาวชนในพื้นที่ชะแล้และรับฟังความคิดเห็นรวมถึงข้อเสนอแนะจากผู้ปกครอง
2.เพื่อนำเสนอภาพกิจกรรมนิทาน"กาลครั้งหนึ่ง เมื่อเหล่าอาหารแปลงร่าง"ซึ่งเป็นนิทานที่เด็กๆชะแล้ร่วมกันหาทางออกใน

ลักษณะกิจกรรม

เนื่องจากเป็นการจัดงานวันเด็ก และผู้ปกครองตั้งใจดูการแสดงของเด็กๆมากกว่า ดังนั้นการนำเสนอข้อมูลจึงไม่อาจทำได้เต็มที่ ได้แต่เพียงนำเสนอเป็นวีดีโอ ผลงานนิทานของเด็กๆเท่านั้น และได้ร่วมปลูกพืชพันธุ์ไม้เพื่อจะจัดเป็นแหล่งอาหารภายในโรงเรียน

เป้าหมายที่ตั้งไว้

ทางโรงเรียนได้มีการจัดงานวันเด็ก โดยมีการเชิญผู้ปกครองมาร่วมงานด้วย ดังนั้นทางสำนักธรรมนูญสุขภาพชะแล้ และแผนงานกลางโครงการบูรณาการอาหาร จึงเสนอให้มีการคืนข้อมูล เกี่ยวกับประเด็นปัญหาด้านอาหารให้กับผู้ปกครอง และมีการจัดกิจกรรมปลูกต้นไม้ ซึ่งแผนงานสื่อได้วางแผนไปร่วมกิจกรรม เพื่อนำเสนองานผ่านวีดีทัศน์และเผยแพร่campaign อาหารของแม่ โดยจะจัดทำตามลำดับดังนี้ คือ การคืนข้อมูลหลังจากการสำรวจข้อมูลของอ .ลัดดา และการบูรณาการร่วมระหว่างแผนอาหารของชะแล้ และแผนงานสื่อซึ่งได้จัดอบรมหลักสูตรนิทานโดยมีโจทย์เกี่ยวกับปัญหาอาหารในพื้นที่ และการหาทางออก รวมถึงการร่วมกิจกรรม "อาหารของแม่"ต่อไป

ผลที่เกิดขึ้น

1.ได้ร่วมปลูกพันธุ์พืชเพื่อจะเป็นแหล่งอาหารกลางวันสำหรับเด็กในโรงเรียน
2.เนื่องจากเป็นกิจกรรมวันเด็ก ผู้ปกครองและเด็กๆต่างให้ความสนใจกับกิจกรรมการแสดงมากกว่า ดังนั้นแผนงานสื่อจึงมีการนำเสนอข้อมูลเพียงอย่างเดียว จึงทำให้ผู้ปกครองไม่มีโอกาสในการร่วมความคิดเห็น

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ปัญหา:
งานวันเด็ก ที่โรงเรียนและครูต่างต้องการให้เป็นเวทีแห่งความสนุกสนาน ผู้ปกครอง และนักเรียนจึงมุ่งภาพของความบันเทิงเท่านั้น
แนวทางการแก้ไข:
ทางพื้นที่ต้องมีการวางแผนเพื่อที่จะมีเวทีคืนข้อมูลให้ชัดเจน และต้องมีการวางแผนร่วมกับทางโรงเรียนก่อนว่าจะมีการแทรกกิจกรรมในลักษณะเวทีวิชาการด้วย

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
11. จัดรายการวิทยุ "อสมท.เพื่อชุมชน" จากอาหารของแม่สู่เทศกาลนิทานนานาชาติ

วันที่ 15 มกราคม 2557 เวลา 13:00

วัตถุประสงค์

เพื่อเล่าถึงความก้าวหน้าของแผนงานงานอาหารในกิจกรรมอาหารของแม่ซึ่งก้าวต่อไปถึงการจัดเทศกาลนิทานนานาชาติ

ลักษณะกิจกรรม

จัดรายการวิทยุในประเด็นความก้าวหน้าของcampaignอาหารของแม่สู่เทศกาลนิทานนานาชาติโดยมีผู้ร่วมรายการคือ นายชัยวุฒิ เกิดชื่น นางสุวรรณี เกิดชื่น และดีเจนงลักษณ์โดยเล่าถึงที่มาว่าจากอาหารของแม่ก็มีกระบวนการต่างๆเกี่ยวกับการบูรณาการด้านอาหารผ่านหลักสูตรนิทาน และความพร้อมที่ได้จัดเทศกาลนิทานนานาชาติเป็นครั้งที่ ๒ ของประเทศไทย มีใครเป็นเจ้าภาพบ้าง จัดที่ไหน กำหนดการเป็นอย่างไร

เป้าหมายที่ตั้งไว้

ร่วมดำเนินรายการวิทยุกับ ดีเจ นงลักษณ์ ตันตรัตนพงษ์ ถึงที่มาและความเป็นมาจาก โครงการบูรณาการอาหาร และcampaign อาหารของแม่ สู่ เทศกาลนิทานนานาชาติ การใช้นิทานเพื่อการบูรณาการแผนงานอาหารไปด้วยกันได้อย่างไร

ผลที่เกิดขึ้น

ได้ประชาสัมพันธ์เทศกาลนิทานนานาชาติซึ่งจะจัดขึ้นระหว่าวันที่ 24-26 มกราคม 2557 ไปยังกลุ่มเป้าหมายซึ่งอยู่ในพื้นที่การรับฟังคือ จังหวัดสงขลา พัทลุง สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส และทั่วทั้งประเทศโดยผ่านทาง www.สงขลา-MCOT.net

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

  • photo
  • photo
  • photo
12. พบนายกเทศมนตรีเทศบาลสงขลา และคณะผู้บริหาร เพื่อนำเสนอแผนงานอาหารของแม่สู่เทศกาลนิทานนานาชาติ และการเข้าสู่วาระอาหารแห่งปี

วันที่ 15 มกราคม 2557 เวลา 15:00

วัตถุประสงค์

1.เพื่อขอการสนับสนุนและการเข้าร่วมเป็นเจ้าภาพในงานเทศกาลนิทานนานาชาติ และการขออนุเคราะห์พื้นที่ในการจัดเทศกาล
2.เพื่อนำเสนอแนวทางจากแผนงานอาหารสู่ระดับนโยบาย และเปิดโอกาสให้โครงการบูรณาการอาหาร ได้นำเสนอในหลักการรวมทั้งชี้แจง ที่มาของcampaign อาหารของแม

ลักษณะกิจกรรม

1.ได้เข้าพบกับนายกเทศมนตรีเทศบาลนครสงขลานายสมศักดิ์ ตันติเศรณี  และรองนายก นายสมชาย จันทรประทิน รวมทั้งผอ.กองช่าง และผอ.กองการศึกษา พร้อมกับอาจารย์เทพรัตน์ จันทพันธ์ในฐานะเจ้าภาพหลักจากมหาวิทยาลัยทักษิณ และได้ร่วมหารือในความชัดเจนของการร่วมเป็นเจ้าภาพในฐานะเจ้าของพื้นที่ และการขอความอนุเคราะห์ในการใช้สถานที่เพื่อการอบรมเชิงปฏิบัติการ และพื้นที่สาธารณะ เช่นริมชายหาดสมิหลา รวมถึงการสนับสนุนในส่วนของงบประมาณอาหาร  และรถรับส่งคณะนักเล่านิทานนานาชาติ
2.ได้มีโอกาสในการนำเสนอและเล่าถึงที่มาของโครงการบูรณาการอาหารว่ามีวัตถุประสงค์อย่างไรโดยเฉพาะการใช้ campaign อาหารของแม่ สู่ เทศกาลนิทานนานาชาติ และมีเป้าหมายสู่ สงขลาวาระอาหารแห่งปีซึ่งขอให้เทศบาลนครสงขลานำไปพิจารณาว่าจะผลักดันเป็นนโยบายและจะให้แผนงานสื่อร่วมขับเคลื่อนในภาคประชาชนได้อย่างไร

เป้าหมายที่ตั้งไว้

ร่วมหารือและปรึกษากับท่านนายกเทศมนตรีนครสงขลา รองนายก และฝ่ายบริหารจากกองงานต่างๆ เพือความชัดเจนของงานเทศกาลนิทานนานาชาติ และเล่าความเป็นมาจาก โครงการบูรณาการอาหาร สู่ campaign อาหารของแม่ และ สู่เทศกาลนิทานนานาชาติ และจะนำเสนอให้เป็นงานของสงขลาต่อไป

ผลที่เกิดขึ้น

1.เทศบาลนครสงขลารับเป็นเจ้าภาพร่วมในการจัดเทศกาลนิทานนานาชาติโดยจะให้การสนับสนุนในส่วนของพื้นที่ต่างๆ เช่นสถานที่ในการอบรมเชิงปฏิบัติการ โดยให้ใช้พื้นที่ของโรงเรียนเทศบาล 5 วัดหัวป้อมนอก  สถานที่สำหรับการจัดconcertนิทาน คือ บริเวณประตูเมืองสงขลาจำลอง ริมชายหาดสมิหลา และจะอนุเคราะห์ในส่วนของแสง สี เสียง และพื้นที่สำหรับการติดไวนิลประชาสัมพันธ์งานเทศกาลนิทาน สนับสนุนงบประมาณในส่วนของอาหารสำหรับคณะนักเล่านิทานและคณะนิสิต  คณะทำงานในวันอบรม(25 มกราคม 2557)  รถรางรับส่งตลอดเวลาสำหรับคณะนักเล่านิทาน ในเขต อ.เมืองสงขลา
2.นายกเทศมนตรีนครสงขลาจะมีการนัดหมายให้เข้าพบอีกครั้งในการพิจารณาโครงการบูรณาการอาหาร โดยเฉพาะกิจกรรม campaignอาหารของแม่ สู่สงขลาวาระอาหารแห่งปี
3.นายกเทศมนตรี และรองนายก จะนำเรื่องของSongkhla Festival ไปพิจารณาดูอีกครั้ง  เพราะโดยพื้นฐานของจังหวัดสงขลาควรจะมีพื้นที่สร้างสรรค์และจินตนาการอย่างแน่นอน

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

  • photo
  • photo
  • photo
13. บันทึกเทปรายการสภากาแฟ จากอาหารของแม่ และความมั่นคงทางอาหารที่จะนะ สู่เทศกาลนิทานนานาชาติ

วันที่ 15 มกราคม 2557 เวลา 19:00

วัตถุประสงค์

1.เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมอาหารของแม่ สู่เทศกาลนิทานนานาชาติ
2.เพื่อนำเสนอประเด็นงานบูรณาการจากความมั่นคงทางอาหารจากศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติเพื่อชุมชน สู่เทศกาลนิทานนานาชาติ

ลักษณะกิจกรรม

บันทึกเทปรายการสภากาแฟเพื่อออกอากาศในวันจันทร์ที่ 20 มกราคม 2557 โดยมีผู้ร่วมรายการทั้งสิ้น 6 คน คือคุณบัญชร คุณอรุณรัตน์ ผู้ดำเนินรายการ และผู้ร่วมรายการคือคุณสุวรรณี (อาหารของแม่และผู้ประสานงานระหว่างคณะนักเล่านิทาน และพื้นที่)นอกจากนั้นก็มีน้องยุ้ย น้องขิม และน้องมินจากจะนะ โดยเป็นการพูดคุยเกี่ยวกับที่มาว่าจากอาหารของแม่มาสู่เทศกาลนิทานนานาชาติได้อย่างไร และเล่าถึงการที่จะนะนำเรื่องความมั่นคงทางอาหารเข้าสู่กระบวนการนิทานและเทศกาลนิทานนานาชาติในฐานะเจ้าภาพร่วมในส่วนใดบ้าง

เป้าหมายที่ตั้งไว้

บันทึกเทปรายการโดยมี คุณบัญชร วิเชียรศรี คุณอรุณรัตน์ เป็นผู้ดำเนินรายการ โดยจะเป็นการเล่าถึงที่มาว่าจากอาหารของแม่ สู่เทศกาลนิทานนานาชาติ ได้อย่างไร และมีแผนงานความมั่นคงทางอาหารจะเข้ามาบูรณาการในเรื่องนิทานแบบใด

ผลที่เกิดขึ้น

ได้ทำการประชาสัมพันธ์งานเทศกาลนิทานนานาชาติให้กับผู้ฟังทางวิทยุมอ.88  และได้รับความสนใจจากผู้ดำเนินรายการทั้งสอง ซึ่งรับที่จะช่วยประชาสัมพันธ์ให้กับผู้ฟังเป็นระยะๆ จนถึงช่วงเทศกาลนิทาน และหลังจากเทศกาลนิทานนานาชาติเสร็จสิ้นจะมีการนำเสนอเรื่องของอาหารของแม่อีกครั้งรวมถึง สงขลาวาระอาหารแห่งปี

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

  • photo
  • photo
14. บันทึกรายการ เที่ยงทอล์ค จาก อาหารของแม่สู่เทศกาลนิทานนานาชาติร่วมกับ โครงการวิจัยฯและขับเคลื่อนนโยบายและการจัดการความมั่นคงทางอาหาร สู่เทศกาลนิทานนานาชาติ

วันที่ 17 มกราคม 2557 เวลา 10:00

วัตถุประสงค์

เพื่อเผยแพร่ประชา สัมพันธ์ และถ่ายทอดเรื่องราวที่มาจาก อาหารของแม่ สู่นิทานบูรณาการ "กาลครั้งหนึ่งเมื่อเหล่าอาหารแปลงร่าง สู่เทศกาลนิทานนานาชาติ ครั้งแรกของจังหวัดสงขลา

ลักษณะกิจกรรม

เป็นการบันทึกรายการ ในรูปแบบสัมภาษณ์โดยคุณไพศาล รัตนะ  จากรายการเที่ยงทอล์คทางHi Cable TV ซึ่งทางรายการอยากทราบที่มาที่ไปว่าจากอาหารของแม่ไปสู่เทศกาลนิทานนานาชาติได้อย่างไร?? ผู้ร่วมรายการมี คุณสุวรรณี เกิดชื่น จากแผนงานการสื่อสารสาธารณะ และอ.เทพรัตน์ จันทพันธ์ จากแผนงานวิจัยฯการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะฯ ในโครงการบูรณาการอาหาร และมหาวิทยาลัยทักษิณในฐานะเจ้าภาพหลักงานเทศกาลนิทานนานาชาติ  โดยทั้ง 2 ได้ร่วมเล่าถึงที่มาจากการมี campaign อาหารของแม่ และเพื่อให้คำๆนี้แพร่หลาย จึงใช้กลยุทธ์ในการเผยแพร่หลายๆรูปแบบ และหลายๆกลุ่มเป้าหมาย หนึ่งในนั้นคือ เด็ก และครอบครัว  และหนึ่งในวิธีการนำเสนอคือ นิทาน เพราะนิทานสามารถนำไปบูรณาการเรื่องราวต่างๆได้มาก โดยเฉพาะการบูรณาการในเรื่องของความมั่นคงทางอาหาร การช่วยกันดูแลรักษาพื้นที่แหล่งอาหาร ดังนั้น จากอาหารของแม่ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของเทศกาลนิทานนานาชาติ เพราะในแผนงานสื่อเรามีต้นทุนด้านนิทานอยู่มากทั้งในเรื่องของนักเล่านิทานจากประเทศต่างๆ และต้นทุนของการสื่อสารกับหน่วยงานต่างๆ และได้มาซึ่งการเป็นเจ้าภาพร่วมหลายๆองค์กร

เป้าหมายที่ตั้งไว้

ร่วมรายการเที่ยงทอล์ค กับคุณไพศาล ซึ่งจะนำเสนอประเด็นนิทานเพื่อการบูรณาการอย่างไร ในประเด็นใดได้บ้าง และการมีส่วนร่วมของเจ้าภาพต่างๆ รวมถึง แผนงานสื่อสารสาธารณะ ในโครงการบูรณาการอาหาร

ผลที่เกิดขึ้น

1.ผู้สัมภาษณ์ตั้งใจและให้ความสำคัญกับเนื้อหาที่สัมภาษณ์ และจะช่วยสื่อสารเพื่อทำให้ประเด็นอาหารเป็นสาระสำคัญของสงขลาและจังหวัดใกล้เคียงโดยเฉพาะcampaign "อาหารของแม่" และจะช่วยเผยแพร่งานของแผนงานอาหารอื่นๆทั้งความมั่นคงทางอาหาร ความปลอดภัย และประเด็นโภชนาการสมวัย เพื่อจะได้ช่วยผลักดันให้สงขลาไปสู่วาระอาหารแห่งปี
2.ได้ช่องทางสื่อ และช่วงเวลาในการประชาสัมพันธ์เทศกาลนิทานนานาชาติเพิ่มขึ้น คือ ทางช่อง 4 ใน Hi Cable และในwebsite ของทางสถานีด้วย และจะมีการ rerun ในช่วงเวลาอื่นๆด้วย เพราะทางHi CableTVให้ความสนใจกับงานนิทาน เพราะเห็นว่าเรื่องราวของจินตนาการมีความสำคัญกับคนในสังคม และอยากเห็นว่านิทานจะสร้างเมืองได้อย่างไร

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
15. เทศกาลเล่านิทานนานาชาติ

วันที่ 24 มกราคม 2557 เวลา 09:00

วัตถุประสงค์

1.เพื่อนำเสนอและเผยแพร่ข้อมูลโครงการบูรณาการอาหารและสร้างความตระหนักในการดูแลรักษาพื้นที่ทางอาหารให้เกิดขึ้นในจังหวัดสงขลาผ่านกระบวนการนิทานและเทศกาลนิทาน
2.เพื่อให้ระดับนโยบายเห็นความสำคัญของกระบวนการนิทานและการเปิดพื้นที่นิทานเพื่อการบูรณาการทุกประ

ลักษณะกิจกรรม

ผู้สนใจนิทานซึ่งมีทั้งเด็ก นักเรียน ครู นิสิต นักศึกษา อาจารย์ ผู้บริหารทางการศึกษาและผู้ปกครองได้เข้าร่วมเทศกาลนิทานนานาชาติซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในจังหวัดสงขลาในระหว่างวันที่24-25มกราคม2557โดยได้เข้าร่วมในกิจกรรมทั้ง3รูปแบบ คือ เสวนาวิชาการ การอบรมเชิงปฏิบัติการ และเวทีconcertนิทาน ซึ่งในการเล่านิทานมีเนื้อหามากมายที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เข้าร่วมที่เกี่ยวกับความตระหนักที่ทุกคนต้องใส่ใจในพื้นที่ทางอาหาร เช่นนิทานเรื่องGrandfather Bear is Hungry หรือเรื่องTHE WAR BETWEEN THE SANDPIPERS AND THE WHALES (Surf War)ซึ่งตัวอย่างทั้ง2เรื่องจะมีเนื้อหาถึงการแบ่งปัน และเนื้อหาของการแย่งพื้นที่ทางอาหารแต่ในที่สุดก็ต้องร่วมกันดูแลเพื่อที่จะมีอาหารเพียงพอสำหรับคนรุ่นหลังต่อไป และได้ร่วมแลกเปลี่ยนในเวทีที่มาของโครงการบูรณาการอาหารสู่เทศกาลนิทานนานาชาติ และยังได้เข้าใจในสถานการณ์อาหารของจังหวัดสงขลาผ่านที่มาของโครงการ โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมนิทานและมีนักเล่านิทานจากประเทศต่างๆและนักเล่านิทานจากประเทศไทยรวมถึงนิสิตนักศึกษาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือและกรุงเทพเป็นจำนวนทั้งสิ้น 753 คน

เป้าหมายที่ตั้งไว้

เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนในจังหวัดสงขลาได้มีโอกาสเข้าร่วมเทศกาลนิทานในระดับนานาชาติในประเด็นสิ่งแวดล้อมและเพื่อสร้างความตระหนักเพื่อดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และพื้นที่แห่งความมั่นคงทางอาหารในจังหวัดสงขลา และที่สำคัญการเผยแพร่ข้อมูลของโครงการบูรณาการอาหารให้เป็นที่รู้จักในจังหวัดสงขลา นอกจากนั้นเพื่อให้สังคมได้ตระหนักถึงความสำคัยของนิทานในแง่เป็นความจำเป็นสำหรับทุกครอบครัวเพราะนิทานสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในโลกได้ โดยในเทศกลนิทานนานาชาติจะมีนักเล่านิทานจากประเทศต่างๆรวมทั้งสิ้น 10 ประเทศ โดยมีนักเล่านิทานรวมทั้งสิ้น 25 คน และนักเล่านิทานจากจังหวัดต่างๆ รวมทั้งนิสิตนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหาสารคามรวมทั้งสิ้น 70 คน โดยมีกิจกรรม3รูปแบบและ4พื้นที่ให้ประชาชนเข้าร่วมดังนี้ ๑.ร่วมเสวนาเชิงวิชาการนานาชาติในหัวข้อ"เทศกาลนิทานนานาชาติเล่าเล่นให้เห็นโลกโศลกธรรมและธรรมชาติ"ที่ห้องประชุมคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ๒อบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับครู นักเรียน ผู้ปกครอง และประชาชนทั่วไปที่สนใจการเล่านิทานเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงและนิทานเพื่อสิ่งแวดล้อมที่โรงเรียนเทศบาล๕สงขลา ๓.ร่วมเวทีconcertนิทานนานาชาติเล่าเล่นให้เห็นโลกและธรรมชาติ ที่ริมหาดสมิหลาสงขลา และริมหาดสวนกงพื้นที่อ.จะนะ ซึ่งก่อนที่จะเข้าสู่กิจกรรมนิทาน จะมีเวทีสนทนากลุ่มย่อยเพื่อนำเสนอข้อมูลจากที่มาของโครงการบูรณาการอาหาร จากแผนงานต่างๆทั้งแผนความมั่นคงฯ แผนบูรณาการและงานวิจัย รวมถึงแผนงานสื่อสารฯโดยเฉพาะcampaignอาหารของแม่ชี้แจงให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รู้ถึงรายละเอียดต่างๆของโครงการซึ่งเป็นที่มาของเทศกาลนิทานนานาชาติ

ผลที่เกิดขึ้น

1.จากความสำเร็จของการจัดเทศกาลนิทานนานาชาติเป็นครั้งแรกของจังหวัดสงขลาทำให้มีหน่วยงานตอบรับที่จะร่วมเป็นเจ้าภาพในครั้งต่อๆไป เช่นคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ หรือคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ  หรือการขอร่วมเป็นเจ้าภาพกับหน่วยงานอื่นๆ เช่นการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสงขลา
2.จากเทศกาลนิทานนานาชาติทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถเชื่อมโยงกระบวนการนิทานและประเด็นต่างๆในสังคมได้ และ ที่สำคัญผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ตระหนักถึงความสำคัญและเข้าใจความจำเป็นที่ต้องมีนิทานในครอบครัวตลอดไป ดังน้้นอาหารของแม่ ประเด็นอาหาร พื้นที่ทรัพยากรธรรมชาติ และพื้นที่นิทาน คือเรื่องเดียวกัน
3.ประชาชนในจังหวัดสงขลาได้เห็นถึงศักยภาพของความร่วมมือขององค์กรในจังหวัดที่สามารถจัดเทศกาลนิทานระดับนานาชาติได้และรู้สึกภาคภูมิใจรวมถึงความต้องการที่จะมีเทศกาลนิทานเป็นประจำทุกปีต่อไป
4.การเปิดพื้นที่นิทานเพื่อสร้างเมืองและเป็นการสร้างจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ ในทุกอำเภอมีความเป็นไปได้ โดยในปีแรกจะมีการเริ่มที่เทศบาลนครสงขลาโดยนายกเทศมนตรีและผู้บริหารเทศบาลนครสงขลาจะนำไปพิจารณาให้เป็นงานของเทศบาลในการเปิดพื้นที่นิทานอย่างยั่งยืนต่อไป

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ปัญหา:
นิทานยังเป็นความเข้าใจของสังคมว่าเป็นเรื่องของเด็กๆ เป็นเรื่องภายในครอบครัว ดังนั้นหลายองค์กรยังไม่มั่นใจว่านิทานจะเป็นเรื่องของจังหวัดได้อย่างไร จึงทำให้การสนับสนุนเป็นเพียงแค่กิจกรรมเล็กๆเท่านั้น
แนวทางแก้ไข:
การทำความเข้าใจกับสังคมในเรื่องของนิทานและพยายามเปิดพื้นที่นิทานและทำให้ประเด็นเมืองและประเด็นอื่นๆที่เป็นปัญหาให้มีทางออกผ่านกระบวนการนิทานโดยเฉพาะการใช้นิทานกับเยาวชน และเด็กๆ ให้ช่วยกันร่วมดูแลทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมรวมถึงการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

สสส.ควรหาโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อดูการเชื่อมโยงระหว่างแผนงานต่างๆ เพื่อจะได้พิจารณาและได้เห็นผลตามแผนงานอย่างเข้าใจ และหากเห็นว่ามีปัญหาจะได้ทำการสอบถามระหว่างกิจกรรมได้

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
16. ประชุมกรรมการบริหารโครงการ เครือข่ายบูรณาการอาหาร

วันที่ 31 มกราคม 2557 เวลา 09:00

วัตถุประสงค์

1.เพื่อติดตามความก้าวหน้าของแผนงานต่างๆเพื่อจะได้นำเนื้อหาไปผลิตเป็นสื่อและถ่ายทอดประชาสัมพันธ์ไปตามช่องทางสื่อต่างๆเพื่อเผยแพร่สู่สาธารณะ และทำให้ประชาชนได้รับทราบความเคลื่อนไหวของโครงการบูรณาการอาหาร
2.เพื่อนำเสนอผลสรุปของกิจกรรมที่ได้ทำในแผนงานสื่อ 

ลักษณะกิจกรรม

1.การลงพื้นที่สัญจรและศึกษาดูงานพื้นที่ทางอาหารที่โรงเรียนโคกค่าย และธนาคารอาหาร ต.ควนรู
2.ร่วมเวทีนำเสนอและสรุปผลกิจกรรมจากแผนงานต่างๆรวมถึงการบันทึกเสียง และภาพ  จากแผนงานต่างๆ เช่น แผนงานอาหาร อบต. ควนรูซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับศูนย์เด็กเล็กที่จะต้องได้รับโภชนาการที่ดี และเรื่องของการเปิดตลาดนัดสีเขียว เป็นต้น หรือ การวิเคราะห์ข้อมูลภาวะโภชนา การ จาก อ.ลัดดา ทั้งพื้นที่ควนรูและชะแล้ สำหรับพื้นที่ชะแล้จะเป็นเรื่องของการใช้พื้นที่เกษตรอินทรีย์ การจัดการเรื่องน้ำ การจัดธนาคารต้นไม้ หรือการจัดตลาดสีเขียว และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเป็นต้น
3.การนำเสนอของแผนงานสื่อในรูปแบบของVDO Presentation

เป้าหมายที่ตั้งไว้

1.ร่วมเวทีนำเสนอผลสรุปของกิจกรรมในแผนงานต่างๆ และจะบันทึกเสียงและภาพเพื่อนำไปผลิตสื่อเพื่อการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์สู่สาธารณะ 2.นำเสนอผลสรุปของกิจกรรมที่ได้ทำในแผนงานสื่อ งวดที่ ๑ และความก้าวหน้าของงานสื่อต่อไปโดยจะเป็นการนำเสนอผ่านVDO Presentation และเตรียมการบันทึกเสียงผลงานนำเสนอของเครือข่ายเพื่อนำมาเผยแพร่และถ่ายทอดในสื่อต่างๆ

ผลที่เกิดขึ้น

1.การผลิตสื่อในรูปแบบของรายการวิทยุ และการรายงานข่าวจากเวทีศึกษาดูงาน และเวทีนำเสนอผลสรุปจากกิจกรรมตามแผนงานอาหารซึ่งได้นำไปเผยแพร่และนำเสนอตามช่องทางสื่อต่างๆเช่นเครือข่ายวิทยุชุมชน และรายงานข่าวใน www.banbanradio.com
2.จากการได้นำเสนอผลสรุปกิจกรรมสื่อเป็นที่น่าพอใจ และจะต้องดำเนินงานในส่วนของCampaign อาหารของแม่อย่างจริงจังและให้แพร่หลายสู่สาธารณะในวงกว้าง เพื่อไปสู่สงขลาวาระอาหารแห่งปี

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
17. ร่วมรายการวิทยุ "อสมท.เพื่อชุมชน"

วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 13:00

วัตถุประสงค์

เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ผลงานรวมถึงนำเสนอสิ่งดีๆของพื้นที่ทางอาหารที่ อบต.ควนรู

ลักษณะกิจกรรม

เป็นการร่วมดำเนินรายการกับ ดีเจ นงลักษณ์ ตันตรัตนพงษ์ ในประเด็นของการบูรณาการสุขภาวะด้านอาหารในพื้นที่ ต.ควนรู โดยเป็นการสัมภาษณ์ นายก อบต. นายถั่น จุลนวล ซึ่งเห็นปัญหาของอาหารที่มีผลต่อสุขภาพของชาวชุมชนควนรูโดยเฉพาะการขาดสารอาหารในเด็กและเยาวชน จึงได้ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการบูรณาการอาหาร ของ สสส และหลังจากที่ดำเนินกิจกรรมมาเกิอบหนึ่งปี  จึงมีเรื่องเล่าให้เห็นภาพความสำเร็จของ กิจกรรมและกระบวนการต่างๆที่ได้ทำในพื้นที่  และความคาดหวังที่จะเดินต่อไปเพื่อให้ชาวชุมชนมีสุขภาพและสุขภาวะที่ดีอย่างสมบูรณ์

เป้าหมายที่ตั้งไว้

เป็นการร่วมดำเนินรายการกับ ดีเจ นงลักษณ์ ตันตรัตนพงษ์ ในประเด็นของการบูรณาการสุขภาวะด้านอาหารในพื้นที่ ต.ควนรู โดยเป็นการสัมภาษณ์ นายก อบต. นายถั่น จุลนวล ถึงกิจกรรมต่างๆและกระบวนการที่ก่อให้เกิดความสำเร็จของโครงการบูรณาการอาหารในพื้นที่ และจะเดินต่อไปอย่างไร

ผลที่เกิดขึ้น

ประชาชนและผู้ฟังได้ฟังเรื่องเล่าดีๆจากพื้นที่ควนรู หลังจากที่พบปัญหามากมายในพื้นที่ แต่ด้วยความตั้งใจของคณะทำงาน อบต.ซึ่งต้องการให้ประชาชนมีสุขภาพและสุขภาวะที่ดี จึงร่วมกันคิดและหาทางออกระหว่างท้องถิ่นและชุมชน    นอกจากนั้นผู้ฟังยังได้ฟังกรณีตัวอย่างที่น่าสนใจมากมาย เช่น เรื่องของธนาคารเมล็ดพันธุ์ ด้วยแนวคิด ธนาคารกู้เงินจ่ายดอกเบี้ย แต่ธนาคารเมล็ดพันธุ์ จ่ายกลับเป็นเมล็ดพันธุ์ จากกนั้นขยายมาเป็นธนาคารข้าว ธนาคารต้นไม้ ธนาคารน้ำเป็นต้น  เช่นโครงการ 7 ไร่ 7 เรื่อง 700 คือเรื่องทีธนาคารเล็ดพันธุ์ผักใช้พื้นที่ 7 ไร่ ทำกิจกรรม 7 เรื่องเช่น ปลูกผัก , ทำปุ๋ยฯ โดยมีรายได้เข้าวันละ 700 บาท  และเรื่องของการจัดผังชุมชน เพื่อสร้างความมั่นคง ร่วมสร้างกติกาพื้นที่  เช่นที่ไหนทำเกษตรห้ามทำอย่างอื่น หรือกรณีเรื่องน้ำ โดยให้ชาวบ้านขุดคลองขนาดเล็กๆรอบพื้นที่เกษตรเพื่อยามน้ำท่วมจะได้เก็บน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้ง

ปัญหาที่เกิดใหม่ๆจะเป็นเรื่องการทำความเข้าใจในประเด็นความมั่นคงทางอาหาร โดยใช้เวทีในชุมชนทุกแห่งคุยกันบ่อยๆ  ขณะที่ควนรูมีวิถีความสัมพันธุ์แบบการเมืองสมานฉันท์จึงมีลักษณะยืดหยุ่นในการพูดคุย  โดยเฉพาะเรื่องการใช้ฐานเศรษฐกิจพอเพียงอบรมให้ความรู้ หลังจากได้เข้าร่วมกับโครงการงานบูรณาการงานสร้างเสริมสุขภาวะด้านอาหารและโภชนาการ กรณีศึกษาสงขลา จึงได้ใช้ข้อมูลเป็นสำคัญ เมื่อมีการคืนข้อมูลเรื่องพฤติกรรมการบริโภคและการขาดสารอาหารของเด็กในชุมชน จึงเกิดโครงการปลูกผักสวนครัวเพิ่มสารอาหารให้เด็กในโรงเรียน และการเชื่อมโยงถึง อาหารของแม่ โดยสามารถติดตามฟังย้อนหลังได้ที่ www.banbanradio.com ในคอลัมน์โครงการบูรณาการแผนสุขภาวะด้านอาหาร  http://www.banbanradio.com/tags/25

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

  • photo
  • photo
18. ร่วมรายการวิทยุ "ปักษ์ใต้บ้านเรา"

วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 18:00

วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้ผู้ฟังได้เข้าใจถึงสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารในจังหวัดสงขลาจากโครงการบูรณาการแผนงานสุขภาวะด้านอาหารฯ
2.เพื่อให้ผู้ฟังได้เรียนรู้เรื่องของกระบวนการวิจัย การขับเคลื่อน และการผลักดันการจัดการพื้นที่ความมั่นคงทางอาหารเพื่อให้เป็นนโยบายสาธารณะของจ

ลักษณะกิจกรรม

ร่วมดำเนินรายการวิทยุกับ คุณทีปวัฒน์ มีแสง เพื่อนำเสนอสถานการณ์โรคภัยไข้เจ็บที่มีสาเหตุจากอาหาร  จนเป็นที่มาของโครงการบูรณาการสุขภาวะด้านอาหาร และเพื่อให้โครงการมีทิศทางและแนวทางเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นของชาวสงขลา ดังนั้นจึงต้องมีงานวิจัยมารองรับ และหลังจากนั้นจะต้องนำผลงานวิจัยเสนอเพื่อนำไปขับเคลื่อนในระดับนโยบาย โดยสัมภาษณ์ อาจารย์ วิวัฒน์ ฤทธิ์มา มหาวิทยาลัยทักษิณจากโครงการการวิจัยเชิงปฏิบัติการการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะกับการจัดการความมั่นคงทางอาหาร จังหวัดสงขลา ซึ่งอาจารย์เล่าว่าต้องทำให้คนบ้านเรารู้ว่าเรามีความอุดมสมบูรณ์อย่างไร    มีความมั่นคงทางอาหารอย่างไร  ด้วยการทำแบบสอบถามลงพื้นที่ต่างๆในจังหวัดสงขลาว่าบ้านเรามีอาหารเพียงพอจริงหรือไม่ รวมไปถึงพืชพันธุ์พื้นเมืองในวิถีเก่ายังคงมีอยู่หรือสูญหายไปเท่าไหร่แล้ว หรือถ้ายังมีอยู่ได้ใช้อยู่หรือไม่ เช่นการกินอาหารเป็นยา การใช้รักษาแบบภูมิปัญญายังมีการใช้อยู่มากน้อยอย่างไรหรือหันไปกินยาสมัยใหม่กันหมดแล้วฯ แม้แต่การเลี้ยงสัตว์วันนี้ชุมชนเลี้ยงไก่กันเองเพื่อมาเป็นอาหารทั้งไก่และไข่หรือเปลี่ยนไปซื้อกินทุกอย่าง เปลี่ยนวิถีไปมากน้อยเพียงใด สังเกตุจากกระชังปลาและฟาร์มสัตว์ต่างๆที่มากขึ้น  รวมไปถึงภาพรวมแหล่งอาหารอย่างทะเลสาบสงขลาวันนี้ปลาหายไปกี่พันธุ์แล้วหรือยังคงมีอยู่กี่พันธุ์มากน้อยอย่างไร เป็นต้น

เป้าหมายที่ตั้งไว้

ร่วมดำเนินรายการวิทยุกับ คุณทีปวัฒน์ มีแสง เพื่อนำเสนอสถานการณ์โรคภัยไข้เจ็บที่มีสาเหตุจากอาหาร จนเป็นที่มาของโครงการบูรณาการสุขภาวะด้านอาหาร และเพื่อให้โครงการมีทิศทางและแนวทางเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นของชาวสงขลา ดังนั้นจึงต้องมีงานวิจัยมารองรับ และหลังจากนั้นจะต้องนำผลงานวิจัยเสนอเพื่อนำไปขับเคลื่อนในระดับนโยบาย โดยสัมภาษณ์ อาจารย์ วิวัฒน์ ฤทธิ์มา มหาวิทยาลัยทักษิณจากโครงการการวิจัยเชิงปฏิบัติการการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะกับการจัดการความมั่นคงทางอาหาร จังหวัดสงขลา

ผลที่เกิดขึ้น

ผู้ฟังเข้าใจได้ว่าสถานการณ์โรคภัยไข้เจ็บส่วนใหญ่มาจากการกินและพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป ขาดการดูแลเรื่องของความปลอดภัยในวัตถุดิบที่นำมาปรุงอาหาร  เป็นต้น หลังจากที่ได้นำเสนอที่มาของสถานการณ์ด้านอาหาร และการวิจัยเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายของอาจารย์วิวัฒน์ แล้วก็มีผู้ฟังโทรเข้ามาแลกเปลี่ยน  คือ พระอาจารย์ปรีชา วัดป่ากันตพงษ์ ควนเนียงกล่าวถึง คนวันนี้เป็นโรคเยอะเพราะกินสัตว์มากขึ้น ไม่ค่อยกินผัก ประเทศอื่นเช่นเวียดนามเขากินปลากินผัก เขาจึงไม่ค่อยเป็นมะเร็ง  และอีก ๑ ท่านจากสำนักสงฆ์ม่วงค่อม กล่าว่าการกินต้องตั้งสติ แต่ก็เห็นว่าปัจจุบันมีคนกินเจกันมากขึ้นนั่นคือจุดเริ่มของความสนใจการอยู่การกินมากขึ้น และสุดท้ายคุณชัยวุฒิได้เชื่อมโยงจากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นสู่"อาหารของแม่"ซึ่งจะเป็นวาระสำคัญของอาหารในปี2557

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

  • photo
  • photo
19. พบผู้อำนวยการสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จ.สงขลา

วันที่ 10 มีนาคม 2557 เวลา 09:00

วัตถุประสงค์

เพื่อยื่นหนังสือและหารือเรื่องของการขอความร่วมมือในการเปิด    สปอตเพื่อประชาสัมพันธ์และร่วมถ่ายทอดเสียงในงานตลาดนัดอุทยานอาหาร"วิถีแห่งสุขภาพ วิถีแห่งวัฒนธรรม"ระหว่างวันที่ 19-21 มีนาคม 2557

ลักษณะกิจกรรม

พบผู้อำนวยการสวท.สงขลา และได้ยื่นหนังสือ พร้อมปรึกษาเรื่องการประชาสัมพันธ์งาน "อุทยานอาหาร วิถีสุขภาพ วิถีวัฒนธรรม" ซึ่งผู้อำนวยการได้ขอให้เล่าถึงที่มาของงานอุทยายอาหาร ดังนั้นแผนงานสื่อจึงได้เล่าถึงความเป็นมาของโครงการบูรณาการอาหารและการดำเนินกิจกรรมตามแผนงานต่างๆ และประเด็นสำคัญคือการผลักดันcampaign อาหารของแม่ สู่สงขลาวาระอาหารแห่งปี

เป้าหมายที่ตั้งไว้

พบผู้อำนวยการสวท.สงขลา นายณรงค์ ชื่นนิรันดร์เพื่อยื่นหนังสือ และปรึกษาเรื่องการประชาสัมพันธ์งาน "อุทยานอาหาร วิถีสุขภาพ วิถีวัฒนธรรม"

ผลที่เกิดขึ้น

ผู้อำนวยการสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จ.สงขลาให้ความร่วมมือในการเปิดสปอตให้ทุกสถานีที่อยู่ในความรับผิดชอบทั้ง F.M.90.5 และ F.M.102.25 และจะมีการประชาสัมพันธ์ด้วยการพูดแทรกในรายการต่างๆ รวมถึงการประชาสัมพันธ์ในหน้า Facebookของสถานี และส่วนตัว นอกจากนั้นยังจะส่งเรื่องไปถึงหน่วยงานที่กรุงเทพด้วย สำหรับการมาทำข่าวพิธีเปิดมีความเป็นไปได้ ส่วนการถ่ายทอดสดมีปัญหาเนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าวมีรายการอื่น และทางผู้อำนวยการยังได้เชิญให้มาร่วมจัดรายการเพื่อเล่าถึงที่มาของโครงการอาหาร จนถึงการประชา สัมพันธ์งานอุทยานอาหาร ดังนั้นทางแผนงานสื่อจึงตอบรับที่จะมาร่วมรายการและถ้าเป็นไปได้จะเชิญ รศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโครงการอาหารมาร่วมในรายการด้วย และที่สำคัญทางผู้อำนวยการให้ความสำคัญกับเรื่องอาหารของแม่มากซึ่งจะมีการวางแผนที่จะให้ความร่วมมือว่าจะทำรายการและประชาสัมพันธ์อย่างไรต่อไป

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

  • photo
20. ร่วมจัดรายการหนึ่งถ้วยกาแฟ กับ ผอ.ณรงค์ ชื่นนิรันดร์

วันที่ 13 มีนาคม 2557 เวลา 09:00

วัตถุประสงค์

1.เพื่อประชาสัมพันธ์ งานอุทยานอาหาร วิถีสุขภาพ วิถีวัฒนธรรม
2.เพื่อใช้ช่องทางสื่อต่างๆในการร่วมผลักดันและเผยแพร่campaign "อาหารของแม่"ให้ไปสู่สงขลาวาระอาหารแห่งปี

ลักษณะกิจกรรม

เป็นการร่วมรายการระหว่าง ผอ.สวท.สข.(นายณรงค์ ชื่นนิรันดร์) และ ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิผู้รับผิดชอบโครงการบูรณาการอาหารในรายการหนึ่งถ้วยกาแฟ ทางสวท.สข.F.M.102.25 โดย ผอ.ณรงค์ได้สัมภาษณ์อาจารย์พงค์เทพ ถึงที่มาของโครงการบูรณาการอาหาร ซึ่งอาจารย์ได้พูดถึงสถานการณ์อาหารของจังหวัดสงขลา ปัญหาด้านสุขภาพ  ปัญหาด้านอาหารที่ส่งผลต่อเด็กและเยาวชน จึงทำให้แผนงานต่างๆต้องมีกิจกรรมเพื่อเป็นทางออกให้กับปัญหาดังกล่าวซึ่งได้ดำเนินกิจกรรมต่างๆมาเป็นระยะเวลาเกือบปี จนท้ายสุดคือการจัดนิทรรศการอาหารในงานอุทยานอาหาร ซึ่งจะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 19-21 มีนาคม2557 และอาจารย์ยังได้เชื่อมโยงถึงcampaignอาหารของแม่ ว่าจะมีการผลักดันให้สงขลามีวาระอาหารแห่งปี

เป้าหมายที่ตั้งไว้

ร่วมรายการหนึ่งถ้วยกาแฟ โดยจะเป็นการสัมภาษณ์ของผอ.สวท.สงขลา (ณรงค์ ชื่นนิรันดร์) เพื่อเล่าถึงที่มาของงานอุทยานอาหาร วิถีสุขภาพ วิถีวัฒนธรรม)

ผลที่เกิดขึ้น

1.มีการประชาสัมพันธ์และเปิดสปอตเชิญชวนเข้าร่วมงานอุทยานอาหาร และได้ชี้แจงถึงที่มาของโครงการอาหาร  จากสถานการณ์ปัญหาสู่งานตลาดนัดอุทยานอาหาร  จนผู้อำนวยการสถานีฯให้ความสนใจและรับปากจะให้ความร่วมมือในการใช้ช่องทางสื่อที่อยู่ในความรับผิดชอบให้ร่วมประชาสัมพันธ์งานอุทยานฯในทุกช่วงเวลาที่สามารถทำได้
2.มีการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่campaignอาหารของแม่ซึ่งทั้งนี้ทางผู้อำนวยการจะเปิดโอกาสให้ทางโครงการได้ใช้ช่องทางสื่อของ สวท.สข.ได้ตลอดเวลาที่ทางแผนสื่อจะสามารถเข้าไปร่วมในรายการได้ หรืออาจเชิญผู้รับผิดชอบตามแผนงานต่างๆเข้าร่วมรายการได้ทุกครั้งที่ขออนุเคราะห์ไปทางสวท.
3.ผอ.สวท.สข จะนัดหารืออีกครั้งเกี่ยวกับการวางแผนที่จะใช้สื่อเพื่อผลักดันcampaignอาหารของแม่ว่าจะทำอย่างไรเพื่อให้ประสบผลสำเร็จ และจะขอร่วมเป็นภาคีสื่อในการถ่ายทอดเกี่ยวกับประเด็นอาหารต่างๆต่อไป
สามารถติดตามฟังย้อนหลังได้ที่ http://www.banbanradio.com/tags/25

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

  • photo
  • photo
  • photo
21. ร่วมรายการอสมท.เพื่อชุมชน

วันที่ 17 มีนาคม 2557 เวลา 09:00

วัตถุประสงค์

1.เพื่อประชาสัมพันธ์ งานอุทยานอาหาร วิถีสุขภาพ วิถีวัฒนธรรม
2.เพื่อใช้ช่องทางสื่อต่างๆในการร่วมผลักดันและเผยแพร่campaign "อาหารของแม่"ให้ไปสู่สงขลาวาระอาหารแห่งปี

ลักษณะกิจกรรม

ร่วมจัดรายการอสมท.เพื่อชุมชน กับดีเจ นงลักษณ์ ตันตรัตนพงศ์ เพื่อประชาสัมพันธ์งานอุทยานอาหาร วิถีสุขภาพ วิถีวัฒนธรรมโดยเป็นการเล่าถึงรูปแบบของงาน  กิจกรรมที่สำคัญและน่าสนใจ เช่นการเสวนาจะมีทั้ง 3 วัน 3 ประเด็นหลัก โดยแต่ละวันก็จะมีไฮไลท์เช่นในวันแรกจะเป็นเรื่องของความมั่นคงทางอาหาร และจะมีการยื่นข้อเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา พิธีเปิด รวมถึงการมอบรางวัลให้กับผู้ชนะในการประกวดวลีเด็ด โดยท่านผู้ว่า  หรือวันที่ 3 ของงานก็จะเป็นเวทีที่จะผลักดัน อาหารของแม่สู่สงขลาวาระอาหารแห่งปี ซึ่งในงานนอกจากเวทีเสวนาแล้วยังมีการสาธิตการทำอาหารจากเชฟร้านดังหรือเชฟกะทะเหล็ก เป็นต้น

เป้าหมายที่ตั้งไว้

ร่วมจัดรายการอสมท.เพื่อชุมชน เพื่อประชาสัมพันธ์งานอุทยานอาหาร วิถีสุขภาพ วิถีวัฒนธรรม และจะมีการนำเสนอ ประเด็นแผนงานอาหารของพื้นที่ชะแล้กับการร่วมงานอุทยานอาหาร

ผลที่เกิดขึ้น

1.ได้ประชาสัมพันธ์งานอุทยานอาหาร วิถีสุขภาพ วิถีวัฒนธรรมผ่านรายการ อสมท.เพื่อชุมชน ทางF.M.96.5 ไปยังกลุ่มผู้ฟังเป้าหมายที่สามารถรับสัญญาณได้ทั่วทั้งจังหวัดสงขลา และจังหวัดใกล้เคียง และได้มีการสอบถามเพิ่มเติมถึงกิจกรรมอื่นๆ เช่น มีการขายอาหารเพื่อสุขภาพหรือไม่ หรือสนใจอยากร่วมสาธิตการทำอาหาร เป็นต้น 2.กลุ่มผู้ฟัง และ ผู้บริหารสถานีวิทยุ อสมท.ได้รับฟังเนื้อหาและประเด็นสำคัญของcampaignอาหารของแม่  ซึ่งผู้บริหารของสถานีได้ตระหนักถึงความสำคัญของอาหารของแม่และเสนอให้ความร่วมมือในการใช้ช่องทางสื่อของอสมท F.M.96.5.ในการถ่ายทอดเนื้อหาด้านอาหารได้ต่อไป โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ [PR Value] ซึ่งโดยความเป็นจริงแล้วการใช้ช่วงเวลาของวิทยุ  อสมท. จะมีค่าใช้จ่ายต่อเดือนประมาณ 30000 บาทต่อชั่วโมง

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

  • photo
  • photo
  • photo
22. งานอุทยานอาหาร วิถีสุขภาพ วิถีวัฒนธรรม

วันที่ 19 มีนาคม 2557 เวลา 09:00

วัตถุประสงค์

1.เพื่อบันทึกภาพและเสียง ในงานอุทยานฯทั้งผลสรุปของทุกเครือข่ายแผนงานบูรณาการอาหาร  นิทรรศการ การนำเสนอผลผลิต เวทีเสวนา และกิจกรรมต่างๆ เพื่อนำมาผลิตสื่อและนำไปเผยแพร่สู่สาธารณะผ่านหลายๆช่องทาง
2.เพื่อประกาศผล การประกวดวลีเด็ดและมอบรางวัลให้ผู้ชนะทั้ง3

ลักษณะกิจกรรม

1.ถ่ายทอดสดเวทีเสวนาทั้ง 3 วันทางคลื่นความคิดF.M.101 และวิทยุชุมชนจะนะ และทำข่าวร่วมกับ สวท.สงขลาF.M.90.5 สทท.11 และHicableTV  และได้บันทึกทั้งเสียงและวีดีโอเพื่อนำไปผลิตสื่อเพื่อกระจายและเผยแพร่ไปยังช่องทางต่างๆ เช่น สวท.สงขลา 90.5  รายการสื่อสุขภาพสัญจรทางF.M.101คลื่นความคิด และวิทยุเครือข่ายอาหาร  Hicabletv  รายการสงขลามหาชนตอนmamagoodfood ทาง www.seewithsound.com และฟังทุกเวทีทุกกิจกรรมย้อนหลังและพิธีเปืดหรืออ่านข่าวสารที่ www.banbanradio.com
2.ประกาศผลการประกวดวลีเด็ดในหัวข้อ อาหารของแม่ และมอบรางวัลสำหรับผู้ชนะเลิศทั้ง3 ดังนี้
  รางวัลที่ ๑ นางสาวขวัญฤทัย ปานนุ้ย "ไม่หรอยพรื่อ ฝีมือแม่"
  มอบรางวัลโดยผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา
  รางวัลที่๒ นางสาวเรียม ก่อเซ็ม "หรอยโดนใจ ใช่เลยแม่"
  มอบรางวัลโดยคณบดีคณะทรัพยากรธรรมชาติ มอ.
  รางวัลที่๓ นางสาวมรกต ภูริวัฒนธรรม "กับข้าวแม่แทนความรัก
  มอบรางวัลโดยรองนายกสมาคมสมาพันธ์ธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา
3.ในวันที่ 21 มีนาคม เป็นผู้ดำเนินการเสวนา ในหัวข้อ "จากอาหารของแม่ สู่สงขลาวาระอาหารแห่งปี" และพิธีกรสาธิตการทำอาหารจากเชฟกะทะเหล็กโรงแรมธรรมรินทร์ธนากับเมนูสุขภาพ"พัดสี่ตระกูล"

เป้าหมายที่ตั้งไว้

1.ประชาสัมพันธ์ ถ่ายทอด บันทึกเสียง บันทึกวีดีโอที่จะนำไปเผยแพร่และถ่ายทอดสู่สาธารณะในวงกว้างผ่านหลายช่องทาง เช่น คลื่นความคิด F.M.101 สวท.สงขลาF.M.90.5 HicableTV และ Youtube(ในรายการสงขลามหาชน) www.seewithsound.com, www.banbanradio.com,www.facebook.com/mamagoodfood และวิทยุชุมชนต่างๆ หรือตามช่องทางสื่อที่สนใจ 2.ประกาศผลการประกวดวลีเด็ดในหัวข้อ อาหารของแม่ และมอบรางวัลสำหรับผู้ชนะเลิศทั้ง3 โดยผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ประธานหอการค้าจังหวัดสงขลา และนายกสมาคมสมาพันธ์ธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา 3.เป็นผู้ดำเนินการเสวนา ในหัวข้อ "จากอาหารของแม่ สู่สงขลาวาระอาหารแห่งปี" และพิธีกรสาธิตการทำอาหารจากเชฟต่างๆ

ผลที่เกิดขึ้น

1.การถ่ายทอดสดได้รับความสนใจจากผู้ฟังโดยมีการตอบรับการเข้าร่วมซึ่งมีผู้ฟังบางส่วนมาแจ้งที่เวทีการสาธิตว่าได้ฟังจากรายการวิทยุและสนใจการสาธิตการทำอาหาร อยากชิมอาหารจากฝีมือเชฟชื่อดังและสนใจที่จะเข้ามาเรียนการทำอาหาร รวมถึงการตอบรับคำเชิญชวนที่จะมาร่วมเสวนา และสาธิตการปรุงอาหารสำหรับลูกในรายการอาหารของแม่ และมีบางส่วนที่ได้อ่านจากหน้าเพจของfacebook/mamagoodfood ซึ่งพอได้อ่านข่าวแล้วเลยรีบมาซื้ออาหารสุขภาพรวมถึงผัก ผลไม้ และไข่ไก่ในส่วนของสื่อต่างๆก็มีการสอบถามถึงการเสวนาว่าจะสามารถติดตามการอภิปรายในเวทีได้จากช่องทางใดบ้างและจะขอเทปเพื่อนำไปออกอากาศได้จากช่องทางใด เช่น วิทยุชุมชนโชคสมาน  สวท.สงขลาF.M.102.25  หรือที่ อสมท.96.5 สามารถเข้าไปร่วมจัดเพื่อสรุปภาพงานอุทยานฯทั้ง 3 วันและมีความก้าวหน้าอย่างไรบ้าง โดยสื่อที่ผลิตทั้งข่าวสาร เสียง ภาพวีดีโอ สามารถติดตามกันได้ที่www.seewithsound.com หรือ www.banbanradio.com
2.ความก้าวหน้าของcampaignอาหารของแม่ได้รับการตอบรับจากวิทยุ มอ.ที่จะทำรายการร่วมกันโดยใช้ชื่อว่า ร้านอาหารของแม่ซึ่งจะเป็นรายการในลักษณะของวงสนทนาระหว่างแม่ๆทั้งหลายเกี่ยวกับเมนูโปรดของลูก วิธีการทำ การปรุง หรือเมนูที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากแม่จากรุ่นสู่รุ่น และการสาธิตการทำอาหาร ๑ เมนู เป็นต้น และหลังจากได้เล่าให้อาจารย์พงค์เทพฟังก็มีการเสนอว่าน่าจะมีการปรุงอาหารจากแม่หลายๆคนในวันแม่แห่งชาติ 12 สิงหาคมด้วย โดยจะมีการนัดหารือและวางแผนกันต่อไปซึ่งจะชวนเครือข่ายสื่อมาร่วมวางแผนกันด้วย
3.จากเวทีเสวนา อาหารของแม่ สู่สงขลาวาระอาหารแห่งปี มีข้อเสนอที่น่าสนใจหลายประการ เช่นคุณนิมิตร แสงเกตุจาก สสจ.และดูแล อสม.ด้วยเสนอว่า หลังจากนี้จะให้อสม.ซึ่งกำลังทำโครงการ ตำบลสายใยรักและตำบลจัดการสุขภาพจะให้ความสำคัญกับอาหารของแม่  อาจารย์จงกลณี จาก สสส.เสนอเรื่องสภาความมั่นคงทางอาหาร และอยากให้มีนักโภชนาการชุมชน ประจำทุก อบต.โดยดูแลอาหารทั้งระบบให้ครบวงจร  ซึ่งทาง อบจ.โดยคุณอัฐชัยรับที่จะนำไปเสนอต่อ นายกอบจ. เป็นต้น แต่ถึงอย่างไรก็ตามทุกฝ่าย ทุกองค์กร และประชาชนควรได้ร่วมกันผลักดัน เรื่อง อาหารของแม่ให้เป็นวาระจังหวัดต่อไป

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
23. บันทึกภาพเพื่อผลิตสื่อในการพบผู้ว่าราชการเรื่องการจัดการความมั่นคงทางอาหารจังหวัดสงขลา

วันที่ 8 เมษายน 2557 เวลา 09:00

วัตถุประสงค์

1.เพื่อบันทึกภาพและเสียงในเวทีพบผู้ว่าฯเรื่องการจัดการความมั่นคงทางอาหาร
2.เพื่อนำเสนอข้อเสนอของแผนงานสื่อในประเด็นcampaignอาหารของแม่เพื่อไปสู่สงขลาวาระอาหารแห่งปี

ลักษณะกิจกรรม

ร่วมประชุมและฟังข้อเสนอจากเครือข่ายบูรณาการอาหารต่อผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาและทำการบันทึกภาพเพื่อนำมาผลิตสื่อวีดีโอ

เป้าหมายที่ตั้งไว้

ร่วมประชุมพิจารณาเรื่อง การจัดการความมั่นคงทางอาหารจังหวัดสงขลา และจัดการบันทึกวีดีโอในการประชุมเพื่อนำมาตัดต่อและเผยแพร่ผ่าน www.seewithsound.comในรายการสงขลามหาชน ตอน mamagoodfood[http://seewithsound.com/tags/21] เพื่อเป็นการสื่อสารไปยังกลุ่มเครือข่ายโครงการบูรณาการอาหารในทุกแผนงาน รวมถึงเครือข่ายสื่อ[Songkhla Food Media] และประชาชนทั่วไปทั้งในจังหวัดสงขลา และอื่นๆ

ผลที่เกิดขึ้น

รายการสงขลามหาชนตอนmamagoodfood ผู้ชมจะได้รับชมภาพข่าวที่ทางจังหวัดสงขลาได้พิจารณาแล้วเห็นสมควรให้มีการจัดทำ “ยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดสงขลา” โดยให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการกำหนดยุทธศาสตร์ระบบอาหาร ประกอบด้วย 2 ส่วน ซึ่งกรรมการชุดนี้จะนัดประชุมจัดทำยุทธศาสตร์ระบบอาหารในวันที่ 18 เมษายน 2557 ซึ่งสามารถติดตามรายการสงขลามหาชนได้ที่  www.seewithsound.com หน้าmamagoodfood หรือคัดลอกurlนี้ http://seewithsound.com/tags/21 และแลกเปลี่ยนข่าวสารหรือส่งข้อมูลน่าสนใจที่www.facebook.com/mamagoodfood หรืออ่านข่าวอาหารทั่วโลก ได้ที่www.banbanradio.com และจะมีการจัดทำเป็นสกู๊ปข่าวสำหรับช่องHicableTV สงขลา

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

  • photo
  • photo
24. ปรับหน้าwebโครงการบูรณาการอาหาร(งวด 2)

วันที่ 21 เมษายน 2557 เวลา 09:00

วัตถุประสงค์

เพื่อบูรณาการระบบข้อมูลด้านสุขภาวะด้านอาหารจ.สงขลา  ผ่านช่องทางสื่อ Internet โดยมีwww.banbanradio.comเป็นทั้งคลังเสียง และคลังข้อมูล(ข่าวสาร)  และwww.seewithsound.com (VDO สงขลามหาชน ตอน mamagoodfood)

ลักษณะกิจกรรม

1.ศึกษา,ค้นคว้า,สัมภาษณ์,ติดตาม ข่าวสารและข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ทั้งข้อมูลในระดับโลก ระดับประเทศและในระดับพื้นที่ในประเด็นอาหารเพื่อนำมาจัดทำและเขียนลงในหน้าwebหน้าหลักของwww.banbanradio.comเพื่อให้เป็นแหล่งข่าวและเป็นคลังข้อมูลสำหรับเครือข่ายสื่อเพื่อเป็นข้อมูลให้กับช่องทางสื่อในแต่ละสื่อและแต่ละพื้นที่ของแผนงานอาหาร
2.ติดตามงานของโครงการบูรณาการอาหาร และจากการดำเนินงานของแผนงานต่างๆ โดยการประชุม หรือติดตามบันทึกเสียงจากเวที และการเชิญแผนงานต่างๆไปร่วมรายการในช่องทางสื่อ เช่น รายการพิราบคาบข่าวTV11 รายการสภากาแฟ มอ.88 รายการอสมท.เพื่อชุมชน อสมท.96.5 รายการบินหลาหาข่าว หรือรายการปักษ์ใต้บ้านเราสวท.90.5 เป็นต้นและนำมาจัดทำเป็นคลังเสียงสาธารณะเพื่อเชื่อมช่องทางเครือข่ายสื่อต่างๆ นอกจากนี้ในบางพื้นที่ หรือบางกิจกรรมในเครือข่ายแผนงาน หรือเวทีเสวนา การประชุม จะมีการบันทึกเป็นVDO แล้วนำมาผลิตเป็นสื่อรายการสงขลามหาชนตอนmamagoodfood เพื่อนำไปเผยแพร่ในsocial network เช่น youtube หรือลงในwebsite เช่น www.seewithsound.com หน้า mamagoodfood
3.จัดทำสื่อในรูปแบบsocial media โดยfanpageอาหารของแม่ในwww.facebook.com/mamagoodfood และการส่งข่าวด้านอาหาร เชื่อมต่อแผนงานอาหารทุกแผน และติดตามงานจากแผนงานอาหารผ่านfanpage ในBanBanRadio และSongkhlamahachon
4.ประสานเครือข่ายแผนงานการสื่อสารสาธารณะจังหวัดสงขลาในการติดตามข้อมูลทั้งเสียงและข่าวเพื่อไปนำเสนอในช่องทางของแต่ละสื่อแต่ละพื้นที่
5.จัดทำหน้าเวบและupdateข้อมูลอย่างต่อเนื่องทุกวันตลอดปีโครงการ

เป้าหมายที่ตั้งไว้

ดูแล จัดการ และเพิ่มเติมเนื้อหาโครงการบูรณาการอาหารในเครือข่ายwebsiteของแผนสื่อให้มีความสมบูรณ์และชัดเจน ดังนี้ 1.www.banbanradio.com (ข่าวสาร และ รายการเสียง) 2.www.seewithsound.com(ช่อง VDO สงขลามหาชน ตอน mamagoodfood) 3.www.facebook.com/mamagoodfood (ช่องทางการสื่อสาร และส่งข่าว ระหว่างเครือข่าย)

ผลที่เกิดขึ้น

1.www.banbanradio.com เป็นคลังเสียงและคลังข้อมูลที่สือได้นำไปใช้ประโยชน์เพื่อการสื่อสารผ่านช่องทางสื่อวิทยุชุมชนต่างๆ เช่นวิทยุเสียงจะนะ FM.98.50,FM.95.50ต.บ้านนา, FM.88.50 ต.น้ำขาว,FM.91.50หาดใหญ่,FM.96.75asia plusพัทลุง,FM.94.0 สะบ้าย้อย,FM.101,50ต.ท่าข้าม, FM.100.0อ.เมือง,FM.106.50 โชคสมาน,FM.99.25ตใเขารูปช้าง,FM.103.0มวลชนคนเทพา, FM.105.25PS Radioบ้านพรุ
2.เครือข่ายสื่อวิทยุชุมชนรับฟังข่าวสารและนำคลิปเสียงหรือรายการเสียงต่างๆจากwebsiteไปออกอากาศ
3.FanpageจากFacebook เป็นที่ประชาสัมพันธ์ข่าวสารการประกวดวลีเด็ด และคลิปวีดีโอ และเป็นที่สื่อสารระหว่างเครือข่ายสื่อและแผนงานอาหารในโครงการ  รวมถึงสมาชิกที่สนใจในเรื่องราวของอาหาร หรือเรื่องราวของกิจกรรมนิทาน 4.www.seewithsound.com เป็นช่องทางสำหรับนำเสนอ คลิปวีดีโอ รายการ mamagoodfood และจะเป็นช่องทางสำหรับรายการทีวีเคเบิล อาหารของแม่ด้วย

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ปัญหา:
เป็นความต้องการจากเครือข่ายแผนงานอาหารต่างๆว่าอยากมีwebกลางเพื่อคอยส่งข่าวระหว่างกันและกัน หรือมีหน้าสำหรับ fanpageเพื่อส่งข่าวกิจกรรมกันได้ ดังนั้นแผนงานสื่อจึงจัดทำpage อาหารของแม่ หรือwww.facebook.com/mamagoodfoodเพื่อเป็นช่องทางการสื่อสาร ซึ่งในระยะแรกก็มีการส่งข่าว แต่ภายหลังการส่งข่าวชะงักไป ซึ่งการติดต่อขาดหาย
แนวทางแก้ไข:
พยายามหาทางออกให้ง่ายที่สุด คือ โทรมาแจ้ง เพื่อให้แผนสื่อโพสต์ข้อความให้ก็ได้ และจะต้องหมั่นคอยกระตุ้นเตือนว่าเรามีช่องทางการสื่อสารให้ด้วยเพื่อจะได้ทำกิจกรรมร่วมกัน หรือแลกเปลี่ยน หรือช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

อยากให้ สสส ได้มีส่วนร่วมในการส่งข่าวจากส่วนกลางสู่เครือข่ายต่างๆ เพื่อเป็นการเรียนรู้ซึ่งกันและกันไม่ว่าจะเป็นข่าวจาก สสส หรือข่าวน่าสนใจจากทั่วโลกที่คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อเครือข่ายการทำงานด้านอาหารเพื่อให้เห็นพลังแห่งการสื่อสารเพื่อจะไปในทิศทางเดียวกัน

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

ควรมีส่วนร่วมในการส่งข้อมูลข่าวสารอาหาร หรือupdate ข้อมูลต่างๆเพื่อlink ระหว่างเวบของทีมงานกลาง  webจากสสสและแผนงานสื่อ

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

หมายเหตุ ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม กรุณาระบุเนื้อหา/ข้อสรุปสำคัญต่าง ๆ จากกิจกรรม ที่สามารถนำมาขยายผลต่อได้ เช่น ความรู้ กลุ่มแกนนำ แผนงานต่าง ๆ และผลที่ได้จากกิจกรรม อาทิ พฤติกรรมหรือสิ่งที่เกิดขึ้นภายหลังกิจกรรม เช่น การรวมกลุ่มทำกิจกรรมต่อเนื่อง (ซึ่งจะทราบได้จากการติดตามประเมินผลของโครงการ)

ประเมินผลคุณภาพกิจกรรม ให้ใส่เครื่องหมาย / ในช่องคะแนนโดยที่คะแนน 4=บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย 3=บรรลุผลตามเป้าหมาย 2=เกือบได้ตามเป้าหมาย 1=ได้น้อยกว่าเป้าหมายมาก

5. ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

 

6. แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

ตามแผนงานเดิมที่ระบุไว้ในข้อเสนอโครงการ

มีการปรับเปลี่ยนจากข้อเสนอโครงการ ระบุกิจกรรม/รายละเอียดที่จะปรับเปลี่ยน และระยะเวลาที่จะปรับเปลี่ยน

 

7. ประเมินสถานการณ์โดยภาพรวมของโครงการ

สามารถดำเนินกิจกรรมให้เป็นไปตามแผนได้

ล่าช้ากว่าแผน กรุณาให้แนวทางแก้ไขปรับปรุง (สรุปเป็นข้อ)

 

8. ข้อคิดเห็นอื่น ๆ