ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์

เวที “สมัชชาผู้บริโภคฉลาดซื้อ”คนควนรู รู้ทันเขาจริงหรือ?

สมัชชาผู้บริโภคฉลาดซื้อ ถูดจัดขึ้นวันที่ 4 กันยายน 2551ณ ที่พักสงฆ์เกาะบก ตำบลควนรู อำเภอรัตนภูมิ จังหวัดสงขลา

            เทศบาลตำบลควนรู อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา  เป็นพื้นที่หนึ่งซึ่งเป็นชุมชนกึ่งเมือง มีการทำงานในลักษณะการร่วมไม้ร่วมมือกันของพี่น้อง หรือที่เราเรียกว่าการทำงานภาคประชาสังคมเข้มแข็งโดดเด่นหลายด้านเป็นที่ยอมรับ โดยในวันนี้พี่น้องชาวบ้านและผู้นำชุมชนคนควนรูได้มาร่วมทำกิจกรรมอย่างพร้อมเพรียงกันอีกครั้ง พวกเขามาพูดคุยเรื่องเกี่ยวกับผู้บริโภค
            ผู้เข้าร่วมเวที 100 คนโดยประมาณ แยกเป็นเด็ก 10 คนจากโรงเรียนโคกค่ายซึ่งเป็นระดับมัธยมแห่งเดียวของอบต.ควนรู นอกจากนั้น ยังมีกล่ม อสม. ข้าราชการ สื่อมวลชน(นักจัดรายการของวิทยุชุมชนของ อบต.ควนรู ) อปพร. พระสงฆ์ นับว่า หลากหลายกลุ่มคนและอาชีพ สำหรับเวทีในวันนี้เป็นการปูพื้นทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องผู้บริโภค ซึ่งหลายคนก็ยังไม่รู้เรื่องมากนัก แต่ทุกคนมีความสนใจ  สำคัญว่าเรื่องการบริโภคนี้มีผลกระทบต่อเขาอย่างไร เขาควรจะได้รับการคุ้มครองหรือมีสิทธิอะไรอย่างไรบ้าง


หลายคนมักคุ้นกับคำว่าบริโภคคือเรื่องเกี่ยวกับอาหารการกิน แม้หลายคนจะรู้ว่าจริงๆแล้วนอกจากนั้นยังหมายรวมถึงเรื่องสิทธิและการคุ้มครองในเรื่องสินค้าและบริการต่างๆนานแล้วด้วย แต่ความจริงก็คือว่าเรื่องเหล่านี้กลับเป็นเรื่องไกลตัวไม่คุ้นเคย ที่จะเรียกร้องอย่างจริงจังเป็นเรื่องเป็นราว เป็นระบบ ยังถูกละเลยจากหน่วยงานผู้ประกอบการทั้งภาครัฐและเอกชนรวมทั้งผู้บริโภคเอง รวมถึงความสามารถและโอกาสการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารในเรื่องสิทธิประโยชน์และการคุ้มครองต่างๆ และอื่นๆอีกมากมาย

เวที “สมัชชาผู้บริโภคฉลาดซื้อ” ในวันนี้ เกิดขึ้นพร้อมกับเจ้าของพื้นที่ คือพี่น้องชาวเทศบาลตำบลควนรู ได้เล็งเห็นร่วมกันกับสถาบันวิจัยระบบสุขภาพภาคใต้ (สวรส.ภาคใต้ มอ.) ภายใต้ “โครงการพัฒนาระบบเครือข่ายเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคใต้” ที่ว่าด้วยเรื่องสิทธิและการคุ้มครองผู้บริโภคที่อยากให้ได้มารับรู้ด้วยกัน


เริ่มต้นด้วย ผศ.ดร.ภก.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ ผู้อำนวยการสวรส.ภาคใต้ มอ. กล่าวถึงความสำคัญของการมีเครือข่ายเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ความเป็นมาของโครงการ และชี้ให้เห็นว่าว่าเราทุกคนก็คือผู้บริโภคซึ่งต้องมาได้มาช่วยกันคิดช่วยกันทำเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคและพัฒนาระบบหรือกลไกให้ดีขึ้น โดยยกกรณีตัวอย่างให้ฟังว่าเมื่อ 2 ปีก่อนมีการสำรวจน้ำในหม้อต้มก๋วยเตี๋ยวพบสารตะกั่วเกินมาตรฐาน เรียกว่ามากกว่าน้ำในคลองเสียอีก เพราะหม้อต้มนั้นทำด้วยการบัดกรี โดนความร้อนก็ละลาย เราก็ต้องกินตะกั่วเข้าไป วิธีแก้ คือให้เกิดการคุ้มครองผู้บริโภค ต้องออกมาพิทักษ์สิทธิ์ กับสินค้าไม่ได้มาตรฐาน จ่ายแล้วบริการไม่ดี


        วัตถุประสงค์ของวันนี้อยากเห็นการรวมตัว สร้างเครือข่าย มีศูนย์ประสานงานรับเรื่องร้องเรียน อปพร. อสม. แกนนำเป็นคณะทำงาน  นักเรียนนักศึกษาเป็นอาสาสมัคร มีท้องถิ่น อบต. ราชการสนับสนุน เพื่อให้เกิดกระบวนการเข้มแข็งว่าเราคือสมัชชาผู้บริโภค สร้างเครือข่าย แล้วให้ชุมชนดูแลกันเอง อบต.ควนรู ชุมชนเข้มแข็ง องค์กรเข้มแข็งจะไปต่อได้อย่างไร คุณปาฏิหาริย์ บุญรัตน์ หรือน้าโถ ข้าราชการบำนาญ ทำหน้าที่ผู้ดำเนินรายการในวันนี้แจ้งกับผู้เข้าร่วมเวที “สมัชชา ผู้บริโภคฉลาดซื้อ”ว่าในวันนี้จะมีการถ่ายทอดสดออกอากาศทางวิทยุคลื่น FM 101.0MHz ซึ่งเป็นวิทยุชุมชนเครือข่ายพระพุทธศาสนา นับว่าเวทีสมัชชาผู้บริโภคฉลาดซื้อในวันนี้เป็น “สมัชชาทางอากาศ” ด้วยก็คงไม่ผิด

              ในเวที “สมัชชาผู้บริโภคฉลาดซื้อ”ในวันนี้เกิดจากความร่วมมืออย่างพร้อมเพรียง  ของทุกฝ่ายนับตั้งแต่ท่านเจ้าอาวาสที่มาอำนวยความสะดวกในเรื่องสัญญาณการถ่ายทอด นายกอบต.ในฐานะเจ้าภาพ ตลอดไปจนถึงนักเรียน กลุ่มแม่บ้าน อปพร. ชรบ. ทุกคนให้ความสนใจ การดำเนินการข้างเวทีไม่ว่าผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกอบต.ทุกคนมีบทบาทหน้าที่ร่วมด้วยช่วยกันอย่างขันแข็ง
                กิจกรรมแรกในวันนี้จะแยกเป็น 5 กลุ่ม ร่วมกันตั้งชื่อกลุ่มที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค พูดคุยในประเด็นสถานการณ์ผู้บริโภคในพื้นที่ ให้มีตัวแทนกลุ่มออกมานำเสนอ ออกอากาศ(คนละ10-15นาที) จากการนำเสนอข้อมูลสถานการณ์ผู้บริโภคในพื้นที่ อบต.ควนรู แล้ว พบว่า มีหลากหลายประเด็น เช่น อาหารที่มีการปนเปื้อนของสารเคมี ยาฆ่าแมลง สัญญาประกันชีวิตที่มักถูกตัวแทนขายประกันเอารัดเอาเปรียบในเรื่องสิทธิหรือเงื่อนไขประกัน เครื่องสำอางที่มีสารห้ามใช้ทำให้เสียโฉม เครื่องใช้ไฟฟ้าไม่ได้มาตรฐาน หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีความฟุ่มเฟือยในชีวิตประจำวัน

ช่วงบ่ายมีการเล่าประสบการณ์ด้านการโดนเอารัดเอาเปรียบ ซึ่งก็มีหลากหลายเรื่องราวที่ถูกถ่ายทอดผ่านเวที เช่นสิว ฝ้า ขึ้นหน้าหลังใช้เครื่องสำอางครีมหน้าเด้งที่โฆษณาว่าเห็นผลภายใน 3-7 วัน ไม่มีฉลากภาษาไทย หากเกิดปัญหาขึ้นจะสามารถเรียกร้องความรับผิดชอบจากหน่วยงานใด กรณี ของซื้อ 1 แถม 1 คือของคุณภาพไม่ดี มีตำหนิ
ขณะบางส่วนมองไปถึงเครื่องปัจจัยสังฆทาน เช่นเครื่องสังฆทานที่มีนมหมดอายุ คุณภาพกับราคาไม่สมเหตุสมผล เรื่องสารพิษปนเปื้อนในอาหาร เช่น ถั่วงอกที่มีสารฟอกขาว กรณีน้ำมันทอดซ้ำ ผักสวยแต่เหม็นยาฆ่าแมลง บางรายเล่ากรณีปลาเค็มมาทอดกินแล้วตาพร่าขาบวมหายใจไม่ออก กรณี ข้าวร้อนใส่โถรองถุงพลาสติกในงานประเพณีที่นิยมกันปฏิบัติกันในช่วงพักหลังๆ เนื่องจากคิดว่าสะดวกต่อการทำความสะอาด
กรณี ยาปลอมปุ๋ยปลอม
กรณีการโกงตาชั่งที่ตาชั่งไม่ได้โกงแต่แม่ค้าโกง เป็นต้น
กรณี การขายตรงหรือประกันชีวิตต่างๆ “นาทีทอง”ที่หลายคนเคยเจอเจอะ 100 ไม่ขายขาย 20 สุดท้ายก็เป็นของไร้คุณภาพ
กรณี ขายตรงแชร์ลูกโซ่ต่างๆ เครื่องใช้ไฟฟ้า เช่นเครื่องดูดฝุ่น เครื่องออกกำลังกาย ซึ่งไม่ได้เป็นสิ่งจำเป็นจริงเท่ากับว่าแรงจูงใจจากโฆษณาชวนเชื่อหรือรางวัลของแถม โดยส่วนใหญ่จะเป็นของไม่มีคุณภาพและมาตรฐานจริง ที่แต่ละคนสะท้อนปัญหาออกมาส่วนใหญ่เป็นเรื่องใกล้ตัว ได้ถูกนำมาเล่าสู่กันฟังในเวที โดยสรุปก็คือผู้บริโภคได้รู้ประเด็นความจริงบางอย่าง มีความเข้าใจและตระหนักเรื่องข้อมูล แต่ยังไม่มีความรู้อย่างลึกซึ้งมากพอในการตัดสินใจและดำเนินการ ส่วนใบงานที่ 2 เข้ากลุ่มกันอีกครั้งแล้วเลือกประเด็นจากที่ฟังการรายงานจากทุกกลุ่ม ได้แก่กลุ่มที่หนึ่ง คนสามวัยใส่ใจบริโภค กลุ่มที่สอง น้ำพริกสมุนไพร กลุ่มที่สาม แชร์ข้าวสาร กลุ่มที่สี่ เด็กฉลาดซื้อ กลุ่มที่ห้า รักสุขภาพเช่นเขาบอกว่าในเรื่องอาหาร ถ้าเป็นไปได้ก็ปลูกเอง ที่ซื้อก็ล้างให้สะอาด หรืออย่าเลือกที่สวยเกินไป เรื่องของใช้ที่ชักชวน มีของแถม ทางที่ดีที่สุดคือไม่ยุ่งเกี่ยวกับผู้ขาย พวกเครื่องใช้ไฟฟ้าฟุ่มเฟือย หรือ เครื่องตัดไฟไม่ได้คุณภาพต่างๆ ให้คุยกันหลายคน ถามผู้รู้ว่ามีมาตรฐานไหม แล้วบอกต่อ ในส่วนเรื่องประกันชีวิต แชร์ลูกโซ่ต่างๆก็ไม่ต้องทำตามที่นำเสนอ หรือศึกษารายละเอียดให้ดีก่อน
เด็กๆบอกว่า ภาชนะเลิกใช้พลาสติกได้ก็เลิกเช่นข้าวก็ควรใส่หม้อใส่โถ  น้ำมัน เลิกใช้น้ำมันใช้แล้ว นำไปทำไบโอดีเซล ปัญหายาฆ่าแมลงใช้ปุ๋ยธรรมชาติแทน ในมุมมองของการพัฒนาเครือข่ายผู้บริโภคนั้นก็คือ ผู้ผลิตหรือผู้ขายควรจะได้พูดคุยกันด้วย โดยมีแกนนำในการทำงาน เช่นอบต. อสม. ช่วยกันรณรงค์ให้รู้ให้ปฏิบัติ เริ่มจากตนเองก่อน รู้จักการวางแผนป้องกัน แก้ไขสถานการณ์ จัดเวทีกลุ่มย่อย กลุ่มใหญ่ ชักชวนข้างนอกมาคุย ในเวที “ผู้บริโภคฉลาดซื้อ”วันนี้โดยสรุปก็คือเมื่อพบปัญหาที่เกิดขึ้น ค้นหาสาเหตุ และวิธีการแก้ไข ซึ่งจะน่าจะมีคนมาทำงานต่อ สำหรับวันนี้ก็คือการจัดตั้งคณะทำงาน โดยขอคณะกรรมการตัวแทนหมู่บ้านละ 1 คนและคนที่พร้อม ได้จำนวน 7 คน

ส่วนคณะทำงาน จะได้เชิญมาคุยต่อ รวมทั้งคนอื่นที่เหมาะสมแต่ไม่ได้มาเวทีในวันนี้ โดยจะมีเครือข่าย คือวิทยุพระพุทธศาสนา FM 101.0MHz ซึ่งจะจัดเป็นเวทีสมัชชาเพื่อหาวาระพูดคุยกันให้บ่อยๆเป็นประจำสม่ำเสมอ ต่อไปคนที่ทำงานจะได้คิดโครงการหรือกิจกรรมเองอาจจะเริ่มด้วยเรื่องหรือประเด็นที่สามารถแก้ปัญหาได้จริงปัจจุบันทันด่วน ออกแบบและวางกรอบขบวนคิด เช่นทำแผนที่ข้อมูลผู้บริโภคระดับตำบลต่อไป

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง