ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12 สงขลา

ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12 สงขลา

รีเฟรช
ชื่อเครือข่าย ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12 สงขลา
ประเภท ความปลอดภัยด้านอาหาร
ที่ตั้ง ตำบลพะวง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ผู้ประสานงาน

นางสุดชฎา  ศรประสิทธ์ กลุ่มงานอาหาร , นางสาวกิ่งแก้ว กาญจนรัตน์ กลุ่มงานอาหาร , นางสาวอรอนงค์  วงษ์เอียด กลุ่มงานอาหาร , นางอาสีนะ  ยามาเจริญ กลุ่มงานอาหาร

เบอร์โทรศัพท์ 0-7444-7024-8 ต่อ 2222, 2211, โทรสาร 0-7433-0215
อีเมล์
บทบาทหน้าที่
  1. วิเคราะห์อาหาร เครื่องดื่ม น้ำทางเคมี-ฟิสิกส์ และจุลชีววิทยา เพื่อประกอบการขอขึ้นทะเบียนและควบคุมคุณภาพอาหารภายในประเทศและอาหารนำเข้า
  2. วิเคราะห์ส่วนประกอบของอาหารและวัตถุเจือปนในอาหาร
  3. วิเคราะห์สารปนเปื้อนและสารพิษในอาหาร
  4. ศึกษาและวิจัยด้านอาหาร
  5. ให้คำปรึกษา แนะนำ ความรู้ด้านอาหารและการตรวจวิเคราะห์แก่เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์อาหาร หน่วยงานราชการ บริษัทเอกชน นักศึกษาและผู้สนใจทั่วไป
ข้อจำกัดและเงื่อนไขในการดำเนินงาน

ปัญหาความไม่สงบ/ความไม่ปลอดภัยในการดำเนินงานในบางพื้นที่

กิจกรรมที่ดำเนินการแล้ว
  1. การให้บริการตรวจวิเคราะห์อาหารน้ำและเครื่องดื่ม 5 จังหวัด1,672 ตัวอย่าง 8,821 รายการ
  2. การตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างเฝ้าระวังและคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดสงขลา 247 ตัวอย่าง 3  แผนงาน โครงการ -โครงการน้ำดื่มจากตู้น้ำหยอดเหรียญ ปี 2555
    (รวบรวมข้อมูล ตรวจวิเคราะห์ เสนอจัดทำเกณฑ์มาตรฐานฯ) -โครงการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำดื่มในโรงเรียนเขต 5 จังหวัดภาคใต้ปี 2555 ( เฝ้าระวังคุณภาพน้ำในโรงเรียน รวมถึงโรงเรียนตชด.)

ชุดบทเรียน/ความรู้/กรณีศึกษาที่เป็นผลงานเด่น
  1. ชุดทดสอบและผลิตภัณฑ์กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ด้านอาหาร 24 ชนิด เช่นชุดทดสอบสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ , ชุดทดสอบความกระด้างทั้งหมดของน้ำและชุดทดสอบโคลิฟอร์มในน้ำและน้ำแข็งเป็นต้น
  2. หนังสือคู่มือการพัฒนาคุณภาพน้ำดื่มในโรงเรียน  เป็นต้น
เครือข่ายที่ทำงานด้วย

 

แผนงานในอนาคต
  1. โครงการน้ำดื่มจากตู้น้ำหยอดเหรียญ ปี 2556  (ประเมินความเสี่ยง, จัดทำเกณฑ์มาตรฐานฯและถ่ายทอดองค์ความรู้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการเฝ้าระวังและคุ้มครองผู้บริโภคในพื้นที่ ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่อง)
  2. โครงการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำดื่มในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในเขตจังหวัดสงขลา (เฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาร่วมกับโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่อง)
  3. โครงการ การจัดการน้ำมันทอดซ้ำเสื่อมสภาพ(เฝ้าระวังและจัดการน้ำมันเสื่อมสภาพอย่างมี ประสิทธิภาพร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและพลังงานจังหวัด)
  4. โครงการผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนด้านอาหารให้ได้ GMP และสามารถส่งออกต่างประเทศได้ 5.  การพัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการอาหารเพื่อเตรียมพร้อมสู่อาเซียน(AEC) ประกอบด้วยการพัฒนาวิธีวิเคราะห์ และการรักษามาตรฐาน ISO/IEC 17025 6.  โครงการพัฒนาความปลอดภัยอาหารของสินค้าเกษตรและอาหารในตลาดค้าส่งขนาดใหญ่  ( โครงการของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งสงขลาไม่มีตลาดค้าส่ง)
  • photo

ไฟล์เอกสารประกอบ